โทษ ส่งอีเมลลูกโซ่ โดยไม่บอก ที่ มา หรือส่งอีเมล โฆษณา ขาย ของ ที่ ผู้รับ ไม่ ต้องการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทษ ส่งอีเมลลูกโซ่ โดยไม่บอก ที่ มา หรือส่งอีเมล โฆษณา ขาย ของ ที่ ผู้รับ ไม่ ต้องการ

จดหมายลูกโซ่ฉบับหนึ่งที่พบในประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2549 ซึ่งมีเหรียญ 5 เซนต์ออสเตรเลียแนบมาด้วยเพื่อดึงดูดความสนใจ

จดหมายลูกโซ่ เดิมนั้นอยู่ในรูปจดหมายที่เขียนด้วยกระดาษ ซึ่งภายในมีข้อความระบุให้ส่งจดหมายไปยังผู้รับรายต่อไป หรือในบางกรณีก็ให้ทำสำเนาเพื่อส่งต่อไปยังผู้รับตามจำนวนที่ระบุไว้ชัดเจน ซึ่งหากคนจำนวนมากหลงเชื่อปฏิบัติไปตามนั้นจะเป็นเหตุให้จดหมายถูกแพร่กระจายออกไปไม่รู้จบ ข้อความอาจขึ้นต้นด้วยคำเชิญชวนให้ส่งต่อหรือการอ้างเหตุผลที่ควรส่งต่อ และอาจลงท้ายด้วยคำอวยพรต่อผู้ที่ปฏิบัติตามที่จดหมายระบุไว้ และ/หรือ คำสาปแช่งหรือข่มขู่ผู้ที่เพิกเฉยไม่ส่งต่อ เพื่อเร้าให้ผู้อ่านกระทำตาม

จดหมายลูกโซ่บางอย่างมีลักษณะหลอกลวงต้มตุ๋นให้ส่งเงิน เช่น คุณเป็นผู้โชคดี หรือมีผู้ส่งเงินมาให้คุณ แต่คุณต้องชำระค่าธรรมเนียม เป็นต้น ซึ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา[1]

ปัจจุบันจดหมายลูกโซ่ได้ถูกพัฒนาไปสู่การส่งข้อความผ่านทาง อีเมล, ระบบส่งข้อความทันที (แชต) หรือทาง เว็บบอร์ด เป็นต้น ลักษณะข้อความที่มักถูกเขียนเป็นจดหมายลูกโซ่ เช่น การแจ้งเตือนปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์, แจ้งเตือนว่าผู้ให้บริการฟรีบนอินเทอร์เน็ตจะเริ่มเก็บค่าบริการ, คำแนะนำเพื่อสุขภาพ, คำเตือนเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่ปลอดภัย, เรื่องสยองขวัญ, การอ้างว่าการส่งต่อนั้นจะก่อให้เกิดการบริจาคทางการกุศล เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เขียนขึ้นโดยมิได้อิงอยู่บนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด หรืออาจมีลักษณะเป็นทฤษฎีสมคบคิดที่มีความจริงอยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น ข้อความลูกโซ่ในอีเมลหรือในแชตอาจถูกส่งโดยญาติหรือเพื่อน หรือบุคคลที่คุ้นเคย (ที่เชื่อข้อความดังกล่าว แล้วส่งต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ รวมทั้งตัวผู้รับ) ซึ่งอาจทำให้ผู้รับเชื่อหรือเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ง่ายกว่าข้อความจากผู้ที่ผู้รับไม่คุ้นเคยหรือไม่ปรากฏผู้ส่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. The U.S. Postal Inspection Service cites Ok 18 USC 1302 when it asserts the illegality of chain letters:
    Chain letters are เก็บถาวร 2012-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน illegal if they request money or other items of value and promise a substantial return to the participants, pursuant to Title 18, United States Code, Section 1302, the Postal Lottery Statute.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • สแปม อีเมลหรือข้อความบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่พึงประสงค์

กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เตือนผู้ที่มีพฤติกรรมกระทำผิดกฎหมายบนโลกออนไลน์เสี่ยงถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งจำเเละปรับ

พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เตรียมจัดระเบียบการกระทำผิดกฎหมายบนโลกออนไลน์ หลังจำนวนผู้กระทำผิดเพิ่มขึ้นและเร่งสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในรูปแบบการจัดกิจกรรม "โพสต์ต้องคิด คลิกเสี่ยงคุก" ภายใต้ "โครงการออนไลน์ใสสะอาด เรารักในหลวง" เนื่องจากการกระทำผิดด้วยการกดไลค์ คอมเม้นท์ แชร์ โพสต์ เพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้ติดคุกได้

สำหรับ 10 พฤติกรรมเสี่ยงติดคุก มีดังนี้
1. อัพโหลดรูปลามกอนาจาร จำคุก 5 ปี ปรับถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ปล่อยข่าวให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย จำคุก 5 ปี ปรับถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ตัดต่อภาพ ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย จำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ขโมยข้อมูลของคนอื่นแล้วเอาไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเอง เพื่อหากำไร เพื่อนำไปใช้กลั่นแกล้ง ถูกดำเนินคดีข้อหาลักทรัพย์ รวมทั้งตามกฎหมายลิขสิทธิ์และ พรบ.คอมพิวเตอร์
5. ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น กุเรื่องให้คนอื่นเสียหาย อับอาย ขายหน้า จำคุก 5 ปี ปรับถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. แอบเอา ID หรือ Password ผู้อื่นไปแอบดูข้อมูลของบุคคลอื่น มีสิทธิ์ถูกจำคุกเเละปรับ
7. แก้ไขเนื้อหาใน File ผู้อื่น จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. ส่งอีเมลลูกโซ่โดยไม่บอกที่มา ถูกปรับ 100,000 บาท
9. กดแชร์ข่าวในสังคมออนไลน์โดยไม่ตรวจสอบ รับโทษด้วยกันทั้งคนทำเเละคนส่งต่อ
10. โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง หรือทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง ถือเป็นความผิดร้ายแรงทั้งกฎหมายอาญาและ พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี

สรุปแล้ว พ.ร.บ. คอม คืออะไร เพราะถ้าหากใช้ไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ซึ่งในบทความนี้เรามาทบทวนสักหน่อยว่า พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วคืออะไรและมีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ควรทำเพราในปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ตเป็นจำนวนมากขึ้น

โทษ ส่งอีเมลลูกโซ่ โดยไม่บอก ที่ มา หรือส่งอีเมล โฆษณา ขาย ของ ที่ ผู้รับ ไม่ ต้องการ

มาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมการกระทำระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พรบ คอม ที่ออกมาเพื่อป้องกัน และควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้การใช้คอมพิวเตอร์ หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 กำหนดไว้

ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่าข้อห้ามที่สำคัญที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต “ไม่ควรทำ” มีอะไรบ้าง

1. แฮคเฟสบุ๊ค!! (มาตรา 5-8)

การปล่อยไวรัส หรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต (ละเมิด Privacy) มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
  • นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!

2. หยุด!! แก้ไข ดัดแปลงข้อมูล (มาตรา 9-10)

การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมทั้งเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ห้าม!! ฝากร้านตาม Facebook และ IG เด็ดขาด! (มาตรา 11)

สำหรับพ่อค้าแม่ขายบนโลกออนไลน์เน้นย้ำ!! เรื่องการส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้นถือเป็นการสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook และ IG ก็ตามมีโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. อย่า!! แอบเข้าระบบของหน่วยงานภาครัฐ (มาตรา 12)

การเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลด้านความมั่นคงรวมถึงการโพสเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ที่เข้าข่ายข้อมูลเท็จที่ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้

  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. โพสต์ข่าวปลอมก่อให้เกิดความเสียหาย (มาตรา 14)

แล้วโพสต์อะไรบ้างล่ะที่เรียกว่าผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ เริ่มจากการโพสต์ ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ ที่ต้องการจะหลอกเอาเงินจากลูกค้า โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งการก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก โดยถ้าเกิดว่าส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนถ้าส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรีบไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. คอมเม้นในข่าวปล่อม (มาตรา 15)

การเข้าไปคอมเม้นแสดงความคิดเห็นในโพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็จะกระทำ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด

หมายเหตุ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือในกรณีที่ศาลสั่งจะต้องเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปี

7. ตัดต่อรูปภาพ (มาตรา 16)

การตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

8. ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (มาตรา17)

หลายคนคงสงสัยว่าเวลาเราแชร์ข่าวปลอม โพสเรื่องหมิ่นประมาท แล้วเจ้าหน้าที่รัฐเค้าเอาหลักฐานที่ไหนมาจับเรา มาตรา 17 นี้เองที่ระบุว่าหากเราเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่ออกอินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ลองสำรวจดูนะครับว่าบริษัทท่านได้ติดตั้งระบบจัดเก็บหรือยัง?? หากยังไม่จัดเก็บผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์อย่างไร? ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พรบ.คอม 2560    

สรุปแล้ว พรบ. คอม คือ ?

ถึงเวลาแล้วที่เรามาสำรวจดูว่า เรานั้นได้เผลอทำความผิด ตาม พรบ.คอม หรือเปล่า? เพราะข้อกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากสำหรับชาวเน็ต ดังนั้น พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วก็คือกฏหมายที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองกลุ่มคนที่ใช้งานบนโลกออนไลน์ ถ้าหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ดังข่าวที่ออกมา ในบางเหตุการณ์ก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ในโลกอินเตอร์เน็ตได้