บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลนครนนทบุรี

เทศบาลนคร

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

ภาพถ่ายทางอากาศของเขตเทศบาลนครนนทบุรี

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

ตรา

สมญา: 

นครนนท์

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

ทน.นนทบุรี

ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

ทน.นนทบุรี

ทน.นนทบุรี (ประเทศไทย)

พิกัด: 13°51′40.5″N 100°30′47.9″E / 13.861250°N 100.513306°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°51′40.5″N 100°30′47.9″E / 13.861250°N 100.513306°E
ประเทศ
บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี
 
ไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอเมืองนนทบุรี
จัดตั้ง

  •  ● 14 กุมภาพันธ์ 2479 (ทม.นนทบุรี)
  •  ● 25 กันยายน 2538 (ทน.นนทบุรี)

การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมนึก ธนเดชากุล
พื้นที่
 • ทั้งหมด38.9 ตร.กม. (15.0 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2563)

 • ทั้งหมด251,026 คน
 • ความหนาแน่น6,453.11 คน/ตร.กม. (16,713.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03120102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1, 3 ซอยรัตนาธิเบศร์ 6 (ศูนย์ราชการ) ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
เว็บไซต์nakornnont.go.th
บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครนนทบุรี เป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเมืองหลักของจังหวัดนนทบุรี ภายในเขตเทศบาลมีประชากรกว่า 250,000 คน ทำให้เป็นเทศบาลนครที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากตั้งอยู่ในชานเมืองซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ประวัติ[แก้]

ท้องที่ตัวจังหวัดนนทบุรีได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 โดยในครั้งแรกมีอาณาเขตครอบคลุมตำบลสวนใหญ่ทั้งตำบล พื้นที่ 2.5 ตารางกิโลเมตร (ตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 1196) และด้วยความเจริญจากสภาพพื้นที่อันเป็นเมืองปริมณฑล มีพื้นที่ติดต่อกรุงเทพมหานคร ความเหมาะสมทางด้านผังเมือง พื้นที่ 2.5 ตารางกิโลเมตรมีอาคารบ้านเรือนหนาแน่นเต็มพื้นที่แล้ว ความต้องการในการให้บริการด้านสาธารณูปโภคมีมากขึ้น และความเหมาะสมด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็ว เทศบาลจึงได้รายงานกระทรวงมหาดไทยขอขยายเขตเทศบาลจากเดิมออกไปอีก 4 ตำบล คือ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางเขน ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทราย

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลเมืองนนทบุรีขึ้นเป็น เทศบาลนครนนทบุรี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา (ตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 112 ตอนที่ 40ก วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลนครนนทบุรีมีอาณาเขตครอบคลุม 5 ตำบลของอำเภอเมืองนนทบุรี ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางเขน ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทราย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38.90 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลนครปากเกร็ด (อำเภอปากเกร็ด) มีคลองบางตลาดเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีคลองบางเขนและแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ เขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง และเขตเทศบาลเมืองไทรม้า (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครนนทบุรี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.3
(83)
30
(86)
30.6
(87)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.7
(89)
31.1
(88)
31.1
(88)
29.4
(85)
27.8
(82)
30.6
(87)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.2
(72)
22.2
(72)
22.8
(73)
23.3
(74)
23.9
(75)
23.3
(74)
22.8
(73)
23.3
(74)
22.8
(73)
23.3
(74)
22.8
(73)
22.8
(73)
22.8
(73)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 300
(11.81)
170
(6.69)
180
(7.09)
170
(6.69)
190
(7.48)
160
(6.3)
160
(6.3)
170
(6.69)
230
(9.06)
270
(10.63)
310
(12.2)
440
(17.32)
2,860
(112.6)
[ต้องการอ้างอิง]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ความหมายของดวงตราของเทศบาลนครนนทบุรี เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญเพราะได้พิจารณาเห็นว่าเทศบาลมีกำเนิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 เทศบาลจึงได้กำหนดตราเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ มิใช่แต่แสดงว่าเทศบาลเกิดขึ้นได้เพราะมีการปกครองตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังได้แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ประชากร[แก้]

ประชากรในเขตเทศบาลนครนนทบุรีตามทะเบียนราษฎร ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 มีจำนวน 251,026 คน เป็นชาย 117,718 คน เป็นหญิง 133,308 คน[1]

การศึกษา[แก้]

เทศบาลนครนนทบุรี มีโรงเรียนในสังกัดทั้งหมด 6 โรงเรียน ได้แก่

  1. โรงเรียนนครนนท์วิทยา 1 (วัดท้ายเมือง)
  2. โรงเรียนนครนนท์วิทยา 2 (วัดทินกรนิมิต)
  3. โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 (วัดนครอินทร์)
  4. โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 (วัดบางแพรกเหนือ)
  5. โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 (ทานสัมฤทธิ์)
  6. โรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6

การสาธารณสุข[แก้]

มีศูนย์บริการสาธารณสุข 6 แห่ง ได้แก่

  1. ศูนย์บริการสาธารณสุขรัตนาธิเบศร์
  2. ศูนย์บริการสาธารณสุขสวนใหญ่
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุขท่าทราย
  4. ศูนย์บริการสาธารณสุขพระครูนนทวรานุวัตร
  5. ศูนย์บริการสาธารณสุขซอยทรายทอง
  6. ศูนย์บริการสาธารณสุขสนามบินน้ำ

การขนส่ง[แก้]

บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

การขนส่งในเขตเทศบาลนครนนทบุรีค่อนข้างที่จะสะดวกเนื่องจากเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร การเดินทางสามารถใช้บริการรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพูวิ่งผ่าน

ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทที่ผ่านเขตเทศบาล ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301 (ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน และถนนรัตนาธิเบศร์), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ถนนพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ และถนนติวานนท์), ทางหลวงชนบท นบ.4018 (ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี), ทางหลวงชนบท นบ.1020 (ถนนนครอินทร์), และทางหลวงชนบท นบ.3019 (ถนนสามัคคี และถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด) นอกจากนี้ ยังมีทางพิเศษศรีรัช ผ่านพื้นที่ทางตะวันออกของเทศบาล

การเดินทางทางน้ำ มีเรือด่วนเจ้าพระยาวิ่งให้บริการ โดยสามารถขึ้นได้ที่ท่าน้ำนนทบุรี หลังศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ท่าเรือสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ท่ากระทรวงพาณิชย์ ท่าน้ำนนทบุรี ท่านครอินทร์ ท่าวัดเขียน ท่าวัดตึก ท่าวัดเขมาภิรตาราม และท่าวัดปากน้ำ

ท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับเทศบาลนครนนทบุรีมากที่สุด คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี
  • ศาลหลักเมืองนนทบุรี
  • วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
  • สนามบินน้ำ
  • กระทรวงสาธารณสุข
  • กระทรวงพาณิชย์
  • ท่าน้ำนนทบุรี
  • กรมราชทัณฑ์
  • สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • ตลาดนนทบุรี
  • บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

    สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรีหลังใหม่

  • บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

    ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า

  • บุคลากร เทศบาล นคร นนทบุรี

    หอนาฬิกาเมืองนนทบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครนนทบุรี". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์เทศบาลนครนนทบุรี