ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ซอฟต์แวร์คืออะไร มีกี่ประเภท ประโยชน์ของซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง

หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Tags: software

คอมพิวเตอร์ก็มีส่วนประกอบที่สามารถมองเห็น จับต้องรูปคลำได้ เช่น เม้าส์ จอภาพ คีย์บอร์ด ลำโพง ของกลุ่มนี้เราเรียกกันว่า Hardware แต่พวกเรารู้กันหรือไม่ว่า ยังมีอีกส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีส่วนนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้เลย ส่วนสำคัญกลุ่มนี้ คือ Software นั่นเอง Software คืออะไรกัน ไปทำความรู้จักกันดีกว่าครับ

————– advertisements ————–

Software คืออะไร
Software เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยจะอยู่ในลักษณะเป็นชุดคำสั่งหรือที่เรารู้จักในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นการทำงานของตัว Software จึงเหมือนตัวกลางที่คอยติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน และคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจกัน

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

Windows 10 – ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติล่าสุดจาก Microsoft

Software มีกี่ประเภท
พวกเราสามารถแบ่ง Software ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การติดต่อประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา System Software ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมาก เช่น Windows , OSX, Linux เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เฉพาะได้ พูดง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมที่เรากำลังใช้กันอยู่ทุกวันนี้นี่เอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์นำเสนองาน ซอฟต์แวร์การติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล และอีกประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเท่านั้น เช่น โปรแกรมสำหรับควบคุมเครื่องจักรกล

ประโยชน์ที่มากมายของ Software
Software เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทต่างๆ ได้ เช่น เข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ใช้งานประเภทโปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมด้านการคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ หรือระบบการจัดการต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่บอกมานี้ช่วยให้การทำงานของพวกเราเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้นครับ

Software หลายๆตัวมีราคาสูง อาจะเป็นเพราะผู้ผลิตอยู่ในต่างประเทศ เมื่อมีการนำเข้ามาในประเทศไทย ราคาก็ย่อมสูงเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทุกวันนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันได้มากขึ้น จึงทำให้ Software หลายตัวมีผู้คนนำมาลงไว้ให้คนอื่นได้สามารถ download ไปใช้งานกัน ซึ่งถ้าเป็นประเภท Freeware ผู้ผลิตอนุญาตให้เราใช้งานกันได้ไม่เสียเงิน แต่บางประเภทเป็นแบบ Shareware หรือเวอร์ชั่นทดลองใช้ แต่เราพยายามหาวิธีการเพื่อให้ใช้งานได้ตลอด การทำแบบนี้เป็นความผิดได้นะครับ เพราะฉะนั้นอย่างไร เราก็ควรที่จะใช้ Software ที่ถูกต้องตามกฎหมายนะครับ เพื่อผู้ผลิตจะได้มีกำลังใจในการสร้าง Software ที่ดีมาใช้กันนะครับ

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

2.2 ซอฟต์แวร์ (software)

2.2.1 ความหมายซอฟต์แวร์

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรงเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

รูปที่ 2.13 โปรแกรมต่างๆ
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

2.2.2 ประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)

 หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่ในการจัดการระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

  1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP, DOS, Linux, Mac OS X

1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR) เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง โปรแกรมการสำรองข้อมูล (Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดรฟ์เวอร์หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้ลออกได้

 โดยปกติโปรแกรม Windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดรฟ์เวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง เช่น ไดรฟ์เวอร์สำหรับเมาส์ ไดรฟ์เวอร์คีย์บอร์ด, ไดรฟ์เวอร์สำหรับการใช้ USB Post ไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดรฟ์เวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดรฟ์เวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assembly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

 ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้

1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง

2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง

3. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอหรือเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน ซอฟต์แวร์สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( ...

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท มีอะไรบ้าง

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป

ซอฟต์แวร์ คืออะไร มีกี่ส่วน อะไรบ้าง

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้ ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

อุตสาหกรรมในการผลิตซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กมีอยู่ ประมาณ 1,000 บริษัท โดยการผลิตซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบริการ หรือซอฟต์แวร์ตามที่ลูกค้า