การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

          5. นำเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้ เป็นการทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นหรือนำของคนอื่นมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อนาข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมไว้และปรับเปลี่ยนวิธีการตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้รับข้อมูลกลับคืนมา มากที่สุด

ข้อมูล เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข ซึ่งข้อความหรือตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ คน พืช สัตว์ และสิ่งของ ทั้งนี้ข้อมูลที่เราได้พบเจอในชีวิตประจำวันนั้นมีมากมาย มีทั้งที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเภทของข้อมูล ว่าข้อมูลมีกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณรู้เรื่องของข้อมูลมากยิ่งขึ้นค่ะ

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

ประเภทของข้อมูล

1. แบ่งตามแหล่งที่มา

  • ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นหรือได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน
  • ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน จากกรมชลประทาน เป็นต้น

2. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล 

  • ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ที่วัดออกมาเป็นคะแนน คุณลักษณะด้านจิตพิสัย เช่น ความสนใจ คุณลักษณะทางกาย เช่น ส่วนสูง ความเร็วในการวิ่ง เป็นต้น
  • ข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขแต่จะแสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้น เช่น เพศ ศาสนา สถานภาพสมรส อาชีพ ข้อความที่เป็นความคิดเห็น ผลการสังเกตที่เขียนในรูปบรรยาย

3. แบ่งตามสภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง

  • ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ชื่อสกุล อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา เป็นต้น
  • ข้อมูลสิ่งแวดล้อม (Environmental Data) คือข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ลักษณะท้องถิ่นที่กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ เป็นต้น
  • ข้อมูลพฤติกรรม (Behavioral Data) คือข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของกลุ่มตัวอย่าง เช่น คุณลักษณะด้านความสามารถของสมอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการหรือการเรียน เช่น ความรู้ความเข้าใจ ความถนัด และการกระทำสิ่งต่าง ๆ

4. แบ่งตามการนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ 

  • ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนเงินเดือน ราคาสินค้า ซึ่งอาจอยู่ในรูปของจำนวนเต็ม ทศนิยม เศษส่วน เป็นต้น
  • ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
  • ข้อมูลเสียง (Audio Data) หมายถึง ข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเสียงจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียงได้ เช่น แผ่นซีดี โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น
  • ข้อมูลภาพ (Images Data) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่เรามองเห็น ซึ่งอาจเป็นภาพนิ่ง เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากโทรทัศน์ ภาพจากวีดิทัศน์ ภาพจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่มีทั้งภาพ เสียง ข้อความปนกัน เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

ข้อมูล: sites.google.com และ sites.google.com

รูปภาพ: freepik.com

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่

จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว, น้ำหนัก, ส่วนสูง, และอายุ เป็นต้น
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัด และแสดงเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพได้ (เป็นข้อความหรือตัวเลข) เช่น เพศ, ศาสนา, และคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่าง เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับน้องหมาตัวนี้บ้าง

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data):

                          • น้องมี 4 ขา
                          • น้องมี 2 ตา
                          • น้องมี 2 หู

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data):

                          • น้องมีสีดำและสีน้ำตาล
                          • น้องมีขนยาว
                          • น้องเป็นเพศผู้

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ บุคคล เช่นผู้ให้สัมภาษณ์, ผู้กรอกแบบสอบถาม, เอกสารทุกประเภท, และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือแม้กระทั่งวัตถุ สิ่งของ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมาโดยตรงจากแหล่งของข้อมูล เช่น การสอบถาม, การสัมภาษณ์, การทดลอง เป็นต้น
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งของข้อมูล แต่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของผู้อื่นที่ได้มีการทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว เช่น เอกสาร, รายงาน, หนังสือ, ข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดทำไว้ เป็นต้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  • การสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง สามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์โดยตรง, การใช้แบบสอบถาม, การทำโพล (Poll) เป็นต้น
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
  • การทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติจริงและสามารถกำหนดตัวแปรที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาได้
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
  • การสังเกต เป็นการสังเกตและจดบันทึกในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น หนังสือ, บทความ, เอกสารงานวิจัย เป็นต้น
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
    การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและคำถามทางสถิติที่เราสนใจ โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้

    1. ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปตอบคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
    2. แหล่งข้อมูลเหมาะสมกับคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้ไหม
    3. จะดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร

การตั้งคำถามทางสถิติที่ดีน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ –> การตั้งคำถามทางสถิติ


ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

คำถามที่ 1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสิงโตวิทยาเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การสังเกต และใช้แบบฟอร์มจดบันทึกในทุก ๆ เช้าด้านหน้าโรงเรียน

           ตัวอย่างเเบบฟอร์มจดบันทึก

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

 วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยทำแบบสอบถามเพื่อน ๆ ในโรงเรียนโดยการสุ่มเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 ตัวอย่างเเบบสำรวจ

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

คำถามที่ 2 ปริมาณของน้ำมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วหรือไม่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การทดลอง เช่น เราสามารถปลูกต้นถั่ว 3 ต้น โดยให้ปริมาณน้ำที่ต่างกันและบันทึกความสูงของต้นถั่วทุก ๆ สัปดาห์ เเล้วนำข้อมูลมาสรุปผลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

           วิธีที่ 2.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว ในกรณีที่มีคนเคยทดลองและมีแหล่งข้อมูลแล้ว

คำถามที่ 3 นักเรียนห้อง A ชอบสีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ    วิธีที่ 1.) การสำรวจ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามโดยตรงกับนักเรียนในห้อง A

            วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ก็สามารถนำข้อมูลมาตอบคำถามทางสถิติที่เราตั้งไว้ได้

คำถามที่ 4 จำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว โดยการสอบถามบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะมีการเก็บข้อมูลการใช้งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น การใช้แผงกั้นสำหรับนับจำนวน, การเขียนชื่อในสมุดก่อนเข้าใช้ห้องสมุด, การแสกนบัตรนักเรียนก่อนใช้งาน เป็นต้น

 วิธีที่ 2.) การสังเกต โดยการนับจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองแล้วจดบันทึก

คำถามที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   การทำแบบสอบถาม โดยอาจจะมีการประเมินเป็นระดับเกณฑ์ 1 ถึง 5 หรืออาจจะใช้เป็นระดับความพึงพอใจเช่น น้อย, ปานกลาง, มาก เป็นต้น


สุดท้ายนี้การเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่มีวิธีใดผิด หากจะต้องเก็บข้อมูลความสูงของต้นไม้ เราคงไม่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่หากเราจะเก็บข้อมูลความสูงของเพื่อนในห้องเราก็สามาถใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนทางสถิติที่มีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ได้รับเกิดความผิดพลาดน้อยก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปนำเสนอและวิเคราะห์ต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูล ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

Definite & Indefinite Articles ในภาษาอังกฤษ คืออะไรกันนะ?

สวัสดีน้องๆ ม.1 ทุกคนนะครับ วันนี้พี่มีเรื่องพื้นฐานอย่างเรื่อง Article มาให้น้องๆ ได้ลองศึกษากันดูครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

เรื่อง Tag Question (1)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อ “เรื่อง Tag Question “ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Question Tag (Tag Question หรือ Tail Question)   Question Tag ในบางครั้งเรียกว่า Tag Question หรือ Tail Question ก็ได้จร้า 

การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท
การรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

ประเภทของข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูล จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) 2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)

วิธีการเก็บข้อมูลมีอะไรบ้าง

สำมะโน (Census) เป็นวิธีการเก็บข้อมูล โดยการแจงนับทุกหน่วยของประชากร ซึ่งอาจเป็นการแจงนับโดยการ นับ, วัด หรือ ชั่ง การสัมภาษณ์ที่มีการเผชิญหน้ากัน ตลอดจนการอาศัยสื่อกลางต่างๆ.
การสำรวจตัวอย่าง (Sample survey) ... .
การทดลอง (Experiment) ... .
เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว.

Data Collection มีอะไรบ้าง

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คืออะไร?.
Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ) ... .
Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) ... .
Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) ... .
Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ) ... .
Questionnaires (แบบสอบถาม) ... .
Interview (การสัมภาษณ์) ... .
Focus Group (การสนทนากลุ่ม) ... .
Observation (การสังเกตการณ์).

ข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ชนิด อะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูล.
1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data).
1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data).
2.1 ข้อมูลชนิดตัวเลข (Numeric data).
2.2 ข้อมูลชนิดตัวอักษร/อักขระ (Character data).
2.4 ข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย (Multimedia data).