วิธีการป้องกันการประสบอันตรายในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
ในที่นี้
จริงๆแล้วมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า "Occupational Safety and Health" ผู้ประกอบอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน 
เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน ยาม เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบ
โดยตรง
ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักเรียนความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน
ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

วิธีการป้องกันการประสบอันตรายในการทำงาน

ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์
ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น 
ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง

 ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน
ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์
ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก
อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกล วัตถุดิบ สารเคมี สารไวไฟ ฯลฯ อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย 
จากสถิติที่ประเมินมาพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
•การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
•ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
•การมีนิสัยชอบเสี่ยง
•การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
•การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
•การแต่งกายไม่เหมาะสม
•การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย

วิธีการป้องกันการประสบอันตรายในการทำงาน

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
•การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
•พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
•พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
•สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
•เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
•ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น 

หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
•สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
•สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
•สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
•สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
•สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

กฎ 5 รู้
•รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

•รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

วิธีการป้องกันการประสบอันตรายในการทำงาน

Visitors: 106,232

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

แนวทางป้องกันอันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง

การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การแต่งกายไม่เหมาะสม.
การอพยพ หลังการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งควรมีการวางแผนการอพยพเอาไว้ก่อน หรือควรรู้จักวิธีการขนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอันตรายให้น้อยลง.
การสำรวจความเสียหายภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ.

หลักการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร 5 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง

วิธีการป้องกันการเกิดอันตรายจากเครื่องจักร 1.ดำเนินการติดตั้งเซฟการ์ด 2.หมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักร และบำรุงรักษาเครื่องจักรให้พร้อมใช้งานเสมอ 3.พนักงานทุกคนต้องสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร 4.การฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้ใช้งานเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

หลักการเกี่ยวกับความปลอดภัย ... .
1. สะสาง ... .
ผลจากการดำเนินงาน ... .
2. สะดวก.
หลักการ ... .
3. สะอาด ... .
4. สุขลักษณะ ... .
5. สร้างนิสัย.

ความปลอดภัยมีความสําคัญอย่างไร

1.ลดความสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของพนักงาน 2.การมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานทุกคนมีความปลอดภัย ย่อมจะทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน ไม่ต้องหวาดระแวงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น 3.การมีกำไรเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้กำไรของโรงงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย