พัฒนาการเด็ก 5 ด้านมีอะไรบ้าง

ด้วยวิธีการเชื่อมโยงจากความเข้าใจพื้นฐาน ไม่เน้นการอ่านแบบท่องจำหรือการเขียนให้ถูกต้องสวยงาม เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานระบบเสียงที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสะกดคำอย่างง่ายๆ ให้ความสำคัญในเรื่องทักษะพื้นฐานที่สำคัญทางภาษา เพื่อการเรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ จำนวนและตัวเลข ส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องของจำนวนหรือตัวเลข และเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน ให้เรียนรู้หลักการของจำนวน 1-10 หรือ 20 ให้ได้ ก่อนที่จะหัดให้บวกลบเลขจากโจทย์

พัฒนาการทางสติปัญญาและการส่งเสริม

สมองของเด็กวัยนี้ พัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับเด็กที่ผ่านการฝึกระเบียบและความอดทนรอคอยจากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือครูในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอเด็กจะสามารถควบคุมตัวเองได้ดี และเมื่อเด็กเรียนรู้ จดจำประสบการณ์ในเชิงลบ ทั้งจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการถูกทำโทษ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งช่วยเตือนไม่ให้เด็กซนหรือทำผิดซ้ำอีก ดังนั้นเด็กในวัยนี้ จะซุกซนน้อยลง มีสมาธิมากขึ้น

พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กอายุ 5 - 6 ปี

นับนิ้วจากมือข้างหนึ่งต่อเนื่องไปอีกข้างหนึ่งได้ เข้าใจเรื่องขนาดและคำที่แสดงปริมาณ จับคู่จำนวนกับสิ่งของได้ จัดแยกกลุ่มได้ตามขนาด สี รูป ร่าง และอะไรคู่กับอะไร ชอบการฝึกสมองลองปัญญา และคิดล่วงหน้าได้ เช่น คิดว่าจะต่อบล็อกเป็นรูปอะไร หรือจะวาดรูปเป็นรูปอะไร ชอบเล่นเกมต่อภาพ และสามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ขนาด 26 ชิ้นได้สำเร็จ เข้าใจจังหวะดนตรี แสดงความสนใจในอาชีพต่างๆ เช่น อาจบอกว่า “หนูอยากเป็นหมอ” เริ่มสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากกว่านิทานหรือเรื่องที่เคยชอบ เริ่มเรียนรู้ที่จะประสานสิ่งที่รู้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เข้ากับประสบการณ์ที่เคยผ่านมา การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 5-6 ปี

พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ เล่านิทาน อ่านหนังสือให้เด็กฟัง และทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเด็ก เลือกรายการโทรทัศน์ที่ช่วยเส่งเสริมความรู้รอบตัว และสร้างจินตนาการให้กับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กเล่นบทบาทสมมติได้ทุกเมื่อ

พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม

เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคมอื่น คือ โรงเรียน เด็กจะได้เรียนรู้การเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน สัมพันธภาพที่มีต่อเพื่อนจะสอนการเป็นอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นจะสร้างลักษณะนิสัยการแข่งขัน และสอนให้เด็กรู้จักการร่วมมือกับผู้อื่น กลุ่มจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในวัยนี้ ดังนั้น พ่อแม่ควรจะสนับสนุนให้เด็กได้เข้ากลุ่มที่เหมาะสมกับสภาพของตัวเอง

พัฒนาการทางสังคมของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

อยากทำให้พ่อแม่และผู้ใหญ่พึงพอใจ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพ่อได้ดี และเชื่อฟังพ่อมากกกว่าแม่ รู้จักการให้ การรับ และการแบ่งปัน มีความอดทน รู้จักรอคอยมากขึ้น รู้จักแสดงออก แสดงความสนใจและการผูกมิตร คบหาเพื่อนได้ดี เล่นคนเดียวหรือเล่นกับกลุ่มเพื่อน 1-3 คนได้ รู้จักการเป็นผู้นำ การเสนอความคิดเห็น สนใจเรื่องสนุกขบขัน การส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 5-6 ปี

ฝึกฝนระเบียบวินัย ให้เด็กอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ตกลงกันในบ้าน เตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เช่น หัดให้มีความอดทน รู้จักรอคอย สามารถจากพ่อแม่และอยู่กับคนที่ไม่รู้จัก ได้นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน เตรียมความพร้อมทางร่างกาย ก่อนเด็กเข้าโรงเรียน เช่น สร้างเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงดี มีทักษะในการใช้ตาและมือขั้นพื้นฐานบางอย่าง เช่น ควรรู้จักเรื่องรูปร่าง รูปทรง สี ควรเปิดหนังสือได้ เป็นต้น เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจและการส่งเสริม

เด็กวัยนี้ จะยังมีความกรวนกระวายใจและรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผลอยู่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะมีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

การควบคุมอารมณ์ (Impulse control) เด็กในระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 5 - 6 ปี จะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี รู้สึกอย่างไรจะแสดงออกทันที จึงเห็นว่าบางครั้ง เด็กเล็กๆ จะมีพฤติกรรมสลับไปมาในการแสดงออกของความรัก ความโกรธ ความเกลียด หรือ อาละวาดให้เห็นอยู่เสมอๆ

พอถึงวัย 5 - 6 ปี เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาดีขึ้น มีความคิดเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ก็จะไม่แสดงออกในทันที มีภาวะสงบของอารมณ์ดีขึ้น ทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนหนังสือได้

พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของ เด็กอายุ 5 - 6 ปี

รู้จักกลัว เช่น กลัวความสูง กลัวสัตว์ กลัวตาย เป็นต้น และสามารถอธิบายความกลัวหรือความวิตกกังวลได้ดีขึ้น สนใจเรื่องการเกิด การแต่งงาน การตาย มีความรู้สึกกลัวตาย ชอบเป็นอิสระ อยากให้ทุกคนปฏิบัติตัวเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ แสดงออกถึงความตั้งใจและมั่นใจในตัวเอง และต้องการตัดสินใจด้วยตัวเอง ยอมรับการลงโทษที่ยุติธรรม เมื่อโกรธ เหนื่อย หรือถูกขัดใจ จะอาละวาด กรีดร้อง แต่ร้องไห้น้อยลง เวลาเครียดจะชอบดึงจมูก กัดเล็บ ปิดจมูก กะพริบตาถี่ๆ สั่นหัว หรือทำเสียงเครือๆ ในคอ เป็นต้น การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจของเด็กวัย 5-6 ปี

หากเด็กวัยนี้ยังติดการดูดนิ้วหัวแม่มือ ควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กรุ่นเดียวกันหรือเด็กที่โตกว่า เพราะเด็กจะเลิกดูดนิ้วเมื่อถูกเพื่อนๆ แสดงท่าทีไม่ยอมรับหรือไม่ชอบเด็กที่ยังดูดนิ้ว ต้องช่วยส่งเสริมบทบาทของพี่ต่อน้อง จะช่วยให้เด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน แบ่งปันกัน เด็กจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาหรือมีนิสัยขี้อิจฉา แข่งขันกับเพื่อนหรือคนรัก ช่วยให้เด็กเรียนรู้ ยอมรับความจริง และเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดกับทุกคน โดยเฉพาะเรื่องความรู้สึกกลัวตายและความตายที่เด็กกำลังกลัวอยู่ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความตายก่อนที่เด็กจะได้สัมผัสกับความตายในชีวิตจริง และให้เด็กได้มีกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องความตาย แบบค่อยเป็นค่อยไป

การพาลูกไปตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการตามวัยตั้งแต่แรกเกิด-5 ปี กับผู้เชี่ยวชาญ หรือเช็คพัฒนาการเด็กที่บ้านเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรกๆ เพราะจะได้ทราบความบกพร่องและหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที เช่น พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ซึ่งในบางรายอาจพบได้ว่า ลูกพูดช้า พูดไม่เป็นภาษา สมาธิสั้น หรืออาจเข้าข่ายออทิสติกเทียม 

ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงวัยนี้ เพราะเป็นช่วงเวลาของพัฒนาการเด็กที่สำคัญที่สุดในชีวิต สามารถปูพื้นฐานพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ได้กับเด็กได้ตั้งแต่ยังแบเบาะค่ะ เพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ใกล้ชิดกับคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองมากที่สุด และคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านผ่านผู้ดูแล การเข้าใจพัฒนาการตามวัยและส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยช่วงอายุ 0-5 ปีนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครอง สามารถคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยได้อย่างเหมาะสม หากพบพัฒนาการบกพร่อง หรือไม่เป็นไปตามวัย จะได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไข หรือส่งเสริมพัฒนาการตามวัยได้ทันท่วงที

ในบทความนี้ จะขอเน้นไปที่พัฒนาการของเด็กช่วงแรกเกิด - 1 ปี พร้อมแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของ กระทรวงสาธารณสุข กันก่อนค่ะ

DSPM คือ Developmental Surveillance and Promotion Manual เป็นคู่มือเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัย ครบทั้งพัฒนาการ 5 ด้าน และแนวทางส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (เด็กตั้งแรกเกิด-ก่อนเข้าประถมศึกษาชั้นปีที่ 1) ที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้คัดกรองในระดับสถานีอนามัยที่ไม่มีกุมารแพทย์ โดยใช้เกณฑ์พัฒนาการ 5 ด้าน ดังนี้

1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor) ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เดิน ยืน วิ่ง

2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor) หยิบจับสิ่งของ แยกรูปทรงได้

3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language) ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language) พูดเป็นประโยค ตอบได้

5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social) มีความรับผิดชอบ มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ผู้ปกครองควรรู้อะไรบ้างเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้านของลูกน้อยช่วงอายุแรกเกิด-1 ปี

ด้วยแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน จาก DSPM นี้ ผู้ปกครองสามารถทำตามได้ง่ายๆ ที่บ้าน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็กในทุกๆ วัน ซึ่งแบ่งตามช่วงอายุย่อยๆ ได้ดังนี้ค่ะ

พัฒนาการเด็กแรกเกิด-6 เดือน

1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)

●แรกเกิด-1 เดือน ยกศีรษะ และหันศีรษะซ้าย-ขวาได้ เมื่อจับนอนคว่ำ

ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการได้ด้วยการจับเด็กนอนคว่ำ แล้วเขย่าของเล่นที่มีเสียง ระยะห่างประมาณ 30 ซม. พร้อมส่ายไปมา

●อายุ 1-2 เดือน ยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที

ผู้ปกครองจับเด็กนอนคว่ำ แล้วเขย่าของเล่นสีสันสดใส เช่น กรุ๊งกริ๊ง เขย่าเคลื่อนขึ้น-ลงด้านหน้าเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กมองตาม

●อายุ 3-4 เดือน ยกศีรษะและอก โดยใช้แขนยันกับพื้นพยุงตัวได้ อย่างน้อย 5 วินาที

ผู้ปกครองจับเด็กนอนคว่ำ เขย่าของเล่นเสียงกรุ๊งกริ๊งขึ้น-ลงใกล้หน้าลูก เพื่อกระตุ้นให้เด็กมองตาม

●อายุ 5-6 เดือน ยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำ โดยเหยียดแขนตรงทั้งสองข้างได้

ผู้ปกครองจับเด็กนอนคว่ำ แล้วเรียกชื่อเด็กให้มองของเล่นกรุ๊งกริ๊ง แล้วเขย่ากรุ๊งกริ๊ง เมื่อเด็กสนใจให้เขย่ากรุ๊งกริ๊งเคลื่อนขึ้นด้านบนช้าๆ

2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)

●แรกเกิด-1 เดือน มองตามสิ่งของที่มีสีสันสดใส เช่น โมบาย จากด้านข้าง ถึงระยะกึ่งกลางลำตัว

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย พร้อมเรียกชื่อ และเคลื่อนศีรษะไปด้านข้างลำตัวเด็กอย่างช้าๆ หรือจะใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใส ดึงความสนใจให้เด็กมองตามก็ได้เช่นกัน

●อายุ 1-2 เดือน มองตามสิ่งของที่มีสีสันสดใส ผ่านกึ่งกลางลำตัวได้ เมื่อจับนอนหงาย

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย ถือของเล่นที่มีสีสันสดใส เช่น ลูกบอลสีแดง ห่างหน้าเด็กประมาณ 20 ซม. แล้วเคลื่อนลูกบอลผ่านกึ่งกลางลำตัว เพื่อให้เด็กมองตาม

●อายุ 3-4 เดือน มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ 180 องศา

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย แล้วก้มหน้าให้ห่างจากหน้าเด็กประมาณ 30 ซม. แล้วเรียกชื่อเด็ก พร้อมเคลื่อนศีรษะของผู้ปกครองไปทางซ้าย-ขวา สลับไปมาอย่างช้าๆ

●อายุ 5-6 เดือน เอื้อมมือหยิบ จับสิ่งของ ขณะอยู่ในท่านอนหงาย

ผู้ปกครองแขวนของเล่น เช่น โมบาย ในระยะที่เด็กเอื้อมถึง เพื่อให้เด็กสนใจคว้าหยิบ หรือเขย่าของเล่น ให้ห่างจากตัวเด็กในระยะที่เด็กเอื้อมถึงได้

3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)

●แรกเกิด-1 เดือน กระพริบตา สะดุ้ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียงพูดระดับปกติ

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย แล้วเรียกชื่อลูก หรือพูดคุยกับเด็กทั้งด้านซ้าย และขวาสลับไปมา

●อายุ 1-2 เดือน มองหน้าผู้พูดได้อย่างน้อย 5 วินาที

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย หรืออุ้มไว้แนบอก แล้วสบตา พูดคุย หรือทำท่าทางให้เด็กสนใจ เช่น ทำตาโต ขยับปาก ยิ้ม หัวเราะ เพื่อดูปฏิกิริยาตอบกลับของลูก

●อายุ 3-4 เดือน หันตามเสียงได้

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย หรืออุ้มนั่งตัก โดยหันหน้าออกจากผู้ปกครอง แล้วเขย่าของเล่นที่มีเสียงด้านข้างเด็ก เพื่อให้เด็กหันมองตามเสียงของเล่น สลับทำด้านซ้าย-ขวาของเด็กค่ะ

●อายุ 5-6 เดือน หันตามเสียงเรียก หรือเสียงพูดคุยได้

ผู้ปกครองจัดให้เด็กนั่งบนเบาะ แล้วพยุงหลัง พร้อมพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงปกติ เมื่อเด็กหันตามเสียง ให้ยิ้มและเล่นกับเด็ก

4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)

●แรกเกิด-1 เดือน ส่งเสียงอ้อแอ้ได้

ผู้ปกครองอุ้ม หรือสัมผัสตัวเด็กเบาๆ พร้อมสบตา พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงสูง ต่ำ

●อายุ 1-2 เดือน ทำเสียงในลำคอ (อู อือ อา) อย่างชัดเจน

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย หรืออุ้ม แล้วยื่นหน้าเข้าไปใกล้ พร้อมสบตา พูดคุย แล้วทำเสียงอู อือ อา ในลำคอให้เด็กได้ยิน เพื่อให้เด็กส่งเสียงตาม

●อายุ 3-4 เดือน ทำเสียงสูงต่ำ เพื่อแสดงความรู้สึก

ผู้ปกครองสบตา พูดคุย และหัวเราะกับลูก โดยทำเสียงสูงต่ำ ในระหว่างเล่นกับเด็ก

●อายุ 5-6 เดือน เลียนแบบการเล่นเสียง ขยับปากเพื่อทำเสียงตาม

ผู้ปกครองร้องเพลงให้เด็กฟัง โดยใช้เสียงสูงต่ำ เช่น เพลงช้าง เพลงเป็ด หรือเล่นกับเด็ก ด้วยการใช้ริมฝีปากทำเสียง จุ๊บๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำตาม

5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)

●แรกเกิด-1 เดือน จ้องหน้าได้อย่างน้อย 1 วินาที

ผู้ปกครองจับเด็กนอนหงาย หรืออุ้ม แล้วสบตา พูดคุย ส่งยิ้ม หรือทำตาโต กระพริบตา เพื่อให้เด็กสนใจ

●อายุ 1-2 เดือน ยิ้มตอบ หรือส่งเสียง เมื่อผู้ปกครองยิ้ม พูดคุยด้วย

ผู้ปกครองอุ้มเด็กอยู่ในท่านอนหงาย แล้วมองตา และสัมผัสตัวเด็กเบาๆ พร้อมพูดคุยกับเด็กด้วยคำพูดสั้นๆ ซ้ำๆ ไปมา เพื่อให้เด็กยิ้ม หรือส่งเสียงตอบ

●อายุ 3-4 เดือน ยิ้มทักพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู

ผู้ปกครองส่งยิ้ม และพูดคุยกับเด็กทุกครั้ง หรือพูดกระตุ้นให้เด็กทำตามบ่อยๆ เช่น “ยิ้มให้คุณพ่อซิลูก” ในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ

●อายุ 5-6 เดือน สนใจผู้พูด และสามารถมองของเล่นที่เด็กสนใจ ได้นาน 5 วินาที

ผู้ปกครองจัดให้เด็กนั่งหันหน้าเข้าหาผู้ปกครอง แล้วเรียกชื่อ พูดคุย และถือของเล่นที่เด็กคุ้นเคย ให้อยู่ในระดับสายตา แล้วพูดคุยเกี่ยวกับของเล่น

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน-1 ปี

1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)

●อายุ 7-8 เดือน นั่งทรงตัวได้มั่นคง และเอี้ยวตัวใช้มือเล่นได้อิสระ หรือยืนเกาะของระดับอกได้เอง โดยใช้แขนพยุง

ผู้ปกครองจับเด็กนั่งบนเบาะ แล้ววางของเล่นไว้ที่พื้นด้านข้าง เรียกชื่อเด็กให้สนใจของเล่น เพื่อเด็กจะได้เอี้ยวตัวไปหยิบของเล่น

●อายุ 9 เดือน ลุกขึ้นนั่งได้จากท่านอน และยืนเกาะของระดับอกได้เอง โดยไม่ใช้หน้าอก หรือแขนพยุง

ผู้ปกครองจับเด็กนอนคว่ำ จับงอเข่า และมือดันพื้น พร้อมกดสะโพก เพื่อช่วยให้เด็กพยุงตัวนั่งได้ และจับให้เด็กยืนเกาะของ อาจเปิดเพลงกระตุ้นให้เด็กยืนได้นานขึ้น หรือ โยกตัวเล็กน้อยตามจังหวะเพลง

●อายุ 10 เดือน-1 ปี  ยืนเองได้นาน 2 วินาที

ผู้ปกครองช่วยพยุงตัวเด็กให้ยืน เมื่อเริ่มทรงตัวได้ เปลี่ยนมาจับข้อมือของเด็ก แล้วค่อยๆ ปล่อยให้เด็กยืนเอง

2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)

●อายุ 7-8 เดือน จ้องมองรูปภาพ ตามที่ผู้ปกครองชี้ชวนให้มอง ในขณะเดียวกันผู้ปกครองก็พูดคุยกับเด็กด้วย อย่างน้อย 2 วินาที

ผู้ปกครองอุ้มเด็กให้นั่งตัก แล้วเปิดหนังสือ พร้อมพูดคุย ชี้ชวนให้เด็กดูรูปภาพในหนังสือ 

●อายุ 9 เดือน หยิบของจากพื้นโดยใช้นิ้วมือ

ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ด้วยการวางของเล่นสีสดใสขนาดประมาณ 1 นิ้วบนพื้น 2 ชิ้น แล้วเคาะของเล่นกับโต๊ะทีละชิ้น เพื่อกระตุ้นให้เด็กหยิบ

●อายุ 10 เดือน-1 ปี  ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ หยิบของชิ้นเล็กได้

ผู้ปกครองแบ่งอาหาร หรือผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ไว้ในจาน แล้วหยิบโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ให้เด็กดู แล้วบอกให้เด็กทำตาม

3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)

●อายุ 7-8 เดือน เด็กหันตามเสียงเรียกชื่อได้

ผู้ปกครองเรียกชื่อเด็กบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงปกติ โดยอยู่ห่างจากตัวเด็กประมาณ 120 ซม. แล้วสังเกตว่าเด็กหันตามเสียงเรียกหรือไม่

●อายุ 9 เดือน ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เมื่อใช้ท่าทางประกอบ

ผู้ปกครองเล่นทำท่าทางประกอบเพลงกับเด็ก โดยการเคลื่อนไหวนิ้วมือตามเพลง แล้วให้เด็กทำท่าตาม

●อายุ 10 เดือน-1 ปี  โบกมือ หรือตบมือตามคำสั่งได้

ผู้ปกครองเล่นกับเด็ก โดยสั่งให้เด็กทำตาม เช่น โบกมือ ตบมือ พร้อมทำท่าทางประกอบ

4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)

●อายุ 7-8 เดือน เลียนเสียงพูดคุยได้

ผู้ปกครองพูดคุย เล่นกับเด็ก และออกเสียงตามทำนองเพลง หรือร้องเพลงให้เด็กฟัง สังเกตว่าเด็กออกเสียงตามหรือไม่ 

●อายุ 9 เดือน ปฎิเสธได้ด้วยการแสดงท่าทาง หรือเลียนเสียงคำพูดที่คุ้นเคยได้ อย่างน้อย 1 เสียง

ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กวัยนี้ ด้วยการให้คนที่เด็กไม่คุ้นเคยขออุ้มเด็ก พร้อมให้ผู้ปกครองแสดงท่าทางส่ายหน้า พูดว่า “ไม่เอา” และเปล่งเสียงให้เด็กเลียนเสียงตาม

●อายุ 10 เดือน-1 ปี  แสดงความต้องการ ด้วยการทำท่าทาง หรือเปล่งเสียง

ผู้ปกครองนำของเล่นที่เด็กชื่นชอบวางไว้ตรงหน้าเด็ก แล้วถามว่า “เอาอันไหน” หรือ “เอาไหม”  เพื่อให้เด็กแสดงความต้องการ

 5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)

●อายุ 7-8 เดือน เล่นจ๊ะเอ๋ได้ และมองหาผู้เล่นได้ถูกทิศทาง

ผู้ปกครองเล่นจ๊ะเอ๋กับเด็กบ่อยๆ โดยใช้มือ หรือผ้าปิดหน้า

●อายุ 9 เดือน ใช้นิ้วมือหยิบอาหารกินได้

ผู้ปกครองวางอาหารที่เด็กชอบ และหยิบง่าย ไว้ตรงหน้าเด็ก จับมือเด็กหยิบอาหารใส่ปาก แล้วปล่อยให้เด็กทำเอง

●อายุ 10 เดือน-1 ปี  เล่นสิ่งของ ได้ถูกตามประโยชน์ของสิ่งของนั้นๆ ได้

ผู้ปกครองแสดงท่าทางเล่นกับสิ่งของ เช่น แปรงฟัน หวีผม ป้อนอาหารเด็ก ให้เด็กดู เพื่อให้เด็กทำตาม

พัฒนาการเด็กแรกเกิด จนถึงพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ และสติปัญญาเปลี่ยนแปลงเร็ว การเข้าใจในพัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปีนี้ จึงเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเด็กและผู้ปกครองค่ะ เพราะสามารถเช็กพฤติกรรม และลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาได้อย่างใกล้ชิด และหากมีข้อใดที่ไม่เป็นไปตามเช็คลิสต์ก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีค่ะ

นอกจากนี้ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ยังสามารถส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่บ้านได้อย่างเหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ ไม่บกพร่อง และเพื่อเป็นการปูพื้นฐาน เตรียมพร้อมของเด็กก่อนที่เข้าสู่ระบบโรงเรียน

หากคุณพ่อ คุณแม่ทำตามเช็คลิสต์พัฒนาการของลูกตามคู่มือ DSPM สำหรับเด็กแรกเกิด-1 ปี ครบทั้ง 5 ด้านแล้วพบว่า บางข้อเด็กยังทำไม่ได้ ต้องการคัดกรองกับผู้เชี่ยวชาญอีกรอบ และต้องการแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้านที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน และได้ผล สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิกกับทาง HealthSmile ได้ที่ LINE @healthsmilecenter หรือคลิกได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://lin.ee/CDUgd8d

พัฒนาการ 5 ด้านปฐมวัยมีอะไรบ้าง

1. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ... .
2. พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ... .
3. พัฒนาการด้านการเรียนรู้ ... .
4. พัฒนาการด้านภาษา ... .
5. พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์.

พัฒนาการมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

1. พัฒนาการด้านร่างกาย ... .
2. พัฒนาการด้านอารมณ์ ... .
3. พัฒนาการด้านสังคม ... .
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา.

พัฒนาการทั้ง 4 ด้านมีอะไรบ้าง

พัฒนาการด้านร่างกาย.
พัฒนาการด้านสติปัญญา.
พัฒนาการด้านอารมณ์.
พัฒนาการด้านสังคม.