การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อ :

วันอังคาร, 18 ตุลาคม 2554


การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ

ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลังปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่ ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล

วิธีแก้ปัญหา
1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ

ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย
1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.

ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย
1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย และ วิชาการดอทคอม

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

คอมพิวเตอร์,ปลอดภัย

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 18 ตุลาคม 2554

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เทคโนโลยี

ระดับชั้น

ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย (สภากาชาดไทย)

          ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล

วิธีแก้ปัญหา

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ

ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นาน ๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนาน ๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ

ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา

         

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ
  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับสุขภาพ