อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีคืออะไร มีอะไรบ้าง

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพิกัดศุลกากร

  1. หน้าหลัก
  2. สิทธิพิเศษทางการค้า
  3. เขตการค้าเสรี (FTA และ WTO)

สิทธิ์เขตการค้าเสรีและ WTO

  • WTO
  • ASEAN
  • ASEAN - CHINA
  • ASEAN - KOREA
  • ASEAN - JAPAN
  • ASEAN - INDIA
  • ASEAN - AUSTRALIA - NEW ZEALAND
  • THAI - AUSTRALIA
  • THAI - NEW ZEALAND
  • THAI - JAPAN
  • THAI - PERU
  • THAI - INDIA
  • THAI - CHINA
  • THAI - CHILE
  • THAI - SINGAPORE
  • THAI - EU
  • RCEP
  • DFQF
  • GSP
  • GSTP
  • AISP
  • BIMSTEC
  • ASEAN - HONGKONG

    ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA

    FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

      

    1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
    2. แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation)
      นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้
      1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
      2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
      3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
      4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ

    3. ความหมายของเขตการค้าเสรี
    4. เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
    5. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย
    6. เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

    ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA 

    ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

    1. ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
    2. เพิ่มมูลค่าในทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
    3. เพิ่มโอกาสการส่งออก ได้ตลาดใหม่ และขยายตลาดเดิม
    4. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
    5. สร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ การเมือง
    6. ให้ความร่วมมือทางด้านศุลกากร การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลการลักลอบ หลีกเลี่ยง และสินค้าอันตราย สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
    7. พัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    8. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และเทคโนโลยีการผลิต
    9. สร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

    คะแนนเฉลี่ย

    คะแนนเฉลี่ย 5 stars 4 stars 3 stars 2 stars 1 star

    อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีคืออะไร มีอะไรบ้าง

    การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2549 มุ่งเน้นใช้การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศไม่สามารถผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะนี้ ทั้งการลงทุนและ การบริโภคภายในที่ชะลอตัว รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้การส่งออกของไทยในปี 2549 ขยายตัว 17.5% ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม) การส่งออกขยายตัว 16.5% อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยในปีนี้ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งการแข็งค่าของค่าเงินบาท ราคาน้ำมันในระดับสูงทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย ขาขึ้น และที่สำคัญ คือ อุปสรรคจากมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ที่สินค้าส่งออกของไทยประสบมาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันแม้ว่าภาษีศุลกากรของสินค้าในการค้าโลกลดลงเป็นลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากพันธกรณีการเปิดเสรีการค้าพหุภาคีขององค์การการค้าโลก (WTO) แต่การใช้มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) กลับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับและมีรูปแบบใหม่ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นที่น่าสังเกตว่า วัตถุประสงค์ของการใช้มาตรการ NTBs ได้เปลี่ยนจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) และมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศ มาเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ โดยใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phyto-Sanitary Measures: SPS) และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าด้านเทคนิค (Technical Barriers to Trade: TBT) มากขึ้นเป็นลำดับ โดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งการรักษาและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการของแรงงาน
    สินค้าส่งออกไทย : เผชิญมาตรการ NTBs

    1. สินค้าประมงไทย - การส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับมาตรการ NTBs หลายรูปแบบ โดยไทยถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) และเรียกเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้า (Continuous Bond) สินค้ากุ้งแช่แข็ง รวมทั้งการที่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ออกข้อบังคับให้ผู้ส่งออกกุ้งไทยต้องมีใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจากองค์กรเอกชนของสหรัฐฯ ได้แก่ Aquaculture Certification Council (ACC) โดยไม่ยอมรับใบรับรองการตรวจสอบของกรมประมงของไทย ทำให้บริษัทเอกชนไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการตรวจสอบของ ACC และอาจทำให้ห้างอื่นๆ ในสหรัฐฯ กำหนดกฎระเบียบนี้ตามมา สหภาพยุโรป (อียู) ออกข้อบังคับด้านสาธารณสุขฉบับใหม่ในช่วงต้นปี 2549 โดย อียูจะไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่มีความปลอดภัยไม่ถึงระดับมาตรฐาน เช่น มีสารปนเปื้อน/แบคทีเรีย/เชื้อโรค เเกินมาตรฐาน โดยข้อบังคับนี้ของอียูครอบคลุมเพิ่มเติมถึงสินค้าประมง รวมถึงกุ้ง จากเดิมที่กำหนดเฉพาะมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้สด นอกจากนี้ อียูยังตั้งเงื่อนไขให้หลายองค์กรเอกชนของตนเข้ามาตรวจสอบกระบวนการผลิตกุ้งของไทย โดยไม่ยอมรับใบตรวจรับรองของกรมประมงของไทยเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าประมง และอาหารทะเลกระป๋องแปรรูป ควรคำนึงถึงมาตรฐานด้าน food safety ไม่เช่นนั้นอาจถูกประเทศอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรือมาเลเซีย (ซึ่งเป็นประเทศที่สหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าประมงเช่นกัน) แย่งชิงตลาดสหภาพยุโรปไปได้
    2. สินค้าอุตสาหกรรมไทย - สินค้าอุตสาหกรรมของไทยต้องเผชิญกับอุปสรรคการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากกฎระเบียบ RoHS (Directive on the Restriction of the Use of certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment) กำหนดสารอันตรายต้องห้าม 6 ชนิด ในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 จากก่อนหน้านี้ที่อียูกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือ WEEE (Directive on Waste Electrical and Electronic Equipment) ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปอียูเพิ่มขึ้น จากการถูกผลักภาระต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ WEEE โดยผู้นำเข้าของ EU นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2550 ร่างกฎหมายระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ (Regulation on the Registration, Evaluation, and Authorization of Chemicals : REACH) ของอียูจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งครอบคลุมเคมีภัณฑ์ต้องห้ามถึง 30,000 ชนิดกฎหมาย RoHS ที่กำหนดสารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ทำให้สินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทยไปสหภาพยุโรป ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ได้รับผลกระทบโดยต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารอันตราย 6 ชนิดในการผลิตสินค้า สินค้าส่งออกสำคัญอื่นๆ ของไทยไปสหภาพยุโรปที่จะได้รับผลกระทบจากกฎ RoHS ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ (สินค้าส่งออกอันดับ 5 ของไทยไป EU) และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (สินค้าส่งออกอันดับ 8 ของไทยไป EU)
    ภาครัฐและภาคเอกชนไทยควรร่วมมือกันพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย เพื่อขจัดอุปสรรคจากมาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขกับสินค้าส่งออกของไทย ถือเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) รูปแบบใหม่ที่ไทยเผชิญในปัจจุบัน และ มีแนวโน้มการใช้มาตรการนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ภาครัฐควรเร่งยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยผ่านองค์กรกลางด้านมาตรฐานสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนภาคเอกชนควรเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า โดยคำนึงถึงมาตรฐานสากลและกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ทั้งด้านสุขอนามัย การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพแรงงาน เพื่อกระตุ้นให้การส่งออกของไทยขยายตัวตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกของไทยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของ GDP โดยเฉพาะในปี 2549 ที่ปัจจัยภายในทั้งการลงทุนและการบริโภคชะลอตัว จากราคาน้ำมันในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐชะงักงัน และความไม่แน่ชัดทางการเมือง ล้วนเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยในปีนี้