โลก วิถี ใหม่ Digital Disruption

แม้จะไม่พูดถึงสถานการณ์ในช่วงนี้ว่าเป็นหนึ่งปัจจัย… แต่ “การทำงาน” และ “การสร้างรายได้” ในยุค “Digital Disruption” ก็เปลี่ยนแปลงหลายสิ่งไปแล้วเช่นกัน ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคก็เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

อย่างที่รู้กันว่า ยุคนี้ธุรกิจ “Food Delivery” และ “On-Demand Service” กลายเป็นชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ประกอบกับวันที่ 1 พฤษภาคม เป็น “วันแรงงานแห่งชาติ” เราเลยอยากชวนคุณมาวิเคราะห์เรื่องราวและสถิติเกี่ยวกับผู้ที่ทำงานในแวดวงดังกล่าว อย่างเหล่า “คนขับรถ – ส่งสินค้า – ส่งอาหาร” ว่ามีรายละเอียดอย่างไร…

  1. “พาร์ทเนอร์” หรือ “ผู้ขับ” ที่ให้บริการตามที่กล่าวมานั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากสถานการณ์ COVID-19 ทั้งจากปัจจัยความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค และการเป็นช่องทางรายได้ของผู้ที่ต้องประสบภาวะถูกเลิกจ้างหรือกิจการประกาศปิดตัว
    โลก วิถี ใหม่ Digital Disruption
  2. กว่า 3 ใน 4 ของพาร์ทเนอร์ในระบบของ Grab หรือ 77% เลือกให้บริการ “จัดส่งอาหารและพัสดุ” มากที่สุด ว่ากันว่ามีจำนวนรวมมากกว่า 100,000 คน! แม้ว่า Grab จะให้บริการหลายประเภท ทั้ง GrabFood บริการจัดส่งอาหาร, GrabExpress บริการจัดส่งพัสดุ, บริการเดินทาง GrabCar – GrabTaxi – GrabBike และ GrabDriveYourCar บริการคนขับรถยนต์ส่วนตัวสาเหตุหนึ่งอาจเพราะประเภทยานพาหนะของพาร์ทเนอร์ผู้ขับด้วย! โดย 64% ของผู้ขับในระบบของ Grab ใช้ “รถจักรยานยนต์” ในการรับงาน ส่วนอีก 3% ใช้ “รถยนต์” และอีก 1% ใช้ “การเดินเท้า” ผ่านบริการ GrabFood Walk ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่ต้องการรายได้เสริมระหว่างเรียนเป็นผู้ให้บริการประเภทนี้
    โลก วิถี ใหม่ Digital Disruption
  3. “เพศชาย” ในวัย Gen Y นิยมเป็นพาร์ทเนอร์ โดยหากแบ่งประเภทผู้ขับออกตาม Gen จะพบว่ากลุ่ม Gen Y อยู่ในระบบพาร์ทเนอร์มากที่สุด ประมาณ 48.5% รองลงมา คือ Gen X (26%) และ Gen Z (24%) และ Baby Boomer อีก 1.5% โดย 86% ของพาร์ทเนอร์ในระบบเป็นเพศชาย
  4. ผู้คนมองหา “อาชีพ – รายได้เสริม” อย่างที่บอกไปแล้วว่าด้วยสถานการณ์เช่นนี้ อาจทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยพยายามมองหาอาชีพเสริมและรายได้อื่นจากงานเสริม เพื่อต่อสู่กับวิกฤตที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลจาก Grab ที่ระบุว่า…มีผู้ขับในระบบมากกว่า 71% ที่เลือกรับงานแบบ Part-time (ให้บริการน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน) ส่วน 29% ให้บริการมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (รวมกลุ่มพาร์ทเนอร์ GrabTaxi ซึ่งส่วนใหญ่ขับรถรับจ้างเป็นอาชีพ)

ข้อมูลสนับสนุนเรื่องนี้ คือ สัดส่วนของพาร์ทเนอร์ที่เข้าสู่ระบบ Grab น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดถึง 44% ขณะที่ พาร์ทเนอร์ที่ให้บริการ 1-3 ปี มีจำนวน 26.5% และกลุ่ม 6 เดือน – 1 ปี มีจำนวน 19%

  1. Top 5 จังหวัดที่มีพาร์ทเนอร์มากที่สุด คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น และนครราชสีมา
    โลก วิถี ใหม่ Digital Disruption

จะเห็นได้ว่า จากข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้สะท้อนแค่เรื่องราวของการ “หาอาชีพเสริม” หรือ “หารายได้เพิ่ม” ของผู้คนในปัจจุบัน แม้จะเป็นคนเพียงจำนวนหนึ่ง แต่ก็ทำให้เห็นได้ว่า…ทั้ง New Normal ที่เกิดจากความต้องการของผู้บริโภคกับบริการออนไลน์ หรือวิกฤตจาก COVID-19 ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ “พาร์ทเนอร์” กลายเป็นอาชีพทางเลือกที่ผู้คนมองเห็นเป็นโอกาสใกล้ตัว มากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งตัวธุรกิจหรือองค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน ก็อาจจะต้องเผชิญเข้ากับวิกฤติ Digital Disruption อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นวันนี้ Ditto จึงอยากจะแชร์แนวทางการรับมือ Digital Disruption ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ที่สนใจได้รู้กันครับ ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ตัวธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป

 

 

1. ทยอยปรับเปลี่ยน “วิธีคิด” และ “วัฒนธรรมองค์กร”

 

การปรับทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะในช่วงเวลาที่โลกแห่งเทคโนโลยีกำลังพัฒนาเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือโมเดลธุรกิจแบบใหม่ขึ้น จนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องประสบปัญหา Digital Disruption ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติให้เหมาะสมกับยุคสมัยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

แต่ถึงกระนั้นการทำธุรกิจก็มีปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่ส่งผลให้การปรับตัวไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด หลายธุรกิจรู้ตัวล่วงหน้าก่อนด้วยซ้ำว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนต้องเผชิญกับเข้าวิกฤติ Digital Disruption ไปเต็ม ๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น การเตรียมพร้อมด้วยการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีความยืดหยุ่นและทันสมัยอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้การปรับตัวจะไม่สามารถทำได้ในทันที แต่การทยอยทำไปทีละส่วน ปรับเปลี่ยนแก้ไขกันไปทีละนิด ก็จะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านปัญหาไปได้แม้จะต้องใช้เวลาก็ตาม คลิกเพื่ออ่านบทความการปรับวัฒนธรรมองค์กรด้วย Digitization ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ 2022 เพิ่มเติม

 

 

2. เพิ่มทักษะความรู้และความสามารถที่จำเป็นให้กับบุคลากร

 

ถ้าหากตัวธุรกิจต้องการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและสังคมบริบทโลก ความรู้ความสามารถของบุคลากรจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ต่างก็มีวิธีการใช้และขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างไปจากเก่า หากต้องการให้เทคโนโลยีเหล่านี้สร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวธุรกิจมากที่สุด บุคลากรก็จำเป็นที่จะต้องมีประสบการณ์และความรู้มากพอที่จะใช้งานเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

ตัวองค์กรจึงต้องพร้อมในการทำ Digitization เพื่อสนับสนุนบุคลากรให้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้อย่างเต็มที่ อาจจัดกิจกรรมหรือการอบรมที่เป็นประโยชน์ให้กับพนักงาน ส่งเสริมให้พวกเขาได้ลองใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จนมีความมั่นใจ พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภายในที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และทันท่วงที มีข้อสังเกตสำคัญคือ ยิ่งพนักงานมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี เทรนด์ และกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ ตัวธุรกิจก็จะยิ่งได้รับประโยชน์และสามารถก้าวผ่านปัญหาที่เกิดขึ้นได้มากเท่านั้น

 

 

โลก วิถี ใหม่ Digital Disruption

 

3. เปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานให้ยืดหยุ่นและทันสมัย

 

เมื่อเราปรับวัฒนธรรมองค์กรและเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรแล้ว สิ่งสำคัญอันดับถัดมาคือขั้นตอนการดำเนินงานที่ต้องเปลี่ยนให้ทันสมัย และเหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนไป เพราะแนวทางการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ อาจสร้างความล่าช้าและเป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ตัวองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานภายในเสียใหม่ ให้มีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการปรับตัวมากที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นควรคำนึงถึงเวลาทำงานจริงเป็นสำคัญ ว่าเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้มีทิศทางและความเป็นไปได้ในรูปแบบใดได้บ้าง

 

โดยตัวองค์กรอาจเริ่มต้นจากการสำรวจ ว่าบุคลากรสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นหรือไม่ มีปัญหามีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นหลังจากนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หรือเปล่า ซึ่งถ้าหากมีปัญหา ตัวองค์กรก็ควรรีบลงมือแก้ไขเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะยิ่งคุณแก้ไขปัญหาได้เร็วมากเท่าไหร่ ตัวธุรกิจก็จะสามารถก้าวผ่านปัญหา Digital Disruption ได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

 

 

4. เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาวางรากฐานการทำงานให้กับองค์กร

 

การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวธุรกิจนั้น แม้จะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา Digital Disruption ที่ตรงจุดและควรทำมากที่สุด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกธุรกิจจะสามารถทำได้เหมือนกันหมด บางองค์กรอาจต้องเผชิญเข้ากับปัญหาหรือข้อจำกัดบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถใช้งานนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีได้อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อให้การปรับตัวเกิดความลื่นไหล สามารถทำงานต่อได้แม้จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ตัวธุรกิจจึงต้องไม่ลืมวางรากฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรก่อนเป็นอันดับแรก

 

โดยอาจจะนำเอาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือบางอย่างมาใช้ เพื่อยกระดับการทำงานในขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ซึ่งถ้าหากตัวองค์กรสามารถวางรากฐานไว้ได้อย่างมั่นคง แข็งแรง และเป็นระบบ ช่วงเวลาที่ตัวธุรกิจใช้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็จะสั้นและเกิดปัญหาตามมาน้อยที่สุดนั่นเอง

 

 

Ditto เล็งเห็นความสำคัญของขั้นตอนนี้ จึงมุ่งเน้นพัฒนาระบบต่าง ๆ ด้วยความใส่ใจ เราพร้อมวางรากฐานให้ทุกองค์กรมีระบบขั้นตอนการทำงานที่ทันสมัยและตอบโจทย์ต่อการรับมือ Digital Disruption ในทุกรูปแบบได้อย่างครอบคลุมที่สุด