แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ปัจจุบัน โลกกลมๆ ใบนี้ได้เข้าสู่ “ศตวรรษที่ 21” มาเป็นปีที่ 19 ย่างเข้าปีที่ 20 หรือ “2 ทศวรรษ” แล้ว และที่เราได้อ่าน ได้ดู ได้ฟัง เกี่ยวกับคำว่า “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ก็มีเยอะแยะมากมายหลายต่อหลายแหล่ง อีกคำหนึ่งซึ่งตีคู่มากับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ก็คือ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” หรือ 21st Century Skills
“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” คือเป้าหมายของการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ที่จะช่วยชี้นำวิธีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาชีวิตของผู้เรียนให้มีคุณภาพและประสบความสำเร็จเพื่อการดำรงชีวิตศตวรรษที่ 21

“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” หมายถึง กลุ่มความรู้  ทักษะ และนิสัยการทำงาน ที่เชื่อว่ามีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะดังกล่าวเป็นผลจากการพัฒนา “กรอบความคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” หรือ 21st Century Learning Framework นำเสนอโดย “ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” หรือ The Partnership for 21st Century Skills ซึ่งมีที่มาจากหนังสือ 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times (2009) เขียนโดย Bernie Trilling และ Charles Fadel

แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดย Bernie Trilling และ Charles Fadel ได้นำเสนอ “สมการ 3R x 7C x 2L” ขึ้น

“สมการ 3R x 7C x 2L” ประกอบด้วย

3R หรือ “ทักษะการรู้หนังสือ 3 ประการ” ได้แก่ Reading (ทักษะการอ่าน),  Writing (’Riting-ทักษะการเขียน) และ Arithmetic (’Rithmetic-ทักษะเลขคณิต)

7C ประกอบด้วย “ทักษะใหม่ 7 ด้าน” ดังนี้

  • 1.การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
  • 2.การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy)
  • 3.ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
  • 4.การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
  • 5.คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
  • 6.การทำงาน การเรียนรู้ และการพึ่งตนเอง (Career and Learning Self–Reliance)
  • 7.ความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross–Cultural Understanding)

2L คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) และภาวะผู้นำ (Leadership Skills)

“จุดชี้ขาด” ที่แตกต่างระหว่าง “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” กับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” นั้น Bernie Trilling และ Charles Fadel ชี้ว่า สถาบันการศึกษาต้องใช้ “สมการ 3R x 7C x 2L” เป็นตัวขับเคลื่อน

ความหมายของ “สมการ 3R x 7C x 2L” ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ก็คือ การเปลี่ยนรูปแบบห้องเรียนแบบดั้งเดิม หรือ Traditional Classroom ที่มีครูยืนอยู่หน้าห้อง หันหน้าให้นักเรียน และหันหลังให้กระดานดำ มาสู่ห้องเรียนสมัยใหม่ หรือ Modern Classroom และอาจเป็นห้องเรียนหลังสมัยใหม่ หรือ Post-Modern Classroom

ลักษณะสำคัญของ “ห้องเรียนสมัยใหม่” นั้น หลักใหญ่ใจความก็คือ บทบาทของครูบาอาจารย์ เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเป็น “ผู้สื่อสารทางเดียว” มาสู่การจัดการเรียนการสอนที่เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ได้แก่

1.การเรียนรู้บนฐานปัญหา (Problem-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
2.การเรียนรู้บนฐานการวิจัย (Research-Based Learning) เป็นการสอนให้ถามและตอบคำถาม เพื่อกระตุ้นความใฝ่รู้และทักษะ
3.การเรียนรู้คู่กับการทำงาน (Work-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะความพร้อมด้านอาชีพไปพร้อมกับการเรียน และ
4.การเรียนรู้คู่กับการบริการ (Service Learning) เพื่อสร้างทักษะชีวิตและจิตสำนึกในหน้าที่ต่อสังคม

แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
นายอภิชาต ทองอยู่ ประธาน EEC HDC

เพื่อตอบโจทย์ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และการเกิดขึ้นของ EEC ที่เป็นธงนำในการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุค 5G รองรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ 12 S-Curve หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อ “สัตหีบโมเดล” ที่ปัจจุบันได้รับการต่อยอดเป็น EEC Model ภายใต้การขับเคลื่อนของ EEC HDC หรือ Eastern Economic Corridor Human Development Center นำโดย นายอภิชาติ ทองอยู่ ประธาน EEC HDC และที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ดร.คณิศ แสงสุพรรณ) โดย EEC HDC มีศูนย์บัญชาการอยู่ที่อาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมีคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญ

“สัตหีบโมเดล” หรือ EEC Model ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตาม “สมการ 3R x 7C x 2L” ของ Bernie Trilling และ Charles Fadel ทุกประการ โดยเฉพาะในประเด็น การเรียนรู้คู่กับการทำงาน (Work-Based Learning) เพื่อเสริมทักษะความพร้อมด้านอาชีพไปพร้อมกับการเรียน

เพราะ EEC Model มีนโยบายปฏิรูประบบการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC มีวัตถุประสงค์ในการสร้างทักษะแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆ กับการฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อตระเตรียมตัวผู้เรียนให้เข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่มีผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะในสายอาชีวศึกษาสาขาที่ขาดแคลนของ 12 S-Curve โดยความร่วมมือแบบไตรภาคีระหว่างสถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และ EEC HDC ซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย มีเป้าหมายคือการสร้างกำลังคนรองรับ 12 อุตสาหกรรมใหม่ และผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการมีงานทำ 100%

แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

จึงกล่าวได้ว่า แนวคิดใหม่ของ EEC HDC ดังกล่าว คือการ “ผ่าตัดการศึกษาไทย” ที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากในวันนี้ที่ยังคงอยู่ในโลกของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” ซึ่งยังคงใช้ “ห้องเรียนแบบดั้งเดิม” หรือ Traditional Classroom คือครูยืนอยู่หน้าห้อง หันหน้าให้นักเรียน และหันหลังให้กระดานดำ

เพราะยุทธศาสตร์ของ EEC HDC นั้นจะไม่ใช่ค่การสร้างนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ “แค่เรียนจบ” รับประกาศนียบัตรหรือใบปริญญา ซึ่งเป็นแนวคิดของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” แต่ก้าวหน้าไปถึงขั้นความมุ่งมั่นที่จะสร้างนักเทคโนโลยี และนวัตกร ตามปรัชญา “การศึกษาในศตวรรษที่ 21”

การเกิดขึ้นของ EEC HDC จึงเป็นโมเดลการศึกษาใหม่ เสมือนการ “ผ่าตัดใหญ่เปลี่ยนอวัยวะระบบการศึกษาไทย” ที่ไม่ใช่แค่เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา แต่จะเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าของประเทศ

EEC HDC จึงเป็นโมเดลการศึกษาที่จะเป็นเรือธง ผู้อาสานำพา “ระบบการศึกษาไทย” ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ของศตวรรษที่ 21 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand 5.0 ในอนาคตนั่นเองครับ


อยากรู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับความสำคัญและหมุดหมายของ EEC HDC ติดตามได้ในบทความเหล่านี้

EEC HDC กับภารกิจปั้นบุคลากร 500,000 ตำแหน่ง ‘ดิจิทัล หุ่นยนต์ สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์’ มาแรง!!!

EEC HDC โมเดลการศึกษายุคใหม่ สร้างคน 10 กลุ่ม ตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0

คุยกับ ‘อภิชาต ทองอยู่’ ผู้ปั้นการศึกษาแบบ EEC Model สร้างอนาคตยุคใหม่ให้เด็กไทย

Post Views: 7,762

  • TAGS
  • Eastern Economic Corridor Human Development Center
  • EEC HDC
  • EEC Model
  • การจัดการศึกษา
  • การศึกษาในศตวรรษที่ 21
  • ปฏิรูปการศึกษาไทย
  • ระบบการศึกษา

Previous articleสาลิกาคาบข่าว Vol.241/62

Next articleเมื่อ ‘อ้อย’ กลายเป็น ‘พลาสติก’

แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Jakkrit Siririn

ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน เจ้าของนามปากกา “นกป่า อุษาคเนย์” อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมา 25 ปี ทั้งนักข่าว นักเขียน บรรณาธิการ มาเป็น ดร.ด้านการศึกษา ผ่านประสบการณ์ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะมาแลกเปลี่ยนมุมมองและความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม