ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ คืออะไร

ความสำคัญและความจำเป็นของแหล่งเรียนรู้

            ดิเรก พรสีมา (2543) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า เป็นแหล่งความรู้ที่นักเรียนสามารถไปค้นคว้าหาความรู้ได้ทั้งในเวลาก่อนและหลังเลิกเรียนและในวันหยุดราชการและยังเน้นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนจากหลายชุมชนมาใช้ร่วมกันได้

            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543) ได้กล่าวถึงความสำคัญในลักษณะของการใช้แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการจัดการเรียนว่า ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้แบบองค์รวม ได้ฝึกคิดและฝึกปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นและได้เรียนรู้ตามความถนัดของตนเอง

            สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (2545) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งต่างๆ จากผู้คนที่หลากหลาย จะทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเชื/อมโยงการเรียนการสอนเข้ากับวิถีชีวิตมีความผูกพันกับท้องถิ่น เห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมและยังสามารถบูรณาการภูมิปัญญาไทยและสากลเพื่อนำปรับใช้กับวิถีไทยได้

            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่าเป็นแหล่งวิทยาการสำหรับนักเรียนได้ฝึกสืบค้นข้อมูล ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกคิด ฝึกพัฒนาการ ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความงาม ความสุนทรีย์ และก่อให้เกิดความสามารถทางการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะนิสัย ซึมซับสิ่งที่ดีงามจาก ภูมิปัญญา หล่อหลอมจิตใจเกิดความรัก ความศรัทธาและหวงแหนทรัพยากรของประเทศชาติจากความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้สรุปความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ได้ว่า เป็นแหล่งให้ความรู้ทีแต่ละบุคคลต้องการแสวงหา สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต้นกำเนิดเฉพาะด้านและสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความรู้อื่นได้อย่างหลากหลาย เป็นการส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้ทั้งในระบบ และนอกระบบตลอดชีวิต

หลักการและวัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้

            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) กล่าวว่า หลักการของแหล่งเรียนรู้มี 5 ประการ ดังนี้

            1. สนองกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความสนใจใฝ่รู้ ความพอใจของผู้เรียน

            2. สอดคล้องกับวิถีชีวิต และเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทั้งนี้เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

            3. บรรยากาศเอื้ออำนวยให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความต้องการของตนเอง

            4. ส่งเสริมด้านการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การคิดวิเคราะห์ และการนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์

            5. ไม่ยึดติดรูปแบบใด ๆ

            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดแหล่งเรียนรู้คือ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านต่างๆ ของประชาชน และผู้สนใจทุกระดับได้เรียนรู้อย่างอิสระ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความสนใจอย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้

            1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

            2. เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ

            3. เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ

            4. เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง

            5. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง

            6. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์

            7. เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

            8. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการค้นคว้า การอภิปราย การสนทนา การนำเอาความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้

            9. เพื่อเป็นแรงดลใจให้เกิดการเปลี/ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต

ประเภทของแหล่งเรียนรู้

            จากความหมายของคำว่า แหล่งเรียนรู้ที่มีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมากมีตั้งแต่สิ่งใกล้ตัว สิ่งไกลตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึhนรวมถึงตัวบุคคล ดังนัhนจึงมีผู้รู้และหน่วยงานทางการศึกษาได้ให้แนวคิดต่างๆ ไว้มากมาย เพื่อวัตถุประสงค์ของการจำแนกประเภทของแหล่งเรียนรู้ให้เป็นกลุ่มเป็นระเบียบเพื่อสะดวกต่อการเรียกชื่อและใช้ประโยชน์ ดังนี้

            กระทรวงศึกษาธิการ (2544) ได้จำแนกแหล่งเรียนรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทธรรมชาติ ประเภท สิ่งพิมพ์ ประเภทเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทุกประเภท

            กระทรวงศึกษาธิการ (2545) จำแนกแหล่งเรียนรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

            1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้แก่ ห้องสมุด ห้องหมวดวิชา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเตอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์โสตทัศนศึกษา ศูนย์สื่อการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน Resource Center สวนพฤกษศาสตร์ สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ สวนหนังสือ ธรรมะ ฯลฯ

            2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ องค์การของรัฐ และเอกชน

            รัชนีกร ทองสุขดี (2545) จำแนกแหล่งเรียนรู้ออกเป็น 6 ประเภท คือ

            1. ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้ผู้สนใจต้องการจะเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ บุคคลที่มีทักษะ ความสามารถในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น ช่างฝีมือ ช่างทอง ช่างไม้ ศิลปินทุกแขนง นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอาวุโสที่ประสบการณ์สูงเป็นต้น

            2. ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ ป่ าไม้ สัตว์ แร่ธาตุ เป็นต้น

          3. ประเภทวัตถุและสถานที่ หมายถึง อาคารสิ่งก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น ประชาชนศึกษาหาความรู้ให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการ เช่น โรงน้ำประปา ที่ว่าการอำเภอ โรงพยาบาล และสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

            4. ประเภทสื่อ หมายถึง บุคคลหรือสื่อที่ติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทักษะและเจตคติ ด้วยการส่งผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 แหล่งวิทยากร ประเภทสื่อนี้ ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ชาติสามารถดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง และที่สำคัญที่สุด คือ สามารถกระจายความรู้ไปสู่ทุกพื้นที่โลกอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ

                        4.1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ (โปสเตอร์ จุลสาร แผ่นปลิว ป้ายประกาศ)

                        4.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่อาศัยเทคนิคด้านอิเล็กทรอนิกส์ สร้างสรรค์ในรูปของเสียงและภาพ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา หู แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ สื่อที่ให้เสียงอย่างเดียว และสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง

            5. ประเภทเทคนิค หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สิ่งที่มนุษย์ทำการปรับปรุง อาทิ โรงงานที่ทันสมัย ระบบสื่อสารคมนาคม ศูนย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือหรือระบบใหม่ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้เรียนรู้ถึงความก้าวหน้าของมนุษย์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ความคิดและสิ่งประดิษฐ์คิดค้น

            6. ประเภทกิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการตลอดจนความเคลื่อนไหวในการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนาสภาพต่างๆ ในท้องถิ่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม อาทิ การรณรงค์ป้องกันสารเสพติด การส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและการรณรงค์ความปลอดภัยของเด็กและสตรีในท้องถิ่น เป็นต้น

            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) แบ่งประเภทของแหล่งเรียนรู้ เป็น 4 ประเภท ดังนี้

            1. แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล คือ ผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะภูมิปัญญา มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ทักษะ เจตคติ ให้แก่ผู้ที่สนใจต้องการเรียน

            2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่หรือวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

                        2.1 สถานที่ที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้ำ ป่ า ภูเขา สัตว์ พืช แร่ธาตุ

                        2.2 สถานที่ที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ตลาด โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

            3. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อที่เป็นตัวกลาง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะประสบการณ์ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

                        3.1 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น เอกสาร หนังสือ ตำรา ใบปลิว จุลสาร ฯลฯ

                        3.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งทั้งให้ภาพและเสียง เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ สไลด์ รูปภาพ ฯลฯ

            4. แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรม เทคนิค วิธีการ เช่น แบบต่างๆ เทคนิคกระบวนการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่น

            สรุป จากแนวความคิดการจำแนกประเภทแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถสรุปตามลักษณะของแหล่งเรียนรู้ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่ และประเภทสื่อ ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ของสถานศึกษาในระบบได้ 2 แหล่ง คือ แหล่งเรียนรู้ภายในและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ดังนี้

            1. แหล่งเรียนรู้ภายในประเภทบุคคล ได้แก่ ครูอาจารย์ ประเภทสถานที่ ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายใน ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการต่างๆ ประเภทสื่อ ได้แก่ วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์การสอน สิ่งพิมพ์และเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

            2. แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนประเภทบุคคล ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทสถานที่ ได้แก่ อาคารสถานที่ที่รวบรวมหรือเป็นแหล่งความรู้เฉพาะด้านที่อยู่นอกสถานศึกษาประเภทสื่อได้แก่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ไม่มีอยู่ในสถานศึกษา การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เป็นงานหนึ่งของงานวิชาการที่ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องบริหารและจัดการให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ดังนั้นการใช้กระบวนการบริหารและการจัดการแหล่งเรียนรู้จึงใช้เช่นเดียวกันกับกระบวนการบริหารและการจัดการงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การนิเทศติดตาม

จุดมุ่งหมายของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ดังนี้

            1. เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้

            2. เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วให้เกิดคุณค่าต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง

            3. เพื่อสนับสนุนการจัดและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและระบบ

            4. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน

            5. เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่และที่จะรับมาในอนาคตได้เต็มศักยภาพ

            6. เพื่อให้ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกที่เหมาะสมคอยให้บริการผู้เรียน


ความสำคัญและประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้มีกี่ข้อ

1.แหล่งการเรียนรู้สามารถตอบสนองการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการ (Process Of Learning) การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Learning By Doing) ทั้งจากท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ตนเองมีอยู่แล้ว 2.เป็นแหล่งกิจกรรม แหล่งทัศนศึกษา แหล่งฝึกงาน และแหล่งประกอบอาชีพของผู้เรียน 3.เป็นแหล่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นโดยตรง

แหล่งการเรียนรู้คืออะไร

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลความรู้ ทั้งที่อยู่ในตัวบุคคล สถานที่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบการณ์ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

แหล่งเรียนรู้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน.
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริง ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง.
ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน.
ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชน และกระบวนการเรียนรู้.
ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น.