วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง

รับประกอบและติด ตั้งอุปกรณ์ตู้สวิทช์บอร์ด เดินวงจร

 ออกแบบและตามแบบระบบต่างๆ

เช่นตู้คอนโทรล สตาร์เดลต้า ตู้ควบ คุมมอเตอร์

( Motor control Panel ) ซึ่งประกอบด้วย Magnetic Contactor

Overload Relay, Manual Moter Starter และ Motor breaker

รวมทั้งวงจรณ์ควบคุม ต่างๆ

สั่งทำตู้ไซ้ต่างๆ เข่นตู้รวมมิเตอร์ไฟฟ้า, ตู้รวมโหลดเซ็นเตอร์,

ตู้รวม SAFTY CUT จำนวน หลายๆตัวในตู้เดียว

ตู้ตั้งพื้น ตู้ (MDB) และ ตู้สั่งประกอบตามแบบ ต่างๆ

(บริษัท เซี่ยมฮวดการไฟฟ้า) Siemhuad Electric CO.,LTD
Tel : 02-2210689, 02-2231956, 02-2230925,
02-2246616, 02-2257545
Tel : 02-6225151, 02-6225152, 02-6225153, 02-2210689,
02-2231956, 02-2230925, 02-2246616
ฝ่ายขายหน้าร้าน และ ฝ่ายบริการ ระบบ เมล และ LINE@


วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง
วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง


สอบถาม, ขอใบเสนอราคา, โทรสอบถามทางร้าน 

อีกช่องทางคือเมล "ติดต่อเรา" สดวกเมลมาทางเมลร้านค้าได้ครับ

เราเคยเขียนเกี่ยวกับการใช้งานตัว Magnetic Contactors เพื่อควบคุมวงจรไฟฟ้าในหัวข้อเรื่อง การต่อวงจรแมคเนติก คอนแทคเตอร์ Mitsubishi S-T20 ในบทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการต่อ Magnetic Contactor S-T20 เพื่อควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส แบบกลับทางหมุน ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับตัว แมคเนติกคอนแทกเตอร์ และ แมกเนติก มอเตอร์ สตาร์ทเตอร์ โอเวอร์โหลดรีเลย์ ของ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ Magnetic Contactor ของ Mitsubishi ที่ บริษัท เทคซอร์ส กรุ๊ป จำกัด และผ่านช่องทาง Application Line หรือติดตาม Facebook Page ตามลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ

วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง
วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง

วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง

DOWNLOAD Mitsubishi Magnetic  Contactors MS-T Series Catalog

วงจรไฟฟ้าการต่อ Magnetic Contactor S-T20 เพื่อควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส แบบกลับทางหมุน (Reverse Motor Rotation Direction)

ในการต่อวงจร Magnetic Contactor S-T20 เพื่อกลับทางหมุนมอเตอร์ แบบต่อตรง DOL (Direct Online motor starter) จะนิยมใช้ควบคุมมอเตอร์ แบบ 3 Phase Induction Motor ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื่องจากการต่อมอเตอร์แบบ DOL นั้น จะทำให้ตัวมอเตอร์กินกระแสมากในช่วงสตาร์ทมอเตอร์ ซึ่งอาจจะใช้แกระแส 6-7 เท่าของกระแสมอเตอร์ที่ใช้ทำงานปกติ ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะแรงดันในระบบตกลงชั่วขณะ ในกรณีที่หม้อแปลงในระบบจ่ายไฟ ไม่สามารถรองรับการกระชากของกระแสได้

การกลับทางหมุนมอเตอร์ที่นิยมใช้กัน คือการกลับเฟส R กับ T หรือ 1 กับ 3 ก็สามารถทำให้มอเตอร์หมุนกลับทิศทางได้ จากรูปวงจรกลับทางหมุนมอเตอร์ด้านล่างนี้ เราใช้ตัวแมคเนติก คอนแทคเตอร์ จำนวน 2 ตัว ทำงานสลับกัน โดย MC1 ทำงานในตอนมอเตอร์หมุนตามเข็มนาฬิกา (CW) หรือ Motor Forward ซึ่งถูกควบคุมโดยตัวปุ่ม Push button Motor Forward และ MC2 ทำงานควบคุมมอเตอร์ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา (CCW) หรือ Motor Reverse ซึ่งถูกควบคุมโดยตัวปุ่ม Push button Motor Reverse ซึ่งมีการป้องกันการทำงานพร้อมกันของ MC1 และ MC2 โดยใช้ตัว Mechanical Interlock รุ่น UT-ML11 ซึ่งใช้กับ MC Mitsubishi ได้ เป็นตัวป้องกัน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยเราสามารถเพิ่มวงจรป้องกันการกดปุ่ม Motor Forward และ Motor Reverse พร้อมกัน ซึ่งจะแสดงให้ดูในตอนท้าย

วงจรควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส เดิน หน้า ถอยหลัง

ตัววงจรกลับทางหมุนด้านบนนี้ สามารถใช้ควบคุมตัวมอเตอร์ขนาดไม่เกิน 7.5kW, 18A ถ้าต้องการใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บางรายการ นอกนั้นสามารถใช้งานรายการเดิมได้ ซึ่งรายการที่จำเป็นต้องเปลี่ยนมีดังนี้ดังนี้

  1. Fuse GM ที่ใช้ป้องกันการลัดวงจรที่มอเตอร์
  2. Magnetic Contactor MC1 และ MC2
  3. Thermal Overload Relay OLC1
  4. Mechanical Interlock

การหยุดมอเตอร์นั้น ภายในวงจรมีตัวปุ่ม Stop Motor และปุ่ม Emergency Stop ที่ใช้ในการหยุดมอเตอร์

ไฟแสดงสถานะการทำงาน ภายในวงจรมีหลอดไฟ LED Pilot Lamp แสดงสถานะมอเตอร์หมุนซ้าย มอเตอร์หมุนขวา มอเตอร์หยุด และมอเตอร์โอเวอร์โหลด

การป้องกันของวงจรไฟฟ้า มีการป้องกันมอเตอร์กินกระแสเกินโดยใช้ Overload Relay และมีการป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า Short Circuit Protection โดยใช้ฟิวส์ Fuse นอกจากนี้ เราสามารถเพิ่มวงจรป้องกันแรงดันเกิน Over voltage แรงดันต่ำ Under Voltage เฟสหาย Phase Lost หรือเฟสเรียงผิด ได้ ในส่วนของสวิตซ์ตัดตอน (Switch Disconnector or Isolator Switch) ทำหน้าที่เป็นตัวตัดไฟเข้าระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไฟเข้ามาในวงจรไฟฟ้าแล้วเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ป้องกันการลัดวงจรของระบบ

ตัวอย่างวงจรป้องกันการกดปุ่ม Motor Forward และ Motor Reverse พร้อมกัน

จากรูปด้านล่างเป็นการเพิ่มหน้าคอนแทคช่วย AUX (Auxiliary Contact) ที่ตัว MC1 และ MC2 ในกรอบสีน้ำเงินด้านขวา เพื่อช่วยตัดการทำงานของปุ่ม Start Motor ซึ่งเมื่อ MC1 ตัวปุ่ม Motor Reverse จะไม่ทำงาน ต้องกดปุ่ม Stop Motor ก่อน ถึงจะสามารถกดปุ่ม Motor Reverse ได้ เช่น เดียวกันถ้า MC2 ทำงาน ตัวปุ่ม Motor Reverse ก็จะไม่สามารถกดได้ จนกว่าจะกดปุ่มหยุดก่อน ซึ่งการต่อวงจรแบบนี้ ทำให้มอเตอร์มีเวลาหยุดด้วยตัวมันเองก่อนที่จะมีการกลับทางหมุน

ส่วนกรอบสีน้ำเงินด้านซ้าย เป็นตัวลำโพง Buzzer ในกรณีที่ตัวมอเตอร์เกิดโอเวอร์โหลดกระแสเกิน นอกจากจะมีไฟแสดงแล้ว ยังส่งเสียงดังเตือนได้อีกด้วย และจะดังจนกว่าจะมีการรีเซตตัวโอเวอร์โหลดรีเลย์