ปริมาณแอลกอฮอล์ ตามกฎหมาย 2565

ปริมาณแอลกอฮอล์ ตามกฎหมาย 2565

หลังจากที่ได้ผ่านพ้นช่วงปีใหม่และได้มีการสังสรรค์ผ่อนคลายกันมาสักพัก ซึ่งทางภาครัฐก็ได้มีการอนุญาตให้ร้านอาหาร เปิดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้กันทั้งประเทศแล้ว ส่งผลให้หลายคนเริ่มออกมาปาร์ตี้กันบ่อยมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าหลังจากที่ห่างหายการสังสรรค์กันไปนาน จนกลับมาปาร์ตี้จัดเต็มกันได้อีกครั้งนั้น โทษ "เมาแล้วขับ" ยังคงอยู่นะจ๊ะ วันนี้มาดูกันดีกว่าว่าข้อกฎหมายโทษของการ "เมาแล้วขับ" นั้นจะหนักข้อขึ้นกว่าปีก่อนหรือไม่

กฎหมายเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 200,000 บาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6  เดือน - 2 ปี

  • สำหรับผู้ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท
    หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”
  • ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน

บทลงโทษ "เมาแล้วขับ" ตามกฎหมาย
เมาแล้วขับ หรือ ปฏิเสธการเป่าวัดปริมาณแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ” จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส” จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย” จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

เมาแล้วขับ ประกันรถยนต์จ่ายไหม??
แบ่งออกเป็น 2 แนวทางเนื่องจาก ประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+) แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน

  • กรณีที่ 1 พ.ร.บ.รถยนต์ คือคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่คุ้มครอง
  • กรณีที่ 2 ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ประกันรถยนต์จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย แต่ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีเบี้ยสูงสุดก็ตาม

ดังนั้นหากยังอยากดื่มไปอีกนาน ไม่ควรขับรถหลังจากดื่มแอลกอฮอล์จะดีที่สุด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรวางแผนหาที่พักบริเวณใกล้เคียง หรือนั่งรถโดยสารไปจะปลอดภัยกว่า อย่าคำนึงถึงแค่ความสนุกสนานของคน ๆ นึงเพราะมันอาจจะหมายถึงการสูญเสียของใครอีกหลายคน เพราะฉะนั้นมีสติไม่ประมาทกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งอัตราค่าปรับจราจรใหม่ ปี 2564
  • ไม่ได้ตั้งใจ “ขับรถชนของหลวง” โดนปรับเท่าไร? ประกันรถจ่ายมั้ย??
  • ข้อห้าม!!! พฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน ไม่ควรทำขณะขับรถ

ปริมาณแอลกอฮอล์ ตามกฎหมาย 2565

จากกรณี ของนายนวชาติ ราษฎร์นิยม ที่ขับรถยนต์หลุดโค้งเข้าพุ่งชนประตูเหล็กของศูนย์อาหารจนสภาพด้านหน้ารถพังยับเยิน ซึ่งในที่เกิดเหตุมีผู้เคราะห์ร้ายถูกรถคันดังกล่าวชนจนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวม 2 ราย เป็นสามีภรรยาที่ยืนขายหมูปิ้ง เจ้าหน้าที่จึงรีบประสานตำรวจจราจรนำเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์มาให้ผู้ต้องหาเป่า ผลปรากฏว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายสูงถึง 170 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูบทลงโทษ "เมาแล้วขับ" ตามกฎหมาย กัน

เมาแล้วขับ หรือ การปฏิเสธเป่า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

  • ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 .. 2550 ออกความในพ...จราจรทางบก.. 2522 ถือเป็นผู้เมาสุรา
  • ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีปรับ 5,000-20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

โทษ เมาแล้วขับ ตามกฎหมาย

  • เมาแล้วขับ หากถูกตรวจพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกำหนดผู้ที่ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับ จนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจผู้ที่ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปีปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาทและถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้ที่ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปีปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาทและให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
  • เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย ผู้ที่ขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปีและปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาทพร้อมถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที

เพราะการขับรถบนท้องถนน เป็นสิ่งที่ทุกคนควรรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น เราต้องไม่ประมาท ระมัดระวัง ตั้งสติ เมาแล้วไม่ขับรถนะคะ