ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสนสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่จะต้องจ่ายเงินประกันสังคม จะต้องสมทบเงินประกันสังคมทุกเดือน

ซึ่งจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 750 บาท นั่นก็คือคนที่ได้รับเงินเดือน

15,000 บาทขึ้นไปนั้นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า สำนักงานประกันสังคมนั้น เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไรกันบ้างระบบงานประกันสังคม

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่บ้านเรานั้นเพิ่งจะเริ่มมี โดยประกันสังคมนั้นเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง มันก็คือ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนข้อดีของเงินประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเราจะจ่ายเงินประกันสังคมอย่างนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายประกันสังคมสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่ายนั้นก็คือ

1. ฝ่ายรัฐบาล

2. ส่วนนายจ้าง

3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสีย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสีย– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนเสียกรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท เสียปุ๊บ รับ 63,750 บาท

เรียบเรียงโดย : Postsara
แหล่งที่มา : http://siamama.com/?p=4313

          คืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม กรณีชราภาพ ผู้ประกันตนมีสิทธิ์เลือกเอง 3 ขอ คือ ขอเลือก ขอคืน ขอกู้ สิทธิประโยชน์จัดเต็ม รับเงินชราภาพแน่นอน 60 เดือน หากยังไม่เสียชีวิตรับต่อได้อีก เจอวิกฤตขอคืนได้ กู้เงินธนาคารได้อีก ดูรายละเอียดเลย

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งที่จะแก้ไขและเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ อันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน หรือเรียกว่า "3 ขอ"

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยความคืบหน้าเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ประกันสังคม กรณีชราภาพ ได้แก่ ขอเลือก ขอคืน ขอกู้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้…

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

ขอเลือก

         

ผู้ประกันตนสามารถที่จะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ ดังนี้...

กฎหมายฉบับเดิม

          - ผู้ที่มีอายุ 55 ปี ส่งเงินครบ 180 เดือน เมื่อลาออกจากงานจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ

          - ผู้ที่มีอายุ 55 ปี ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน และลาออกจากงาน จะได้รับเงินก้อน หรือเงินบำเหน็จชราภาพ

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

กฎหมายฉบับใหม่

          - ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี ที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จชราภาพ หรือบำนาญชราภาพ

          - สำนักงานประกันสังคม มีการรับประกันการรับเงินบำนาญชราภาพ 60 เดือน

          - หากผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพแล้ว เกิดเหตุไม่คาดฝัน เสียชีวิตในเดือนที่ 1 หรือเดือนที่ 2 ทายาทจะได้รับอีก 58 เดือน

          - ขอเลือกรับบำเหน็จชราภาพ คือ รับเงินจำนวน 60 เดือนไปก่อน เมื่อถึงเดือนที่ 61 ก็มาเลือกรับบำนาญ หรือเรียกว่ารับเงินก้อนก่อน 60 เดือน

          เช่น ถ้าคิดเป็นเงินบำนาญชราภาพ ท่านจะได้รับ เดือนละ 5,000 บาท x 60 เดือน เท่ากับ 300,000 บาท พอเดือนที่ 61 หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่เสียชีวิต ก็ยังสามารถมารับเงินเป็นรายเดือนต่อไปได้

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

ขอคืน

         

การขอคืน สามารถทำได้ต่อเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ทำให้การดำรงชีวิตของผู้ประกันตนไม่ปกติ หรือ เกิดอุทกภัย วาตภัย เกิดโรคระบาด สำนักงานประกันสังคม จะให้คืนบางส่วน

          ขณะนี้ กฎหมายหลักระบุเพียงว่าขอคืน แต่รายละเอียดของการคืนนั้น กฎหมายรองจะมีรายละเอียดสนับสนุนกฎหมายหลักว่า ให้คืนอย่างไร คืนสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ และต้องส่งเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน กฎหมายรองจะออกรายละเอียดตามมาเป็นลำดับต่อไป

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

ขอกู้

         

สำนักงานประกันสังคม ไม่มีภารกิจให้การกู้เงินกับผู้ประกันตน แต่จะทำ MOU กับธนาคาร โดยธนาคารที่จะทำ MOU กับประกันสังคม จะเลือกธนาคารที่คิดดอกเบี้ยน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้ประกันตนไปยื่นกู้ที่ธนาคารแห่งนั้น

          โดย สำนักงานประกันสังคม จะออกหนังสือรับรองให้ว่าผู้ประกันตนรายนั้น ๆ ซึ่งมีสิทธิ์รับเงินบำนาญชราภาพ สามารถไปกู้เงินกับธนาคารได้ เป็นลักษณะการค้ำประกันให้เท่านั้น ไม่ใช่การกู้เงินกับสำนักงานประกันสังคม

          อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนยังไม่สามารถดำเนินการ 3 ขอ ได้ในขณะนี้ เนื่องจากกฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ โดยขณะนี้ยังอยู่ที่กฤษฎีกา สำนักงานประกันสังคม คาดว่า หากเป็นไปตามกรอบหรือขั้นตอนที่วางไว้ จะสามารถใช้ได้จริงช่วงกลางปี 2566

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

เพิ่มเงินบำนาญชราภาพ กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

         

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงนามประกาศกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อเป็นหลักประกันและช่วยเหลือทายาทของผู้รับบำนาญชราภาพ ภายหลังผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน โดยมีสาระสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้...

          1. จากกฎหมายเดิม กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพที่ถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จากเดิม 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

          กฎหมายใหม่เปลี่ยนเป็นจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือจาก 60 เดือน

          เช่น ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพเดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อกฎกระทรวงนี้ประกาศใช้ ทายาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพที่เหลืออีก 40 เดือนที่เหลือจาก 60 เดือน คือ 5,250 x 40 = 210,000 บาท เป็นต้น

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

         

2. จากกฎหมายเดิม กำหนดให้ผู้ที่เคยได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้วถูกงดจ่าย เนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนและต่อมาถึงแก่ความตาย หากบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จากเดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือน คราวสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน

          กฎหมายใหม่เปลี่ยนเป็นให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้าย ก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับบำนาญชราภาพกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนจนครบ 60 เดือน

          3. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับและรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน และในกรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วและจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

          ขณะที่ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคม ให้ความสำคัญในการสร้างหลักประกันทางสังคมอย่างเท่าเทียม เสมอภาค และพร้อมดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน

ขอคืนเงินชราภาพประกันสังคม

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน