นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน

“เมืองหลวง…ควันและฝุ่นมากมาย”
“หมอกจางๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้ อยากจะถามเธอดู เธอเป็น PM 2.5 ใช่ไหม?”
“น้อยกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว พื้นที่สีเขียว 7.3 ตารางเมตร/คน มากขึ้นน้อยลงคงไม่ได้แล้ว”

Show

สิ่งเหล่านี้คงเป็นคำพูดแทนใจคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งยังไม่รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่ต้องเจออยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเท้าที่ไม่ปลอดภัย ขนส่งสาธารณะที่ไม่ทั่วถึง ฝนตกรถติด รวมถึงคลองแสนแสบที่ชวนให้ #หันหน้าหนีคลอง ทำให้หลายคนมักตั้งคำถามบ่อยๆ ว่า กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างจริงหรือ? และถึงกับเกิดวลียอดฮิต เช่น กรุงเทพฯ…ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว (แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน)

อย่างที่เรารู้กันดีว่าทั้งคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่ที่นี่นั้น ต่างมีความหวังที่จะได้เห็นการพัฒนาเมืองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งนับว่าสิ่งเหล่านี้ค่อยๆ เปล่งประกาย หลังจากผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2022 นั้นปรากฏว่า “#ชัชชาติ” ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นกว่า 1.38 ล้านเสียง ด้วยนโยบายกว่า 214 ข้อ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ด้านสิ่งแวดล้อม โครงสร้างที่ดี ความสร้างสรรค์ ความปลอดภัย เศรษฐกิจ สุขภาพ การบริหารจัดการ การศึกษา และการเดินทาง เพื่อสร้างกรุงเทพให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้นสำหรับทุกคน

ในระยะหลังมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งไฟป่า น้ำท่วม และภัยแล้งที่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก ทำให้การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นวาระเร่งด่วนที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัว

ด้วยเหตุนี้และเนื่องใน “#วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี Mission To The Moon จึงสรุปนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 มาฝาก มาดูกันว่าจะมีนโยบายอะไรที่จะช่วยสร้างเมืองสีเขียวที่น่าอยู่ให้คนกรุงเทพฯ พร้อมตอบรับกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบันได้อย่างไร!

การจัดการขยะ

สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร
สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะมีสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง
มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า
รถขยะไซส์เล็ก เข้าใจเมือง เข้าถึงบ้าน
ส่งขยะคืนสู่ระบบ
เพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ

การจัดการน้ำเสีย

ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (Onsite Treatment)
มุ่งเป้าติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง
ทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย และเชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่เดิม

มลพิษทางอากาศ

จัดทีม ‘นักสืบฝุ่น’ ศึกษาต้นตอ PM2.5
ตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน
ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ
ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด
ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ
พยากรณ์ แจ้งเตือน และป้องกันฝุ่น PM 2.5
ลดฝุ่นโดยการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการปรับปรุงเครื่องยนต์เก่า
สนับสนุนให้เกิด Ecosystem ของรถพลังงานไฟฟ้า
ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณ Low Emission Zone
เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูก ราคาเดียว

การเพิ่มพื้นที่สีเขียว

“BKK Clean Air Area” พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิดและเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด
ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง
จัดหารุกขกรมืออาชีพมาดูแลต้นไม้ประจำเขต
สวน 15 นาทีทั่วกรุง
สนับสนุนการแปลงพื้นที่ของประชาชนและเอกชนให้เป็นพื้นที่สีเขียว
เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวน และพื้นที่สาธารณะ
“BMA Net Zero” คาร์บอนคุมได้ กทม. ปลอดคาร์บอน

เชื่อว่าทั้งคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่ต้องย้ายมาอยู่ในเมืองใหญ่ คงรอคอยการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ กันอย่างมีความหวัง เพราะไม่ว่าใครก็อยากอยู่ในเมืองที่มอบคุณภาพชีวิตดีๆ ขั้นพื้นฐานให้ได้ ทั้งอากาศบริสุทธิ์ การเดินทางที่สะดวก ความปลอดภัย พื้นที่สีเขียว และอีกมากมาย

มาติดตามและลุ้นไปพร้อมๆ กันว่า “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่จะ #ทำงานทำงานทำงาน เพื่อสร้างเมืองที่น่าอยู่และทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มอบชีวิตดีๆ ที่ลงตัวสำหรับ “ทุกคน” ได้สำเร็จหรือไม่

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

Anthropocene Era: ธุรกิจในโลกยุคใหม่ที่ ‘เปลี่ยนไป’ จากน้ำมือมนุษย์ | MM Change Podcast EP.1341: https://bit.ly/38u1mAt
ส่องนโยบาย Circular Economy จาก 3 ประเทศต้นแบบ สะท้อนบทเรียนให้ไทยอย่างไร? | MM EP.1517: https://bit.ly/3wWbytB.

อ้างอิง :

https://bit.ly/3MXojuU
https://bit.ly/3auXkII
https://bit.ly/3wXcSfJ

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society #WorldEnvironmentDay

  • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน

เรื่องน่ารู้

IPBES fellowship programme

26

ขอเชิญชวนบุคลากรภาครัฐ สถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรอื่นๆ ที่สนใจร่วมงานกับ IPBES ในการประเมินความเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ…

สะกิดให้เปลี่ยน

83

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนมากขึ้น เช่น การมีกองขยะในชุมชน น้ำเสียในลำคลองส่งกลิ่นเหม็น…

อาหาร: อดีต | ปัจจุบัน | อนาคต

214

มนุษย์เริ่มต้นจากการ “กินเพื่ออยู่” เพื่อให้มีพลังงานมากพอที่จะออกไปล่าสัตว์และหาอาหารไว้กินในมื้อต่อไป ก่อนที่จะเริ่มรู้จักการทำเกษตร เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์…

ขยะทะเล…แก้ได้ที่ตัวเรา

177

ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งมีปริมาณมากถึง 22.8 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูล ณ ปี 2564)…

รู้จัก-ระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

59

การให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางแผนหรือตัดสินใจ ปัจจุบันได้มีการนำระบบบัญชีเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม (The System of Environmental-Economic Accounting; SEEA)…

ก้าวสู่อนาคตกับนวัตกรรม E-Fund Map

37

กองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่เป็นกลไกทางการเงินที่สนับสนุนงบประมาณให้กับภาคส่วนต่างๆ อาทิ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน…

น้ำพางโมเดล คืนชีวิตใหม่ให้ป่าเมืองน่าน

53

วิกฤติไฟป่าเป็นปัญหาต่อเนื่องที่พบเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทยที่ไฟป่าทำลายพื้นที่ผืนป่าธรรมชาติเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านในตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม…

E-Waste ขยะใกล้ตัวที่รอการแก้ปัญหา

705

Image by Maruf Rahman from Pixabay ปัจจุบัน ปัญหาขยะที่สำคัญที่อยู่ใกล้ตัวและเป็นขยะอันตรายที่กำจัดยากแอบซ่อนอยู่ ขยะที่ว่า คือ โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต…

กว่าจะมาเป็น 3 มงกุฎแห่งยูเนสโก

413

โอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎทางธรรมชาติของยูเนสโก (The UNESCO Triple Crown) หรือเป็นพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์ตามโปรแกรมขององค์การเพื่อศึกษา…

“ป่าในเมือง” (Urban Forest)

491

ในปัจจุบัน เมืองมีการขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ชนบท รวมถึงประชาชนต้องการย้ายถิ่นฐาน   เข้ามาอยู่อาศัยในตัวเมืองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล…

การบริหารจัดการนำ้

393

วิกฤตน้ำของประเทศไทย ย้อนไปในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2565 ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน…

ขยะพลาสติก

9,890

พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน กระบวนการผลิตพลาสติกส่วนใหญ่จะมีการใส่สารเติมแต่งและไมโครพลาสติก (Microplastic)…

แก่งกระจาน คุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล

417

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564…

สรุปสาระสำคัญปฏิญญาคุณหมิง

824

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD COP 15) ได้แบ่งการประชุมออกเป็นสองช่วง โดยช่วงที่ 1 เป็นการประชุมระดับสูงผ่านระบบออนไลน์ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน…

ขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1,468

วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้าง ปัญหามลพิษ น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินเสื่อมสภาพ ฝนกรด ไฟป่า ระบบนิเวศถูกทำลาย ฯลฯ เกิดจากปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน…

สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

3,644

ธรรมชาติ ในที่นี้คือ ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพ ที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ …

ย่านชุมชนเก่า

2,063

ย่านชุมชนเก่า หมายถึง พื้นที่ทางกายภาพที่แสดงออกถึงลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน/ก่อกำเนิดที่แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม ทั้งที่เป็นเมืองหรือในพื้นที่ชนบท…

ก๊าซเรือนกระจก

38,954

ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gas) เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น…

พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

7,520

การกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นกลไกทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่นำามาใช้…

พื้นที่สีเขียว

14,379

พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือกําหนดขึ้นในเมืองหรือชุมชนปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก มีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม…

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

3,626

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลก…

แหล่งมรดกโลก

14,897

แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) คือ พื้นที่หรือจุดหลัก (Landmark) ที่ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโก เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น…

การปรับปรุงระบบ EIA

5,463

ปรับปรุงกฎหมาย1) พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561…

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

19,504

ความสําคัญของความตกลงปารีส มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรับผิดชอบร่วมกันต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ…

พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย

13,372

ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมพื้นที่ประมาณ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110…

ความหลากหลายทางชีวภาพ

123,889

ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ คำว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ มาจาก biodiversity หรือ biological diversity ความหลากหลาย (diversity) หมายถึง มีมากมายและแตกต่าง ทางชีวภาพ…

เว็บหน่วยงานใน สผ.

  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • กองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม
  • กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
  • กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กลุ่มนิติการ
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน