การประเคนสิ่งของให้แด่พระภิกษุ ข้อใดถูกต้อง

การประเคน – การประเคนพระ คือ การยกสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค (สมควรที่พระสงฆ์จะบริโภคใช้สอยได้ ไม่มีโทษทางพระวินัยพุทธบัญญัติ) น้อมถวายให้แด่พระสงฆ์ ด้วยกิริยาอาการที่แสดงความศรัทธาเลื่อมใส มีความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระสงฆ์ผู้รับประเคนนั้นเป็นอย่างดี

การประเคนสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภค เช่น ภัตตาหารคาวหวาน เป็นต้น แก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้น มีพระวินัยพุทธบัญญัติทรงกำหนดไว้ให้ประกอบด้วยองค์ 5 คือ

ข่าวแนะนำ

  • การประเคนสิ่งของให้แด่พระภิกษุ ข้อใดถูกต้อง

    ส่องไอจี เอิร์ก เลเดอเรอร์ ใช้ของหรู อยู่อย่างไฮ ชาวเน็ตจี้ ถ้าบริสุทธิ์ก็กลับมา

  • การประเคนสิ่งของให้แด่พระภิกษุ ข้อใดถูกต้อง

    ซ่อนตัวมาเป็นร้อยปี! เพิ่งสำรวจพบ เจดีย์ธาตุ 9 องค์ กลางป่ารอยต่อ 2 จว. เผยสิ่งอัศจรรย์

  • การประเคนสิ่งของให้แด่พระภิกษุ ข้อใดถูกต้อง

    เช็กเลย สรุปชาติเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2022 - ตารางแข่งขัน

1.สิ่งของที่จะประเคนนั้นต้องไม่ใหญ่โต หรือหนักเกินไป ขนาดคนปานกลางคนเดียวยกไหว และต้องยกสิ่งของนั้นให้ขึ้นพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่

2.ผู้ประเคนต้องอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคน ประมาณ 1 ศอกเป็นอย่างมาก

3.ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้ามาให้ ด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อมต่อพระภิกษุผู้รับประเคน

4.กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้ามาให้นั้นจะส่งให้ด้วยมือก็ได้ หรือจะส่งให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักถวายก็ได้

5.พระภิกษุผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ จะรับด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะให้ผ้าทอดรับก็ได้ จะใช้บาตรรับก็ได้ จะใช้จานรับก็ได้

ลักษณะการประเคนพระที่ไม่ถูกต้อง เช่น

1.สิ่งของที่จะประเคนนั้นใหญ่โต หรือหนักเกินไป คนเดียวยกไม่ไหว ต้องช่วยกันยกถวาย เช่น ช่วยกันยกโต๊ะอาหารทั้งโต๊ะถวาย เป็นต้น

2.ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนเกินกว่า 1 ศอกออกไป จนพระภิกษุนั่งตั้งตัวตรงด้วยมือไม่ถึง หรือการประเคนโดยวิธีวางภาชนะต่อๆ กันออกไป เป็นต้น

3.ผู้ประเคนไม่ยกสิ่งของที่จะประเคนนั้นให้พ้นจากพื้น เช่น การประเคนถวายด้วยวิธีเสือกไสให้เลื่อนไปตามพื้น หรือการประเคนด้วยวิธีใช้มือแตะสิ่งของถวาย เป็นต้น

4.ผู้ประเคนสิ่งของให้พระ ส่งให้ด้วยกิริยาอาการที่แสดงความไม่ความเคารพ เช่น ให้ด้วยกิริยาอาการดุจทิ้งเสีย เป็นต้น

5.พระภิกษุผู้รับประเคน ยังไม่ทันรับสิ่งของนั้น ผู้ประเคนวางสิ่งของลงเสียก่อน

6.สิ่งของที่ประเคนนั้น เป็นของไม่สมควรแก่สมณบริโภค

7.นำเอาวัตถุสิ่งของประเภทอาหารคาวหวานไปถวายให้พระภิกษุรับประเคนในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันไปแล้ว

วิธีการประเคนพระนั้น ถ้าผู้ประเคนเป็นชาย นิยมยกส่งให้ถึงมือพระภิกษุผู้รับประเคน ถ้าผู้ประเคนเป็นหญิง นิยมวางถวายบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับประเคนนั้น และต้องรอให้พระภิกษุท่านจับที่ผ้าทอดรับนั้นก่อน จึงวางสิ่งของลงบนผ้าที่ทอดรับนั้น

ถ้าพระภิกษุนั่งอยู่กับพื้น ผู้ประเคนนิยมนั่งคุกเข่าประเคนสิ่งของ ถ้าพระภิกษุนั่งเก้าอี้ เช่น นั่งเก้าอี้ฉันภัตตาหารที่วางบนโต๊ะ ผู้ประเคนนิยมยืนประเคนสิ่งของ

ในการถวายภัตตาหารคาวหวานแด่พระภิกษุสงฆ์นั้น นิยมถวายเฉพาะสิ่งของที่พระภิกษุสงฆ์จะพึงฉันได้เท่านั้น ส่วนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระโถน จาน ชาม ช้อน แก้ว เป็นต้น นิยมไม่ต้องยกประเคนพระ เพียงแต่วางมอบให้เท่านั้น

บ่อยครั้งที่เราจะไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องประเคนของ สิ่งของ หรือภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จึงรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการประเคนเพื่อให้เกิดความเข้าเกี่ยวกับการประเคน  ไว้ดังนี้


#ผ้าประเคน #ผ้ารับประเคน
#ผ้ากราบ #ประเคน

-ลักษณะของการประเคน และหลักเบื้องตนของการประเคน

ความหมายของการประเคน
รวบรวมจากข้อมูลหลายที่

>>การประเคน คือ มอบถวายแก่พระภิกษุ (มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา)

>>ประเคน หมายถึง การถวายของ การส่งของให้พระถึงมือ ของที่ประเคนนั้นจะต้องไม่ใหญ่หรือหนักจนยกคนเดียวไม่ได้ ถ้าเป็นของเคี้ยวของฉันจะต้องประเคนในกาล คือ ตั้งแต่เช้าถึงเทียงวันเท่านั้น หลังจากนั้นเป็นวิกาล ไม่ควรประเคน (พระธรรมกิตติวงศ์ หรือ เจ้าคุณทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม)

>>ประเคนหมายถึง ถวายของพระภิกษุด้วยวิธียกส่งให้ด้วยมือตามแบบที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นสิ่งที่ยกได้ต้องยกให้พ้นพื้นแล้วจึงประเคน ถ้าเป็นสิ่งของที่ยกไม่ได้ ให้ใช้สายสิญจน์วงรอบสิ่งนั้นแล้วประเคนสายสิญจน์แทน เช่นในการประเคนอาหารแด่พระภิกษุ เราต้องใช้มือทั้ง ๒ จับของที่จะถวายนั้นส่งให้พระภิกษุด้วยอาการเคารพ ในระยะที่ไม่ใกล้หรือไกลเกินไป. ถ้าเป็นผู้หญิง ต้องวางสิ่งของนั้นลงบนผ้าหรือสิ่งอื่นที่พระภิกษุทอดมาให้. อาหารที่ประเคนแล้ว หากมีผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุไปจับต้อง ต้องประเคนใหม่ สำนักงานราชบัณฑิตสภา)

>>การประเคนพระ หมายถึงการถวายสิ่งของให้พระภิกษุได้รับถึงมือด้วยอาการเคารพ คือ ด้วยกิริยาอาการที่แสดงถึงความมีศรัทธาเลื่อมใส มีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อพระภิกษุผู้รับประเคนนั้นเป็นอย่างดี (กัลยาณมิตร)

กล่าวโดยสรุป การประเคนหมายถึง การถวายสิ่งของให้ถึงมือพระสงฆ์ด้วยความเคารพ 

ประวัติความเป็นมาของการประเคน

หลายๆ คนสงสัยว่า ทำไมต้องประเคน มาดูที่มาเพื่อให้เข้าใจว่า เหตุที่ต้องประเคน

ในสมัยพระพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มีปกติประพฤติถือเอาทุกอย่างเหมือนผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) คือ ไม่มีความประสงค์ที่จะรับอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวาย มีแต่แสวงหาอาหารเครื่่องเซ่นเจ้าที่ชาวบ้านเอาไปวางไว้ที่ป่าช้าบ้าง ที่โคนต้นไม้ บ้าง ที่ธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง เหมือนกับการแสวงหาผ้าบังสุกุล ชาวบ้านเห็นเข้า ก็กล่าวติเตียน

พระภิกษุทั้งหลายได้ยินคำิติเตียนนั้น จึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ พระองค์ทรงตรัสถามความประพฤติเป็นไปดังกล่าวนั้น กับภิกษุรูปนั้น ทรงติเตียนว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนผู้ยังไม่เลื่อมใส เป็นต้น

พระพุทธองค์ จึงทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทว่าภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เป็นปาจิตตีย์

ต่อมาทรงบัญญัติเพิ่มเติม ว่า ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ล่วงช่องปาก เป็นปาจิตตีย์ ยกเว้นน้ำ และไม้สีฟัน

นี่คือ ประวัติความเป็นมาของการบัญบัติสิกขาบทไม่ให้พระภิกษุฉันอาหารที่ยังไม่ได้รับประเคนจากชาวบ้าน

สิกขาบทดังกล่าวนี้ เป็นสิกขาบทที่เป็นไปเพื่อการขัดเกลา เพื่อสำรวมระวังให้ไม่เป็นผู้หยิบฉวยของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้้องได้รับจากมือของผู้อื่นซึ่งเป็นผู้มอบให้ ซึ่งก็คือ การประเคน

วิธีประเคน 

นั่งหรือยืนห่างจากพระประมาณ ๑ สอก จับของที่ประเคนด้วยมือทั้ง ๒ หรือ มือเดียวก็ได้ ยกให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อยแล้วน้อมประเคนด้วยความเคารพ 

>>ถ้าเป็นบุรุษ พระจะรับด้วยมือทั้งสอง 

>>ถ้าเป็นสตรี พระจะทอดผ้าสำหรับประเคน เรียกว่า ผ้ารับประเคน ออกมารับ พึงวางของบนผ้าแล้วปล่อยมือ 

เมื่อประเคนเสร็จแล้วพึงไหว้ หรือกราบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้การประเคน เป็นการยกให้ด้วยความเต็มใจ เป็นการป้องกันมิให้พระถูกกล่าวหาว่า "เป็นขโมย"

อย่างไรก็ตามมีพระวินัย บัญญัติห้ามพระสงฆ์หยิบสิ่งของมาขบฉันเองโดยไม่มีผู้ประเคน ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น น้ำฝน น้ำปะปา เป็นต้น การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

1.เป็นวัตถุสิ่งของที่บุรุษผู้มีกำลังปานกลางพอจะยกได้

2.หัตถบาสปรากฏ คือ เขาอยู่ในหัตถบาส(บ่วงมือ) ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ อันแสดงถึงการให้ที่ถูกต้อง คือนับจากด้านหลังของพระภกษุและด้านหน้าของผู้ประเคน ประมาณ ๒ ศอกกับอีกหนึ่งคืบ ทั้งผู้ให้และผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส

5.พระภิกษุรับประเคนสิ่งของนั้น ด้วยกาย หรือ ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย การประเคน ย่อมใช้ได้ ด้วยองค์ 5 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

จากหนังสือ คำวัด ได้กล่าวถึง หลักเบื้องต้นในการประเคน
มีดังนี้ 

1. ของนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป สามารถจับยกได้โดยคนเดียว 

2. ผู้ประเคนควรเข้าไปอยู่ในหัตถบาส หมายถึง เอามือประสานกันแล้วยื่นไปข้างหน้าห่างจาก พระสงฆ์ประมาณ ๑ ศอก 

3. ถ้าเป็นชาย ยกของที่จะประเคนถวายพระสงฆ์ได้เลย ถ้าเป็นผู้หญิง ให้วางของที่จะประเคนลงบนผ้ารับประเคน และ 

4. เมื่อประเคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่าไปจับเลื่อนของที่ประเคนแล้ว หากเผลอไปจับเลื่อนถือว่าขาดประเคนต้องประเคนใหม่

หลักการประเคนสิ่งของถวายพระสงฆ์ในข้อในข้อใด ไม่ถูกต้อง

ลักษณะการประเคนพระที่ไม่ถูกต้อง เช่น 1.สิ่งของที่จะประเคนนั้นใหญ่โต หรือหนักเกินไป คนเดียวยกไม่ไหว ต้องช่วยกันยกถวาย เช่น ช่วยกันยกโต๊ะอาหารทั้งโต๊ะถวาย เป็นต้น 2.ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคนเกินกว่า 1 ศอกออกไป จนพระภิกษุนั่งตั้งตัวตรงด้วยมือไม่ถึง หรือการประเคนโดยวิธีวางภาชนะต่อๆ กันออกไป เป็นต้น

ลักษะณะการประเคนที่ถูกต้องประกอบด้วยองค์กี่ประการ

การประเคนที่ถูกต้องตามหลักพระวินัยมีลักษณะที่กำหนดไว้ 5 ประการ เมื่อการประเคนได้ลักษณะครบทั้ง 5 ประการนี้ จึงเป็นอันประเคนถูกต้อง ถ้าไม่ได้ลักษณะนี้เช่นของนั้นใหญ่และหนักจนยกไม่ขึ้น ผู้ประเคนอยู่นอกหัตถบาส หรือผู้ประเคนเสือกของส่งให้ เป็นต้น แม้จะส่งให้พระภิกษุสงฆ์แล้วก็ตาม ก็ได้ชื่อว่ายังไม่ได้ประเคนนั่นเอง

ข้อใดเป็นสิ่งของที่ประเคนได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง

- สิ่งของที่ประเคนพระได้ในเวลาช่วงเช้าถึงเที่ยง ได้แก่อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท (หากนาสิ่งของเหล่านี้ไปถวาย ในเวลาหลังเที่ยงแล้วไม่ต้อง ประเคน เพียงแต่แจ้งให้พระรับทราบแล้วมอบให้ศิษย์เก็บรักษาไว้ จัดทาถวายในวันต่อไป)

การประเคนที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยควรเป็นอย่างไร

๑. นั่งหรือยืนห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก จับของที่ประเคนด้วยมือทั้ง ๒ หรือ ยกให้สูงขึ้น จากพื้นเล็กน้อยแล้วน้อมประเคนด้วยความเคารพ 2. ผู้ประเคนควรเข้าไปอยู่ในหัตถบาสปรากฎ คือ เข่าอยู่ในหัตถบาส (บ่วงมือ) ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ อันแสดงถึงการให้ที่ถูกต้อง คือนับจากด้านหลังของ พระภิกษุและด้านหน้าของผู้ประเคน ประมาณ ๒ ศอก กับอีก ...