วิธีอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้ามี 7 ประการคือ

             ��÷������ҹ����������ͧ�����ҹ��չ�鹨��繵�ͧ����»��ʺ��ó������Ф������ ����ǡѺ���Ѿ�����������   �������ҹ����ͧ����֧����ö����Ҥ����������Ҷ����§����ѹ��Ѻ�����������  ���������������������ͧ�����ҹ�����觢�� ����������ʺ��ó���������Ф��Ѿ��������ö�����¡����ҹ ��ҹء�� ���ҹء��  ��������Ѿ���ҧ � �����ҹ����ҡ � �����������ʺ��ó���������ٹ������������ʹ����

- ขั้นตอนการเคลื่อนไหวจากระบบประสาทมาสู่ปาก หรือการอ่านออกเสียง ความเร็วจะเท่ากับความสามารถในการเปล่งเสียงออกมาแต่ละคำ การอ่านลักษณะนี้มักเป็นของเด็กเล็กที่ครูให้อ่านออกเสียงเพื่อพัฒนาการอ่าน

- ขั้นตอนการได้ยินเสียงคำที่อ่านในใจ เป็นลักษณะการอ่านช้าๆ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

- ขั้นเข้าใจทันทีที่เห็นข้อความ เป็นลักษณะการอ่านที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องอย่างชัดเจนในทันที่อ่าน ซึ่งควรฝึกทักษะการอ่านในลักษณะนี้

ประโยชน์ของการอ่านคือ

1. เป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมที่ง่าย และตรงตามความต้องการ เนื่องจากหนังสือจะแยกประเภท วิชา หมวดหมู่ไว้เรียบร้อยอยู่แล้ว และการอ่านจะช่วยให้เรารอบรู้ทันเหตุการณ์และพัฒนาด้านวิชาการ นักพูดและนักเขียนที่ประสบความสำเร็จมักเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่าน และเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ

2. เป็นการช่วยส่งเสริมความคิด ช่วยให้ได้รับรู้นานาทัศนะในสาขาวิชาต่างๆ จากทัศนะของผู้เขียนหลายๆคนในประเด็นเดียวกัน การเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญช่วยให้เกิดพัฒนาการด้านความคิดของตัวผู้อ่านเอง สามารถคิดวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และมีข้อสนับสนุนจากการอ่านเพียงพอ เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น

อ่าน คือ การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจถ้อยคำแต่ละคำเข้าใจวลี เข้าใจประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า เข้าใจแต่ละย่อหน้า ซึ่งรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน

การอ่านเป็นการบริโภคคำที่ถูกเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ การอ่านโดยหลักวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการที่แสงตกกระทบที่สื่อ และสะท้อนจากตัวหนังสือผ่านทางเลนส์นัยน์ตา และประสาทตาเข้าสู่เซลล์สมองไปเป็นความคิด (Idea) ความรับรู้ (Perception) และก่อให้เกิดความจำ (Memory) ทั้งความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว

กระบวนการอ่าน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ขั้นที่สองการอ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของคำ วลี ประโยค สรุปความได้ ขั้นที่สามการอ่านแล้วรู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้งหรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล และขั้นสุดท้ายคือการอ่านเพื่อนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นผู้ที่อ่านได้และอ่านเป็นจะต้องใช้กระบวนการทั้งหมดในการอ่านที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และจากการคิดที่ได้จากการอ่านผสมผสานกับประสบการณ์เดิม และสามารถความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณค่าของการอ่าน
วัตถุประสงค์ในการอ่านของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป เช่น อ่านเพื่อความรู้ อ่านเพื่อให้เกิดความคิด อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน อ่านเพื่อความจรรโลงใจ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านนั้นๆ ไว้ก่อนการอ่านทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน การอ่านมีความจำเป็นต่อการศึกษาเล่าเรียน ทั้งในระบบและนอกระบบ คนที่เรียนหนังสือเก่งมักจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเก่ง เพราะการอ่านช่วยให้ได้รับความรู้และความเข้าใจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงได้ การอ่านมีคุณค่าต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ ยกระดับสติปัญญาให้สูงขึ้น ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดให้ก้าวหน้า ส่งผลต่อการพัฒนาในอาชีพ ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ ได้รับความรู้เพิ่ม ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยพัฒนาจิตใจให้งอกงาม ช่วยขจัดความทุกข์ ความเศร้าหมอง การอ่านทำให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้รับความเพลิดเพลินและพักผ่อนหย่อนใจ

การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน
การอ่านจะดำเนินไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และองค์ประกอบที่อยู่ภายในร่างกาย การอ่านท่ามกลางบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะนำมาซึ่งประสิทธิและประสิทธิผลในการอ่าน ทั้งนี้ควรคำนึงถึง

1.  การจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม สถานที่ที่เหมาะกับการอ่านควรมีความเงียบสงบ ตัดสิ่งต่างๆ ที่รบกวนสมาธิออกไป มีอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะสม มีโต๊ะที่มีความสูงพอเหมาะและเก้าอี้ที่นั่งสบายไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป

2.  การจัดท่าของการอ่าน ตำแหน่งของหนังสือควรอยู่ห่างประมาณ 35-45 เซนติเมตร และหน้าหนังสือจะต้องตรงอยู่กลางสายตา ควรนั่งให้หลังตรงไม่ควรนอนอ่าน ทั้งนี้เพื่อให้สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้เกิดการตื่นตัวต่อการรับรู้ จดจำ และอ่านได้นาน

3.  การจัดอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน การอ่านอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กระดาษสำหรับบันทึกดินสอ ปากกา ดินสอสี

 4.  การจัดเวลาที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาที่ต้องมีการทบทวนบทเรียนควรอ่านหนังสือในช่วงที่เหมาะสมคือช่วงที่ที่ไม่ดึกมาก คือ ตั้งแต่ 20.00 - 23.00 น. เนื่องจากร่างกายยังไม่อ่อนล้าเกินไปนัก หรืออ่านในตอนเช้า 5.00-6.30 น. หลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการอ่านแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 50 นาทีและให้เปลี่ยนแปลงอิริยาบถสัก 10 นาทีก่อนลงมืออ่านต่อไป

5. การเตรียมตนเอง ได้แก่ การทำจิตใจให้แจ่มใส มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ และมีสมาธิในการอ่าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีสุขภาพสายตาที่ดี ตัดปัญหารบกวนจิตใจให้หมด การแบ่งเวลาให้ถูกต้อง และมีระเบียบวินัยในชีวิตโดยให้เวลาแต่ละวันฝึกอ่านหนังสือ และพยายามฝึกทักษะใหม่ๆ ในการอ่าน เช่น ทักษะการอ่านเร็วอย่างเข้าใจ เป็นต้น

การเลือกสรรวัสดุการอ่าน
การเลือกสรรวัสดุการอ่าน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการอ่าน เช่น การอ่านเพื่อการศึกษา การอ่านเพื่อหาข้อมูลประกอบการทำงาน การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อฆ่าเวลา การรู้จักเลือกวัสดุการอ่านที่มีประโยชน์จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ตามเป้าหมาย การเลือกสรรวัสดุการอ่านมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด เช่น

1.               การอ่านเพื่อความรู้ เช่น ตำราวิชาการ

2.               การอ่านเพื่อความบันเทิงใจ

3.               การอ่านเพื่อเป็นกำลังใจ เสริมสร้างปัญญา เช่น หนังสือจิตวิทยา หนังสือธรรมะ

4.               การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

เมื่อเลือกวัสดุการอ่านหรือหนังสือได้แล้ว ก็จะต้องกำหนดว่าต้องการอะไรข้อมูลในลักษณะใดจากหนังสือเล่มนั้น ขอบเขตของข้อมูลในลักษณะกว้างหรือแคบแต่ลึกซึ้ง ทั้งนี้เพื่อกำหนดรูปแบบการอ่านเพื่อความต้องการต่อไป

การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่าน


การรู้ความมุ่งหมายในการอ่านเปรียบเหมือนการรู้จุดหมายปลายทางของการเดินทาง ทำให้สามารถเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่างๆ และเดินทางไปสู่ที่หมายได้ นักอ่านที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอ่านเพื่ออะไร เพื่อจะได้กำหนดวิธีอ่านได้เหมาะสม การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน มีจุดมุ่งหมายดังนี้

          1. อ่านเพื่อความรู้พื้นฐาน เป็นการอ่านเพื่อรู้เรื่องโดยสังเขป หรือเพื่อลักษณะของหนังสือ เช่น การอ่านเพื่อ รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่จะใช้ในการค้นคว้าและเขียนรายงาน

          2. อ่านเพื่อรวบรวมข้อมูล เป็นการอ่านให้เข้าในเนื้อหาสาระ และจัดลำดับความคิดได้ เพื่อสามารถรวบรวม และบันทึกข้อมูลสำหรับเขียนรายงาน

          3. อ่านเพื่อหาแนวคิด หมายถึง การอ่านเพื่อรู้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีแนวคิดหรือสาระสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในลักษณะใด เช่น การอ่านบทความ และสารคดีเพื่อหาหัวข้อสำหรับเขียนโครงร่างรายงาน

          4. อ่านเพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์ คือการอ่านเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งพอที่จะนำความรู้ไปใช้ หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความที่แสดงความคิดเห็น การอ่านตารางและรายงาน

วิธีการอ่านที่เหมาะสม
การอ่านมีหลายระดับและมีวิธีการต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้อ่าน และประเภทของสื่อการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเขียนรายงาน อาจใช้วิธีอ่านต่าง ๆ เช่น การอ่านสำรวจ การอ่านข้าม การอ่านผ่าน การอ่านจับประเด็น การอ่านสรุปความ และการอ่านวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.  การอ่านสำรวจ คือ การอ่านข้อเขียนอย่างรวดเร็ว เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน

2. การอ่านข้าม เป็นวิธีอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น

3.  การอ่านผ่าน เป็นการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียน เช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ เช่น การอ่านเพื่อค้นหาชื่อในพจนานุกรม และการอ่านแผนที่

4. การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่านข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็วๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือ ต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

5. การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี สามารถแยกส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง การอ่านสรุป ความมีสองลักษณะคือ การสรุปแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอน และสรุปจากทั้งเรื่อง หรือทั้งบท การอ่านสรุปความควรอย่างอย่างคร่าว ๆ ครั้งหนึ่งพอให้รู้เรื่อง แล้วอ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลักจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป

6.การอ่านวิเคราะห์ การอ่านเพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไปต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความ ทั้งนี้เพราะผู้เขียนอาจใช้คำและสำนวนภาษาในลักษณะต่าง ๆ อาจเป็นภาษาโดยตรงมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ และภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านที่มีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ ในการ อ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้

เทคนิคการอ่าน

1.)    เทคนิคการอ่านเร็ว

    1.1) การอ่านคร่าวๆ (Skimming) เป็นการเคลื่อนสายตาไปบนหน้าหนังสือเร็วๆเพื่อจับประเด็นสำคัญของเรื่องแต่ละเรื่องแต่ละย่อหน้า โดยปฏิบัติดังนี้

-          อ่านชื่อเรื่อง

-          อ่านหัวข้อเรื่องแต่ละหน้าหรือแตะละตอน

-          อานย่อหน้าและอ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้าย

-          กวาดสายตาดูประโยคใจความหลักหรือใจความสำคัญของย่อหน้าซึ่งจะปรากฏอยู่ต้นหน้า

 กลางย่อหน้า หรือท้ายย่อหน้า

                           1.2) การอ่านเฉพาะประเด็น  (Scanning)  การอ่านผ่านๆ เป็นการอ่านช่วยให้อ่านได้เร็วไม่ต้ออ่านทุกตัวอักษรเป็นการอ่านเพื่อหาคำ ข้อความหรือประโยคสำคัญเพื่อหาข้อมูลหรือคำตอบเฉพาะ

     1.3) การอ่านสำรวจ (Pre-Reading) เพื่อหาข้อสรุปที่มีความยาวมีหลายย่อหน้า เป็นหนังสือที่ต้องการหาความรู้ วิธีการอ่านจะอ่านย่อหน้าแรก และย่อหน้าสุดท้าย เพื่อหาข้อสรุปและอ่านประโยคแรก ประโยคกลางย่อหน้า และประโยคของย่อหน้าสุดท้าย

2.)    เทคนิคการอ่านวิเคราะห์รูปแบบย่อหน้า

           2.1) ประโยคใจความสำคัญอยู่ต้นย่อหน้า มักจะเป็นประโยคนำบอกเรื่องราวแล้วจึงกล่าวรายละเอียด เป็นการอธิบาย

            2.2.) ประโยคใจความสำคัญอยู่กลางย่อหน้า ย่อหน้าแบบนี้จะขึ้นต้นด้วยข้อความที่อารัมภบทหรือกล่าวถึงรายละเอียดก่อนแล้วจึงกล่าวถึงประโยคใจความสำคัญ ส่วนประโยคท้ายๆจะกล่าวสนับสนุนประโยคใจความสำคัญ

           2.3) ประโยคใจความสำคัญอยู่ท้ายย่อหน้า โดยประโยคต้นๆ เป็นการอธิบายกล่าวถึงรายละเอียดของเนื้อหาประโยคสุดท้ายจะเป็นประโยคสรุปความคิด ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่าคำที่ใช้นำหน้าประโยคสรุปความ มักจะมีคำว่า จึงสรุปได้ว่า ด้วยเหตุนี้ดังนี้ ในที่สุดด้วยเหตุผลดังว่า เป็นต้น

          2.4) ประโยคใจความสำคัญอยู่ต้นและท้ายย่อหน้า ส่วนที่อยู่เป็นการนำประเด็น ส่วนที่อยู่ท้ายเป็นการปิดประเด็น ตรงกลางเป็นกลางขยายความ

วิธีการอ่าน

      การอ่านสารแต่ละประเภทมีเนื้อหาแตกต่างต่างกันดังนั้น วิธีการอ่านจึงต้องแตกต่างกัน ดังนี้

1.)    วิธีอ่านเพื่อค้นคว้า ผู้อ่านมุ่งทำความเข้าใจเนื้อหาเป็นสำคัญมีวิธีการอ่านแบบ  SQ3R เป็นวิธีการอ่านที่เหมาะสมกับเรื่องเชิงบรรยาย ดังนี้

                      S = Surver   เป็นการสำรวจข้อมูลก่อนการอ่าน เช่น สารบัญ หัวข้อ คำนำ คำสรุป ตาราง กราฟ ภาพตัวเลข แผนที่ ประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละตอน

                    Q = Question ตั้งคำถาม ใคร ที่ไหน ทำอะไร เมื่อไร ทำไม ทำอย่างไร เป็นคำถามที่จะใช้หาคำตอบได้

                      R= Recite การท่องจำหรือการทบทวนความจำ พยายามตอบคำถามที่ตั้งไว้เพื่อสรุปทบทวนความจำเพื่อทำความเข้าใจ   ควรทำบันทึกย่อด้วยคำพูดของตัวเองเป็นการสรุปเรื่องที่อ่าน

                       R= Review  การทบทวน   ขณะอ่านทบทวนต้องการตามลำดับของเรื่องตามลักษณะคำถามที่ตั้งไว้ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องที่อ่านอีกครั้งหาความสัมพันธ์ของเรื่องที่อ่านเพื่อเชื่อมโยงความคิดหรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านให้เป็นรูปธรรม

2.)    วิธีอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นการอ่านสารประเภทบันเทิงคดีอ่านเพื่อความบันเทิงมุ่งเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องและเจตนาของผู้แต่งได้เป็นสำคัญ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การตีความว่าผู้อ่านจะสามารถตีความได้ตามเจตนาของผู้แต่งมากน้อยเพียงได

3.)    วิธีการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ ใช้ได้ทั้งกับเนื้อหาประเภทสารคดีและบันเทิงคดีการอ่านวิเคราะห์มีรูปแบบการอ่าน ดังนี้

-          สำรวจจบอ่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด

-          ตั้งคำถามเพื่อค้นหาจุดประสงค์ของผู้แต่ง

-          อ่านเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมด

-          วิเคราะห์ประกอบของเรื่อง ความสมจริงน้ำเสียงของผู้ประพันธ์ที่แฝงเร้นไว้ในบทประพันธ์รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการประพันธ์

-          ประเมินค่าบทที่อ่านว่ามีคุณค่าในด้านใดมากน้อย

การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ

การอ่านเพื่อจับใจความมี 2 แนว คือการอ่านเพื่อจับใจความรวม และแนวการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ โดยมีวิธีอ่านดังนี้

1.)    การอ่านเพื่อจับใจความรวมการทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนรวมของเรื่องหรือหนังสือเป็นหัวใจสำคัญของการอ่านเพราะถ้าผู้อ่านไม่สามารถจับใจความส่วนรวม ก็จะมองไม่เห็นความสัมพันธ์ของรายละเอียดต่างๆ และอาจเป็นผลให้ไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายสำคัญของหนังสือนั้นๆ ได้ วิธีจับใจความรวมทำได้โดยการพลิกดูและกวาดสายตาผ่านหัวข้อต่างๆ ทั้งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างรวดเร็วและในเวลาเดียวกันก็พยายามจัดเนื้อหาของหัวข้อนั้นๆ เรียงให้เป็นลำดับในสมองเพื่อให้ปรากฏเป็นภาพร่างคร่าวๆว่าแต่ละหัวข้อมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีการดำเนินเรื่องไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยวิธีการเชื่อมโยงเนื้อหาตลอดจนแนวความคิดและข้อมูลต่างๆอย่างไรบ้าง สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ชำนาญการอ่านแบบบี้ควรใช้สมุดหรือเศษกระดาษจด แต่เฉพาะหัวข้อต่างๆอย่างย่อๆ เพื่อให้เห็นเด่นชัดในกระดาษแผ่นเดียวกัน จะเป็นผลดีในแง่ที่ทำมาลืมหรือละทิ้งความสำคัญตอนในตอนหนึ่ง

2.)     การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ ผู้อ่าน จะต้องอ่านค่อนข้างละเอียดแทบทุกตัวอักษรแล้วสรุปใจความสำคัญไว้ในสมองหรือในสมุดอีกเล่มหนึ่งต่างหาก วิธีเก็บใจความสำคัญทำได้หลายวิธี เช่น ขีดเส้นใต้ ล้อมกรอบข้อความที่เห็นว่าสำคัญ กำหนดสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างหรือ ทำบันทึกย่อ เป็นต้น  สิ่งที่ผู้อ่านที่ดีพึงตระหนักก็คือ ใจความสำคัญมิได้มีความหมายจำกัดเพียงแค่เนื้อเรื่องที่สำคัญเท่านั้น ผู้อ่านอาจจะเก็บสาระสำคัญของหนังสือเล่มนั้นได้หลายแง่ เช่นเก็บเนื้อเรื่องที่สำคัญ เก็บความรู้หรือข้อมูลที่สำคัญหรือที่น่าสนใจ เก็บแนวความคิด หรือทัศนคติของผู้เขียนละเก็บจุดมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง การเก็บใจความสำคัญแง่ต่างๆนี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้แสดงความสำคัญเห็นเชิงวิจารณ์หรือในทางการต่อไป หรือข้อมูลที่น่าสนใจของผู้เขียนอาจจะทำให้ผู้อ่านสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษต่อไป

การสรุปสารำสำคัญจากเรื่องที่อ่าน

เมื่อผู้อ่านจับใจความจากเรื่องที่อ่านได้แล้ว ขั้นต่อไปจะต้องสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ที่อ่านได้โดยการเขียนเล่าเรื่องให้ผู้อ่านได้ทราบอย่างสั้นๆ แต่ได้ใจความสำคัญครบถ้วน

ตัวอย่างการอ่านสรุปสารพสำคัญ (ประทีป วาทิกทินกร. 2523:79-81)

ปัญหาเรื่องแย่งราชสมบัติกันนี้ เป็นปัญหาทางการเมืองของกรุงอยุธยาในระยะท้ายๆ การแก่งแย่งกันนั้นทำให้ต้องรบราฆ่าฟันกัน ผู้มีความชำนาญในการปกครองและป้องกันประเทศต้องล้มตายกันไปครั้งละมากๆ จนกรุงศรีอยุธยาสิ้นคนดี ต้องกรุงไปในที่สุด