เทศบาลไทรม้า ทําบัตรประชาชน

12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การขอเลขที่บ้าน"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ กรณีอื่นๆ ขอเปลี่ยนบัตรเนื่องจากเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก "เด็กชาย" เป็น "นาย" และจาก "เด็กหญิง" เป็น "น.ส."
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การขอเลขที่บ้าน กรณีทะเบียนบ้านชั่วคราว"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การแจ้งรื้อถอนบ้าน หรือบ้านถูกทำลาย"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การแก้ไขรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การแก้ไขรายการบ้าน กรณีมีรายการบ้านผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือบ้านเลขที่ซ้ำกัน"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การขอปรับปรุงรายการ กรณีบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติ แต่ถูกจำหน่ายรายการออกจากทะเบียนประวัติและฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร"
12 มี.ค. 2562 คู่มือสำหรับประชาชน "การรับแจ้งการเกิด กรณีเกิดในบ้าน และเกิดนอกบ้าน"

เทศบาลไทรม้า ทําบัตรประชาชน

กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน งานสอบสวนและส่งเสริมการทะเบียนและบัตร และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน จัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

ก.งานธุรการ
ข.ฝ่ายทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน
– งานทะเบียนราษฎร
– งานบัตรประจำตัวประชาชน
– งานสอบสวนและส่งเสริมการทะเบียนและบัตร

งานบริการประชาชนของกองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน

1.การแจ้งเกิด

การแจ้งการเกิดควรแจ้งชื่อเด็กที่เกิดตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อบุคคล ให้พร้อมกับการแจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด

หลักฐานการแจ้งเกิด
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของ บิดา มารดา (ถ้ามี) 3. หนังสือรับรองการเกิดจากทางโรงพยาบาล (ถ้ามี)

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้านและลงรายการใน สูติบัตร แล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน (กรณีมีถิ่นที่อยู่ในเขตสำนักทะเบียน) หรือแจ้งย้ายที่อยู่ตามบิดา หรือมารดา เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงมอบ สูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับผู้แจ้ง

2.การแจ้งการตาย

ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตายภายใน 24 ชั่วโมง

หลักฐานการแจ้งตาย
1. สำเนาทะเบียนบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ และลงรายการในมรณะบัตร
2. มอบมรณะบัตรตอนที่ 1 และหลักฐานคืนผู้แจ้งนำไปจำหน่าย ชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน (กรณีผู้ตายมีชื่อที่สำนักทะเบียนอื่น)
3. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้านโดยประทับคำว่า “ตาย” ไว้ในรายการผู้ตาย

3. การแจ้งย้ายที่อยู่ (ย้ายเข้า)

เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน

หลักฐานการแจ้งย้ายที่อยู่ (ย้ายเข้า)
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
5. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอน 1 และ 2

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้าย
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และสำเนาทะเบียนบ้าน ถูกต้องตรงกันจึงลงรายการในทะเบียนบ้าน เสร็จแล้วคืนหลักฐานให้กับผู้แจ้ง

4. การแจ้งย้ายที่อยู่ (ย้ายออก)

เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้ย้ายที่อยู่ แจ้งการย้ายอกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายออก

หลักฐานการแจ้งย้ายที่อยู่ (ย้ายออก)
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบอำนาจ)
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของ ตนเอง ทั้งนี้ผู้ย้ายที่อยู่สามารถร้องขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อแจ้งย้ายที่อยู่ของ ตนเองได้

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออก และลงรายการในใบแจ้งย้ายที่อยู่, จำหน่ายรายการบุคคลที่ย้ายออกในสำเนา ทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงิน ไว้ในรายการฯ และระบุว่า ย้ายไปที่ใด
3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้ง การย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป

5. การขอมีบัตร

การขอมีบัตรครั้งแรก (อายุ 7 ปีบริบูรณ์) ต้องมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์

หลักฐานการขอมีบัตร
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สูติบัตร , หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิประกาศนียบัตร เป็นต้น
3. กรณีไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง ให้นำเจ้าบ้าน หรือ บุคคลที่น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

การขอมีบัตรกรณีได้รับการยกเว้น ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นจะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย (20 บาท)

หลักฐานการขอมีบัตรกรณีได้รับการยกเว้น ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. หลักฐานที่แสดงว่าได้รับการยกเว้น

6. การขอมีบัตรใหม่

บัตรหมดอายุ เมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ

หลักฐานการขอมีบัตรใหม่
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรเดิมที่หมดอายุ บัตรหายหรือถูกทำลาย เมื่อบัตรหายหรือถูกทำลาย ผู้ถือบัตรต้อง มีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย

หลักฐานบัตรหายหรือถูกทำลาย
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. เอกสารการแจ้งความ (แจ้งได้ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ/ท้องถิ่น)
3. เอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หนังสือเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น
4. กรณีไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่า เชื่อถือมาให้การรับรอง และเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด (20 บาท)

7. การเปลี่ยนบัตร

ผู้ถือบัตรต้องเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไข ชื่อตัว ชื่อ สกุล ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานการเปลี่ยนบัตร
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. บัตรเดิม
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล แล้วแต่กรณี ผู้ถือบัตรผู้ใดที่ย้ายที่อยู่ จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้โดยเสียค่าธรรมเนียม ตามที่กฎหมายกำหนด (20 บาท)

ขั้นตอนการติดต่อในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนทุกกรณี

1. ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานถูกต้อง เมื่อเห็นว่าเป็นบุคคล เดียวกับผู้ยื่นคำขอก็จะดำเนินการออกบัตรฯให้ ระยะเวลาการให้บริการแต่ละกรณี 5 นาที