กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา คือ

ความหมาย

กายวิภาคศาตร์ (anatomy)เป็นศาสตร์หรือแขนงของการศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายของสัตว์และมนุษย์ รวมทั้งตำแหน่งและที่  ตั้ง(anatomy เริ่มครั้งแรกในประเทศอียิปต์ ในกลางศตวรรษที่ 4 Hippocrates  ได้สอนวิชานี้ในประเทศกรีก ใน คศ. 384-322 Aristotle เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า “anatome” ซึ่งเป็นคำกรีก หมายถึง “cutting up“  เรียกว่า “ชำแหละ”  การชำแหละ (dissection) 

สรีรวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆของร่างกายในภาวะที่ปกติ

สาขาวิชากายวิภาศาสตร์

Microscopic Anatomy หมายถึง การศึกษาโครงสร้างของสัตว์และพืช เป็นรายละเอียดขนาดเล็กๆ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)

Gross Anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างของร่างกายด้วยตาเปล่า โดยใช้เครื่องมือชำแหละช่วย

Developmental Anatomy หมายถึงการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิ(Fertilized egg) จนถึงตอนที่ร่างกายของมนุษย์เติบโตเต็มที่

Neuroanatomy เป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและร่วมมือกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นๆให้ดำเนินไปด้วยดี

คำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์

  • Anatomical  position หมายถึงร่างกายที่อยู่ในท่ายืนตรงตามองไป ข้างหน้าแขนขา ชิดลำตัวหันฝ่ามือไปข้างหน้า

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา คือ

ภาพ : ท่ายืนทางกายวิภาค

  • Longitudinal เกี่ยวกับตามความยาวของร่างกาย
  • Median plane แบ่งร่างกายในแนวตั้งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน หรือสามารถเรียกเป็นmidsagittal planeได้ แต่จะมีอีกหนึ่งเพลนที่เป็นแนวขนานกับmedian plane แต่ไม่ได้ผ่านตรงกลาง โดยทั่วไปจะเรียกว่า sagittal plane ซึ่งแบ่งลำตัวออกเป็นด้านซ้ายขวา
  • Frontal/coronal plane แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนหน้ากับส่วนหลัง
  • Horizontal/transverse/axial plane แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและส่วนล่าง

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา คือ

ภาพ : การแบ่งพื้นที่ของร่างกาย

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา คือ

 

ภาพ: การแสดงคำศัพท์ทางกายวิภาค

ช่องว่างภายในร่างกาย (Body Cavity)

        ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยช่องว่างภายในร่างกาย 2 ช่องหลัก คือช่องว่างทางด้านหลัง (dorsal cavity)  และช่องว่างทางด้านหน้า (ventral cavity) ช่องว่างของร่างกายเปรียบเสมือนเกราะที่ป้องกันอวัยวะภายใน   โดย  dorsal cavity  ประกอบไปด้วยสมอง ไขสันหลัง ส่วน ventral cavityจะประกอบไปด้วยอวัยวะภายในช่องอก  ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน

ช่องว่างทางด้านหน้า (ventral cavity)

        ช่องว่างทางด้านหน้าเป็นช่องว่างในส่วนของลำตัวซึ่งอยู่หน้าต่อกระดูกสันหลัง และหลังต่อกระดูกหน้าอก (sternum)และกล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นผนังหน้าท้อง  ประกอบด้วย 2 ช่องคือช่องอก (thoracic cavity) และช่องท้องและเชิงกราน (abdominalpelvic cavity)

1.ช่องอก (thoracic cavity)

ช่องอก ประกอบไปด้วย หัวใจ ปอด หลอดลม กล่องเสียง หลอดอาหาร  ต่อมไธมัส และเส้นเลือดใหญ่จำนวนมาก ผนังของช่องอกคือกล้ามเนื้อและกระดูก ในช่องอกประกอบด้วยช่องย่อยๆ คือช่องรอบหัวใจ (pericardial cavity) ภายในช่องนี้เป็นหัวใจ    และช่องปอด (pleural cavity) ซึ่งมีซ้ายขวา ภายในช่องนี้เป็นปอด  ส่วนช่องตรงกลางของช่องอก เรียกว่า mediastinum ภายในบรรจุด้วย หัวใจ เส้นเลือดใหญ่ที่หัวใจ  ต่อมไธมัส   หลอดลม และหลอดอาหาร  โดยปอดจะอยู่ด้านนอกmediastinum

2.ช่องท้องและเชิงกราน (abdominalpelvic cavity) 

ช่องท้องและเชิงกราน แยกออกจากช่องอกโดยกะบังลม โดยประกอบไปด้วยช่องท้อง (abdominal cavity)  และช่องเชิงกราน (pelvic cavity)   ภายในช่องท้องประกอบด้วยอวัยวะของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี  กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ไต ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่  ส่วนช่องเชิงกราน ประกอบด้วยอวัยวะภายในของระบบสืบพันธุ์  บางส่วนของลำไส้ใหญ่  ไส้ตรง และกระเพาะปัสสาวะ

ช่องว่างทางด้านหลัง (dorsal cavity)

ช่องว่างร่างกายทางด้านหลังประกอบไปด้วยระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่องย่อย คือ cranial cavityซึ่งเป็นช่องว่างภายในกะโหลกศีรษะ ภายในช่องนี้บรรจุด้วยสมอง    และspinal cavityเป็นช่องภายในกระดูกสันหลัง ภายในช่องนี้บรรจุด้วยไขสันหลัง

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา คือ

ภาพ : ช่องต่างๆของร่างกาย

กายวิภาคศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ 1. ทำให้รู้ตำแหน่งต่างๆของอวัยวะในร่างกาย 2. ทราบรูปร่าง ลักษณะและองค์ประกอบของอวัยวะต่างๆ 3.สามารถเรียกชื่ออวัยวะต่างๆตามคำศัพท์เทคนิคที่ยอมรับและเข้าใจกันอย่างสากล 4. เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เช่น วิชาศัลยศาสตร์ และวิชาการสืบพันธุ์ เป็นต้น

กายวิภาคศาสตร์ มีอะไรบ้าง

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ในแต่ละระบบ.
ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย (Integumentary system).
ระบบหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular system).
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system).
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system).
ระบบขับถ่าย (Excretory system).
ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system).
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal system).

Developmantai Anatomy คืออะไร

4. คัพภะวิทยา (embryology หรือ developmental anatomy) หมายถึงการศึกษาการ เจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงของเซลลตลอดจนเนื้อเยื่อ และอวัยวะในรางกาย ตั้งแตเปนตัวออนใน ระยะแรก (zygote)จนกระทั่งถึงระยะกอนคลอด

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา แตก ต่าง กันอย่างไร

ทั้งสองสาขาวิชาจะแตกต่าง กันที่กายวิภาคศาสตร์เน้น การศึกษาเกี่ยวกับโครงร่าง ส่วนสรีรวิทยาเน้นที่การศึกษา เกี่ยวกับการท างานและหน้าที่ การจาแนกสาขากายวิภาคศาสตร์