วิธีป้องกัน อุบัติเหตุ ที่เกิด จาก สถาน ที่ และ สิ่งแวดล้อม

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

นรั้วโรงเรียนมีบริเวณไหนบ้างที่ควรระวัง มาดู 10 จุดเสี่ยงที่โรงเรียนต้องป้องกันให้ดี ก่อนเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทำให้เด็กได้รับอันตราย

          นอกจากบ้านแล้ว โรงเรียนก็ไม่ต่างจากบ้านที่สองของเด็ก ๆ เพราะตั้งแต่เช้าจรดเย็น เด็ก ๆ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมอยู่ในโรงเรียนทั้งนั้น แต่ด้วยนิสัยซุกซน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็อาจทำให้พวกเขาประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยที่มีสิทธิ์เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียนก็เป็นได้

          แบบนี้คงต้องเป็นหน้าที่ของโรงเรียนแล้วล่ะ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้ โดยเฉพาะ 10 จุดเสี่ยงต่อไปนี้ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะนำให้โรงเรียนต้องหมั่นตรวจสอบดูแลและเฝ้าระวังให้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ไปดูกันว่ามีจุดไหนบ้าง

สนามเด็กเล่น

          พื้นที่สนามเด็กเล่นเป็นบริเวณที่เด็ก ๆ ชอบเป็นพิเศษ เพราะมีเครื่องเล่นให้สนุกกันเต็มที่ และยิ่งสนุกก็ยิ่งขาดความระวัง ดังนั้น สิ่งที่โรงเรียนต้องตรวจสอบและเฝ้าระวัง ก็คือ

          พื้นสนามเด็กเล่นต้องเป็นพื้นเรียบและปูด้วยวัสดุอ่อน เช่น ทราย ยางสังเคราะห์ เป็นต้น จะช่วยรองรับแรงกระแทก หากเด็กพลัดตกจากเครื่องเล่น

          จัดพื้นที่สนามเด็กเล่นให้เป็นส่วน ทำรั้วรอบสนามเด็กเล่น ป้องกันไม่ให้เด็กแอบเข้าไปเล่นในช่วงที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล

          ต้องตรวจสอบว่าเครื่องเล่นยึดติดกับพื้นอย่างแน่นหนาหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องเล่นที่หมุนหรือเคลื่อนที่ได้ เช่น ลูกโลก ชิงช้า เพื่อไม่ให้เครื่องเล่นล้มทับเด็ก

          ควรจัดหาเครื่องเล่นที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเครื่องเล่นไม่ควรสูงเกิน 120 เซนติเมตร

          เครื่องเล่นกระดานลื่นต้องมีราวจับและแผงกันการพลัดตก

          เครื่องเล่นที่มีลักษณะเป็นลูกกรง ควรมีช่องว่างมากกว่า 23 นิ้ว เพื่อป้องกันศีรษะเด็กเข้าไปติด

          หมั่นตรวจสอบเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ หากพบเครื่องเล่นชำรุดควรรีบแจ้งช่างมาดำเนินการแก้ไขทันที

โต๊ะ-เก้าอี้

          เป็นอุปกรณ์สำคัญและใกล้ตัวเด็กนักเรียนมากที่สุด ดังนั้น โรงเรียนต้องตรวจสอบโต๊ะเก้าอี้ทุกตัวให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง นั่งแล้วไม่โยกเยก และที่สำคัญคือต้องไม่มีตะปูแหลมคมยื่นออกมา เพราะถ้าเด็กกระโดดเล่นอาจพลัดตกลงมาโดนตะปูทิ่ม ได้รับบาดเจ็บได้


 

สระน้ำหรือบ่อน้ำ 

          หากโรงเรียนใดมีสระน้ำหรือบ่อน้ำ ควรทำรั้วกั้นรอบบ่อน้ำ และติดตั้งป้ายเตือนอั

นตรายจากการเล่นบริเวณริมน้ำไว้ด้วย เพื่อป้องกันเด็กลงไปเล่นน้ำ หรือพลัดตกน้ำเสียชีวิต


อาคารเรียน

          บางโรงเรียนมีอาคารเรียนขนาดใหญ่ และมีความสูงหลายชั้น หากเด็กเผลอพลัดตกลงมาก็เป็นอันตรายถึงชีวิต จึงต้องป้องกันความเสี่ยงไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คือ

          หากอาคารเรียนมีความสูงมากกว่า 2 ชั้น ควรจัดให้มีลูกกรงเหล็กปิดระเบียง ประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันเด็กปีนป่ายเล่นและพลัดตกลงมา

          ติดตั้งป้ายในจุดเสี่ยงอันตราย เช่น บริเวณไหนมีพื้นลื่น บันไดชัน สระน้ำลึก ฯลฯ

          จัดให้มีครูดูแลความปลอดภัยของเด็กในโรงเรียน พร้อมประสานเจ้าหน้าที่อำนวยการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน เพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทางแก่เด็ก

ตู้น้ำดื่ม หรือแท็งก์น้ำ

          ได้ยินข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่ามีเด็กนักเรียนมาดื่มน้ำที่ตู้น้ำเย็นแล้วถูกไฟช็อตเสียชีวิต หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำรอยอีก สิ่งที่โรงเรียนต้องทำก็คือ

          ติดตั้งสายดิน เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว

          หมั่นตรวจสอบตู้น้ำดื่มให้อยู่ในสภาพปลอดภัย

          สอนให้เด็กใช้ตู้น้ำดื่มอย่างถูกวิธี โดยแนะนำให้เด็กใช้แก้วรองน้ำจากก๊อกตู้น้ำดื่ม แต่ห้ามใช้ปากดูดน้ำจากก๊อกตู้น้ำดื่มอย่างเด็ดขาด เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วจะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดได้

สนามกีฬา

          สถานที่วิ่งเล่น และเล่นกีฬาของเด็ก ๆ หากมีหลุมมีบ่อ เด็ก ๆ อาจสะดุดหกล้มจนบาดเจ็บได้ ดังนั้น ต้องคอยหมั่นตรวจสอบสภาพสนามอยู่เสมอ ไม่ให้มีเศษวัสดุของมีคมตกอยู่ในพื้นที่ พร้อมกับดูแลรักษาพื้นสนามไม่ให้หญ้าขึ้นรก เพราะหญ้ารกอาจเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ

อาคารที่กำลังก่อสร้าง

          หากสถานศึกษาไหนกำลังมีการก่อสร้างอาคารภายในบริเวณ ควรจัดทำรั้วกั้นหรือใช้ผ้าคลุมบริเวณที่กำลังก่อสร้างไว้ด้วย พร้อมกับติดตั้งป้าย และประกาศเตือนไม่ให้เด็กเข้าไปเล่นในบริเวณดังกล่าว เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากวัสดุก่อสร้าง เช่น กระจก กระเบื้อง ตะปู เป็นต้น 

บันได

          เด็กหลายคนชอบวิ่งเล่นขึ้น-ลงบันได ดังนั้น โรงเรียนต้องสอนเด็กไม่ให้วิ่งเล่นบริเวณบันได เพราะอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังต้องซ่อมแซมบันไดให้อยู่ในสภาพแข็งแรง โดยเฉพาะบันไดที่เป็นไม้ เพราะบันไดไม้อาจถูกปลวกกัดกินจนผุพัง ถ้าเด็กไปยืนพิง หรือกระโดดเล่นบนบันได อาจตกบันไดได้รับบาดเจ็บ

เครื่องใช้ไฟฟ้า

          เครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นอันตรายใกล้ตัวที่หลายคนหลงลืมไป โดยเฉพาะปลั๊กไฟที่มีการติดตั้งอยู่ทั่วโรงเรียน ดังนั้น ต้องป้องกันไม่ให้เด็กได้รับอันตรายจากไฟดูด ดังเช่น 

          ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          ติดตั้งปลั๊กไฟให้อยู่ในระดับที่พ้นจากมือเด็ก แต่หากปลั๊กไฟอยู่ในระดับที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กใช้นิ้วแหย่ปลั๊กไฟเล่น ซึ่งอาจทำให้ถูกไฟดูดเสียชีวิตได้

          หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต 
สระน้ำหรือบ่อน้ำ

          หากโรงเรียนใดมีสระน้ำหรือบ่อน้ำ ควรทำรั้วกั้นรอบบ่อน้ำ และติดตั้งป้ายเตือนอันตรายจากการเล่นบริเวณริมน้ำไว้ด้วย เพื่อป้องกันเด็กลงไปเล่นน้ำ หรือพลัดตกน้ำเสียชีวิต

ประตูโรงเรียน

          ส่วนใหญ่แล้วประตูทางเข้าโรงเรียนจะมีขนาดใหญ่และหนัก นี่จึงเป็นจุดอันตรายที่เด็ก ๆ ทุกคนต้องเดินผ่าน ดังนั้นควรตรวจสอบตามนี้

          ต้องตรวจสอบว่าอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ โดยเฉพาะรางและล้อเลื่อน มีน็อตยึดติดอย่างแน่นหนาหรือไม่

          หากชำรุด หรือผุกร่อน ต้องแจ้งให้ช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที

          ทำเสาครอบประตู เพื่อป้องกันประตูล้มทับเด็ก

          ผู้ดูแลต้องดูแลเด็กไม่ให้ปีนป่ายประตูและกำแพงโรงเรียน เพื่อป้องกันการพลัดตกหรือถูกประตูและกำแพงล้มทับ

          จะเห็นว่าทั้ง 10 จุดเสี่ยงอยู่รอบตัวเด็ก ๆ ทั้งนั้นเลย เช่นนี้แล้ว โรงเรียนต้องดูแลเอาใจใส่ให้มากขึ้น ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้เด็ก ๆ ได้ใช้ชีวิตการเรียนรู้ในรั้วโรงเรียนอย่างมีความสุข และสร้างความสบายใจให้พ่อแม่ผู้ปกครองด้วย

ที่มา : Kapook.com