การใช้ ซอฟต์แวร์ ใน งาน โล จิ สติ ก ส์

ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ ดั้งนั้น ความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งถ้าต้องการอยู่รอดได้ในระยะยาว จำเป็นต้องมีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคนอื่น และต้องสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโตมากยิ่งขึ้น

การใช้ ซอฟต์แวร์ ใน งาน โล จิ สติ ก ส์

อีกทั้ง ผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงจะเกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืง

จากโจทย์ดังกล่าว สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัลเทคโนโลยี จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ จึงได้ส่ง Software ด้าน Logistic มาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี

การใช้ ซอฟต์แวร์ ใน งาน โล จิ สติ ก ส์

ปัจจุบันตลาดซอฟต์แวร์ของไทยเพื่อการดำเนินธุรกิจบริการโลจิสติกส์ มีความสำคัญมากต่อการใช้ระบบซอฟต์แวร์หรือคอมพิวเตอร์เพื่อการดำเนินธุรกิจ คิดเป็น (ร้อยละ 57.96) ระบบซอฟต์แวร์ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานหรือแก้ปัญหาความล่าช้าของบุคลากรจากการทำงานแบบ Manual และช่วยลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงานสามารถตรวจสอบการทำงานในแต่ละกระบวนการให้รวดเร็วขึ้น

ในด้านของการแข่งขันของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ยังไม่สูงมากเนื่องจากปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่กิจการมีการใช้ซอฟต์แวร์หลายประเภทในองค์กร โดย ร้อยละ 96.27 มีการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับงานทั่วไปเช่น Microsoft Office ในส่วนของซอฟต์แวร์สำหรับงานโลจิสติกส์เฉพาะด้าน ( เช่น Shipment/Transport Control, Logistics Support, Transportation Management, Radio Frequency Identification: RFID เป็นต้น) คิดเป็นร้อยละ 40.79 มีการใช้ระบบซอฟต์แวร์สำหรับงานบริหารธุรกิจ (เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารการขาย ระบบบุคคล ระบบบำรุงรักษา การจัดการเอกสาร การจัดซื้อ เป็นต้น) โดยกิจการขนาดใหญ่มีสัดส่วนของการการใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะทางโลจิสติกส์และสำหรับงานบริหารธุรกิจในสัดส่วนที่สูงกว่าขนาดกลางและขนาดเล็ก ฉะนั้นแล้ว ตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในในธุรกิจบริการโลจิสติกส์

การใช้ ซอฟต์แวร์ ใน งาน โล จิ สติ ก ส์

Software ของ DEPA เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบโดยผู้ประกอบการที่ได้รับมาตรฐานสากล ISO 29110 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นให้การรับรองคุณภาพการบริหารงานหรือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานสากล เป็นมาตรฐานที่ช่วยลดต้นทุนในการบริหารและจัดการกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิต

พิเศษสำหรับงาน BUS & TRUCK ’17 ทาง DEPA มีโปรโมชั้น Software รุ่นทดลองใช้งาน เมื่อลงทะเบียนภายในบูธ DEPA พร้อมกับส่วนลด Software สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

Advertisement

การใช้ ซอฟต์แวร์ ใน งาน โล จิ สติ ก ส์