ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย

ตัวแปรต่างๆ ที่ควรรู้ในใบรายงานตรวจสุขภาพ

การทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ ของคนเปรียบเสมือนการทำงานของเครื่องจักร หรือรถยนต์ที่ต้องได้รับการตรวจสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อทำการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ฉะนั้นในแต่ละปี ควรจะมีการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคที่อาจไม่มีอาการแสดงออกในระยะแรก ถ้าตรวจพบความผิดปกติได้เร็วก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง เราจะตรวจดูอะไรบ้าง ?

รายการตรวจ

วัตถุประสงค์/ประโยชน์

ตรวจร่างกายโดยแพทย์

PE

เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจดูลักษณะและอวัยวะต่างๆ
เช่น ปอด หู คอ จมูก การเต้นของหัวใจ ชีพจร ปกติหรือไม่

ความดันโลหิต

Blood Pressure

ความดันของเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งจะวัดในขณะที่หัวใจบีบตัวและหัวใจคลายตัว
ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 mmHg.ถือว่ามีความดันสูงกว่าปกติ ควรตรวจซ้ำ
และถ้ายังสูงต่อเนื่อง ถือว่ามี “ โรคความดันโลหิตสูง ”

เอกซเรย์ทรวงอก

Chest X-ray

เพื่อตรวจดูสภาพปอด เยื่อหุ้มปอดและหัวใจและกระดูกช่องอก
ค้นหาความผิดปกติ เช่น วัณโรค เนื้องอก โรคถุงลมโป่งพองและหัวใจโต

ความสมบูรณ์ของเลือด

CBC

เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเม็ดเลือด บ่งบอกภาวะโลหิตจาง
ดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดง (ธาลัสซีเมีย) ปริมาณเกล็ดเลือด ปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ
อาจเกิดจากการติดเชื้อ และเพื่อตรวจหามะเร็งในเม็ดเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือด

FBS

เพื่อค้นหาโรคเบาหวาน

ระดับไขมันในเลือด

(โคเลสเตอรอล)

Cholesterol

เพื่อดูระดับไขมันโคเลสเตอรอล ว่าสูงเกินไปหรือไม่
หากสูงจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
อัมพาต อัมพฤกษ์ได้

ระดับไขมันในเลือด

(ไตรกลีเซอไรด์)

Triglyceride

เพื่อตรวจหาไขมันในเส้นเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ
การรับประทานอาหารแป้ง ของหวานมากเกิน ร่วมกับขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่ดื่มเหล้า
มีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

ไขมันความหนาแน่นสูง

HDL

เป็นอนุภาคไขมัน “ชนิดดี” มีคุณสมบัตินำโคเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆ กลับไปย่อยสลายที่ตับ
ผู้ที่มีระดับ HDL ต่ำจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้ที่มีระดับ HDL สูง

ไขมันความหนาแน่นต่ำ

LDL

เป็นไขมันที่ไม่ดี ถ้ามีปริมาณมากจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง

การทำงานของไต

BUN,Creatinine

เป็นการวัดระดับสารเคมีในเลือดเพื่อดูความสามารถของไตในการขับถ่ายของเสีย
และการตรวจหาภาวะไตเสื่อม ไตวาย

การทำงานของตับ

SGOT,SGPT

เพื่อตรวจหาปริมาณเอนไซม์ในตับว่าผิดปกติหรือไม่
หากสูงกว่าปกติแสดงว่าอาจมีอาการตับอักเสบ

การทำงานของตับอย่างละเอียด

Alkaline Phos. ,

Bilirubin

เพื่อตรวจหาความผิดปกติของตับ เช่น ดีซ่าน ท่อน้ำดีอุดตัน

ระดับกรดยูริกในเลือด

Uric acid

กรดยูริกสูงทำให้เกิดโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบ
และอาจก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ

Urinalysis

ตรวจความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ จากโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ตรวจอุจจาระ

Stool Exam.

ตรวจหาความผิดปกติของทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย หาเชื้อพยาธิ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

EKG

ค้นหาความผิดปกติของหัวใจ เช่น การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต
และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

U/S Upper Abdomen

ตรวจดูอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบนว่าผิดปกติหรือไม่ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต
และเส้นเลือดขนาดใหญ่

เช็คอาการ 10 อย่างด้วยตนเองได้ที่บ้าน
ทุกคนฝันอยากเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ไม่แพงจากบริษัททั่วไป หรือจากแพทย์ประจำครอบครัว เพื่อจะเป็นที่แรกที่จะติดต่อได้ และมีผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลมากมายให้เลือกเพื่อจะได้รับรักษาที่ถูกต้อง

ในบางประเทศ ระบบสาธารณสุขไม่ดี ขาดแคลนสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ค่ารักษาก็แพง และการดูแลหลังการรักษาก็พึ่งพาไม่ได้

สุขภาพเสมือนจริง ทำให้การสาธารณสุขพื้นฐานเข้าถึงคนนับล้านได้ โดยให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์ทางไกลแบบเห็นหน้ากันได้โดยใช้การวิดีโอคอลจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือการ
ตรวจเองที่บ้านตามรายการด้านล่างก็ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้

ไม่ว่าคุณจะเข้าถึงสาธารณสุขเสมือนจริงได้หรือไม่ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถตรวจสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวเองได้หลายอย่าง

การตรวจ 10 อย่างขั้นพื้นฐานเพื่อติดตามสุขภาพ ตรวจสอบและเช็คอาการได้ และถ้าคุณต้องการคำแนะนำจากแพทย์ คุณต้องมีข้อมูลต่างๆเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
1. วัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิร่างกายจะบอกว่าคุณมีไข้หรือไม่

อุณหภูมิปกติสำหรับผู้ใหญ่ คือ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส (98 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามอายุ เวลาที่วัด และวัดตรงส่วนใดของร่างกาย ควรวัดตอนร่างกายปกติจะได้รู้ถึงสภาวะยามปกติของคุณ ควรลงทุนใช้เครื่องวัดอุณหภูมิดีๆเพื่อผลที่แม่นยำ ลิงค์นี้มีข้อมูลเพิ่มเติมมาให้

อุปกรณ์สวมใส่ก็สามารถวัดอุณหภูมิได้แต่อาจไม่แม่นยำนัก ไข้สูงในเด็กเป็นอาการที่น่าเป็นห่วง หากมีความกังวล ควรไปพบแพทย์ หรือรับคำปรึกษาเสมือนจริง

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
2. ตรวจลูกอัณฑะ
ต้องตรวจเช็คว่า มีก้อนเนื้อหรือบวมหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง ควรตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ควรเช็คอัณฑะหลังการอาบน้ำอุ่น ให้ประคองถุงอัณฑะไว้ในอุ้งมือ  ใช้นิ้วมือและนิ้วโป้งทั้งสองมือสัมผัสเพื่อตรวจเช็ค หากพบความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อ อาการบวม อาการปวดจี๊ด หรือ อัณฑะหนักผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์  หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
3. หมั่นตรวจเช็คเต้านม
ควรทำความคุ้นเคยกับลักษณะเต้านมของตนเองในแต่ละช่วงของรอบเดือน

ลักษณะเต้านมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้จากหลายสาเหตุซึ่งไม่ใช่สัญญาณอันตรายใดๆ ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของขอบหรือรูปร่างของเต้านม เพื่อดูว่ามีก้อน หรือมีส่วนที่หนากว่าส่วนอื่นที่สัมผัสได้ หรือมีความผิดปกติที่หัวนม หรือที่ผิวเต้านมหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานของการเกิดมะเร็ง

หากเจอความผิดปกติดังกล่าว ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
4. วัดการเต้นของหัวใจ
การวัดระดับการเต้นของหัวใจตอนเช้าในขณะที่หัวใจยังนิ่งอยู่จะบ่งชี้สภาพร่างกายโดยรวมของคุณได้

ระดับความปกติขึ้นอยู่กับอายุและสมรรถภาพร่างกายของคุณ - ควรเช็คทุกเช้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อดูอัตราการเต้นปกติของหัวใจ

สามารถเช็คด้วยการใช้มือคลำ หรือใช้เครื่องวัดการเต้นของหัวใจ ใช้เครื่องวัดขณะออกกำลังกายในฟิตเนส หรือแอปฯ บนสมาร์ทโฟนก็ได้เช่นกัน

การเต้น 10 ครั้งต่อนาทีหรือมากกว่านั้นอาจหมายถึงกำลังเพลีย ถ้ามากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีหมายถึงกำลังเครียด ขาดน้ำ ตื่นเต้น หรือป่วย

ถ้าอัตราการเต้นสูงขึ้นต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
5. ความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว และโรคไตได้

มักพบว่า ไม่มีอาการเตือนใดๆ การเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญ โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต และขณะทำการวัด ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบเงียบด้วย

ความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ควรอยู่ระหว่าง 90/60 ถึง 120/80 mmHg ถ้าความดันโลหิตสูง ควรลดการบริโภคเค็มและลดการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย คุมน้ำหนัก และรควรปรึกษาแพทย์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
6. การตรวจจากการเก็บตัวอย่างและการตรวจเลือด
หากไม่ต้องการเดินทางไปพบแพทย์ สามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้านซึ่งมีความแม่นยำ 90%

เครื่องตรวจเลือดที่บ้านจะบอกถึงระดับคลอเลสเตอรอล เรื่องไทรอยด์ สารก่อภูมิแพ้ และเฮชไอวี

ชุดตรวจแบบเก็บตัวอย่างจะให้ผลเรื่องการติดเชื้อทางปัสสาวะ และเชื้อสเตรปโตคอคคัส รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคอ เมื่อรู้ผลแล้ว ไม่ควรหาข้อมูลจากกูเกิ้ล

