มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

เจ้าของที่ดินจึงควรทำรังวัดก่อการทำนิติกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบยืนยันว่าหลักหมุดและอาณาเขตที่ดินยังอยู่ที่เดิมเหมือนเดิมหรือไม่

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

ประโยชน์ของการรังวัดที่ดิน

เมื่อทราบว่าการรังวัดที่ดินคืออะไรไปแล้ว มาทราบถึงประโยชน์ของการรังวัดที่ดินกันต่อดีกว่าว่า จะช่วยให้เจ้าของที่ดินได้รับสิทธิในด้านใดได้บ้าง 

  • ใช้ในการแบ่งแยกแปลงที่ดินผืนใหญ่ให้เป็นผืนย่อย ๆ อันเนื่องมาจาก แบ่งที่ดินเพื่อการซื้อ-ขาย, แบ่งที่ดินมรดก เป็นต้น
  • ป้องกันการรุกล้ำที่ดินโดยบุคคลอื่นจากพื้นที่ด้านข้างเข้าทำประโยชน์และลดข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดินที่อาจจะมีการเคลื่อนย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ทำลาย ตำแหน่งหลักเขตที่ดิน หรือแนวเขตที่ดิน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ป้องกันการถูกรอนสิทธิ์ในที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น การถูกใช้ที่ดินเป็นทางเข้า-ออกจากบุคคลอื่น
  • ป้องกันการเหลื่อมล้ำจากเส้นทางสาธารณประโยชน์อื่นๆ เข้ามาในที่ดินของเรา เช่น คลอง, ห้วย เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้เจ้าของที่ดินโดนแบ่งหักที่ดินออกไปแบบไม่รู้ตัว
  • เพื่อให้รับรู้ถึงแนวเขตการครอบครองที่เปลี่ยนไปใหม่ 
  • เพื่อเปลี่ยน นส.3 ก (โฉนดตราครุฑสีเขียว)  เป็นโฉนดนส.4 (โฉนดตราครุฑสีแดง) โดยการยื่นของรังวัดตรวจสอบ เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่แน่นอนและขนาดที่ดินที่ชัดเจน ซึ่งหากตรวจสอบจนชัดเจนแล้วก็สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เลย

 

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

ประเภทของการรังวัดที่ดิน

การรังวัดที่ดินสามารถยื่นคำขอได้ใน 3 กรณีด้วยกัน คือ

  1. การรังวัดแบ่งแยก

หากเจ้าของที่ดินต้องการแบ่งที่ดินผืนใหญ่ออกเป็นหลาย ๆ แปลง ไม่ว่าจะด้วยการแบ่งขาย มอบเป็นมรดก หรือสาเหตุอื่น ๆ เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินของแปลงที่แบ่งแยกใหม่ให้แก่เจ้าของที่ดินเพิ่มเติมด้วย

  1. การรังวัดรวมโฉนด

หากเจ้าของที่ดินทำการซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่ดินผืนเดิมแล้วต้องการรวมโฉนดใหม่ฉบับเดียว เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินแบบรวมใหม่ให้แก่เจ้าของที่ดินเพิ่มเติม 

*** หมายเหตุ : ในการรังวัดรวมโฉนด ต้องมีลักษณะดังนี้

      – ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้

      – ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้องยังมีชีวิตอยู่ทุกคน

      – ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน

  1. การรังวัดสอบเขต

หากเจ้าของที่ดินต้องการทราบเนื้อที่ทั้งหมดว่าตรงกันกับในโฉนดหรือไม่ และมีสภาพที่ดินที่แท้จริงในขนาดกี่ไร่ กี่งาน หรือกี่ตารางวา รวมถึงหากมีกรณีสูญหายของหมุดปักบอกอาณาเขต เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเพื่อดำเนินการรังวัดและปักหลักหมุดให้ใหม่หากหลักหมุดเดิมหาย และแก้ไขเลขหมายหลักหมุดรวมถึงแนวอาณาเขตของที่ดินลงในโฉนดใหม่ให้ถูกต้อง

สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบก่อนการทำรังวัด

การที่เจ้าของที่ดินจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นๆได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ไม่เสียเวลาฟรีๆไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินเขตที่รับผิดชอบ เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องรู้และตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนยื่นของการทำรังวัด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

  1. เอกสารสิทธิและที่ดินที่มีเป็นแบบใด

ที่ดินที่สามารถของรังวัดได้จะต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือยืนยันสิทธิ์ในที่ดิน ดังนี้

  • โฉนดที่ดิน (น.ส.4) คือ โฉนดที่ดินครุฑแดงซึ่งเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด สามารถซื้อขายได้ โอนได้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งเป็น 2 ชนิด คือ
    • น.ส.3ก.  คือโฉนดครุฑเขียว  ซึ่งออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าเราได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นหลักแหล่ง คุณสมบัติใกล้เคียงกับโฉนด ซื้อขาย จำนองธนาคารได้ และสามารถไปยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ในอนาคต
    • น.ส.3 และ น.ส.3ก. คือโฉนดครุฑดำ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นเอกสารที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์การครอบครองของเจ้าของ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศที่แน่ชัด จะซื้อขายต้องรอประกาศจากราชการ 30 วัน
  • ใบจอง เช่น น.ส.2 (ใบจอง) หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว เป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทางราชการออกให้เนื่องจากการจับจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ยังไม่ให้สิทธิ์ครอบครองในที่ดินโดยสมบูรณ์ เพราะเป็นการอนุญาตให้ผู้จับจองที่ดินเข้าทำประโยชน์เป็นการชั่วคราว หากเห็นว่าผู้ที่เข้าครอบครองทำประโยชน์นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ภายใน เวลาที่กำหนด หรือเข้าทำประโยชน์แล้วทำประโยชน์ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ทางราชการก็ จะให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ในที่ดินและจะนำไปจัดให้บุคคลอื่นต่อไป

นอกเหนือจากเรื่องประเภทของโฉนดที่ดินแล้วยังต้องตรวจสอบพื้นที่โดยรอบของดินว่ามีใครเป็นเจ้าของเผื่อในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าต้องออกหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงไประวังชี้รับรองเขตเพิ่มเติมจะต้องสามารถติดต่อได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

 

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

  1. วิธีการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน

เอกสารประกอบการขอรังวัด แบ่งแยก หรือสอบเขตโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  1. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. ทะเบียนบ้าน
  4. ทะเบียนสมรส
  5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)

สิ่งที่ผู้ขอรังวัดต้องนำมาแสดงเพื่อขอรังวัดคือ สิทธิที่มีในการขอ (เอกสิทธิฉบับจริง) โดยถ้าเอกสารสิทธินั้นติดภาระผูกพันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ต้องไปทำหนังสือยินยอมเพื่อให้ทำการรังวัดก่อน

ในกรณีถ้าเจ้าของสิทธิไม่สามารถมาด้วยตัวเองได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อของยื่นรังวัดแทนได้ โดยเอกสารการมอบอำนาจจะสมบูรณ์ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย

ท่านสามารถขอแบบฟอร์มจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ หรือ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจได้ที่เว็ปไซต์ของกรมที่ดิน 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ

ระยะเวลาและขั้นตอนการยื่นขอรังวัด

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

ขั้นตอนการยื่นขอรังวัดแบ่งเป็น

1.การยื่นคำขอ ใช้เวลา 1วัน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • เจ้าของที่ดินหรือผู้รับมอบอำนาจนำเอกสารดังข้างต้นไปยื่นเพื่อขอการนัดรังวัด
  • ผู้ขอรังวัดให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด อันได้แก่ วัตถุประสงค์ในการของรังวัด, ชำระค่าธรรมเนียมรังวัด, กำหนดเจ้าหน้าที่รังวัด,กำหนดวันที่จะทำการรังวัดโดยปกติระยะเวลานัดคิวรังวัดไม่เกิน  60วัน หลังจากวันที่ยื่นคำของรังวัด
  • เมื่อยื่นคำขอรังวัดเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารนัดหมายรังวัดอก่ท่าน ให้ท่านเก็บเอกสารฉบับนี้ไว้ยืนยันในวันนัดรังวัด

2.รังวัดสอบเขต ใช้เวลา 1 วัน

  • เจ้าหน้าที่รังวัดจะกล้องสำรวจเพื่อเก็บรายละเอียดรูปแปลงที่ดินและขอบเขตที่ดิน ขั้นตอนนี้ซึ่งเจ้าของบ้านควรถ่ายรูปแนวเขตไว้เป็นหลักฐาน
  • ให้เจ้าของที่ดินตรวจสอบว่าการรังวัดที่ดินถูกต้องหรือไม่ หากการรังวัดที่ดินมีความถูกต้องให้เจ้าของที่ดินลงนามในเอกสารกับเจ้าน้าที่รังวัด 
  • เมื่อสำรวจขอบเขตที่ดินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะชี้แจงขอบเขตที่ดินแก่เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงที่มีขอบเขตที่ดินเชื่อมต่อกับแปลงที่ยื่นขอรังวัด หากเจ้าของที่ดินข้างเคียงเห็นว่าขอบเขตที่ดินถูกต้องเจ้าหน้าที่จะให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อรับรองความถูกต้อง แต่หากที่ดินข้างเคียงไม่มาตรวจสอบความถูกต้องเจ้าหน้าที่จะต้องทำการปิดประกาศผลการรังวัด ณ สำนักงานที่ดิน เป็นเวลา 30 วันจึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้

หลังนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรังวัดจะทำการคำนวณและเช็คความเรียบร้อยของรูปแปลงที่ดินให้ถูกต้อง พร้อมทั้งส่งข้อมูลให้ฝ่ายทะเบียนจัดโฉนดให้เรียบร้อย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 80 วันทางสำนักงานที่ดินจะติดต่อเจ้าของที่ดินให้มาเช็คข้อมูลก่อนที่จะออกโฉนดใหม่ ที่ดินเพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการรังวัดที่ดินเรียบร้อยแล้ว

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

3. จดทะเบียนแบ่งแยก หรือรวมโฉนด ใช้เวลา 1 วัน

  • ภายหลังจากทำการรังวัดที่ดินแล้วเจ้าหน้าที่จะส่งจดหมายมาถึงเจ้าของที่ดินเพื่อนัดหมายวันที่ให้เข้ามาจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน 
  • ในจดทะเบียนในเจ้าของที่ดินนำโฉนดที่ดินฉบับจริงพร้อม ประชาชน และทะเบียนบ้านมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ 

4. รับโฉนดที่ดิน ใช้เวลา 1 วัน

  • เมื่อเจ้าหน้าที่จัดเตรียมโฉนดเรียบร้อยจะติดต่อให้เจ้าของที่ดินเข้ารับโฉนด ณ สำนักงานที่ดินเพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการรังวัดที่ดินเรียบร้อยแล้ว

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

ค่าใช้จ่ายในการสอบเขตรังวัด

เป็นการเรียกเก็บและกำหนดโดยกระทรวงมหาดไทย ค่าใช้จ่ายรังวัดเริ่มต้นที่ 3,500 บาท ไม่เกิน 5ไร่

ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่ค่าธรรมเนียมในการรังวัดจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่พื้นที่ หากอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ที่ดินอยู่ในพื้นที่ที่มีพื้นที่ข้างเคียงเป็นจำนวนมาก หรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งอาจจะทำให้มีการรังวัดเพิ่มอีก 1 วัน ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามลำดับ

ท่านสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายรังวัดได้ที่สำนักงานที่ดินพื้นที่รับผิดชอบที่ ที่ดินนั้นตั้งอยู่หรือตรวจสอบได้เว็ปไซด์ ของกรมที่ดิน หมวดตรวจสอบค่าใช้จ่าย

คลิ๊ก ตรวจสอบค่าใช้จ่ายการรังวัดที่ดิน

มอบอํานาจรังวัดที่ดิน

สรุป

การรังวัดที่ดินสามารถทำได้ง่ายๆ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากเพียงแต่ต้องมีการตัว เตรียมเอกสารให้ดีเสียก่อน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และถือเป็นขั้นตอนที่มีประโยชน์กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งในแง่การซื้อ-ขาย หรือการแบ่งมรดกก็ตาม อีกทั้งยังรวมถึงการป้องกันการถูกรุกล้ำจากพื้นที่ด้านข้างอีกด้วย

ขอรังวัดที่ดิน มอบอํานาจ ได้ไหม

ในกรณีถ้าเจ้าของสิทธิไม่สามารถมาด้วยตัวเองได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อของยื่นรังวัดแทนได้ โดยเอกสารการมอบอำนาจจะสมบูรณ์ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย

มอบอํานาจ รังวัดที่ดิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารประกอบกรณีมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) ► บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด และเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ► ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ฉบับจริง) พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด และเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

ซื้อที่ดิน มอบอํานาจได้ไหม

การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของ ...

ขายฝาก มอบ อํา น่า จ ได้ไหม

@ คำตอบ ในการทำสัญญาขายฝากสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปทำการแทนได้ ไม่ว่าจะเป็น -- ผู้ขายฝากมอบอำนาจ หรือ -- ผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจ หรือ -- ทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจให้บุคคลเดียวไปทำสัญญาขายฝากแทนให้ก็ได้