โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สมัครงาน2564

ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราชจัดพิธีเปิดสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ โรงพยาบาลเพื่อประชาชนระดับตติยภูมิ และเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2564) ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดพิธีเปิดสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในการเปิดงาน พร้อมด้วย นายแพทย์ลิขิต มาตระกูล รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา บุคลากร เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้มีอุปการคุณ และสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกิดขึ้นจากความพยายามของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ที่ต้องการจะมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ซึ่ง ณ วันนี้ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ผลักดันจนประสบความสำเร็จร่วมกัน อันจะเป็นจุดเปลี่ยนทางการพัฒนาที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน และเชื่อมั่นว่าจะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของจังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคใต้และประเทศไทย จนก้าวสู่ระดับสากลตามทิศทางความเป็น World Class University ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งเป้าหมายไว้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้มีพิธีเปิดสำนักงานใหญ่ในวันนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับสุขภาวะของประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดใกล้เคียง และภาคใต้ตอนบน ซึ่งจะเป็นแหล่งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการอย่างมากมาย โดยโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำนวน 750 เตียง ซึ่งอยู่ในระหว่างการตกแต่งภายใน ตามสัญญาจะสามารถเปิดให้บริการได้เต็มรูปแบบประมาณกลางปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและการวางรากฐานที่จะนำไปสู่การเปิดให้บริการของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้อย่างเต็มรูปแบบจึงได้เปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ณ อาคารวิจัยและวิทยาการสุขภาพ เพื่อเป็นวางระบบการให้บริการ การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร สถานที่ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่สำคัญ อาคารโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความพร้อมในการเปิดให้บริการและการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาล โดยจะพัฒนาต่อยอดขยายบริการต่อไปเรื่อย ๆ มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเรียนการสอนสำหรับสำนักวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ “เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล”

#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #NNT #ILOVETHAILAND

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สมันญา ทมธิแสง

ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล

แหล่งที่มา : สวท.นครศรีธรรมราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Walailak University Hospital
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สมัครงาน2564
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง222 หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้อำนวยการผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว
จำนวนเตียง30 เตียง [1]
เว็บไซต์https://hospital.wu.ac.th

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University Hospital) เป็นโรงพยาบาลในสังกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ 405 ไร่

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะนำร่อง) ณ อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านบริการวิชาการ สำหรับสำนักวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะแรก) เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการ โดยได้เริ่มเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[3]

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยใน (IPD) จำนวน 16 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย จำนวน 8 เตียง และผู้ป่วยหญิง จำนวน 8 เตียง[4]

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ย้ายการบริการมายังอาคารสำนักงานใหญ่ โดยเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[5]

เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยได้มีการขยายการให้บริการในแผนกผู้ป่วยใน (IPD) พิเศษ จำนวน 24 เตียง แผนกผู้ป่วยใน (IPD) สามัญ จำนวน 61 เตียง แผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) จำนวน 12 เตียง และแผนกทารกแรกคลอด (Nursery) จำนวน 10 เตียง

ผู้อำนวยการ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นพ.จรัส จันทร์ตระกูล 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (รักษาการ)
2. นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
3. รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
4. นพ.ลิขิต มาตระกูล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 (รักษาการ)
5. ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

อาคาร[แก้]

  • กลุ่มอาคารโรงพยาบาล
    • อาคาร A อาคารอำนวยการ ความสูง 3 ชั้น
    • อาคาร B, C อาคารโรงพยาบาล ความสูง 7 ชั้น
    • อาคาร D ศูนย์บริการทางการแพทย์ ความสูง 7 ชั้น
    • อาคาร E งานตอกเสาเข็ม (พื้นที่ส่วนขยายในอนาคต)
    • อาคาร F อาคารพลังงาน
  • กลุ่มอาคารบ้านพักบุคลากร
    • อาคารชุดโสด 4 ชั้น (แบบ R1) จำนวน 1 หลัง
    • อาคารชุดโสด 3 ชั้น (แบบ R2) จำนวน 1 หลัง
    • อาคารครอบครัว 3 ชั้น (แบบ R3) จำนวน 3 หลัง
    • บ้านพักบุคคลากร 2 ชั้น (แบบ R4) จำนวน 25 หลัง

ผู้ป่วยนอก[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยนอกจำนวน 13 คลินิก ดังนี้

  • คลินิกทั่วไป
    • คลินิกโรคทั่วไป
    • คลินิกตรวจสุขภาพ
  • คลินิกเฉพาะโรค
    • คลินิกโรคหอบหืดและภูมิแพ้
  • คลินิกเฉพาะทาง
    • คลินิกอายุรกรรม
    • คลินิกเด็ก
    • คลินิกศัลยกรรม
    • คลินิกตา
    • คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว
    • คลินิกกระดูกและข้อ
    • คลินิกรักษ์ใจ (จิตเวช)
    • คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • คลินิกสูตินรีเวช
  • คลินิกพิเศษ
    • คลินิกสูตินรีเวช
    • คลินิกตา
    • คลินิกโรคผิวหนัง เลเซอร์ผิวพรรณ และความงาม
    • คลินิกอายุรกรรม

ผู้ป่วยใน[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยใน ดังนี้

  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เปิดให้บริการ จำนวน 16 เตียง
  • วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 เปิดให้บริการ จำนวน 123 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2565 เปิดบริการ 419 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2567 เปิดบริการ 550 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2572 เปิดบริการ 750 เตียง

กองทุนพัฒนา[แก้]

กองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริม สนับสนุน อีกทั้งเป็นช่องทางในการระดมสมทบทุน เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างกว้างขวาง

โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท[แก้]

  • สถาบันร่วมผลิตแพทย์ (โรงพยาบาลหลัก)
    • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
    • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง
  • สถาบันร่วมผลิตแพทย์ (โรงพยาบาลสมทบ)
    • โรงพยาบาลทุ่งสง
    • โรงพยาบาลท่าศาลา
    • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
    • สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อ้างอิง[แก้]

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/info.php?maincode=40970
  2. "ความเป็นมา". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  3. "เปิดให้บริการแล้ว!! รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  4. "รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ระยะแรก เปิดให้บริการผู้ป่วยในขนาด 16 เตียง". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2019-04-01.
  5. "พิธีเปิดสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2021-11-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์