การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร?

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ คือ ปัญหาที่เกิดจากการที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่ต้องผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่ไม่จำกัดของมนุษย์ ทำให้ทุกประเทศต้องพบกับปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Problem) 3 ข้อ คือ What to Produce, How to Produce, และ For Whom to Produce

โดยความหมายของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Problem) แต่ละปัญหามีความหมายดังนี้

What to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร

How to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร

For Whom to Produce คือ ผลิตสินค้าหรือบริการไปเพื่อใคร

What to Produce

What to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร 

ปัญหา What to Produce เกิดจากการที่ทรัพยากรในการผลิตของทุก ๆ ประเทศมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถผลิตทุกอย่างที่ต้องการได้ จึงเกิดเป็นปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ข้อแรก คือ จะเลือกผลิตสินค้าอะไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด

How to Produce

How to Produce คือ จะผลิตสินค้าหรือบริการอย่างไร

How to Produce เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากที่เลือกได้แล้วว่าจะผลิตสินค้าอะไร (What to Produce) เนื่องจาก สินค้าและบริการแต่ละชนิดมีวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ซึ่งก็จะต้องพิจารณาว่าจะผลิตด้วยวิธีใด และจะใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างไรจึงจะทำให้การผลิตเกิดประโยชน์สูงสุด

For Whom to Produce

For Whom to Produce คือ ผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อใคร

For Whom to Produce เกิดจากการที่หลังจากผลิตสินค้าหรือบริการออกมา ปัญหาที่ตามมา คือ จะกระจายสินค้าไปให้กับคนกลุ่มใดบ้าง และจะใช้วิธีใดในการเลือกสรรวิธีการกระจายสินค้าออกไป

แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใดต่างก็ประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบต่างก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตก ต่างกันไปดังนี้

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม (capitalism) จะใช้กลไกตลาด (ราคา) หรือที่มักเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น

เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กล่าวคือ ราคา จะเป็นตัวช่วยตอบปัญหาต่างๆตั้งแต่เริ่มผลิตอะไร

อย่างไร และเพื่อใคร ปกติสินค้าและบริการใดที่เป็นที่ต้องการผู้บริโภคก็จะเสนอราคาซื้อสูง นั่นคือ ราคาจะเป็น

ตัวสะท้อนที่ทำให้ผู้ผลิตทราบความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการตรงกับ

ความต้องการของผู้บริโภค ปัญหาที่ว่า ผลิตอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาในเรื่องของเทคนิคการผลิตว่าจะผลิตโดยเน้น

ใช้ปัจจัยแรงงานหรือ ปัจจัยทุน ก็ขึ้นอยู่กับราคาโดยเปรียบเทียบของปัจจัยแต่ละประเภท โดยมีหลักว่าผู้ผลิตจะเลือกผลิต

หรือใช้ปัจจัยการผลิตในประเภทที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำสุด ซึ่งราคาก็เป็นเครื่องชี้อีกเช่นเดียวกันสำหรับ

ปัญหา ผลิตเพื่อใคร กล่าวคือ ใครควรจะได้รับการจัดสรรสินค้าและบริการไปอุปโภคบริโภคมากหรือน้อยเพียงใด

ก็ขึ้นอยู่กับใครมีอำนาจซื้อและเสนอราคาให้มากกว่า ผู้ผลิตหรือผู้ขายก็จะเสนอขายสินค้าและบริการนั้นไปให้บุคคลนั้น

ก็จะได้รับสินค้าและบริการไปอุปโภคบริโภคตอบสนองความต้องการของตน โดยสรุป ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้ราคา

จะเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญในการช่วยแก้ไข ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

2. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลางหรือ

รัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนดำเนินการสั่งการแต่เพียงผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ

รัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด อย่างไร และจำหน่ายจ่ายแจกหรือกระจายสินค้าและบริการไปให้กับใคร

3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เนื่อง จากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบ เศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจนี้จึงใช้กลไกรัฐเป็นกลไก

สำคัญในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แต่อย่างไรก็ตามมีการใช้กลไกราคา

อยู่บ้าง แต่ยังมีบทบาทค่อนข้างจำกัด

4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม แนวทางการแก้ไขปัญหาจะใช้ทั้งกลไกราคาและกลไกรัฐร่วมกันไป กล่าวคือ กิจการที่เป็น

กิจการที่มีความสำคัญต่อประชาชนโดยส่วนรวม เช่น กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้

บริการกับประชาชนเอง (กลไกรัฐ) แต่กิจการโดยทั่วไปจะปล่อยให้เป็นไปตามระบบของกลไกตลาด (ราคา)

แหล่งอ้างอิง: 

http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-10-27871.html

4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

       ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ   เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรเศรษฐกิจมีจำกัด  เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด  ทำให้ทุกสังคมประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  ซึ่งจำแนกออกได้เป็น  3  ปัญหา  คือ

          จะเลือกผลิตอะไร  (What to produce)

           ผลิตอย่างไร  (How to produce)

          ผลิตเพื่อใด  (For Whom to produce)

            1.  ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What)   เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ  ดังนั้นจึงต้องมีการตัดสินใจว่าควรจะเลือกทรัพยากรที่มีอยู่  นำไปผลิตสินค้าและบริการอะไรได้บ้างที่จำเป็น  และเป็นจำนวนเท่าใด  จึงจะสามารถสนองความต้องการและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  ตัวอย่างเช่น  ประเทศชาติมีทรัพยากรจำกัดก็ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นไปในการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของพลเมืองอย่างทั่วถึง  หรือควรจะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น

             2.  ปัญหาว่าควรผลิตอย่างไร (How)   หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไรเป็นจำนวนสักเท่าใดแล้ว  ปัญหาที่เราจะต้องตัดสินใจขั้นต่อไปก็คือ  เราจะใช้เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการใด  และจะใช้ปัจจัยการผลิตมากน้อยในสัดส่วนเท่าใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด  หรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด  เนื่องจากผู้ผลิตมีเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าได้หลายวิธีที่สามารถให้ผลผลิตเท่าเทียมกัน  จึงต้องเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เกษตรกรต้องการปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก 1,000เกวียน  อาจเลือกใช้ที่นาจำนวนมากโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การเกษตรจำนวนน้อย  หรืออาจเลือกใช้ที่นาจำนวนน้อยโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรจำนวนมาก  ไม่ว่าเราใช้การผลิตวิธีใดก็สามารถได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียนเท่ากัน  เป็นต้น

             3.  ปัญหาวาจะผลิตเพื่อใคร (For Whom)   ปัญหาว่าจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อใคร  คำตอบก็คือผลิตเพื่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค  หลังจากผลิตสินค้าและบริการได้แล้วก็จะมีการจำหน่ายจ่ายแจกไปยงผู้บริโภค  เงินที่ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจะตกไปอยู่กับใคร  จำนวนเท่าใด  เป็นการศึกษาถึงการผลิต  การบริโภค  และการแบ่งสรรทรรัพยากรการผลิตโดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  การที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้สินค้าและบริการมากินมาใช้มากน้อยแค่ไหน  หรือรัฐบาลของบางประเทศอาจเป็นผู้กำหนด  ตามนโยบายของรัฐบาลว่าจะจัดสรรให้แก่กลุ่มบุคคลใด  ด้วยวิธีการอย่าง

      การตัดสินใจว่า  เราควรจะผลิตอะไร  ผลิตอย่างไร  และผลิตเพื่อใครดังกล่าวนี้  เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัด  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด  ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคม  เศรษฐกิจ  ส่วนการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไป  แล้วแต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ

 เศรษฐกิจภาครัฐ

         ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นทางด้านทุนนิยม  รัฐบาลมีหน้าที่คอยดูแลความปลอดภัยความยุติธรรม  เสรีภาพ  สวัสดิการ  บริการสาธารณะ  ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมือง  กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาลก็ทำนองเดียวกับภาคเอกชน  รัฐบาลจำเป็นต้องแสวงหารายได้ให้เพียงพอที่จะนำไปใช้จ่ายบริหารประเทศให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยส่วนรวม

           การศึกษาเศรษฐกิจภาครัฐบาลนั้นอาจแตกต่างจากการศึกษาเศรษฐกิจภาคเอกชนไปบ้างในแง่ของวิธีการ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแสวงหารายได้  และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลมุ่งใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหากำไร  ซึ่งในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐกิจภาครัฐบาลต่อไป

ความหมายและวัตถุประสงค์ของเศรษฐกิจภาครัฐ

        เศรษฐกิจภาครัฐ (public economy)  เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐทางด้านรายได้  หนี้สาธารณะ  และรายจ่ายของรัฐนโยบายที่รัฐกำหนดระดับและโครงสร้างของรายได้ ผลกระทบจากการจัดเก็บรายได้  และการใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐ  และผลของการใช้จ่ายที่มีต่อเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม

        วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ  หมายความรวมถึงการมีงานทำและการมีรายได้  การรรักษาเสถียรภาพของระดั้บราคา การรักษาเสถียรภาพของดุลการชำระเงิน การผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง เป็นต้น

ความสำคัญของเศรษฐกิจภาครัฐ

        การจัดเก็บรายได้  การก่อหนี้  หรือการใช้จ่ายเงินจำนวนมากจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน  ย่อมก่อผลกระทบต่อการผลิต  การบริโภค  และการจ้างงานอย่างมาก  โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาด้วยแล้ว  เศรษฐกิจภาครัฐยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เช่น  งานสาธารณูปโภครัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

            การที่เศรษฐกิจภาครัฐมีความสำคัญมากขึ้นเช่นนี้  เราพอสรุปได้ว่ามาจากสาเหตุสำคัญ  2   ประการ คือ

                1. รัฐบาลของประเทศต่างๆ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านการบริหารงานของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบสุข  และรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมเท่านั้น  แต่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลายประเภทซึ่งเอกชนดำเนินการอยู่ เช่น การค้าขาย  การอุตสาหกรรม  การมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นนี้  ทำให้รัฐบาลต้องการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย  เช่น  การเก็บภาษีอากรการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้เศรษฐกิจภาครัฐบาลจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผูกพันอยู่กับงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล

                 2. การเก็บภาษีอากร  การใช้จ่าย  และการกู้เงินของรัฐบาลมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการผลิต  การบริโภค  การแลกเปลี่ยน  และการกระจายรายได้  ซึ่งเรียกว่า การคลังรัฐบาล

         การคลังรัฐบาล (public finance)  หมายถึง  การใช้จ่ายเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล  วิธีการแสวงหารายได้และการบริหารรายได้ของรัฐบาล  การก่อหนี้สาธารณะ (หนี้ของภาครัฐ ซึ่งเกิดจาการยืมโดยตรงของรัฐบาล หรือการกู้ยืมของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน  โดยประชาชนทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ)  ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล  สิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น ได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นแผนการเกี่ยวกับการหารายได้ การกู้ยืม และการใช้จ่ายตามโครงการต่างๆ  ของรัฐบาลในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณประจำปี  เพื่อแสดงให้ประชาชนทราบว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง  แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด  และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้นๆ

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

       1. ความหมายของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

          การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการกำหนดแผนงานล่วงหน้าในการวางโครงการ  แผนงานวิธีปฏิบัติ และการจัดหาทรัพยากรหรือเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนดแบ่งเป็น  3  ระดับ คือ

            1. การวางแผนระดับชาติ    เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจรวมของประเทศโดยอาจแบ่งเป็นแผนระยะยาวหรือแผนประจำปี  และมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆ ไว้  เช่น  อัตราเพิ่มของรายได้ประชาชาติ เป็นต้น

            2. การวางแผนระดับภาคเศรษฐกิจ   เป็นการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามภาคเศรษฐกิจ เช่น แผนพัฒนาอุตสาหกรรม  แผนพัฒนาเกษตรกรรม   แผนพัฒนาการค้าต่างประเทศ เป็นต้น

            3.  การวางแผนระดับโครงการ   เป็นการวางแผนเป็นรายโครงการ  มีรายละเอียดมากกว่าแผนระดับชาติและแผนระดับภาคเศรษฐกิจ  โดยกำหนดแผนการดำเนินงาน  วิธีการดำเนินงาน  และกำหนดหน่วยปฏิบัติไว้เป็นระเบียบแบบแผน