งาน วิจัย ไม้กวาด จากขวดพลาสติก

DIY ไม้กวาดพลาสติก

D.I.Y. ไม้กวาด

ขยะพลาสติก ประดิษฐ์เป็นของใช้ภายในบ้าน

ไอเดียดีๆ โดยเฉพาะ ไอเดียที่สร้างสรรค์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุที่เราเรียกกันว่าขยะ หากสามารถทำมูลค่าเพิ่มให้กับมันได้ สิ่งนี้ จะช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะ ขยะประเภทขวดพลาสติก ที่มีให้เห็นกันมากมาย ทั้งในถังขยะ และแหล่งท่องเที่ยวสาธารณะ ริมถนน มากมายก่ายกอง คงดีไม่น้อย หากเราช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จับขวดเหล่านี้ มาประยุกต์เป็นของใช้ ของตกแต่งบ้าน
สำหรับวันนี้ สิ่งประดิษฐ์ ที่ทางเว็บนำเสนอ เป็นการทำไม้กวาด จากขวดน้ำอัดลม ไม้กวาดดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้แทน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดไม้ไผ่ ไว้สำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ ใบไม้ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการกวาดขยะภายในบ้าน เนื่องด้วยวัสดุพลาสติก ที่ไม่อ่อนตัว เอาหละครับ มาดูวิธี ขั้นตอนการทำกันเลย

งาน วิจัย ไม้กวาด จากขวดพลาสติก

อุปกรณ์ที่จำเป็น

1.ขวดน้ำอัดลม ขนาด 1.5 – 2 ลิตร จำนวน 3 ขวด
2. ด้ามไม้กวาด คุณอาจใช้ด้ามเก่าๆ หรือ ไม้ไผ่ ยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
3. กรรไก , มีคัดเตอร์
4. สว่านเจาะ
5. ลวด
6. ค้อน
7. คีม

ขั้นตอนการทำไม้กวาด

  • เตรียมอุปกรณ์ พร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยครับ ขั้นตอนแรก ทำการแกะป้ายแบรนด์สินค้าออกก่อน จากนั้น ทำการตัดท้ายขวด ที่เป็นฐานสำหรับตั้งยืน
  • ใช้กรรไก ตัดซอยให้เป็นเส้นๆ ความกว้างของเส้น 0.5 ซม. เริ่มตัดจากปลาย จนถึงมุมโค้งของคอขวด ตัดให้ครบทั้งเส้นรอบวง
  • ตัดปากขัวออก ในกรณีตัวอย่างนี้ เราใช้ขวด 2 ขวดมารวมกัน หากคุณคิดว่ายังไม่แน่นเพียงพอ อาจใช้ขวดเพิ่ม เพื่อให้มีเส้นพลาสติกมากยิ่งขึ้น
  • ขวดสุดท้าย ซึ่งเป็นขวดที่อยู่นอกสุด ไม่ต้องตัดปากขวด เพราะต้องการใช้ส่วนนี้ เชื่อมต่อกับด้ามไม้กวาด

งาน วิจัย ไม้กวาด จากขวดพลาสติก

  • ตัดขวดอีก 1 ขวด เอาเฉพาะส่วนของด้านบน จากปากขวด ให้เลยส่วนโค้งไปประมาณ 5 ซม. ใช้สำหรับเป็นตัวยึดแน่น เพื่อให้เส้นปลายพลาสติก บานออกจากกัน
  • ใช้สว่านเจาะรู ร้อยเส้นลวดตามรู้ที่เจาะไว้ เพื่อให้ฐานของเส้นไม้กวาดพลาสติก ยึดจับแน่นกัน ในขั้นตอนนี้ อาจใช้คีมมาช่วย เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น
  • เมื่อได้ส่วนของเส้นไม้กวาดแล้ว ทำการใส่ด้ามจับเข้ากับปากขวดพลาสติก จากนั้นทำการตอกตะปูด้วยค้อน หรืออาจใช้สกรูน็อต ก็ได้เช่นกัน

งาน วิจัย ไม้กวาด จากขวดพลาสติก

เรื่อง ไม้กวาจากขวดพลาสติก

จัดทำโดย

1.ด.ญ อรุโณทัย  สุขใส  เลขที่  14

2. ด.ญ กัญญ์ศิริ  ทวีเศรษฐ  เลขที่  20

3.ด.ญ ธันย์ชนก สุขะปานะ  เลขที่  30

4.ด.ญ นันท์ภัส เบจวณิชย์  เลขที่  37

5.ด.ญ พรไพลิน ประสมชาติ  เลขที่  39

นำเสนอ

คุณครู ปาริชาต แท่นแก้ว

คุณครู สุภัททา  สิทธิชัย

โรงเรียนวรนารีเฉลิม  จังหวัดสงขลา

คำนำ

เนื่องจากปัจจุบันมีขวดพลาสติกมากจึงทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  และไม้กวาดปกติมีความหลุดง่ายทำให้เราสิ้นเปลืองเงินกับการซื้อไม้กวาด  กลุ่มของข้าพเจ้าได้ตระหนักถึงปัญหานี้จึงได้คิดค้นไม้กวาดจากขวดพลาสติก  ซึ่งทำการทดลองปรากฏว่าใช้ได้ผลดีตัวไม้กวาดมีความทนไม่หลุดง่าย  และยังนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่  และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ในสังคม

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                        หน้า

คำนำ                                                                                                                          ก

บทคัดย่อ                                                                                                                     1                 

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                      2                  

บทที่  บทนำ                                                                                                                             

1.      ที่มาและความสำคัญ                                                                                              3               

3.      ตัวแปรควบคุม                                                                                                       3                

บทที่  2  เอกสารเกี่ยวข้อง                                                                                                             

           1.ไม้                                                                                                                   4                         

           2.ขวดน้ำ                                                                                                            4              

           3.กรรไกร                                                                                                           5             

           4.มีด                                                                                                                   6               

           5.ค้อน                                                                                                                 6              

           6.ตะปู                                                                                                                 6             

บทที่  3  วิธีดำเนินการศึกษา                                                                                                         

1.      อุปกรณ์                                                                                                                    7              

2.      ขั้นตอนการทำ                                                                                                         7             

      บทที่  4  ผลการดำเนินงาน                                                                                                           

1.      ผลการทดลอง                                                                                                              8             

2.      การนำไปใช้ตามหน่วยบริการ                                                                                      8           

บทที่  สรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา

1.      สรุปผลการศึกษา                                                                                                          9           

2.      ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน                                                                          9          

ภาพผนวก                                                                                                                   10-11    

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำไม้กวาดจากขวดพลาสติกเพื่อลดปริมาณขวดพลาสติก  และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อไม้กวาด

ดังนั้น  เราจึงสนใจจะศึกษาการทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก

กิตติกรรมประกาศ

   กลุ่มของพวกเราไม้กวาดจากขวดพลาสติก   ขอบคุณฝ้ายต่างๆที่ให้ความรวมมือกับโครงงานชิ้นนี้เป็นอย่างยิ่ง  ทั้งคุณครู สุภัททา  สิทธิชัย   คุณครู ปาริชาต   แท่นแก้ว   และฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงงานชิ้นนี้ สำเร็จไปได้ด้วยดี  ไม่มีอุปสรรค์มากเกินไปจนรับไม่ไหว ขอบคุณเป็นอย่างสูง

บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

การนำวัสดุที่เราเรียกกันว่าขยะ หากสามารถทำมูลค่าเพิ่มให้กับมันได้ สิ่งนี้ จะช่วยโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นอย่างมาก  โดยเฉพาะขยะประเภทขวดพลาสติกที่มีให้เห็นกันมากมาย ทั้งในถังขยะ  คงดีไม่น้อย หากเราช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จับขวดเหล่านี้ มาทำเป็นของใช้  จึงทำสิ่งประดิษฐ์ นี้การทำไม้กวาด จากขวดน้ำพลาสติก  ไม้กวาดดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้แทน ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดไม้ไผ่ ไว้สำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ ใบไม้ แต่ไม่เหมาะสมสำหรับการกวาดขยะภายในบ้าน เนื่องด้วยวัสดุพลาสติก ที่ไม่อ่อนตัว

วัตถุประสงค์

1 ศึกษาเพื่อ รู้จักการทำไม้กวาดจากขวดน้ำ

2 ศึกษาเพื่อ ให้เกิดประโยชน์แก่ โรงเรียน ตัวเอง และ ผู้อื่นอีกด้วย

3 ศึกษาเพื่อ ประหยัดค่าใช้จ่ายใน โรงเรียนและบ้านของผม

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น

การออกแบบของรูปทรงของไม้กวาดจากขวดพลาสติก

ตัวแปรตาม

            ความสะอาดที่ไม้กวาดจากขวดพลาสติกทำได้

ตัวแปรควบคุม

            สถานที่  เวลา  ชนิดของขวดพลาสติก 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มผู้จัดทำโครงงานได้ศึกค้นคว้าจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยแบ่งการศึกษา ออกเป็น2 ประเภท ดังนี้

1 ความหมายของไม้กวาดจากขวดพลาสติก

2 วิธีการทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก

ไม้

           ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา ไม้โอ๊ก โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย

คือขวดที่ทำจากพลาสติก ใช้บรรจุของเหลว เช่น น้ำ น้ำอัดลม น้ำมันเครื่อง น้ำมันประกอบอาหาร ยา ยาสระผม นม และหมึก มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขวดคาร์บอนขนาดใหญ่

กรรไกร

  กรรไกร (อังกฤษscissors) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดวัสดุบาง ๆ โดยใช้แรงกดเล็กน้อย โดยใช้ตัดวัสดุเช่น กระดาษ กระดาษแข็ง แผ่นโลหะบาง พลาสติกบาง อาหารบางอย่าง ผ้า เชือก และสายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อตัดผมก็ได้ ส่วนกรรไกรขนาดใหญ่อาจใช้ตัดใบไม้และกิ่งไม้ ซึ่งมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

กรรไกรนั้นต่างจากมีด เพราะมีใบมีด 2 อัน ประกบกันโดยมีจุดหมุนร่วมกัน กรรไกรส่วนใหญ่จะไม่มีความคมมากนัก แต่อาศัยแรงฉีกระหว่างใบมีดสองด้าน กรรไกรของเด็กนั้นจะมีความคมน้อยมาก และมักมีพลาสติกหุ้มเอาไว้

ในภาษาไทย เรียก "กรรไกร", "กรรไตร" หรือ "ตะไกร" ส่วนในภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปเรียกว่า "scissors" แต่ในอุตสาหกรรม เรียกกรรไกรที่มีความยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ว่า "shears" แต่ที่นิยมเรียกในประเทศไทยคือ กรรไกร ในทางกลศาสตร์ ถือว่ากรรไกรเป็นคานคู่ชั้น 1 (First-Class Lever) ซึ่งมีหมุดกลางทำหน้าที่เป็นจุดหมุน ส่วนการตัดวัสดุหนาหรือแข็งนั้น จะให้วัสดุอยู่ใกล้จุดหมุน เพื่อเพิ่มแรงกดให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่นหากแรงที่ใช้ (นั่นคือ มือ) ห่างจากจุดหมุนเป็นสองเท่าของตำแหน่งที่ตัด (นั่นคือ ตำแหน่งกระดาษ) แรงที่กดบนขากรรไกรก็จะเป็นสองเท่าด้วย

กรรไกรพิเศษ เช่น กรรไกรตัดเหล็ก (bolt cutters) สำหรับงานกู้ภัย จะมีปากสั้น และด้ามยาว เพื่อให้วัสดุที่ตัดอยู่ใกล้จุดหมุนมากที่สุดนั่นเอง กรรไกรตัดเหล็กเส้นก่อสร้าง (bar cutters) สำหรับงานก่อสร้าง โดยเฉพาะไซงานที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำงานโดยใช้แรงกล มีด้ามยาวสำหรับโยกหมุนเฟืองเพื่อดันใบมีดเข้าหากันเพื่อตัดเหล็ก เหมาะกับการใช้ตัดชิ้นงานหยาบ ไม่สามารถใช้กับงานที่ละเอียดได้ นอกจากนี้ยังมีกรรไกรตัดเหล็กที่ใช้สำหรับตัดเหล็กแผ่น เหล็กแบน เหล็กกลม (shearing machines) ซึ่งใช้กลวิธีการทำงานคือ โยกด้ามยาวที่ติดกับตัวขับที่เป็นฟันเหล็ก และเฟืองซึ่งทำจากเหล็กขึ้นรูปร้อน โดยตัวขับจะเป็นตัวส่งกำลังไปยังตัวเลื่อน เพื่อดันใบมีดตัวบนเข้ามาใบมีดตัวล่าง และมีสปริงค้ำคันโยก ซึ่งจะช่วยป้องกันคันมือโยกไม่ให้หล่นลงมา และยังเป็นตัวทำให้เกิดความสมดุลของน้ำหนักของตัวคันมือโยกอีกด้วย

มีด

มีด คือเครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว

ค้อน

ค้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายกระดูกของมนุษย์ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้วย

ตะปู

เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ มีลักษณะแข็ง ปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ตะปูส่วนมากทำมาจากเหล็ก มักใช้สำหรับการยึด ตรึง หรือเพื่อติดวัตถุชนิดต่าง ๆ ในงานไม้ งานก่อสร้าง และงานวิศวกรรม ตะปูมักถูกใช้งานร่วมกับค้อน โดยใช้ค้อนในการตีหรือตอกเพื่อดันตะปูให้ผ่านเข้าไปในวัตถุที่ต้องการ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

บทที่3

วิธีการดำเนินการศึกษา

อุปกรณ์

           1.ไม้                      

           2.ขวดน้ำ

           3.กรรไกร

           4.มีด

           5.ค้อน

           6.ตะปู

วิธีทำ   

ไม้กวาดจากขวดพลาสติก

1) เอาขวดพลาสติกที่หมดแล้วมาห้าใบ ขนาดเดียวกันทั้งห้าใบ ควรจะใช้ขวดขนาด ๑.๐ ลิตรขึ้นไป

2) ตัดก้นขวดใบที่หนึ่งออก ตรงเหนือรอยหยัก 

 3) จากนั้นใช้กรรไกรมาตัดตามความยาวของขวดให้เป็นเส้นยาวๆ จากก้นขวดมาปากขวด และหยุดบริเวณที่นิ้วชี้ในรูป ตัดไปเรื่อยๆจนรอบขวด แต่ละเส้นควรมีขนาดประมาณไม่เกิน ๑ ซม. และพยายามให้มีขนาดเท่าๆกัน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

4) เอาไม้มาตอก

5จากนั้นให้หาไม้ไผ่ขนาดใหญ่และยาวกำลังพอเหมาะ หรือด้ามไม้ ม็อบที่ไม่ใช้แล้ว มาเหลาให้เล็กกว่าปากขวด แล้วสอดเข้าไปทาง ปากขวดให้ลึกมากที่สุด จากนั้นเอาตะปูตัวเล็กๆมาตอกให้ขวดติดกับ ด้ามไม้ ให้แน่น ระวังอย่าใช้ตะปูตัวใหญ่ เพราะด้ามไม้จะแตก

บทที่4

ผลการดำเนินงาน

             4.1) ผลการดำเนินงาน

   คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และมี   การนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น

        1.การรวบรวมข้อมูล “ไม้กวาดจากขวดพลาสติก” จากทางอินเตอร์เน็ต

        2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ไม้กวาดจากขวดพลาสติกจากทาง อินเตอร์เน็ต

บทที่5

 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

จากการดำเนินงานโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง  ไม้กวาดจากขวดพลาสติก  ในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

            ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง  ไม้กวาดจากขวดพลาสติกเป็นการทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป  ให้ความรู้แก่ผู้สนใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

       วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1. เพื่อให้รู้ถึง การประยุกต์ใช้ ของเหลือใช้

2.ลดค่าใช้จ่ายให้ครัวเรือนและใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้มากขึ้น

3.สามารถใช้ประกอบอาชีพได้

อ้างอิง

http://woramet05072543.blogspot.com/2016/06/blog-post_29.html