การวิเคราะห์เรื่องที่ฟังและดู

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การฟังและดูสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ผู้รับสารต้องจับใจความ วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล สามารถบอกคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟัง การดู  ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ท ๓.๑ ป.๕/๓ วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล

ท ๓.๑ ป.๕/๕ มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

จุดประสงค์                                                                                                                  

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)                                                                                                        

๑. บอกหลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ ได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)                                                                                                           

๒. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)                                                                                                   

๓. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด

การวัดผลและประเมินผล

๑ ประเมินการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเรื่องที่ฟังและดูจากสื่อต่าง ๆ

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดวิเคราะห์ วิจารณ์ จากเรื่องที่ฟังและดู เป็นการแยกแยะส่วนที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ให้มีความสัมพันธ์กันเป็นประเด็น ๆ เพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง หลังจากนั้นประเมินค่าโดยการแสดงความคิดเห็น แยกแยะข้อดี ข้อเสีย จากเรื่องที่ฟังและดู หากผู้เรียนรู้หลักการและแนวทางในการปฏิบัติจะทำให้ผู้เรียนสามารถพูดวิเคราะห์ วิจารณ์ จากเรื่องต่าง ๆ ที่ได้ฟังและดูได้ถูกต้องและเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 3.1 ม.2/3    วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่ฟังและดูอย่างมีเหตุผล เพื่อนำข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต 

จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายหลักการพูดวิเคราะห์ วิจารณ์ จากเรื่องที่ฟังและดูได้
- นักเรียนสามารถพูดวิเคราะห์ วิจารณ์ จากเรื่องที่ฟังและดูได้
- นักเรียนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการพูดในชีวิตประจำวัน 
 

การวัดผลและประเมินผล

- แบบประเมินการพูดวิเคราะห์ วิจารณ์ จากเรื่องที่ฟังและดู
 - เกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้เรียน
- แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
 

การวิเคราะห์ หมายถึง การที่ผู้ฟังและผู้ดูรับสารแล้วพิจารณาองค์ประกอบออกเป็นส่วนๆ นำมาแยกประเภท ลักษณะ สาระสำคัญของสาร กลวิธีการเสนอและเจตนาของผู้ส่งสาร

การวินิจ หมายถึง การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ ฟังและดูอย่างไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผลแยกแยะข้อดีข้อเสีย คุณค่าของสาร ตีความหมายและพิจารณาสำนวน ภาษา ตลอดจนน้ำเสียงและการแสดงของผู้ส่งสาร พยายามทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงเพื่อให้ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ

การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่า น่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย