ทักษะชีวิตและการทํางาน ในศตวรรษที่ 21

22nd May 201801 Self-awareness, 02 Self-management, 03 Social Awareness, 04 Relationship Management, 06 Leadership, ภาวะผู้นำAccountability, adaptability, Cross-Cultural Skills, Flexibility, Initiative, leadership, Productivity, Responsibility, Self-direction, Social

ทักษะชีวิตและอาชีพในวันนี้ ต้องการมากไปกว่าทักษะการคิด และ ความรู้ด้านเนื้อหา ความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก ต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ (The Partnership for 21st Century Learning, 2015) ประกอบด้วย

ทักษะชีวิตและการทํางาน ในศตวรรษที่ 21

ความยืนหยุ่น และ การปรับตัว (Flexibility and Adaptability)

  • การปรับตัว (Adapt to Change) ปรับไปตามบทบาท งาน ความรับผิดชอบ ตาราง และ สภาพแวดล้อม ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพที่คลุมเครือ ลำดับความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง
  • ความยืดหยุ่น (Flexible) ให้ข้อเสนอแนะอย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อคำยกย่อง ความล้มเหลว และ คำวิจารณ์

การริเริ่ม และ นำพาตนเอง (Initiative and Self-direction)

  • บริหารจัดการเป้าหมาย และ เวลา (Manage Goals and Time) ตั้งเป้าเกณฑ์ความสำเร็จทั้งที่จับต้องได้ และ จับต้องไม่ได้ จัดสมดุลทั้งเป้าหมายระยะสั้น (Tactical) และ ระยะยาว (Strategic) จัดสรรเวลาและจัดการปริมาณงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำงานได้อย่างอิสระ (Work Independently) ตรวจสอบ กำหนด จัดความสำคัญ และ ความสมบูรณ์ในงาน โดยปราศจากการควบคุมดูแลโดยตรง
  • เป็นผู้เรียนที่นำพาตนเอง (Be Self-directed Learners) ข้ามพ้นการเรียนรู้แบบพื้นฐานของทักษะหรือหลักสูตร เพื่อที่จะสำรวจและขยายการเรียนรู้ของตนเอง และ สร้างโอกาสสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญ ริเริ่มระดับทักษะขั้นสูงเพื่อไปสู่ระดับมืออาชีพ มีพันธสัญญาในการเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong) สะท้อนเชิงวิพากษ์ต่อประสบการณ์ในอดีตเพื่อเป็นข้อมูลให้กับพัฒนาการในอนาคต

ทักษะทางสังคมและความต่างในวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills)

  • ปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้อื่น (Interact Effectively with Others) รู้ว่าเมื่อไหร่ควรฟัง เมื่อไหร่ควรพูด ให้ความเคารพ เป็นมืออาชีพ
  • ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทีมที่มีความหลากหลาย (Work Effectively in Diverse Teams) เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้คนที่มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม ตอบสนองอย่างเปิดใจในความแตกต่างของแนวคิดและคุณค่า ผลักดันความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมให้เกิดแนวคิดใหม่และเพิ่มทั้งนวัตถรรมและคุณภาพในงาน

ผลิตผลและความสำนึกรับผิดชอบ (Productivity and Accountability)

  • บริหารจัดการโครงการ (Manage Projects) ตั้งเป้า ถึงแม้จะเผชิญกับอุปสรรค และ แรงกดดันทางการแข่งขัน จัดลำดับความสำคัญ วางแผน บริหารจัดการงานให้สำเร็จดังเป้าที่ตั้งใจ
  • ผลการผลิต (Produce Results) แสดงให้เห็นลักษณะเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าคุณภาพสูงรวมถึงความสามารถที่จะทำงานเชิงบวก และ มีจริยธรรม บริหารจัดการเวลาและโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้หลายอย่าง มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน น่าเชื่อถือ ตรงต่อเวลา นำเสนอตัวเองอย่างมืออาชีพ และ ด้วยมารยาทที่เหมาะสม ประสาน และ ร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพกับทีม เคารพและชื่นชมความหลากหลายของทีม รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น

ภาวะผู้นำ และ ความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)

  • ให้แนวทางและนำผู้อื่น (Guide and Lead Others) ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ ทักษะการแก้ปัญหา ที่จะเป็นอิทธิพลและแนวทางให้ผู้อื่นบรรลุเป้าหมาย ผลักดันจุดแข็งของผู้อื่นให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายร่วม สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ใช้ศักยภาพสูงสุดผ่านตัวอย่าง และ การเสียสละ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ซื่อตรง มีจริยธรรม
  • รับผิดชอบต่อผู้อื่น (Be Responsible to Others) กระทำอย่างรับผิดชอบด้วยความสนใจในชุมชนที่ใหญ่กว่าในความคิดจิตใจ

Source : The Partnership for 21st Century Learning. (2015). P21 Framework Definitions

หลักสูตร ฝึกอบรม โดย อ.รัน ธีรัญญ์

ทักษะชีวิตและการทํางาน ในศตวรรษที่ 21

Comments

comments

ทักษะในศตวรรษที่ 21

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

       ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
    ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    การปกครองและหน้าที่พลเมือง
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์
       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
          ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
    ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
    การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
    ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
    การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
    ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
    7C ได้แก่ 
        Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
        Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
        Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
        Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
        Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
        Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
        Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต