วิจัย จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี 2563

LMS : Learning Management System  is a software application for the administration, documentation, tracking, reporting, and delivery of educational courses, training programs, or learning and development programs. The learning management system concept emerged directly from e-Learning.
Read More »

เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำ/พฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่

1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
4. อื่นๆ

ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง

ทั้งนี้:

1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมล์ของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมล์จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางจริยธรรมการวิจัย (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
2. อีเมล์
3. ชื่อ-สกุล

หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล์ และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมล์แฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

20 ธันวาคม 2565, โถงกลางอาคารราชวัลลภ ชั้น 2 / คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ CODING แห่งชาติ แถลงข่าวความคืบหน้าโครงการ “คนละเครื่อง : พี่แบ่งให้…น้องได้เรียน” พร้อมด้วยนายณรงค์ ดูดิง ที่ปรึกษา รมช.ศธ., นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. ปฏิบัติหน้าที่ เลขานุการ รมช.ศธ., นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษก รมช.ศธ., นายอรรถพล สังขวาสี ปลัด ศธ., นายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ., นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วย ปลัด ศธ. เข้าร่วม รมช.ศธ. กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ทั่วประเทศกว่า 1.4 ล้านเครื่อง โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้…น้องได้เรียน” จึงเป็นโครงการที่ได้เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลให้กับเด็กไทย โดย ศธ.เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการรับบริจาคมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนของนักเรียนมีฐานะยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน ในระยะแรก การแจก Smart Devices จะเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ซึ่งมีฐานะยากจน แต่มีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อให้การสนับสนุนอุปกรณ์ใช้ในการเรียน ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง โดยจะรณรงค์รับบริจาคในระหว่างที่รอการสนับสนุนจากกองทุน USO เพื่อสนับสนุนบริการทางการศึกษา ที่จะสามารถเริ่มต้นได้ในปีงบประมาณ 2566 โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) วงเงินงบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท จำนวนกว่า 1.8 แสนเครื่อง “โครงการนี้จะช่วยให้สถานศึกษามีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และสามารถจัดสรรให้นักเรียน นักศึกษา ที่มีฐานะยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนนำไปใช้ยืมเรียนได้อย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมช่องทางการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของเยาวชนที่เกิดจากการเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน และขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมายสิ้นปี 2565 จะได้รับการสนับสนุน Smart Devices ไม่น้อยกว่า 10,000 เครื่อง”   รองปลัด ศธ. เปิดเผยว่า ศธ.ได้มีการสำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนออนไลน์ เพื่อลดผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของเยาวชนที่เกิดจากการเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานและขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเข้าถึงแหล่งความรู้ พบว่า นักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีการใช้อุปกรณ์ในการเรียนการสอนค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งนักเรียนจำนวนมากระบุว่าไม่มีอุปกรณ์ใช้ในการเรียน ผลสำรวจพบว่านักเรียนขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ทั่วประเทศมากถึง 1.4 ล้านคน ปัจจุบัน การดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน หรือเงินทุนจากผู้ที่มีความประสงค์บริจาค โดยกำหนดจุดรับบริจาคในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัด สพฐ. ได้รับบริจาคไปแล้ว ได้แก่ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2, สพป.หนองคาย เขต 1, สพม.สงขลา สตูล, สพป.ชุมพร เขต 1, สพป.ลำปาง เขต 1 รวมจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 644 แห่ง มียอดสนับสนุนเป็นจำนวนเงินแล้วกว่า 6 ล้านบาท เป็นจำนวนอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, คอมพิวเตอร์พกพา, อุปกรณ์ Smart Devices รวมจำนวนกว่า 7 พันเครื่อง   สำหรับการแถลงข่าวครั้งนี้ มีตัวแทนโรงเรียนร่วมงานรับมอบ Smart Device จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวชิรธรรมโศภิต สังกัด สพม.เพชรบุรี จำนวน 10 เครื่อง และโรงเรียนบ้านทำนบพัฒนา สังกัด สพป.นครราชสีมา เขต 5 จำนวน 15 เครื่อง และรับมอบผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านแม่ลาย สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 5, โรงเรียนพัฒนาอิสลามวิทยา สังกัด สช.จังหวัดยะลา และโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม สังกัด สพม.เชียงราย ทั้งนี้ มีกลุ่มศิลปิน และ Influencer เข้าร่วมงานแถลงข่าว คือ โอลีฟ โตเกียว, เด็กหญิงศุภรดา เผ่าเสถียรพันธ์ และเด็กหญิงศุภนิดา เผ่าเสถียรพันธ์ ในฐานะทูตวัฒนธรรมแห่งสยาม, นายเควิน ฌ็อง โดนาท์ อดีตนักแสดงช่อง 3 และวง Berry Berry   อานนท์ วิชานนท์ / ข่าว ณัฐพล…

21 December 2565 [post-views] ครั้ง

วิจัย จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี 2563

20 Dec 65

“ตรีนุช” แนะการตรวจราชการ ศธ. ต้องมีเป้าหมายชัดเจน เน้นการสื่อสาร-ทำงานร่วมกัน

(20 ธันวาคม 2565) ห้องประชุมจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ / นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ครั้งที่ 1/2565 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ (ร่าง) นโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ระดมความเห็น เพื่อให้การตรวจราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขอให้มีการตั้งเป้าหมายเรื่องที่จะตรวจราชการให้ชัดเจน เน้นการทำงานร่วมกัน ซึ่งในส่วนกลางต้องมีการสื่อสาร เชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่เสมอ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถสะท้อนปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขให้ตรงจุดอย่างแท้จริง ปารัชญ์ ไชยเวช / สรุป อธิชนม์ สลางสิงห์ / ถ่ายภาพ