ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

ภาพไฮไลต์

จากกรณีสาว วัย 24 ปี ถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง ภายหลังถูกมิจฉาชีพล้วงกระเป๋า นำบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีธนาคาร 9 บัญชี หลอกลวงประชาชนให้โอนเงินร่วมทำธุรกิจ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้เรื่อง จนตกเป็นผู้ต้องหาในคดีฉ้อโกง จากสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ก่อ และก่อนหน้าได้แจ้งหายไปแล้ว แต่มิจฉาชีพยังสามารถนำไปเปิดบัญชีได้อีก

แม้ภาครัฐได้นำเทคโนโลยีชิปการ์ดมาใช้ในบัตรประชาชน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลไปใช้ในการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันยังคงเกิดเหตุอาชญากรรมในลักษณะเดียวกันกับผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงรายนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล ได้มีข้อแนะนำวิธีใช้บัตรประชาชนให้ปลอดภัย

ปัจจุบันการใช้บัตรประชาชนทำธุรกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสำเนาบัตรประชาชน และการให้บัตรประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อขายสินค้า หรือใช้บริการต่างๆ แล้วการใช้มีวิธีการอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ทุกครั้งที่รับรองสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ใช้เปิดบัญชี และทำประกัน นอกจากจะเซ็นต์ชื่อกำกับแล้ว ให้เขียนข้อความทับลงบนสำเนาหน้าบัตรด้วยว่า ใช้เพื่ออะไร พร้อมระบุวันที่ให้ชัดเจน

ที่สำคัญอย่าเซ็นต์ชื่อบริเวณที่เป็นกระดาษเปล่า เพราะมิจฉาชีพ สามารถนำเอกสารของเราไปใช้ต่อได้ อีกกรณีคือใช้เป็นหลักประกันในการซื้อขายสินค้า หรือใช้บริการต่างๆ ด้วยการถ่ายภาพบัตรประชาชนส่งต่อผ่านไลน์ หรือเฟซบุ๊ก ตามข้อตกลง หรือความยินยอมระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย

นอกจากนี้อาจป้องกันเบื้องต้นด้วยการปิดเลขบัตรประชาชน 3 หลักสุดท้าย/ ปิดบาร์โค้ดด้านข้าง/ ปิดปีเกิดในบัตรประชาชน และปิดที่อยู่บางส่วน แต่การใช้บัตรประชาชนในลักษณะนี้ นายสุชาติ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน กรมการปกครอง เตือนว่าเป็นวิธีการที่ไม่ควรทำ เพราะอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล

สำหรับข้อแนะนำดังกล่าว อาจเป็นเพียงวิธีการเบื้องต้นที่ช่วยป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล ทางผู้อำนวยการส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน กรมการปกครอง ยังย้ำว่า แม้บางแอปพลิเคชั่นจะสามารถสแกนแถบบาร์โค้ดบนหน้าบัตรประจำตัวประชาชนได้ แต่จะบอกได้แค่เลข 13 หลัก ของบัตรประชาชนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อทำบัตรประชาชนหาย อย่าเพิกเฉย ต้องรีบไปแจ้งเรื่องที่สำนักงานเขต หรือหน่วยเคลื่อนที่ของกรมการปกครอง เพื่อขอออกบัตรใหม่ เพราะระบบจะจัดเก็บข้อมูลทันทีว่าบัตรประชาชนเก่าถูกยกเลิก และได้มีการออกบัตรใหม่แล้ว.

ช่วงนี้มีข่าวเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลจากหน้าบัตรประชาชนหลุด จึงมีคำถามว่าข้อมูลจากหน้าบัตรประชาชนนั้นทำอะไรได้บ้าง ข้อมูลบนบัตรประชาชนอันตรายจริงหรือ? และมีแค่สำเนา ทำธุรกรรมกับรัฐและเอกชนได้จริงหรือ? และควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่ให้ข้อมูลหลุดไปในระดับนึงถ้ามีอันตรายจริง

ข้อมูลบนหน้าบัตรประชาชนและเลขประจำตัวอันตรายจริงหรือ?

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

หลายคนยังกังวลใจว่า “ข้อมูลบนบัตรประชาชน” นั้นอันตรายจริงหรือ ทางเราได้สอบถามผู้รู้มา ได้สรุปดังนี้

ข้อมูลหน้าบัตรเป็นข้อมูลทั่วๆไป ซึ่งปัจจุบันสถาบันองค์กรต่างๆ ไม่ค่อยยอมให้ใช้แค่สำเนาบัตรทำธุรกรรมอะไรแล้ว และแม้จะใช้บัตรประชาชนตัวจริงหรือเลขบัตรประชาชน แต่ถ้าเจ้าของไม่ได้มาก็ไม่สามารถทำธุรกรรมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้ เพราะเคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ทำให้ถูกต้อง หรือมีส่วนรู้ร่วมคิดกับขบวนการโกง จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่องค์กรต้องเพิ่มขั้นตอนตรวจสอบบัตรและตัวตนอย่างรัดกุม [อ่านเพิ่มเติมจากกรณีนักข่าว NEW TV ทดลองนำบัตรประชาชนคนอื่นไปเปิดบัญชีจนสำเร็จ] ถ้าพบว่าเจ้าหน้าที่ยังฝ่าฝืน ก็ต้องรับโทษ ถ้าจะทำแทนต้องมีใบมอบอำนาจมา (อิงจากที่ผู้เขียนไปทำธุรกรรม ใช้บริการต่างๆ จริง บางครั้งพ่อแม่ฝากมาทำ ให้บัตรประชาชนจริงมา เขายังไม่ให้ทำธุรกรรมเลย) แต่ตรงนี้ก็มีจุดอ่อนตรงที่อาจมีการปลอมใบมอบอำนาจได้ ถ้าสามารถปลอมลายเซ็นได้

แต่มีข้อสังเกตหนึ่งที่อยากเตือนเพิ่มคือ

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

สำเนาบัตรประชาชนหรือภาพบัตรประชาชนอาจนำไปใช้แอบอ้างขายของหลอกลวงทางออนไลน์ หรือทำธุรกิจผิดกฎหมายได้ หรือสวมรอยหลอกลวงผู้อื่น และหลายบริการออนไลน์ที่ให้สมัครครั้งแรกแล้วยืนยันตัวตนด้วยพวกวันเกิดหรือเลขประชาชน อันนี้ควรระวัง ใครที่เคยสมัครพวกนี้แล้วควรตั้งพาสเวิร์ดใหม่ทันที รวมถึงพวกเกมออนไลน์และบริการต่างๆ ที่แค่กรอกเลขบัตรประชาขนก็สมัครได้ทันที (ไม่เหมือนบางเว็บเช่น Pantip ต้องถ่ายรูปตัวเองคู่บัตรประชาชนส่งไปเพื่อยืนยัน) (เอาจริงๆ แค่ไปดูตามคูหาเลือกตั้ง หรือแอบจดจากบัตรอื่นมาก็ใช้สมัครได้แล้ว ไม่ต้องข้อมูลหลุดเท่านั้น) และการซื้อซิมจากร้านค้าเล็กๆ บางร้าน ที่ไม่ใช่ศูนย์บริการหรือร้านใหญ่หรือร้านสะดวกซื้อ ที่พนักงานอาจไม่เข้มงวด

ข้อมูลหลังบัตรประชาชนนั้นสำคัญกว่า

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

ข้อมูลหน้าบัตรไม่เท่าไหร่ แต่ข้อมูลหลังบัตรสำคัญกว่า จริงๆ ก็เพิ่งสังเกตตามที่เพื่อนบอกว่ามันจะมีชุดรหัสหลังบัตร ตรงนี้คือรหัสยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรลักษณะคล้าย cvv ในบัตรเครดิต ที่ไม่ค่อยรู้เพราะยังไม่ค่อยมีบริการไหนที่ขอเลขนี้ แต่เพื่อนผมเพิ่งเจอหน่วยงานที่ขอเลขนี้เมื่อไม่นานนี้คือกรมสรรพากร อนาคตหน่วยงานรัฐอาจใช้ประโยชน์จากเลขนี้อย่างอื่นได้

เราจึงอยากแนะนำว่า เวลาถ่ายเอกสารให้ถ่ายแค่หน้าบัตร ยกเว้นหน่วยงานที่ติดต่อขอเลขหลังบัตรจริงๆ ซึ่งก็ต้องขีดคร่อมเซ็นต์รับรองให้ปลอมแปลงยาก เพราะหากขีดคร่อมไม่ดี อาจมีการนำไปสแกนแล้วตกแต่งใหม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าสำเนาแบบไหน ก็มีลายเซ็นต์ อาจนำไปถอดแบบเพื่อปลอมทำอย่างอื่นได้ และข้อมูลเหล่านี้อาจถูกแอบอ้างเพื่อใช้บริการสถาบันการเงินนอกระบบ บริการผิดกฎหมายที่อาจไม่มีการตรวจสอบยืนยันตัวตนได้

การเซ็นรับรองสำเนา และระบุว่าใช้ทำอะไร หากเอาไปทำนอกเหนือมีความผิดทางกฎหมาย แต่…

จริงๆ เราการนำสำเนาที่มีการเซ็นต์รับรองและระบุว่าเอาไปทำอะไรนั้น หากนำไปใช้นอกเหนือจากนี้แล้วพิสูจน์ได้ ถือว่าผู้กระทำผิดกฎหมาย แต่ว่าการเซ็นต์ของบางคนนั้นจะถูกนำสำเนาไปแก้ไขด้วยโปรแกรมแต่งภาพอย่าง Photoshop แล้ว Print ออกมาใหม่ก็เนียนแล้ว

และหากรู้ว่าข้อมูลหลุดควรทำอย่างไร

 ก็ไม่พ้นแจ้งความครับ เป็นสิ่งที่ควรรีบทำเลยครับ

สถานการณ์ใกล้ตัว มีน่ากลัวกว่าเยอะ แม้ข้อมูลไม่หลุด ควรใส่ใจ!

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

กรณีที่ฝากบัตรไว้กับคนอื่น เช่นแลกบัตรเข้าสถานที่ต่างๆ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้บัตรอื่นแลกแทนบัตรประชาชน เพราะเราไม่รู้ว่าเขาอาจจะทำอะไรกับบัตรหรือเลขประจำตัวประชาชนของเราบ้าง อันนี้เค้าได้บัตรจริงเราไปเลย จะเอาไปสำเนา หรือเอาไปทำอะไรก็ได้ น่ากลัวไม่แพ้ข้อมูลหลุดเลย

See also

ส่งบัตรประชาชนทางไลน์ อันตราย ไหม

ภาพประกอบจาก: Pixabay (1, 2) Kapook, Galaxy Gift Card iBaht

ถ่ายบัตรประชาชนหน้าหลัง อันตรายไหม

ทำไมถึงห้ามถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหลังโดยเด็ดขาด มีเลข Laser ID ที่ต้องใช้ร่วมกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หน่วยงานของรัฐ และสถาบันการเงินใช้ทำธุรกรรม ตรวจสอบ และยืนยันตัวตน อาจถูกสวมรอยนำข้อมูลในบัตรไปใช้ในทางผิดกฎหมาย

มิจฉาชีพสามารถเอาบัตรประชาชนไปทำอะไรได้บ้าง

รองโฆษก ตร. กล่าวอีกว่า ขอแนะนำแนวทางในการป้องกันและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.หากถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลบัตรประชาชน บัตรเครดิตหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้แจ้งไปยังธนาคาร เพื่อทำการอายัดบัตรและปฎิเสธการชำระเงินค่าบริการทางออนไลน์ และทำการตรวจสอบรายการเดินบัญชี รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

คนอื่นเอาบัตรประชาชนไปใช้ได้ไหม

หากมีบุคคลใดแอบนำบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น เอาไปใช้จนเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นนั้นหรือประชาชนทั่วไป มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

ให้เลขบัตรประชาชนคนอื่น อันตรายไหม

วันนี้ (30ม.ค.65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล โดยระบุว่า เตือนภัย! ไม่ควรเปิดเผยเลขบัตรประชาชนและหมายเลข Laser ID หลังบัตร เพราะเลขเหล่านี้จะบ่งบอกถึงข้อมูลส่วนบุคคลและใช้ยืนยันการทำธุรกรรมภาครัฐและการเงินได้ เลขบัตรประชาชน 13 หลัก แสดงถึง