การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมในยุคนี้

‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ จัดเป็นอีกหนึ่งปัญหาซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในโลก ณ ปัจจุบันนี้ โดยเป็นผลโดยตรงอันมาจากน้ำมือของมนุษย์เนื่องมาจากความต้องการพื้นฐาน รวมเข้ากับความต้องการในความสะดวกสบาย ในด้านต่างๆอย่างไร้ขีดจำกัด หากแต่ยิ่งประชากรมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สิ่งแวดล้อมค่อยๆเสื่อมโทรมลง จนกระทั่งเริ่มส่งผลกระทบในระดับวงกว้างอย่างน่าใจหาย

การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แวดล้อมสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลและให้ความใส่ใจ

การดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ทุกคน ทุกวัย ต้องช่วยกันดูแล ซึ่งจำเป็นต้องให้มนุษย์ ยอมเสียสละความสะดวกสบายบางเรื่องออกไปบ้าง โดยการใช้ชีวิตตามใจตนเอง และไม่เข้าเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น นับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหานี้ โดยการจะทำให้ผู้คนหันมาตระหนัก ก่อนอื่นก็ต้องหาวิธีเปลี่ยนความคิดของเขาให้ได้เสียก่อนว่าสิ่งนี้มีประโยชน์จริงๆ

โดยการรณรงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตนั้น มักกระทำอย่างไม่ยั่งยืนเสียเท่าไหร่ เพราะจะมีการรณรงค์กันเป็นพักๆ  เป็นช่วงๆ โดยเมื่อเกิดเรื่องที่น่าวิตกกังวลขึ้นมาก็ค่อยออกมารณรงค์กัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะไม่เกิดประสิทธิภาพมากพอ ในการที่จะเปลี่ยนความคิดของประชาชน ให้เกิดความตระหนัก และความตระหนักนี้ยังต้องมาพร้อมแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ ในการช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างแรงกระตุ้นในการรณรงค์ให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องยากในการคิดค้นพร้อมแสวงหากิจกรรม ในการจะที่สร้างกระแสอนุรักษ์ได้มากขนาดนั้น เนื่องจากการตระหนักรู้ของคนเราไม่เท่ากัน

การรณรงค์ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

เริ่มจากภาครัฐต้องรณรงค์อย่างมีระบบพร้อมวางแผนยุทธศาสตร์อย่างมีขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องยอมรับเสียก่อนว่า การที่จะให้คนไทยเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอันเนื่องมาจากความเคยชินแบบเดิมๆ หากแต่ถึงอย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศย่อมตระหนักรู้ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเรื่องการประหยัดพลังงาน หรือการลดขยะ รู้ว่าสิ่งใดทำแล้วดี หากแต่ยอมไม่ทำ เนื่องจากยังติดความสบายอยู่ เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากจะต้องมีการรณรงค์อย่างเข้มข้นแล้ว ยังต้องมาพร้อมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทันที

ต้องฝึกตั้งแต่เล็ก

โดยสิ่งแวดล้อม ยังเป็นเรื่องของวินัยการกิน อยู่ ใช้ ซึ่งต้องดีฝึกกันตั้งแต่เด็กเลย ซึ่งจากกระบวนการตรงนี้นี่เอง ที่โรงเรียนและครูจะเข้ามามีส่วนช่วยผลักดันเป็นอย่างมาก เริ่มจากขั้นตอนง่ายๆด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ต้องฝึกฝน ให้เด็กมีระเบียบวินัย รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกพร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น สอนให้เขาพกถุงผ้าไปซื้อขนม สอนให้ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ สอนให้แยกประเภทขยะ เป็นต้น

ถ้ามนุษย์ทุกคนดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ก็จะเกิดความสมดุลขึ้นมา สำหรับวิธีดีที่สุดและทุกคนสามารถทำได้ ก็คือ ‘คิดทุกอย่างก่อนใช้ รวมทั้งต้องใช้ทุกอย่างด้วยความประหยัด’ สำหรับประชาชนทั่วไปไม่ต้องมองไปไหนไกล หากแต่ให้เริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เช่น บ้าน , โรงเรียน รวมทั้งที่ทำงาน เช่น ใช้ผ้าเช็ดสิ่งของเช็ดสิ่งต่างๆ แทนการใช้ทิชชู่ , การแยกขยะ ซึ่งจะทำให้การกำจัดขยะง่ายขึ้น นอกจากนี้ขยะในบางประเภทยังสามารถรีไซเคิลพร้อมกลับมาใช้ใหม่ได้ เปลี่ยนมาใช้จักรยานเมื่อซื้อของใกล้บ้าน เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ถุงเติม ใช้ถุงผ้า เป็นต้น

ถ้าทำคนล่ะนิด ก็จะกลายเป็นการแพร่สู่สังคมในวงกว้าง ก็จะทำให้หลายๆคนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เต็มไปด้วยความสิ้นเปลือง การยอมเสียสละความสะดวกเพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้โลกของเราดีขึ้นและคืนธรรมชาติอันบริสุทธิ์กลับมา

ความหมายสิ่งแวดล้อม
รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·        

การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ

            1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

            2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

            3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

            4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

            5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น

            6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

2.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

            1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง

            2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น

            3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

            4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เป็นต้น

            5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่ควรอนุรักษ์

         สิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นทุกส่วนทุกอย่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ หากส่วนหนึ่งส่วนใดถูกกระทบทำลาย ก็จะก่อให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งอาจแยกสิ่งแวดล้อมได้เป็นประเภทใหญ่สำหรับการอนุรักษ์ได้ดังนี้

1. ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า น้ำ ดิน อากาศ มนุษย์ และพื้นที่ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้

   1.1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่รู้จักหมด

   1.2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ได้ 

   1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป

2. ธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ หมายถึง ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งจำแนกลักษณะได้ดังนี้ 

   2.1 เกาะและแก่ง

  2.2 ภูเขา ถ้ำ น้ำตกและน้ำพุร้อน

  2.3 ทะเลสาบ หนองและบึง

   2.4 หาดทราย และหาดหิน

   2.5 แหล่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ (พืชและสัตว์) สุสานหอย 75 ล้านปี

   2.6 สัณฐานอื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางธรณี สัณฐานวิทยา และภูมิลักษณ์วรรณนา เช่น เขาพิงกัน แพะเมืองผี

3. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบสังคมต่าง ๆ

ความจำเป็นที่ต้องมีการอนุรักษ์

       ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ชาติ เพื่อแสวงหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ ขีดจำกัดของทรัพยากรสมดุลของระบบนิเวศความเป็นมาของด้านวัฒนธรรมรวมถึงความต้องการของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อนุรักษ์" การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 4 ประการ คือ

1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุงป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด

2. เพื่อสงวนรักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกันธัญญพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนการคุ้มครองอุตสาหกรรม นานาชาติที่ใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตเป็นวัตถุดิบ

3. เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม

4. เพื่อสงวนรักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น

        จากวัตถุประสงค์การอนุรักษ์ดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้เนื่องจาก

1. ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความจำเป็นในการยังชีพและการพัฒนา

2. ความต้องการที่จะกำหนดวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาการอนุรักษ์ที่สำคัญ

3. สมรรถภาพของการอนุรักษ์ทั่วประเทศและระหว่างประเทศยังขาดจากการจัดการและประสานงานที่ดี

4. โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม ได้ถูกทำลายอย่างมาก จากการกระทำของมนุษย์ จากการพัฒนาต่าง ๆ

หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

       แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะต้องครอบคลุมปัญหาใหญ่ คือปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมถูกทำลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีความสำคัญซึ่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาก็คือมนุษย์นั้นเอง สำหรับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปนั้นสามารถกระทำได้โดยกว้าง ดังนี้

1.การให้การศึกษาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพราะการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง ๆ นั้นมิใช่การหยุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการปฏิเสธเทคโนโลยี แต่ความสำคัญนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนทัศนคติของคนเพื่อให้เขาสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยวิธีการทุก ๆ ชนิดรวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงตัวประชาชนให้มากที่สุด

2. การปรับปรุงคุณภาพ เป็นวิธีการตรงที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรม

3. การลดอัตราการเสื่อมสูญ การบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันในหลายประเภทมักจะบริโภคทรัพยากรกันอย่างฟุ่มเฟือยและไม่ค่อยได้ใช้ให้อยู่ในขอบเขตจำกัด มักจะมีทัศนคติต่อการบริโภคในลักษณะที่ว่าสามารถบริโภคได้สูงสุดจะทำให้มีความสุขที่สุด ทัศนคติเช่นนี้จะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายเช่น การตัดหนึ่งต้นแทนที่ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ทุก ๆ ส่วนแต่กลับใช้ประโยชน์ เฉพาะส่วนที่เป็นต้นเท่านั้นที่เหลือ เช่น กิ่ง ใบ หรือ ส่วนอื่น เช่นส่วนที่เป็นตอมักจะถูกทิ้งไป อันที่จริงแล้วส่วนเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น ไม่ควรทิ้งขว้าง เป็นต้น

4. การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การผลิตวัสดุเครื่องใช้ต่างๆ ย่อมมีส่วนเป็นเศษเรียกกันว่าเศษวัสดุ เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว พลาสติก กระดาษ สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีก โดยเก็บรวบรวมแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่อีกโดยเก็บรวบรวมแล้วนำเอาไปหลอมใหม่

5. การใช้สิ่งทดแทน ทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ได้ดีในอดีตเริ่มร่อยหรอลง เนื่องจากความต้องการเกี่ยวกับการบริโภคสูงนั้นเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา เพื่อหาลู่ทางนำทรัพยากรอื่น ที่มีคุณภาพเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาทำหน้าที่ในงานประเภทเดียวกัน