ถ้าปริมาณน้ำที่รับเข้าและออกจากร่างกายไม่สมดุลกัน

อย่างทราบกันดี น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคนสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน โดยการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า น้ำมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้ำ ที่เป็นตัวทำละลายที่ดีและ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และกว่า 90% ของคนทั่วไปมักหลงลืมและไม่ใส่ใจกับการดื่มน้ำ
น้ำกับสิ่งมีชีวิต

ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 นอกจากนี้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก
หน้าที่สำคัญที่สุดของน้ำ

เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยน้ำ เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย น้ำที่เป็นของเหลวของเลือด ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ อีกทั้งนำของเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาขับถ่ายออกจากร่างกาย กระบวนการไหลเวียนเลือด และกระบวนการขับถ่ายของเสียในร่างกายไม่สามารถเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้น้ำช่วยให้การขับถ่ายกากอาหารในลำไส้ใหญ่เป็นไปโดยสะดวก ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระเกิดขึ้น เนื่องจากขาดสมดุลของการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่เซลล์ลำไส้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงหลายชนิด สร้างสารพิษที่มีผลต่อกลไกการควบคุมสมดุลสารน้ำภายในลำไส้

สารพิษรวมทั้งสารเคมีในร่างกายที่อาจเป็นพิษ ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยอาศัยน้ำ เลือดทำหน้าที่ขนส่งสารเหล่านั้นไปทั่วร่างกายซึ่งสารนั้นละลายในน้ำ ตับเป็นอวัยวะสำคัญในการทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงสารพิษด้วยกลไกทางเคมีมากมาย หลายชนิด บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าตับเป็นโรงงานผลิตเอนไซม์ที่ทรงพลัง มากกว่าโรงงานใด ๆ ในโลก กระบวนการขับถ่ายสารพิษเกิดขึ้นร่วมกับการขับถ่ายทางปัสสาวะและอุจจาระ และน้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยรักษาระดับความเป็นกรดด่างของเลือดรวมทั้งของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย น้ำช่วยระบายความร้อนของร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งถือเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพยิ่ง
การสูญเสียน้ำ

ร่างกายเรามีกาสูญเสียน้ำรวมทั้งสิ้นประมาณ 3–5 ลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับเลยทีเดียว ปริมาณของน้ำในร่างกายคนไม่แน่นอน ขึ้นกับอายุ ปริมาณของไขมันในร่างกาย และกิจกรรมของแต่ละคน คนที่ทำงานหนักกลางแจ้งอาจสูญเสียน้ำ 5 –12 ลิตรต่อวัน หรือคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บก็อาจเสียสมดุลของน้ำในร่างกายได้ง่าย โดยร่างกายจะสูญเสียน้ำทาง

- ผิวหนัง มีทั้งที่เรามองเห็นออกมาในรูปของเหงื่อ และน้ำที่ระเหยไปโดยที่เรามองไม่เห็น
- ปอด โดยการหายใจออก
- ทางอุจจาระ
- ทางปัสสาวะ

แล้วเราควรดื่มน้ำ ปริมาณ หรือ มากแค่ไหนใน 1 วัน ??

เราควรพยายามดื่มน้ำให้เป็นนิสัยโดย สำหรับผู้ชายควรดื่มไม่น้อยกว่า  3.7 ลิตร/วัน และหญิงควรไม่น้อยกว่า  2.7 ลิตรต่อวัน หรือวิธีง่ายๆ ก็สังเกตสีของปัสสาวะ ถ้าหากปัสวะมีสีเข้มแสดงว่าเราดื่มน้ำน้อยไป ถ้าหากสีปัสาวะต้องมีสีเหลือจางๆสภาพใส ไร้มูกหรือสิ่งเจอปนถือว่าอยู่ในระดับปรกติ

หวังว่าทุกคน คงจะให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำมากขึ้นและ ฝึกให้เป็นความเคยชินถึงแม้บางครั้งเราไม่รู้สึกหิวกระหายน้ำก็ตาม และลดการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟ ชานมไข่มุก มาดื่มน้ำเปล่าในอุณภูมิห้องปรกติเป็นประจำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่ออกกำลังกาย ระหว่างออกควรจิบน้ำไปด้วยเป็นระยะ จิบ เพราะขณะที่เราออกกำลังกายร่างกายเราจะสูญเสียน้ำเพื่อระบายความร้อน ออกมาในรูปของเหงื่อ ถ้าเราไม่จิบน้ำอาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ง่าย

Credit: kapook.com

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคนสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน การ ศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าน้ำมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้ำที่เป็นตัวทำละลายที่ดีและ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

น้ำเป็นองค์ประกอบของชีวิต

ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้า พิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืชเซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก

หน้าที่สำคัญที่สุดของน้ำ

คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยน้ำ เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย น้ำที่เป็นของเหลวของเลือดทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ อีกทั้งนำของเสียและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาขับถ่ายออกจากร่างกาย กระบวนการไหลเวียนเลือดและกระบวนการขับถ่ายของเสียในร่างกายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากสมดุลของสารน้ำในร่างกาย

น้ำช่วยให้การขับถ่ายกากอาหารในลำไส้ใหญ่เป็นไปโดยสะดวก ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระเกิดขึ้นเนื่องจากขาดสมดุลของการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่เซลล์ลำไส้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงหลายชนิดสร้างสารพิษที่มีผลต่อกลไกการควบคุมสมดุลสารน้ำภายในลำไส้สาร พิษ รวมทั้งสารเคมีในร่างกายที่อาจเป็นพิษ ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยอาศัยน้ำ เลือดทำหน้าที่ขนส่งสารเหล่านั้นไปทั่วร่างกายซึ่งสารนั้นละลายในน้ำตับเป็นอวัยวะสำคัญในการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสารพิษด้วยกลไกทางเคมีมากมายหลายชนิด บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าตับเป็นโรงงานผลิตเอนไซม์ที่ทรงพลังมากกว่าโรงงานใดๆในโลก กระบวนการขับถ่ายสารพิษเกิดขึ้นร่วมกับการขับถ่ายทางปัสสาวะและอุจจาระน้ำ ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยรักษาระดับความเป็นกรดด่างของเลือดรวมทั้งของเหลวต่างๆ ในร่างกาย น้ำช่วยระบายความร้อนของร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งถือเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพยิ่ง

ร่างกายได้รับน้ำหลายทางด้วยกัน

  • น้ำดื่ม เครื่องดื่ม
  • น้ำที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร
  • น้ำที่ได้จากการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน

ปกติคนเราดื่มน้ำวันละประมาณ 1.5 – 2.0 ลิตร และได้รับจากเครื่องดื่มและอาหารทั้งภายในและภายนอกร่างกายอีกประมาณวันละ 1 – 2 ลิตร

ร่างกายสูญเสียน้ำ

  •  ผิวหนัง มีทั้งที่เรามองเห็นออกมาในรูปของเหงื่อ และน้ำที่ระเหยไปโดยที่เรามองไม่เห็น
  • ปอด โดยการหายใจออก
  • ทางอุจจาระ
  • ทางปัสสาวะ

รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งร่างกายสูญเสียน้ำประมาณ 3–5 ลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับปริมาณ ของน้ำในร่างกายคนไม่แน่นอน ขึ้นกับอายุ ปริมาณของไขมันในร่างกาย และกิจกรรมของแต่ละคน คนที่ทำงานหนักกลางแจ้งอาจสูญเสียน้ำ 5 – 12 ลิตรต่อวัน หรือคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บก็อาจเสียสมดุลของน้ำในร่างกายได้ง่าย

กลไกควบคุมสมดุลของสารน้ำ

  •  สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย
  • เมื่อ ร่างกายมีการสูญเสียน้ำ สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำ จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ำทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อมีการกลืนน้ำเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว
  • ถ้าร่างกายขาดน้ำประมาณ 3 วัน ก็จะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ลักษณะของน้ำดื่มที่ดี

  • น้ำดื่มที่ดีต้องปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและสารอินทรีย์ต่างๆ อาทิเช่น เชื้อจุลินทรีย์ โลหะหนัก รวมทั้งสารเคมี
  • ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ โปแตสเซียม แมกมีเซียม แคลเซียม เป็นต้น
  • โครง สร้างโมเลกุลขนาดเล็กช่วยให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งนำพาของเสียออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้
  • น้ำดื่มที่ดีควรมีความกระด้างของน้ำปานกลาง มีประจุไฟฟ้าสูงและเป็นสื่อนำความร้อนที่ดี
  • ความเป็นด่างอ่อนๆ โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง pH 7.25 – 8.50เพื่อช่วยกำจัดความเป็นกรดและของเสียในร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุล
  • ควรมีปริมาณออกซิเจนเจือปนอยู่ด้วยสูง สามารถตรวจวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือมากกว่า

ลักษณะของน้ำดื่มบางชนิด

  • น้ำอ่อนเป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุ
  • น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ละลายอยู่เลย
  • น้ำดื่มบรรจุขวดที่อาจมีสารปนเปื้อนและไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 25 ของน้ำดื่มบรรจุขวดนำน้ำประปามาใส่ขวด และปรับปรุงคุณภาพเล็กน้อยเท่านั้น
  • น้ำประปามี คลอรีนซึ่งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจจะก่อให้เกิดสารออกฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากคลอรีนทำปฏิกิริยา กับสารอินทรีย์ในธรรมชาติซึ่งละลายอยู่ในน้ำ
  • น้ำอัดลมทำมาจากน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อนที่ไม่มีแร่ธาตุ
  • น้ำหวานและน้ำผลไม้สำเร็จรูปเป็นน้ำตาลกับสีผสมน้ำ โดยแต่งกลิ่นธรรมชาติเข้าไปและอาจเติมวิตามินหรือแร่ธาตุปะปนอยู่บ้าง

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์