ข้อมูลที่เสิร์ชหาทางออนไลน์อาจมีความคลาดเคลื่อนทำให้เข้าใจผิด ควรรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ หากได้ผลเป็นบวก ให้ปรึกษาแพทย์

คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
7. ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวานอาจนำไปสู่โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคในช่องปากและฟัน โรคหลอดเลือด และตาบอดได้ สามารถหาซื้อเครื่องวัดระดับกลูโคสในเลือด (ซึ่งจะต้องอดน้ำและอาหารก่อนวัด)แต่โรคเบาหวานมีความซับซ้อน เครื่องมือที่ซื้อมาตรวจเองอาจไม่เพียงพอ

สำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงการบริการรักษาเสมือนจริง ก็สามารถตรวจทางไกลได้เลย หากแพทย์มีความเห็นว่าควรต้องตรวจเพิ่ม ก็สามารถทำนัดให้คุณได้ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
8. ตรวจเช็คโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคที่น่ากลัว โดยเฉพาะในเด็กที่จะมีอาการทรุดเร็วและมีอาจอันตรายถึงชีวิต

การตรวจดูอาการด้วยตนเองจะสามารถช่วยชีวิตได้ทัน ดูสัญญาณต่างๆ เช่น อาการคล้ายไข้หวัด คอตึง ไม่สู้แสง บางครั้งมีผื่นซึ่งไม่จางหายเมื่อกดไปที่ขอบใสบนผิว

ไม่ควรรอจนขึ้นผื่น ควรรับประทานยาทันทีหากสงสัยว่าเป็นอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แอปฯ ในโทรศัพท์สามารถช่วยคุณวิเคราะห์อาการได้ คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
9. วัดไขมันรอบเอว

การควบคุมน้ำหนักเพื่อจะมั่นใจได้ว่า คุณไม่มีไขมันส่วนเกินรอบเอวซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อินซูลินทำงานผิดปกติ และโรคเบาหวานประเภท 2

วัดรอบเอวที่ระดับสะดือ ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องความสูงหรือดัชนีมวลกาย สำหรับผู้ชายถ้ารอบเอวใหญ่เกิน 94 ซม. (37 นิ้ว) และ สำหรับผู้หญิง ถ้ารอบเอวใหญ่เกิน 80 ซม. (31.5 นิ้ว) คุณต้องลดน้ำหนัก โดยผู้ดูแลสุขภาพจะจัดโปรแกรมลดน้ำหนักให้คุณ รับข้อมูเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อใดคือการตรวจสภาพร่างกาย
10. ตรวจสภาพผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งแบบหนึ่งที่สามารถสังเกตเองได้ง่ายๆ

ตรวจด้วยตนเองเดือนละครั้ง โดยดูว่ามีอะไรแปลกปลอมขึ้นมาที่ผิวหนัง หรือไฝที่มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น เริ่มมีเลือดออก คัน ไหม้ดำ หรือลอก หากพบความผิดปกติเหล่านี้ รีบปรึกษาแพทย์

ถ้าคุณผิวขาว มีไฝเยอะ หรือชอบตากแดดบ่อยๆก็ยิ่งมีความเสี่ยง  ควรพบแพทย์ด้านผิวหนังปีละครั้ง คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณจะได้รับการดูแลด้านสุขภาพที่ดีที่สุดจากทีมเอ็ทน่าอินเตอร์เนชั่นแนล สมาชิกทุกท่านมั่นใจได้ว่า จะได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และ สะดวกถึงที่

สมาชิกบางท่านอาจจะอยู่หรือทำงานอยู่ในประเทศที่คุณภาพและการเข้าถึงสาธารณสุขมีข้อจำกัดกว่าในประเทศบ้านเกิดตนเอง คุณจะมั่นใจได้เต็มที่ว่า ทีมดูแลของเราพร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ให้ความเห็นที่สอง และหากจำเป็นก็จะจัดการเคลื่อนย้ายฉุกเฉินเพื่อให้คุณได้พบผู้เชี่ยวชาญได้ทุกแห่งในโลก

เอ็ทน่าอินเตอร์เนชั่นแนลภูมิใจในการเป็นผู้บุกเบิกระบบสาธารณสุขเสมือนจริงแบบบูรณาการและสร้างสรรค์ ให้สมาชิกทุกท่านเข้าถึงการดูแลเบื้องต้นทางไกลได้จากการเชื่อมต่อทางวิดีโอตอบ โดยมีรูปแบบการดูแลคุณทุกเรื่องครบถ้วน ช่วยให้คุณได้รับการดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่องในทุกช่วงชีวิต เอ็ทน่าอินเตอร์เนชั่นแนลมีการพัฒนาเพื่อการเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ดีที่สุดในอนาคตด้วย - ทุกที่ ทุกเวลา

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดของเราเพื่อรับข้อมูลการบริการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรจากทีมดูแล และข้อมูลเกี่ยวกับแผนประกันสุขภาพส่วนบุคคลได้