วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ช่วงสายของวันสบาย ณ รีสอร์ตแห่งหนึ่งบนเกาะลันตา จ.กระบี่ ชาวไทยและชาวต่างชาติราวสิบชีวิตมารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้วิธีแปลงใบไม้แห้งและเศษอาหารเป็นปุ๋ยหมัก ทุกคนล้อมวงด้วยความตั้งใจ สายตาจับจ้องที่วิทยากร

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

“เศษอาหารจากครัว ทั้งดิบและสุกใช้ได้หมด กรองเอาแต่กาก กระดูกไม่ย่อยแต่เป็นพื้นที่ว่างเติมอากาศ เปลือกไข่ทุบละเอียดเพิ่มแคลเซียม ถังหมักต้องการออกซิเจน ใช้วงตาข่ายให้อากาศผ่านง่าย ใส่มุ้งคลุมป้องกันแมลงวันและสัตว์อื่น”

“รองพื้นด้วยหญ้าแห้งหรือเปียกก็ได้ เศษอาหารวางกลางวง เกลี่ยบางๆ อย่าอัดแน่น ใบไม้เศษหญ้าเป็นตัวกรองกลิ่น ตามด้วยมูลสัตว์มีจุลินทรีย์ช่วยย่อย เมื่อเปียกจุลินทรีย์จะเริ่มทำงาน เรียงเป็นชั้นเหมือนลาซานญ่าแล้วรดน้ำ” พี่หนี กษีร กันตวนิช ผู้ประกอบการโรงแรม คอสตา ลันตา อธิบายชัดเจนทุกขั้นตอนทั้งภาษาอังกฤษและไทย พร้อมชักชวนให้ผู้ฟังร่วมลองปฏิบัติกับวงหมักปุ๋ยสาธิตที่ตั้งอยู่ตรงหน้า

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

เธอย้ำข้อควรระวังต่างๆ ก่อนปิดท้ายด้วยช่วงซักถาม…กลิ่นเหม็นไหม ทำไมไม่มีแมลงวัน ควรตั้งในร่มหรือกลางแดด ใช้ใบกล้วยหรือทางปาล์มได้หรือไม่…แน่นอนว่าทุกข้อสงสัยได้รับการคลี่คลายด้วยคำตอบจากประสบการณ์ตรงของคนที่ลองผิดถูกมาจนชำนาญ

เวิร์กชอปวิชาปุ๋ยหมักจบลงภายในหนึ่งชั่วโมง เราตามพี่หนีไปนั่งคุยกันยาวๆ ด้วยอยากรู้…ทำไมเลือกกำจัดขยะธรรมชาติและเศษอาหารด้วยการหมักปุ๋ย และทำไมต้องบอกต่อผู้คนมากมายทั้งที่มันหมายถึงเพิ่มภาระงานให้ตัวเอง

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

คอสตา ลันตา เปิดดำเนินการช่วงต้นปี 2545 นับเป็นโรงแรมแรกๆ บนหาดคลองดาว สภาพของเกาะและชายหาดตอนนั้นมีพื้นที่โล่งเหลือเฟือ สิ่งก่อสร้างยังบางตา ต่างจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ขยะจึงไม่อยู่ในความกังวลใจ

ผ่านไปสิบปี เกาะลันตาเปลี่ยนแปลงตามกระแสการเติบโตของภาคท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต ทุกอย่างผุดขึ้นราวดอกเห็ด พี่หนีเริ่มสังเกตเห็นการก่อตัวของภูเขาขยะ ทั้งถุงดำมากมายที่กองข้างถนนและโชยกลิ่นเหม็นยามเดินผ่าน ทั้งปริมาณขยะภายในโรงแรมเองซึ่งเพิ่มขึ้นตามจำนวนห้องพักและลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ในส่วนของขยะเปียกจากครัว แม้จะมีห้องจัดเก็บมิดชิดตามข้อบังคับ แต่รถเก็บขยะของ อบต. ศาลาด่าน ไม่ได้มาทุกวันอย่างที่ควรจะเป็น ขณะที่ขยะจำพวกใบไม้ เศษหญ้า ทางมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งมีปริมาณเยอะมากก็สะสมรวมเป็นกองพะเนิน ไม่สามารถเผาได้เหมือนเดิมเพราะควันจะรบกวนเพื่อนบ้าน

“พูดตามตรง ที่เริ่มหาวิธีจัดการไม่ใช่เพราะห่วงใยสิ่งแวดล้อมนะ แต่เพราะรู้สึกว่าพึ่งคนที่จะมาแก้ปัญหาตรงนี้ให้พี่ไม่ได้”

เริ่มด้วยให้พนักงานสี่คนขนไปทิ้งที่หลุมฝังกลบขยะ เพียงไม่นานก็รู้ว่า นอกจากเสียแรงงานไปครึ่งค่อนวันแล้ว ที่หลุมฝังกลบขยะนั่นไม่มีการจัดการอะไรเลย ทิ้งทุกอย่างรวมกันซึ่งไม่ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวแน่นอน

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

พี่หนีตั้งเป้าหมายแรกที่กำจัดใบไม้ ตัวช่วยอย่างกูเกิ้ลพาไปเจอกับ สารเร่ง พด. หรือจุลินทรีย์แห้งที่มีประสิทธิภาพในการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แต่เมื่อลงมือจริงกลับไม่ง่ายอย่างคิด

ครั้นศึกษาเพิ่มเติมจนรู้วิธีการใช้งาน พด. ที่ถูกต้อง ยิ่งพบความยากจากเงื่อนไขต้องกลับกองใบไม้เพื่อเติมอากาศ แม้จะลงทุนซื้อเครื่องย่อยใบไม้ให้เล็กลง แต่จำนวนพนักงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอรับมือกับปริมาณขยะธรรมชาติที่ต้องจัดการ ผ่านไปสองปีก็ยังไม่สำเร็จ สุดท้ายต้องยอมแพ้และยอมรับว่าวิธีนี้ไม่เหมาะกับคอสตา ลันตา

หลังจากนั้นเพื่อนต่างชาติแนะนำให้รู้จักกับไส้เดือน พี่หนีตื่นเต้นและสนใจถึงขนาดพาตัวเองไปเรียนรู้และซื้อตัวไส้เดือนจากฟาร์มกลับมาที่โรงแรม ให้คนงานสร้างโรงเรือน ต่อชั้นวางกะละมัง ระหว่างเลี้ยงก็ปรึกษาปัญหากับครูผู้สอนอย่างใกล้ชิดกระทั่งประสบความสำเร็จ ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพเยี่ยมและเริ่มเพาะต้นไม้ปลูกผักในโรงแรม…แต่นี่ยังก็ไม่ตอบโจทย์เรื่องการกำจัดใบไม้อยู่ดี

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

กระทั่งสามปีที่แล้ว ครูที่สอนเลี้ยงไส้เดือนแนะนำให้เข้าไปดูเพจห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง แม่โจ้ ซึ่งบอกเล่าความรู้และอธิบายวิธีการทำปุ๋ยหมักที่คิดค้นและพัฒนาโดย ผศ. ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

“ตอนแรกไม่มั่นใจ เปิดอ่านดูไม่น่ายาก ลองทำกองเล็กแถวนึงก่อน ใช้แค่ใบไม้กับขี้วัว เอ๊ย มันได้ผล เลยขยายหลายกอง จนมาเจอว่ามีกำจัดเศษอาหารให้ครัวเรือนด้วย คราวนี้พี่ปิ๊งเลย ก็ลองดู” พี่หนีเล่าด้วยแววตาเป็นประกาย
เนื่องจากภาพในเพจมีแต่เศษผัก ขณะที่เศษอาหารของโรงแรมหลากหลายชนิดกว่านั้น จึงส่งข้อความไปถามโดยไม่คาดหวังคำตอบ ทว่าภายในวันเดียวก็ได้รับคำอธิบายเพิ่มเติม หลังจากซักถามจนมั่นใจก็ได้เวลาลงมือ

“ทำอันแรกพี่ตั้งวงข้างครัวเลย เพื่อจะลองว่าไม่มีปัญหาแมลงวันจริงหรือเปล่า วันนั้นหัวกุ้ง หางกุ้ง ของสด เตรียมไว้โยนลงไปฮึ่ม โอ้โห แมลงวันเยอะมามาก ก็ฝืนทำต่อ วันที่สองแมลงวันเกาะดำปี๋เลยนะ วันที่สามเริ่มมีหนอนแมลงวัน ก็ถ่ายรูปส่งให้อาจารย์ดู พอได้รับคำอธิบาย อ๋อ เราทำผิดมหันต์เลย แต่ไม่เลิก ตั้งวงใหม่”

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ความผิดพลาดที่ว่า คือการเทเศษอาหารเยอะเกินไปและกระจัดกระจายถึงขอบวงตะแกรง แม้จะมีมุ้งพลาสติกคลุม แมลงวันก็ยังสามารถวางไข่ได้ ในเวิร์กชอปแต่ละครั้งพี่หนีจึงย้ำหนักหนาให้เทอาหารแค่กลางวง เกลี่ยออกอย่างระมัดระวัง

ผ่านไปสองเดือน ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจจึงส่งภาพถ่ายปุ๋ยหมักที่ได้ไปทางเฟซบุ๊ค ปรากฏว่า อาจารย์ธีระพงษ์ขออนุญาตนำภาพไปใช้สอนต่อ เพราะยังไม่เคยทำปุ๋ยหมักกับเศษอาหารอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในปริมาณเยอะขนาดนี้ ซึ่งพี่หนีก็ยินดีมาก ในตอนนั้นนอกจากเพิ่มวงหมักปุ๋ยไปเรื่อยๆ ยังวางแผนจะเผยแพร่วงกว้างขึ้นด้วย

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

“ย่อยเร็วมากและง่ายกว่าที่คิดเยอะ เลยคิดต่อว่า จริงๆ น่าจะทำกันหลายๆ ที่ เพราะทุกคนเจอปัญหาเดียวกัน บ่นเรื่องเดียวกัน ในเมื่อเราทำแล้วได้ผล เพราะเทคนิค 1 2 3 พวกนี้ เราก็บอกออกไป ถ้าเขาสนใจอยากแก้ปัญหาจริงๆ มันไม่เหนือบ่ากว่าแรง ถ้าคุณไม่สน ไม่ทำ คุณต้องไม่บ่น และอย่าคาดหวังว่าจะมีคนอื่นมาแก้ปัญหาให้ เพราะมันไม่มี”

ราวครึ่งปีจากเริ่มลงมือปุ๋ยหมักไม่กลับกอง พี่หนีจัด Show and Tell ครั้งแรกที่คอสตา ลันตา มีผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหารที่สนใจเกือบสามสิบคนมาดูวิธีการทำทั้งหมดอย่างละเอียด ตามมาด้วยการจัดระดมทุนและหาสปอนเซอร์จนได้เงินก้อนสำหรับค่าอุปกรณ์ เช่น ตาข่าย มูลวัว ฯลฯ เพื่อจัดเวิร์กชอปปุ๋ยหมักในลักษณะห้องเรียนสัญจรไปตามสถานที่ที่มีผู้แจ้งความสนใจ ซึ่งสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/LantaCompost

“เราสอนฟรี ไม่มีค่าตัว พยายามจัดเดือนละครั้งถ้าเวลาเอื้ออำนวย ซึ่งต้องสอนให้เขาทำได้สำเร็จ โดยไม่ต้องพยายามมากและไม่ยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ มาเรียนแล้วคุณพร้อมจะทำเมื่อไหร่ติดต่อมา เราจะไปช่วยดูสถานที่และแนะนำให้อีกรอบนึง เมื่อคุณรู้ว่ามันทำได้ ทำง่าย ช่วยบอกต่อ เราขอแค่นี้” พี่หนีอธิบายความตั้งใจที่จะบอกต่อขยายผลตามแนวคิดของ อ.ธีระพงษ์

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

นับถึงวันนี้จัดเวิร์กชอปไปแล้วเกือบสิบครั้ง มีผู้เรียนที่ปฏิบัติจริงจังแล้วหลายแห่ง อาทิ ร้านอาหารเดอะ ฟร็อค, โรงแรมฮอลิเดย์ วิลลา, มูนไลท์ เอ็กโซติก เบย์ รีสอร์ต, ลันตา@โฮม, ลันตา คอฟฟี่ กระทั่งโรงเรียนบ้านคลองนินยังพานักเรียนมาดูงานแล้วกลับไปลงมือทำที่โรงเรียนเลย

สำหรับคอสตา ลันตา ปุ๋ยหมักไม่กลับกองตอบโจทย์ปัญหาได้อย่างเหมาะเจาะ เมื่อเปิดโอกาสให้พนักงานทำปุ๋ยหมักได้ในเวลางาน โดยโรงแรมสนับสนุนวัตถุดิบทุกอย่าง แถมยังรับซื้อปุ๋ยหมักคืนอีกต่างหาก พนักงานจึงกระตือรือร้นกันมากขึ้น ตอนนี้ทุกคนก็แฮปปี้ที่มีรายได้เพิ่มเติมจากการทำปุ๋ยหมัก

จากที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเอง พอทำไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นนิสัย พี่หนีก็หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและทุกครั้งที่เห็นเศษอาหารเหลือก็อดไม่ได้ที่จะชักชวนใครต่อใครเข้าร่วมขบวนการปุ๋ยหมัก

วิธี ทํา ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

“นี่ไม่ใช่โรงแรมใหญ่ แต่โรงแรมเดียวลดขยะจากสิบถุงเหลือสามถุงได้อย่างมหัศจรรย์ ถ้าทุกที่ทำกันหมด โอ้โห ปริมาณขยะมันจะฮวบหายไป หนึ่งที่ หนึ่งคน หนึ่งบ้านก็ทำได้นะ มันช่วยได้จริงๆ และถ้าเริ่มทำแล้วจะรู้ว่าประโยชน์ของมันมีมากกว่าแค่ได้ปุ๋ย”

…อย่ามัวลังเลอยู่ตรงรอยต่อของการตัดสินใจ ถ้ารู้สึกรู้สาและอยากแก้ปัญหาขยะอินทรีย์แบบนี้ก็ลุยปฏิบัติเลยแล้วคุณจะสัมผัสได้เองว่า ผลประโยชน์ที่มากกว่าปุ๋ยหมักนั้นมีอะไรบ้าง

หมายเหตุ
คอสตา ลันตา เป็นสมาชิกของโครงการ Zero Carbon Resorts ซึ่งดำเนินงานตั้งแต่กลางปี 57 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรวิชาการในประเทศออสเตรีย สเปน และฟิลิปปินส์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป