ข้อ ใด เป็น ขอบข่าย วิชา เศรษฐศาสตร์ มหภาค มาก ที่สุด

                ดังนั้น เศรษฐศาสตร์มหภาคจึงไม่ได้มุ่งเน้นที่ผู้บริโภคหรือผู้ผลิตคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการพิจารณาในภาพรวม บางครั้งจึงเรียกเศรษฐศาสตร์มหภาคว่า “ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ”

ที่มารูปภาพ : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&espv=2&biw=1242&bih=602&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjdj5CU9_zQAhWIO48KHTB4AIQQ_AUIBygC&dpr=1.1#imgrc=PfTDm4409OCFuM%3A

ของข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือ อาจจะเรียกว่า ขอบเขตในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ 1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ 2) เศรษฐศาสตร์มหภาค

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)

เป็นการศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจขนาดย่อย อาทิ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือหน่วยธุรกิจขนาดใดขนาดหนึ่ง (ธุรกิจเจ้าของคนเดียว, หจก., บริษัท)

หรือสามารถสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การผลิต การบริโภคและการแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้ขอบเขตเนื้อหาสาระของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

  • การผลิต : หน่วยธุรกิจ, ปัจจัยการผลิต, ลำดับขั้นในการผลิต, ปัญหาพื้นฐานของการผลิต และพฤติกรรมของผู้ผลิต เป็นต้น
  • การบริโภค : พฤติกรรมของผู้บริโภค, แนวทางในการบริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด, สิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
  • การแลกเปลี่ยน : วิวัฒนาการหรือประเภทของการแลกเปลี่ยน, ตลาดและกลไกราคาหรือกลไกตลาด เป็นต้น

2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

เป็นการศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค คือ เป็นการศึกษาภาพรวมของเศรษฐกิจ โดยเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่

  • เศรษฐกิจระหว่างประเทศ : การค้าระหว่างประเทศ ดุลการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และการรวมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น
  • การเงิน : นิยาม ประเภทของเงิน หน้าที่ของเงิน มูลค่าของเงิน การลดค่าเงิน ปริมาณของเงิน ภาวะทางการเงิน เป็นต้น
  • การธนาคาร : ธนาคารกลางแห่งประเทศ สถาบันทางการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนนโยบายทางด้านการเงิน เป็นต้น
  • การคลัง : บทบาทและหน้าที่ของการคลังของประเทศ รายรับ รายจ่าย หนี้สาธารณะ ตลอดจนนโยบายทางด้านการคลัง เป็นต้น
  • รายได้ประชาชาติ : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(Gross National Product: GNP)
  • การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น

ถึงแม้ว่า “ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์” จะถูกแบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ที่สามารถเห็นความแตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจน แต่ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจนั้น จะต้องศึกษาและใช้ทั้ง 2 สาขาควบคู่กันไป