แก้ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน

เชื่อว่าคุณครูหลายท่านต้องประสบปัญหากับการที่จะทำอย่างไรให้นักเรียนสนใจตลอดคาบ แต่ถึงแม้มีนักเรียนสนใจตลอดคาบ ปัญหาถัดมาคือ จะทำอย่างไรให้ ทุกคน Active สนใจและตั้งใจเรียนตลอด

บทความนี้จึงจะมาแชร์ไอเดียจากคุณครูแอม (นัศรินทร์ ลีลาสุนทรวัฒนา) เนื่องจากคุณครูแอมได้ทำวิจัยและทดลองในโรงเรียนเรื่อง Scaffolding 

Scaffolding คืออะไร?

Scaffolding เปรียบเสมือนการนั่งร้าน ที่จะประคับประคองเด็ก ๆ ให้เติบโต แข็งแรง และเก่งขึ้นในที่สุด ซึ่งการประคับประคองนี้ จะเป็นแบบไม่บังคับ โดยที่เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองด้อย และไม่รู้ว่าเรานั้นกำลังช่วยเขาอยู่

ซึ่งจากการทดลองนี้นั้นคุณครูแอมก็ได้พบกับสิ่งใหม่ ๆ มาแชร์ให้คุณครูท่านอื่นได้นำไปปรับใช้

1.จะทำยังไงให้นักเรียนทั้งห้อง Active และตั้งใจเรียนตลอดทั้งคาบ?

โดยปกติแล้วถ้าถามคำถามกับนักเรียน นักเรียนกลุ่มที่ตั้งใจเรียนหรือชอบตอบคำถาม แน่นอนว่าเด็กเหล่านี้จะรีบแย่งกันตอบคำถามกันเป็นคนแรก ๆ ทำให้เด็กบางคนรู้สึกว่าทำไมเขานั้นเรียนไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องรีบตอบหรือตั้งใจเรียนก็ได้ 

ดังนั้นคุณครูจึงเลือกนำเกม Spinning Wheel (วงล้อหมุนสุ่มเรียกชื่อ) กิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนทุกคนรู้สึกตื่นเต้นตื่นตัวตลอดเวลา เพราะพวกเขาต้องลุ้นให้ตัวเอง ลุ้นให้เพื่อน ว่าเมื่อไรกันนะที่จะถูกเรียกชื่อ นอกจากนี้ยังได้รับเสียงหัวเราะกับเกมนี้เสมอ 

แต่! แล้วเกมนี้ช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือไม่สนใจเรียนได้อย่างไรกันล่ะ?

แน่นอนว่าวิธีที่คุณครูได้นำมาปรับใช้คือการเลือกคำถามง่าย ๆ ที่เด็กนักเรียนที่เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องหรือเรียนรู้ช้ามั่นใจว่าตอบได้ก่อน เพราะคำถามแรก ๆ ที่เกิดขึ้นจะเป็นคำถามง่าย ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้เขา ให้เขาภูมิใจและรู้สึกว่าเขาเข้าใจวิชานี้ "เขาทำได้"

ส่วนคำถามที่ยากขึ้นให้เก็บไว้ถามช่วงท้าย ๆ กับเด็กที่ตั้งใจเรียนหรือตอบได้อยู่แล้ว

และเมื่อวันใดที่นักเรียนที่จากเรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเก่ง ก็จะทำการปรับตัวคำถามที่ยากขึ้น

หรือบางครั้งให้เขาทำงานเป็นกลุ่มโดยรวมนักเรียนแต่ละประเภทไว้ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้เองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ก็สามารถเช็กได้ว่าพวกเขานั้นมีส่วนร่วม เพราะคนที่ตั้งใจเรียนมาก ๆ เขาก็จะบอกคุณครูเองว่าเพื่อนเป็นอย่างไร หรือบางครั้งพวกเขาก็ทำหน้าที่แทนคุณครูซะเอง

2. แล้วจะทำยังไง ให้เด็กทุกคนเข้าใจบทเรียน และทำกิจกรรมสำเร็จ?

ด้วยความที่คุณครูแอมต้องพูดภาษาอังกฤษในคาบ ซึ่งสำหรับเด็กนักเรียนที่บางครั้งก็ไม่รู้คำศัพท์จะรู้สึกว่าใช้ยาก และยากที่จะจำ ดังนั้นเมื่อคุณครูแอมพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียน คุณครูต้องหาวิธีและกลยุทธทำให้เด็กทุกคนเข้าใจบทเรียน

ซึ่งวิธีการช่วยเหลือเด็ก ๆ แบบทางอ้อมนั้น Step แรก ๆ ของคาบเรียน คุณครูแอมจะมีการยกตัวอย่างที่มาจากตัวคุณครูเอง เช่น "เมืองในฝันของคุณครู"

คุณครูจะแปะรูปเมืองในฝัน โดยใช้รูปสถานที่ต่าง ๆ เช่น School, Hospital, Bakery, Restaurant, Museum คล้าย ๆ เป็นผังเมืองในฝัน เพื่อเป็นการเกริ่นและบอกเป็นนัยว่า เดี๋ยวเด็ก ๆ จะต้องทำอะไร เพราะในส่วนที่เป็นกิจกรรม (Formative Assessment) เด็ก ๆ จะต้องใช้คำศัพท์เกี่ยวกับสถานที่ ทำเมืองในฝันของตัวเอง

ตัวอย่างงานที่นักเรียนได้ทำในคาบ

การทำแบบนี้เอง นักเรียนจะได้รู้คำศัพท์เพิ่มหลากหลายคำ โดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าต้องท่องจำเยอะเกินไป และกิจกรรมนี้จะต่อยอดไปในคาบต่อไปที่จะสอนเรื่อง Directions (การบอกทิศทาง) และ Preposition (คำบุพบทบอกตำแหน่ง) นอกจากนี้ถึงแม้เริ่มแรกเด็ก ๆ จะไม่ทราบคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือไม่เข้าใจที่คุณครูสอน แต่ก็สามารถรับรู้ได้ว่าตัวเองนั้นจะต้องทำอะไร มีงานอะไรที่จะต้องทำส่ง

*Trick พิเศษ* ที่ช่วยกระตุ้นเด็ก ๆ ให้ Active แล้วยังสามารถวัดความสามารถเด็กได้ด้วย..

ให้คุณครูแสดงตัวอย่างของคุณครูเสร็จเรียบร้อย ให้ลบตัวอย่างทิ้งเลยทันที

เมื่อเป็นเช่นนั้น เด็ก ๆ จะรับรู้ได้ว่าตนเองนั้นจะต้องตั้งใจฟัง

และสุดท้าย หลังจากทำกิจกรรมหรือการเรียนจะมี Attitude Survey ถามเด็ก ๆ หลายวิธี ให้เด็ก ๆ ตอบตามความจริงว่า วันนี้เรียนเข้าใจไหม ทำได้ไหม โดยใช้หลายวิธีให้เด็ก ๆ ตอบตามความจริง ซึ่งบางครั้งถ้าเราอยากได้คำตอบจากใจเขาจริง ๆ ก็จะบอกกับเด็กนักเรียนว่า ไม่ต้องเขียนชื่อ จึงทำให้พวกเด็ก ๆ เกิดความสบายใจและกล้าที่จะแสดงความรู้สึกของตนเอง

�ô��ҹ����ԡҡ�͹�ʴ��������
1. ��ͤ����ͧ��ҹ�Т���ʴ����ѵ��ѵԷѹ�շ�����Ѻ������
2. �����ʵ� ��ͤ�������������Դ�����ع�ç�ҧ�ѧ�� ��ͤ������������Դ�����������������������µ�ͺؤ�ŷ�����, �������Ѿ��,
�ٻ�Ҿ�������������������Ǫ������Ҿ����͹Ҩ�� ���͡�з��֧ʶҺѹ�ѹ�繷����þ ��������駡�з���Ѻ�Դ�ͺ����ͧ
����Ѻ�Դ�ͺ����ѧ�� ����ٻ�Ҿ ���͢�ͤ�����觼š�з���ͺؤ����� ����ҹ�����������������´������˹�ҷ��
���͵���Ѻ��Ǽ���зӼԴ����
3. ��Ҫԡ����ʵ��������ҹ�� �Ҩ�١���Թ��շҧ�����¨ҡ������������
4. ���͹حҵ����ա���ɳ��Թ���� � ������ ��駷ҧ�ç��зҧ����
5. �ء�����Դ����繢�ͤ������ҧ����������������������駡�з������䫵� �ҧ���䫵� kroobannok.com �������ǹ����Ǣ�ͧ�� ������
6. �ҧ����ҹ��ʧǹ�Է���㹡��ź��з����������������ѹ�� ������ͧ�ա�ê��ᨧ�˵ؼ��� �����Ңͧ������繹�鹷�����
7. �ҡ������ٻ�Ҿ ���͢�ͤ���������������� ��س����ҷ�������� [email protected] ���ͷӡ��ź�͡�ҡ�к�����

 ** ����Ҫ�ѭ�ѵ���Ҵ��¡�á�зӼԴ����ǡѺ���������� �.�.����**

������㹤�������дǡ ���ͧ�ҡ��һ��ʺ�ѭ��
�ռ���ʵ��ͤ����������������������������繨ӹǹ�ҡ
��ٺ�ҹ�͡�ͷ����֧�ͤ������������Ҫԡ
��س��������к���͹�ʴ�������繤�Ѻ��Ѥ���Ҫԡ����

เด็กบางคนเรียนไม่เก่งเพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ป่วยจนต้องขาดเรียนบ่อยครั้ง ไม่สบายจนไม่มีสมาธิในการเรียน มีปัญหาด้านสายตา หรือการฟังเป็นต้น พ่อคุณแม่ต้องลองสังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ เพราะบางครั้งเด็กเล็กๆ อาจไม่รู้ตัวว่ามีปัญหาสุขภาพอยู่ จึงไม่สามารถบอกกับคุณพ่อคุณแม่ได้ค่ะ

2. ปัญหาด้านจิตใจ

เด็กบางคนมีปัญหาด้านจิตใจ เช่น ถูกเลี้ยงมาให้ขาดความเคารพในตนเอง หรือเป็นคนขี้วิตก เครียดง่าย ขาดความสุขในการเรียนและการใช้ชีวิต จึงเกลียดการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน เพราะขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีเวลาให้เด็กๆ สังเกตพฤติกรรม และเสริมสร้างทัศนคติทางบวกให้ลูกรู้จักคุณค่าของตัวเอง ไม่กดดัน สร้างความเครียดให้เด็กๆ มากจนเกินไปค่ะ

 3. ปัญหาด้านสมองและสติปัญญา

สำหรับเด็กในกลุ่มนี้ พวกเขาอาจตั้งใจเรียนแล้ว แต่เรียนไม่เก่งเพราะร่างกายของเขาไม่เอื้ออำนวย เช่นเด็ก IQ ต่ำ เป็นต้น ในเคสนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องทำความเข้าใจ ค่อยๆ กระตุ้นการเรียนรู้ตามศักยภาพของพวกเขาค่ะ

4. โรคทางจิตเวช

โรคทางจิตเวชมีอยู่หลากหลาย ที่เห็นบ่อยๆ เช่น โรคสมาธิสั้น หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดู และพาไปพบคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขค่ะ

5. ปัญหาที่โรงเรียน

โรงเรียนอาจเป็นสถานที่ที่เด็กไม่อยากเข้าไปอยู่ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ เกลียดการเรียนได้เช่นกัน เช่นเด็กบางคนถูกเพื่อนแกล้ง มีปัญหาที่โรงเรียน ถูกคุณครูดุหรือทำให้อับอาย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยพูดคุยกับเด็กๆ ถามไถ่ถึงปัญหาที่โรงเรียน และไม่ใช้อารมณ์ดุว่า ลงโทษเด็กๆ แต่คอยเป็นที่ปรึกษา ช่วยหาทางแก้ไขให้พวกเขาดีกว่าค่ะ

6. ปัญหาครอบครัว

ครอบครัวที่มีปัญหา อาจส่งผลลบต่อการเรียนของเด็กๆ ได้เหมือนกันนะคะ เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยๆ พ่อแม่ใส่ใจน้องมากกว่าพี่ เป็นต้น เด็กที่มีปัญหาครอบครัว อาจจะไม่สนใจการเรียน ขาดคนดูแลเอาใจใส่ และพาลทำให้ผลการเรียนแย่ลงได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจเด็กๆ เสมอ แม้ว่าจะมีปัญหาอะไรก็ตาม คอยถามไถ่ พูดคุย และอย่าจมอยู่กับเรื่องของตัวเองมากจนละเลยเด็กๆ ค่ะ

7. ความสนใจกิจกรรมภายนอกมากเกินไป

เด็กๆ บางคนสนุกกับกิจกรรมนอกเหลือเวลาเรียนมากจนทำให้ละเลยความสำคัญของการเรียนหนังสือ เช่นเด็กที่ชอบเล่นเกม เล่นกีฬา ชอบเล่นดนตรีหรือทำกิจกรรมอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนลูกๆ เรื่องการแบ่งเวลา และทำให้เด็กๆ เห็นถึงความสำคัญของการตั้งใจเรียนด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม การเรียนเก่งหรือไม่เก่งนั้น อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดความสำเร็จในชีวิตของเด็กๆ เสมอไป เด็กเรียนเก่งบางคน โตขึ้นมาแล้วเครียดจนฆ่าตัวตาย หรือไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตก็มี ส่วนเด็กบางคนเรียนไม่เก่ง แต่ค้นพบทางของตัวเองและเอาดีในทางนั้นจนประสบความสำเร็จก็มีเหมือนกัน สิ่งสำคัญคือความสุขในการใช้ชีวิต และจิตใจที่แข็งแรงมากกว่า คุณพ่อคุณแม่จึงควรสนับสนุนให้เด็กๆ เรียนอย่างมีความสุข มากกว่าตัดสินคุณค่าของเด็กจากคะแนนในใบเกรดเท่านั้นค่ะ