ประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคมชนิดใดมากที่สุด

       ดังนั้นในปัจจุบันมนุษย์จึงพยายามค้นหาและค้นคว้าเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชนิดใหม่  หรือแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ทดแทนหรือเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง  โดยเชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานทดแทนที่มีการนำมาใช้งานในปัจจุบันนี้มีดังนี้

       1.  แก๊สชีวภาพ  เป็นแก๊สที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายอินทรียสารในสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำของแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแก๊สมีเทนซึ่งได้จากการหมักมูลสัตว์

     แก๊สชีวภาพมีคุณสมบัติเผาไหม้ได้ดี  ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศน้อย  โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งนำมาใช้เนื่องจากเป็นการประหยัดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและยังเป็นการช่วยกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในโรงงานอีกด้วย  แต่แก๊สชีวภาพนี้ยังไม่เป็นที่นิยมใช้กันตามครัวเรือนเนื่องจากยังมีปัญหาในด้านการติดตั้งถังเก็บแก๊ส  และในด้านวัตถุดิบที่จะนำมาหมัก

        2.  แก๊สโซฮอล์  คือ  ส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซินกับเอทานอล  ซึ่งเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ  เช่น  อ้อย  มันสำปะหลัง  ข้างฟ่าง  ข้าว  ข้าวโพด  เป็นต้น  ในบางครั้งเราอาจได้ยินชื่อเรียกแก๊สโซฮอล์ E10  หรือ  แก๊สโซฮอล์ E20  ซึ่งตัวเลข 10 หรือ 20 ที่อยู่ข้างหลัง  หมายถึง  ปริมาณเป็นร้อยละของเอทานอลที่ผสม  เช่น  E10  หมายถึง  แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ร้อยละ 10 ส่วน E20 จะหมายถึง  แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ร้อยละ 20  เป็นต้น

          ในปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้มีการส่งเสริมให้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากแก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน  สามารถช่วยชาติในการลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้  และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรในประเทศด้วย  นอกจากนี้แก๊สโซฮอล์ยังมีการเผาไหม้ดีกว่าน้ำมันเบนซิน  เนื่องจากมีส่วนผสมของเอทานอลอยู่  จึงช่วยลดมลพิษในอากาศได้

          3.  พลังงานน้ำ  เป็นพลังงานทดแทนที่ได้จากการนำพลังงานที่เกิดจากการไหลของกระแสน้ำมาปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า  ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้จะต้องอาศัยกระแสน้ำไหลผ่านเป็นปริมาณมาก  จึงต้องมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขวางลำน้ำต่าง ๆ ที่มีน้ำไหลตลอดปี  ข้อดีของการใช้พลังงานน้ำ  คือ  สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง  เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้แล้วไม่หมดไป  แต่มีข้อเสีย  คือ  การสร้างเขื่อนจะต้องมีการทำลายพื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยของประชาชนเป็นจำนวนมาก  ดังนั้นในการสร้างเขื่อนจึงต้องมีการพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

          4.  พลังงานลม  เป็นการใช้พลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ  ในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมกันมาเป็นเวลานานแล้ว  โดยใช้ในด้านการเกษตรและคมนาคม  แต่ยังคงมีการพัฒนาการใช้พลังงานในด้านนี้อยู่  เนื่องจากพพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีกระแสลมที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่เหมาะต่อการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า  ทั้งนี้ในประเทศไทยมีสถานีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมอยู่ที่เดียว  คือ  ที่สถานีพลังงานทดทนแหลมพรหมเทพ  จังหวัดภูเก็ต

          5.  พลังงานแสงอาทิตย์  เป็นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า  โดยใช้เซลล์สุริยะ  (Solar cell)  เป็นต้วเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้า  ในประเทศไทยมีการให้ความสนใจกับพลังงานจากแสงอาทิตย์กันมาก  เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งได้รับแสงอาทิตย์ยาวนานตลอดทั้งปี  โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ออกมาอย่างมากมาย  เช่น  เครื่องคิดเลข  เครื่องกรองน้ำ  เครื่องทำความร้อน  เครื่องอบผลผลิตทางการเกษตร  เป็นต้น

ประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคมชนิดใดมากที่สุด *

จากการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะพบว่าในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของทุกคนเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสิ้น แต่ประเทศไทยแหล่งปิโตรเลียมไม่เพียงพอต่อความต้องการการใช้ในประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า ร้อยละ 80 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ

เชื้อเพลิงชนิดใดควรนำมาใช้ในการขนส่ง

กลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์

ปัจจุบันประเทศไทยใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดมากที่สุด

ประเทศไทย ใช้ก๊ำซธรรมชำติเป็นเชื้อเพลิงในกำรผลิตพลังงำนไฟฟ้ำร้อยละ 44.1 น้ำมัน ร้อยละ 31.8 และลิกไนต์ร้อยละ 20.6 ในปี2540.

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมากที่สุดในสาขาใด

สาขาเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานมากที่สุด คือ สาขาขนส่ง โดยกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์น้ำมันถูกใช้ไปในสาขาการขนส่ง และสัดส่วนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด กว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ในการขนส่งอยู่ในรูปของน้ำมันดีเซล ส่วนน้ำมันเบนซินมีความสำคัญรองลงมา และมีการใช้มากเป็น 25% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด