Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

          สคบ. ไขข้อสงสัย Service charge ไม่จ่ายได้ไหม เปิดหลักเกณฑ์อัตราเรียกเก็บต้องไม่เกินกี่ % ถึงไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ชี้โทษหนักติดคุกยาว ปรับเป็นแสน

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม
ไขข้อสงสัย เซอร์วิสชาร์จ จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ ไม่จ่ายได้ไหม ? ​สคบ. มีคำตอบ อัปเดตล่าสุด 3 ตุลาคม 2565 เวลา 17:49:06 10,362 อ่าน

Service Charge คำง่ายๆแต่ความหมายสุดลึกล้ำ คำง่ายๆ ที่ ร้านอาหารชอบใช้ประจำ เมื่อเราเข้าร้านอาหาร บางร้านอาหารจะติดป้ายหน้าร้าน “ร้านนี้คิดบริการ Service Charge 10%” หรือ ถึงตอนที่เราจ่ายเงินราคาที่เราต้องจ่ายกลับมีการบวก Service Charge เข้ามาด้วย แถมยังมีคิดภาษีอีก 7% อีก ทำให้เราต้องใช้เงินจ่ายค่าอาหารมากขึ้นไปกันใหญ่

มีข้อถกเถียงกันมากมายว่า “สรุปเราต้องจ่ายมันหรือไม่” หรือ “ถ้าร้านอาหารบริการเราไม่ดี เราต้องจ่ายให้รึปล่าว” วันนี้ขอมาเปิดความจริงเกี่ยวกับ Service Charge ให้ทราบกันชัดๆ ไปเลย “หลายสิ่งที่เราสงสัยจะได้รู้กันวันนี้” กับ ทนายเจมส์ – นายนิติธร แก้วโต

มีกฏหมายเกี่ยวกับการเก็บ Service Charge รึไม่ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ ตอนนี้ยังไม่มีกฏหมายเฉพาะเกี่ยวกับการเก็บ Service Charge ในประเทศไทย แต่จะมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าและบริการ ในเรื่องการแสดงราคาสินค้าและบริการ ปี 2555 รวมถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่ว่าด้วยเรื่องการแสดงราคาสินค้าและบริการ มาตราที่ 28 และ การจงใจทำให้ราคาต่ำกว่า หรือ สูงเกินควร มาตราที่ 29 ผู้ประกอบการร้านค้าจะมีความผิด

ถ้าหน้าร้านไม่ได้ติดป้ายเก็บ Service Charge ลูกค้าปฏิเสธการจ่ายได้รึไม่ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ ลูกค้าสามารถปฏิเสธการจ่ายได้ เพราะ ถือเป็นการประกาศเพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้เกิดการตกลงร่วมกันตั้งแต่แรก การเก็บเซอร์วิสชาร์จโดยที่ไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าถือเป็นการยัดเยียด ไม่ให้ความเป็นธรรมกับลูกค้า เพราะ ลูกค้าจะเข้าใจเพียงว่า ซื้อสินค้าและบริการตามราคาที่ระบุซึ่งรวม VAT 7%

ซึ่งมีความผิดในการ ไม่แสดงราคาสินค้าหรือค่าให้บริการ โดยการเขียน พิมพ์ หรือ กระทำให้เห็น ข้อความต้องชัดเจนอ่านง่าย มีข้อความควบคู่กับราคาจำหน่ายและค่าบริการ “ต้องเป็นภาษาไทย” แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้

ฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มาตรา 28 ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ซื้อเพื่อ จำหน่ายหรือผู้นำเข้าเพื่อจำหน่ายสินค้าหรือบริการแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ฝ่าฝืนระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ร้านอาหารบริการไม่ดี ลูกค้าสามารถไม่จ่ายได้รึไม่ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ ลูกค้า”สามารถทำได้” ถ้าเห็นว่าการบริการของผู้ให้บริการไม่สมควรที่จะได้รับเงินในส่วนนี้ ซึ่งเกิดจากการบริการที่แย่ ไม่มีพนักงานมารับออเดอร์ อาหารที่สั่งไม่มา อาหารเสิร์ฟช้า มารยาทของผู้ให้บริการ อาหารปนเปื้อนเล็กน้อย (เช่น เศษผม เป็นต้น) หรือ เหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่เหมาะสม แต่ลูกค้าจะต้องจ่ายราคาของสินค้าและบริการ (รวม VAT 7%)

การบริการแบบไหน ที่ลูกค้าสามารถปฏิเสธการจ่าย Service Charge ได้ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการไม่มารับออเดอร์ อาหารไม่มาตามที่สั่ง อาหารมาช้า มารยาทไม่ดีของผู้ให้บริการ พนักงานไม่มี Service Mind  อาหารมีการปนเปื้อนเล็กน้อย (เช่น เศษผม เป็นต้น) หรือ มีเหตุการณ์อื่นที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควรที่จะต้องจ่ายค่าบริการ ที่ควรเป็นการบริการลูกค้าทีมากกว่าการเสิร์ฟทั่วไป

การเก็บ Service Charge เก็บเท่ากันทุกร้านหรือไม่ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ เก็บไม่เท่ากันทุกร้าน บางร้านไม่เก็บ Service Charge เลยก็มี ถึงจะไม่มีกฏหมายที่เฉพาะเกี่ยวกับการกำหนดการจ่ายในส่วนนี้ แต่ สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) มีความเห็นให้ การเก็บ Service Charge ควรอยู่ในอัตราไม่เกิน 10% เพราะ เป็นอัตราที่ผู้บริโภครับได้

แต่ถ้าผู้ให้บริการเก็บมากกว่าที่ระบุไว้ล่วงหน้า ผู้ให้บริการจะมีความผิด ใน “การแสดงราคา จำหน่ายปลีกสินค้า หรือ ค่าบริการที่ให้บริการ ต้องแสดงราคาให้ตรงตามราคาที่จำหน่ายหรือค่าบริการที่ให้บริการ ฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 คือระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

และมีความผิดตาม มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการใด ๆ โดยจงใจที่จะทำให้ราคา ต่ำเกินสมควร หรือสูงเกินสมควร หรือทำให้เกิดความปั่นป่วนซึ่งราคาของสินค้าหรือบริการใด ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าลูกค้ายืนยันไม่จ่าย เพราะรู้สึกไม่ได้ความเป็นธรรม จะมีความผิดหรือไม่ ?

Service Charge จําเป็นต้องจ่ายไหม

ตอบ ลูกค้าไม่มีความผิด ถ้าเห็นว่าผู้ให้บริการ

  • ไม่ได้ระบุราคา Service Charge ตั้งแต่แรก ไม่มีการเขียน พิมพ์ หรือ กระทำเพื่อเป็นการบอกว่า “เก็บค่าให้บริการเพิ่มเติม”
  • การให้บริการของผู้ให้บริการ ไม่เหมาะสมที่จะได้รับค่า Service Charge (แต่ลูกค้าต้องจ่ายค่าสินค้าและบริการ รวม VAT 7% เป็นปกติ)

จะไม่มีการตั้งคำถาม จนถึงการฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ถ้าผู้ให้บริการ ร้านค้าต่างๆ ให้บริการที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า พนักงานให้บริการมีมารยาท มีความจริงใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตือรือร้น มีใจรักในงานบริการ ให้บริการลูกค้าอย่างดีให้แตกต่างจากการเสิร์ฟธรรมดาทั่วไป ลูกค้าเต็มใจที่จ่ายเงินในส่วนนี้อย่างแน่นอน

ค่า Service Charge คืออะไร

Service charge (เซอร์วิสชาร์จ) คืออะไร ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน อัตราการเรียกเก็บ เซอร์วิสชาร์จ กฎหมายกำกับว่าต้องไม่เกิน 10%

Service Charge ผิดกฎหมายไหม

โดย 'กรมการค้าภายใน' ระบุไว้ว่า กรมการค้าภายในดูแลอัตราค่าบริการเซอร์วิส ชาร์จ ให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม ซึ่งปกติจะเรียกเก็บที่อัตรา 10% ของมูลค่าอาหารที่ใช้บริการในแต่ละครั้ง แต่หากเรียกเก็บสูงเกินกว่านี้ อาจเข้าข่ายคิดค่าบริการสูงในอัตราเกินสมควร ซึ่งจะมีโทษปรับ 140,000 บาท จำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

Service Charge ของโรงแรมคืออะไร

Service Charge (เซอร์วิสชาร์จ) คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจ เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการร้านอาหารที่ให้บริการเป็นพิเศษแก่ลูกค้า ซึ่งจะแตกต่างจากการให้ทิป (สินน้ำใจ) ที่ให้โดยสมัครใจ

ค่า Service Charge มี VAT ไหม

ผู้ประกอบกิจการขายอาหารได้เรียกเก็บค่าบริการ (service charge) ในอัตราร้อยละของค่าอาหารจากผู้บริโภคที่มาใช้บริการ โดยได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้กับผู้บริโภค ค่าบริการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าอาหารตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(10) ...