ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นหลักฐานแสดงจำนวน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณได้จากมูลค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อเกิดการซื้อสินค้าหรือให้บริการ1

องค์ประกอบของใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

โดยปกติ ใบกำกับภาษีที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้2

  • คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
  • ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  • หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี (และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี)
  • ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า/บริการให้ชัดแจ้ง
  • วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
  • ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

ลูกค้าไม่แจ้งชื่อ อย่าใส่ชื่อผู้ซื้อว่า ‘สด’ หรือ ‘ไม่ระบุ’

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จำเป็นต้องมีชื่อของผู้ซื้อ หากไม่ระบุชื่อหรือใช้ข้อความอื่น เช่น ‘สด’ หรือ ‘ไม่ระบุ’ จะทำให้ผู้ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั้นถูกลงโทษได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องระบุชื่อลูกค้าให้ถูกต้อง

แต่ในกรณีที่เป็นกิจการขายปลีกกับผู้บริโภคโดยตรงและลูกค้าไม่สะดวกให้ชื่อไว้ สามารถใช้วิธีออก “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” แทนการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่บังคับให้ต้องกรอกชื่อผู้ซื้ออยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ลูกค้าให้ชื่อไว้ แต่ไม่ได้ให้เลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไว้ ฝ่ายผู้ขายที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะไม่มีความผิด แต่ฝ่ายผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่สามารถนำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปดังกล่าวไปเคลมภาษีซื้อได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีที่ไม่ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อจะทำให้กลายเป็นภาษีซื้อต้องห้าม3

พิมพ์ชื่อที่อยู่ผู้ซื้อผิดเล็กน้อยยังให้ถือว่าระบุชื่อที่อยู่ครบถ้วนแล้ว

กรณีระบุชื่อผู้ซื้อตรงตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่ยังไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว4

ส่วนที่อยู่ของผู้ซื้อต้องใช้ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้วเช่นกัน5

ใบกำกับภาษีไม่จำเป็นต้องเซ็นด้วยปากกาเท่านั้น

หลายคนเข้าใจผิดว่าใบกำกับภาษีต้องมีลายเซ็นซึ่งเซ็นด้วยปากกาเท่านั้น มิเช่นนั้นจะทำให้กลายเป็นใบกำกับภาษีที่ใช้ไม่ได้ แต่ความจริงแล้ว ใบกำกับภาษีจะเซ็นลายเซ็นด้วยปากกา ใช้แสกนลายเซ็นผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือต่อให้ไม่มีลายเซ็นเลยก็ได้ เพราะกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดให้ลายเซ็นเป็น 1 ใน 8 องค์ประกอบสำคัญที่ใบกำกับภาษีต้องมี

ดังนั้น จะมีลายเซ็นหรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญ ขอเพียงใบกำกับภาษีมีรายการครบถ้วนแล้วก็ย่อมเป็นใบกำกับภาษีที่สมบูรณ์แล้ว ผู้ออกใบกำกับภาษีจึงไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้รับก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนเข้าใจผิดว่าการแต่งตั้งผู้ที่มีอำนาจเซ็นในใบกำกับภาษีต้องมีการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ความจริงแล้วผู้ประกอบการจะแต่งตั้งโดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละกิจการ


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 86 ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 86/4 ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การระบุเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกากับภาษีแบบเต็มรูป ลว. 25 มี.ค. 2558

  4. ^

    ข้อ 4 (3) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป

  5. ^

    ข้อ 4 (3) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป

วิธีสร้างใบส่งของ/ใบกำกับภาษี

ส่วนนี้จะแนะนำวิธีการสร้าง ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ไปจนถึงการแนะนำความสามารถในการส่งไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ที่สร้างเสร็จแล้ว ซึ่งระบบของเรารองรับตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์ที่เว็บโดยตรง การส่งไฟล์เข้าสู่อีเมลที่ต้องการ และยังสามารถส่งผ่านระบบ SMS ได้อีกด้วย โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

      1.เริ่มต้นสร้างเอกสาร

      2.ข้อมูลของผู้ซื้อ

      3.รายการสินค้าและการคำนวณราคา

      4.เอกสารที่สร้างเสร็จแล้ว

      5.การเปิดเอกสาร

      6.การดาวน์โหลดเอกสาร

      7.การส่งอีเมล

      8.การส่ง SMS

1. เริ่มต้นสร้างเอกสาร

หลังจากที่ทำการสมัครการใช้งานและสร้างข้อมูลบริษัทของผู้ขายของท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วระบบจะพาเข้าสู่หน้าที่มีลักษณะดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

แล้วเลือก ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

2. ข้อมูลของผู้ซื้อ

ใส่ชื่อบริษัทหรือชื่อกิจการของลูกค้าของท่านสำหรับส่วนนี้ห้ามเว้นว่างไว้ดังรูปตัวอย่าง

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

สำหรับการกรอกข้อมูลที่อยู่ ให้สังเกตที่ปุ่ม โครงสร้างที่เปิดอยู่ โดยให้สไลด์ปุ่มนี้ไปทางด้านซ้าย (“ปิด”) จะแสดงการกรอกข้อมูลดังรูป ซึ่งเราสามารถใส่ข้อมูลที่อยู่ได้อย่างอิสระ

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

แต่หาก โครงสร้างที่เปิดอยู่ เลื่อนปุ่มมาด้านขวามือ (“เปิด”) จะมีรูปแบบที่อยู่ให้กรอกดังนี้

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

การใส่ที่อยู่ของลูกค้าของท่านโดยที่ช่องกรอก เลขที่ ให้ใส่เลขที่ตั้งของที่อยู่ (ช่องนี้ห้ามเว้นว่าง) แต่ข้อมูลที่อยู่อื่น ๆ อย่างเช่น เลขหมู่ หรือชื่อหมู่บ้าน ให้นำมากรอกในช่อง ที่อยู่ รวมถึงข้อมูลชื่อ ถนน โดยสำหรับช่องกรอก ที่อยู่ และ ถนน ส่วนนี้สามารถเว้นวรรคได้ดังรูปตัวอย่าง

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ก่อนที่เราจะใส่ข้อมูล จังหวัด อำเภอ และตำบล ให้สังเกตที่ปุ่ม ภาษาอังกฤษ ด้านขวามือ ด้วยระบบของเรารองรับการเลือกข้อมูลเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษด้วย ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

แต่หากที่ปุ่ม ภาษาอังกฤษ เราเลือก “ปิด” โดยสไลด์ปุ่มปุ่มมาด้านซ้าย ข้อมูลจะเป็นภาษาไทย อย่างตัวอย่างด้านล่าง เราต้องการเลือก จังหวัด ปลายทาง ก็จะแสดงเป็นดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

การใส่ข้อมูล อำเภอ/เขต ส่วนนี้ห้ามเว้นว่างโดยทำเช่นเดียวกันคือหลังจากที่ได้เลือกจังหวัดที่ต้องการเช่น เลือกกรุงเทพมหานครแล้วก็สามารถคลิกเลือก อำเภอ/เขต ของจังหวัดที่เราเลือกไว้แล้วดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ต่อมาเป็นการคลิกเลือก ตำบล/แขวง ส่วนนี้ห้ามเว้นว่างซึ่งเช่นเดียวกันกับ จังหวัด และ อำเภอ ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

การใส่รหัสไปรษณีย์สามารถทำได้ดังรูป (ส่วนนี้ห้ามเว้นว่าง)

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ใส่ประเภทของผู้เสียภาษีต่าง ๆ ดังรูป (ส่วนนี้ห้ามเว้นว่าง) ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

หลังจากนั้นทำการกรอกหมายเลขผู้เสียภาษี 13 หลัก (ส่วนนี้ห้ามเว้นว่าง) ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

จากนั้นทำการเลือกสำนักงานดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ถ้าเลือกสาขาให้ใส่หมายเลขดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

การใส่เบอร์โทรศัพท์ ดังรูปภาพตัวอย่าง

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ให้ใส่อีเมลของลูกค้าของท่านดังรูปภาพตัวอย่าง

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อทำการกรอกข้อมูลที่อยู่เรียบร้อยแล้วจากรูปด้านล่างจะสังเกตุเห็นฟอร์มในการกรอกด้านขวามือซึ่งจะมี เลขที่ และ วันที่

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

การใส่ เลขที่ ซึ่งเป็นเลขเอกสารที่ทางท่านเป็นผู้กำหนดเองดังรูปตัวอย่าง (ส่วนนี้ห้ามเว้นว่าง) และคลิกเลือกวันที่ที่ต้องการ

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

3. รายการสินค้าและการคำนวณราคา

ต่อมาคือส่วนที่ทำการกรอกข้อมูลและคำนวณสินค้าที่ลูกค้าของท่านทำการสั่งซื้อดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ทำการใส่รายการสินค้าต่าง ๆ โดยกำหนด ลำดับ แล้วใส่ รายการสินค้า แล้วใส่จำนวนของสินค้าที่ทำการสั่งซื้อดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ต่อมาให้ทำเลือก หน่วย ของจำนวนสินค้าดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ต่อมาใส่ราคาสินค้าแล้วลองคลิกที่บริเวณพื้นที่สีเทาในส่วนของจำนวนเงินจะพบว่าระบบได้คำนวนเงินของราคาสินค้าเอาไว้ให้

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อต้องการเพิ่มรายการสินค้าให้ทำการกดปุ่ม เพิ่มรายการ

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง
เพิ่มรายการ

หลังจากที่เพิ่มรายการสินค้าแล้วจะมีลักษณะดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

สำหรับเครื่องหมายถังขยะสีฟ้าด้านขวามือสุดจะเป็นปุ่มลบรายการสินค้านั้น ๆ ออกหากต้องการลบรายสินค้านั้นให้ทำการคลิกที่เครื่องหมายถังขยะ

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ด้านมุมขวาล่างจะสังเกตุว่าระบบได้คำนวณรวมเป็นเงินไว้เรียบร้อยแล้ว

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

ส่วนสุดท้ายของฟอร์มการกรอกคือด้านล่างจะมีช่องหมายเหตุและชื่อผู้รับเงินส่วนนี้จะใส่หรือเว้นว่างก็ได้

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยให้ทำการคลิกปุ่ม ต่อไป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

จากนั้นระบบก็จะประมวลผลเพื่อดำเนินการให้รอสักครู่ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อระบบประมวลเป็นที่เรียบร้อยจะแสดงตัวอย่างเอกสาร ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี แสดงดังรูป หากข้อมูลที่แสดงถูกต้องให้คลิกปุ่ม ยืนยัน ซึ่งอยู่ด้านบนแต่ถ้าต้องการแก้ไขเอกสารให้กดปุ่ม แก้ไข

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

4. เอกสารที่สร้างเสร็จแล้ว

จากนั้นเราจะได้ไฟล์ของเอกสารที่สร้างเสร็จแล้วดังรูป

จากนั้นเมื่อกดเลือกเมนู “เลือก” ซึ่งอยู่ด้านขวามือสุดซึ่งจะมีหัวข้อต่าง ๆ ให้เลือกดังนี้คือ “เปิดเอกสาร” “ดาวน์โหลด” “อีเมล” และ “SMS”

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

5. การเปิดเอกสาร

ที่เมนู เลือก ให้คลิกที่ เปิดเอกสาร

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

หรือคลิกที่ไอคอน PDF

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

จากนั้นจะแสดงรายละเอียดเอกสารของ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ซึ่งมีลายเซ็นดิจิทัลและสามารถกดดาวน์โหลดเพื่อเอาไปใช้งานได้เลย

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

หรือคลิกที่ไอคอน XML

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

6. การดาวน์โหลด

จากเมนู เลือก ให้คลิกที่ ดาวน์โหลด ระบบจะดาวน์โหลดไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

และเมื่อเปิดไฟล์ (แนะนำให้ใช้ Adobe Acrobat Reader DC) จะเห็นเอกสารซึ่งมีลายเซ็นดิจิทัลพร้อมมาให้ด้วย

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

7. การส่งอีเมล

ระบบของเรารองรับการส่งไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ผ่านอีเมล โดยที่เมนู เลือก แล้วเลือกให้คลิกที่ อีเมล

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

แล้วขึ้นกล่อง Pop-up ให้กรอกอีเมลปลายทางที่ต้องการส่งไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี แล้วคลิกที่ ส่งอีเมล


ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อไฟล์ได้ถูกส่งไปยังอีเมลปลายทางเรียบร้อย ระบบจะขึ้นแจ้งว่า ส่งอีเมลสำเร็จ ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อผู้รับได้เปิดอีเมลที่มีการส่งไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี จะแสดงในลักษณะดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

8. การส่ง SMS

ระบบของเรายังสามารถส่งไฟล์ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ทาง SMS ได้อีกด้วย โดยที่เมนู เลือก แล้วเลือกที่ SMS

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

จากนั้นระบบจะขึ้น Pop-up ให้ใส่เบอร์โทรมือถือของหมายเลขปลายทางที่ต้องการส่ง แล้วคลิกที่ ส่งข้อความ SMS

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อระบบส่ง SMS สำเร็จแล้วจะขึ้นข้อความแจ้ง ส่งข้อความ SMS สำเร็จ! ดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

มาดูที่ส่วนของปลายทางของผู้ที่ได้รับ SMS โดยเมื่อเปิดมือถือขึ้นมาจะพบข้อความแจ้งขึ้นมาดังรูป

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เมื่อกดคลิกที่ลิงค์ ระบบจะขึ้นให้ดังรูป แล้วให้ใส่รหัสที่ส่งมาจาก SMS

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

คลิกปุ่ม เปิดไฟล์ ซึ่งควรลง Application สำหรับเปิด PDF ไว้ด้วย (หากยังไม่มี)

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง

เปิดดูไฟล์ PDF จากตัวอย่างได้ใช้แอปพลิเคชัน “Adobe Acrobat Reader: PDF Viewer, Editor & Creator”

ใบส่งของ/ใบกํากับภาษี หมายถึง