การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ

วางมืออีกข้าง (ควรเป็นมือข้างที่ถนัด) ทับลงบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วเหยียดนิ้วมือตรง จากนั้นเกี่ยวนิ้วมือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรง โน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้บาดเจ็บ ทิ้งน้ำหนักลงบนแขนขณะกดหน้าอกผู้บาดเจ็บ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 2-2.4 นิ้ว ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที

  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    วางมือข้างหนึ่งไว้ที่คางและอีกข้างไว้บนศีรษะ เงยศีรษะขึ้นพร้อมยกคางขึ้นเพื่อให้ศีรษะแหงนไปด้านหลัง จากนั้นบีบจมูก แล้วเป่าลมเข้าปากจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ
  • การเป่าลมเข้าปาก ผู้ช่วยเหลือมีความเสี่ยงต่อการติดโรคจากการช่วยหายใจ เช่น โรคโควิด-19 ไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ช่วยเหลือจึงสามารถเลือกการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง 200 ครั้ง หรือประมาณ 2 นาที

การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ

2. วิธีการทำ CPR ในเด็ก (อายุ 1-8 ปี)

  • ขั้นตอนที่ 1 : กดหน้าอก 30 ครั้ง
    กดหน้าอกโดยใช้ส้นมือวางลงบนกึ่งกลางกระดูกหน้าอก (จะใช้มือเดียวหรือสองมือประสานกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดตัวเด็ก) และกดหน้าอกอย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก (ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร) ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    เชยคางให้ท่อหายใจเปิดออก และใช้มืออีกข้างหนึ่งบีบจมูกเด็ก แล้วเอาปากครอบเฉพาะปากเด็กให้สนิท เป่าลมจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ

การจัดท่าผู้ป่วยเพื่อฟื้นคืนชีพ

3. วิธีการทำ CPR ในทารก (อายุ 0-1 ปี)

  • ขั้นตอนที่ 1 : กดหน้าอก 30 ครั้ง
    กดหน้าอกโดยใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้วกดกลางกระดูกหน้าอก ความลึก 1.5 นิ้ว อัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    เชยคางขึ้นเล็กน้อยเพื่อเปิดท่อหายใจ แล้วเอาปากครอบทั้งปากและจมูกของเด็กทารก เป่าลมจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ
  • กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ปรับเปลี่ยนอัตราการกดหน้าอกจาก 30 ครั้ง ผายปอด 2 ครั้ง มาเป็นกดหน้าอก 15 ครั้ง ผายปอด 2 ครั้ง แล้วประเมินซ้ำเมื่อครบทุก ๆ 10 รอบ

อันตรายจากการทำ CPR ผิดวิธี
1. การวางมือผิดตำแหน่ง อาจส่งผลทำให้ซี่โครงหักได้ ซึ่งถ้าซี่โครงหักอาจจะไปทิ่มแทงโดนอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ ม้าม แล้วทำให้เกิดการตกเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
2. การกดหน้าอกด้วยอัตราความเร็วที่มากเกินไป เบาเกินไป หรือถอนแรงหลังกดออกไปไม่หมด อาจทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อย และทำให้ขาดออกซิเจนได้
3. การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้กระดูกหน้าอกขึ้นลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้กระดูกหัก หรือหัวใจช้ำได้
4. การกดหน้าอกลงไปลึกเกินไป อาจส่งผลให้หัวใจช้ำได้
5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ หรือการเป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้าในกระเพาะอาหาร เกิดอาการท้องอืด อาเจียน ทำให้ลมไม่เข้าปอด หรือเข้าปอดไม่สะดวก และทำให้ปอดขยายตัวได้อย่างไม่เต็มที่

แหล่งข้อมูล : โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย, เว็บไซต์ Hello คุณหมอ

�ҧ���˹�觷Һ���ա���˹����������ҹ ���ͨл���ҹ������ͷ���ͧ��ҧ��Ҵ��¡ѹ���� ��§���ͧ������ѧ�����˹ѡ��ҹ�������ҧŧ����д١˹��͡ �����ŧ����д١����ç ���Ш��繵��˵�������ç�ѡ��

��֧����͡����� ���ҧ�ᢹ ���ᢹ����´�ç ���������������������˹�ͼ�����ʵ� ����ȷҧ�ͧ�ç�����ŧ����д١˹��͡ ����ç���շ�ȷҧ��§仴�ҹ㴴�ҹ˹�� �ç�ж١ᵡ����ͧ��ǹ������ç���С�˹��͡��Ǵ������ջ���Է���Ҿ

��˹��͡����غŧ�˹�觹��Ǥ��觶֧�ͧ�������� 4-5 ��. ����غ�ҡ���ҹ����դ�������§������С�д١�ѡ¡��鹶�Ҽ����µ���˭��ҡ �Ҩ��ͧ�����˹��͡�غŧ��ҡ���ҹ����

㹨ѧ��л���µ�ͧ������͢��������ش ���Ҥҹ��˹ѡ������Шз�������㨤��µ������������� ���������֧�Ѻ�����ش�ҡ˹��͡���Шӷ������˹���Ͷ١����¹�

จะทำอย่างไรเมื่อเจอคนหมดสติ? จะโทรศัพท์เรียกเบอร์ไหนเพื่อขอความช่วยเหลือ? หากจำเป็นต้องช่วยทำ CPR จะทำได้ไหม? คำถามเหล่านี้คงผุดขึ้นมากมาย หากเจออุบัติเหตุหรือคนหมดสติอยู่ข้างหน้าคุณ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง ถูกวิธี ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ลดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นตั้งสติให้พร้อมแล้วมาเรียนรู้วิธีช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ไปพร้อมๆ กันได้เลย


1. ปลุก

เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ อย่าเพิ่งตกใจ ให้ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเป็นอันดับแรก โดยตรวจดูบริเวณรอบๆ ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เช่น สายไฟฟ้าที่ช็อตอยู่จุดใด บริเวณนั้นใกล้แหล่งน้ำหรือไม่ มีรถสัญจรหรือเปล่า จะได้ไม่เกิดอันตรายซ้ำ หลังจากนั้นให้ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยการตบไหล่ทั้งสองข้างและเรียกเสียงดังๆ ว่า “คุณคะๆ” หรือ “คุณครับๆ” หากไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ให้รีบทำตามขั้นตอนต่อไปโดยทันที

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง และทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เจอซึ่งจะกล่าวในภายหลัง


2. โทร

รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยแจ้งอาการผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งเพื่อให้เจ้าเหน้าที่ติดต่อกลับหากที่หาที่เกิดเหตุไม่เจอ รวมถึงแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อาการ สถานที่ที่พบ เส้นทางที่เดินทางมาได้สะดวก หากอยู่เพียงลำพัง อย่าทิ้งผู้ป่วยไปไหน ให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารและรับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หากอยู่หลายคนให้ผู้อื่นเป็นคนโทร.แจ้ง หากแถวนั้นไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย

ตัวอย่างการแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ : พบผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 50 ปี ที่ป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนเอบีซี ผมผู้พบเหตุ ชื่อนายต้น เบอร์ติดต่อ 081-XXX-XXXX และให้นำเครื่อง AED มาด้วย


3. ปั๊ม

การกดหน้าอกสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะที่รอหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพ โดยให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก - ดึงคางขึ้น และตรวจสอบการหายใจโดยการเอียงหูฟังแนบที่จมูกผู้ป่วย จากนั้นให้เริ่มช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 - 120 ครั้งต่อนาที

ข้อแนะนำ : หากมีโอกาสได้เรียนให้พยายามซ้อมทำบ่อยๆ เวลาทำจริงเราจะทำได้ด้วยความแรงและน้ำหนักที่ถูกต้อง


4. แปะ

ขณะที่ทำ CPR (กดหน้าอก) เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้ผู้ช่วยเหลืออีกคนหนึ่งเตรียมเครื่อง AED โดยการถอดเสื้อผู้ป่วยออก และติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่นบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวาและชายโครงด้านซ้าย โดยให้ทำความสะอาดจุดที่แปะแผ่น เช่น หากผู้ป่วยตัวเปียกจะต้องเช็ดให้แห้งก่อนหรือหากมีขนเยอะก็ให้โกนขนออกก่อน


5. ช็อก

เปิดเครื่อง AED และปฏิบัติตามคำแนะนำจากเครื่อง จนเมื่อเครื่องสั่งให้ทำการช็อก ให้พูดเสียงดังๆ ว่า “ฉันถอย คุณถอย ทุกคนถอย” เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนกดปุ่มช็อกไฟฟ้า แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อก ให้ทำการกดหน้าอกต่อไปจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

คำเตือน : ก่อนกดปุ่มช็อกต้องมั่นใจว่าไม่มีใครสัมผัสตัวผู้ป่วยรวมถึงมีสื่อไฟฟ้าต่างๆ


6. ส่ง

ระหว่างที่รอรถพยาบาลมารับ หากผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้ทำการปั๊มหัวใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED ไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจหรือรถพยาบาลจะมา หลังจากรถพยาบาลมาก็ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัย

เห็นไหมว่าการช่วยกระตุ้นหัวใจไม่ยากอย่างที่คิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วทำได้ตามขั้นตอนทั้ง 6 ข้อนี้ โดยไม่ตื่นเต้นตกใจ เราจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เขามีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น