วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

"ขยะ" จากสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ หรือพูดว่าเข้าขั้นวิกฤตก็ไม่ผิดนัก โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมากถึง 27.8 ล้านตัน หากคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อคนแล้วละก็ อยู่ที่ประมาณ 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวันเลยทีเดียว

เมื่อพูดถึงเรื่อง "ขยะ" อาจจะคิดไปว่าคือของเสียหรือสิ่งปฏิกูลที่รอการกำจัด และอยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐที่จะต้องเข้ามาจัดการดูแลในส่วนนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว "ขยะ" เกิดจากสิ่งของหรือเศษวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันที่รอนำไปกำจัดทิ้ง เช่น เศษอาหาร กล่องโฟม ขวดพลาสติก กระดาษ ฯลฯ หากแยกให้ถูกวิธีก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้มากมาย ทั้งทำปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์ รวมถึงผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

สาเหตุที่ทำให้ขยะมีปริมาณมากขึ้นก็มาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1. จำนวนประชากรมากขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งมีจำนวนคนมากขึ้นเท่าไร จำนวนขยะก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะขยะเกิดจากสิ่งของที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งมีทั้งส่วนที่เรานำไปใช้ประโยชน์ และส่วนเกินที่ต้องนำไปกำจัดทิ้ง

2. กำจัดขยะผิดวิธี การกำจัดขยะไม่ใช่แค่การทำให้ขยะหายไปจากบ้านของเรา เช่น กองทิ้งบนดินรกร้าง นำไปเผากลางแจ้ง ทิ้งลงสู่ทะเล-แม่น้ำลำคลอง หรือจบแค่การทิ้งลงถังขยะเท่านั้น เพราะนอกจากจะทำให้ขยะเพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาแบบไม่รู้จบ

3. การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อย แม้ในตอนนี้หลาย ๆ องค์กรจะมีการรณรงค์เรื่องการนำขยะกลับมารีไซเคิล แต่ก็ยังช่วยกำจัดขยะได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

หลายคนอาจคุ้นเคยกับวิธีการจัดการขยะด้วยหลัก 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle กันมาบ้างแล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมคนสมัยใหม่ที่ต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น จึงหันมาพึ่งพาบริการส่งอาหารและการสั่งสินค้าออนไลน์ ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) ที่ย่อยสลายยาก ดังนั้นหลัก 3R อาจยังไม่ครอบคลุมการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงอยากชวนให้ทุกคนหันมาใช้หลัก 7R ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกนำมาผลิตวัสดุต่าง ๆ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนจะกลายเป็นขยะ และลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโลก

จัดการขยะด้วยหลัก 7R ได้แก่

1. Reduce คือ การลดการใช้ เลือกบริโภคและใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีนี้จึงช่วยทั้งลดปริมาณขยะ ซึ่งวิธีการ Reduce เป็นวิธีในหลัก 7R ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดและช่วยชะลอทรัพยากรธรรมชาติที่จะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ต้นทาง

2. Reuse คือ การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน

3. Recycle คือ การนำวัสดุที่หมดสภาพแล้วมาแปรสภาพหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คืนชีพให้ขยะสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

4. Replace คือ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนที่การใช้พลาสติกหรือโฟมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แม้วิธีนี้ยังก่อให้เกิดขยะอยู่บ้าง แต่ดีกว่าการใช้พลาสติกหรือวัสดุที่ย่อยสลายยาก โดยหันมาเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ที่มั่นใจว่าย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรตั้งแต่ต้นทาง เช่น บรรจุภัณฑ์จากใบตอง ภาชนะใส่อาหารจากชานอ้อย หลอดดูดน้ำจากกระดาษ ฯลฯ

5. Refill คือ การเลือกใช้สินค้าแบบเติม ไม่เพิ่มขยะเกินความจำเป็น โดยทุกคนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อของอุปโภค – บริโภคที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น เครื่องดื่ม อาหารแห้ง เครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม ผงซักฟอก ฯลฯ มาเป็นซื้อแบบเติมขวดเก่าแทนการซื้อใหม่ รวมถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ขึ้น แทนการซื้อสินค้าที่มีปริมาณน้อยซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์หลายชิ้น ซึ่งนอกจากจะลดพลังงานในกระบวนบรรจุผลิตภัณฑ์และลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะนำเข้าบ้านแล้ว ยังช่วยลดรายจ่ายของเราได้อีกด้วย

6. Repair คือ การซ่อมแซมให้ใช้งานได้ใหม่และใช้อย่างคุ้มค่าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อของใหม่ เพราะหลายครั้งเมื่อของในบ้านเสียหรือใช้งานไม่ได้ ด้วยความเคยชินเราก็มักจะนำไปทิ้งและหาซื้อของใหม่มาทดแทนทันที แต่มาลองเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการลงมือซ่อมแซมสิ่งของเท่าที่ทำได้ก่อนทิ้งเป็นขยะ เช่น การเย็บเสื้อผ้าที่ขาดเล็กน้อย ทาสีเฟอร์นิเจอร์เก่า ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ชำรุด ฯลฯ รวมถึงควรใช้สิ่งของอย่างทะนุถนอมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยิ่งนานขึ้น

7. Return คือ การเลือกอุดหนุนสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์หมุนเวียน โดยเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สามารถส่งบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น การใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติกสามารถคืนขวดได้ หรือการนำขวดน้ำพลาสติกส่งคืนที่ตู้บริการตามจุดต่าง ๆ เป็นต้น และอีกวิธีที่ง่ายต่อผู้บริโภคก็คือการเลือกสินค้าที่ได้รับการรับรองว่ามีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว ฉลากลดโลกร้อน ฉลากลดคาร์บอน ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นต์

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ, สถาบันลูกโลกสีเขียว

วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

ในยุคที่เรามีประชากรเพิ่มขึ้นสูงถึง 7,300 ล้านคน สิ่งที่เป็นปัญหาตามมา นอกจากเรื่องความแออัดและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก คือปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากการบริโภคในทุกวัน และกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง จนคำว่าขยะล้นโลก ดูจะไม่ใช่เรื่องเกินจริง

ในเมื่อขยะคือปัญหาที่เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ในมือพวกเราเช่นเดียวกัน Greenery ขอแชร์แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือ 7R ที่จะทำให้ทุกคนลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆ และมีส่วนช่วยทำให้โลกใบนี้ของเราน่าอยู่ขึ้นได้ ด้วยการลงมือทำอย่างจริงจังจนกลายเป็นนิสัยโดยไม่ต้องรีรอ

1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม)

วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

จากรายงานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะประเภทพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งในจำนวนนี้ ไม่สามารถกำจัดด้วยวิธีฟังกลบได้ทั้งหมด เพราะพลาสติกจะใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี! แต่ขณะเดียวกัน ขยะประเภทนี้ ก็ไม่สามารถนำไปเผาทำลายได้ เพราะถุงพลาสติกมีส่วนประกอบของเม็ดปิโตรเลียม ซึ่งเมื่อระเหยไปในบรรยากาศจะสร้างสารปนเปื้อนในดินและน้ำ ฉะนั้นแล้ว ทางที่ดีคือเลือกปฏิเสธแล้วหันมาใช้ถุงผ้า กล่องข้าวที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไปจนถึงภาชนะใช้ซ้ำต่างๆ อย่างหลอด ขวดน้ำ ช้อนส้อม ตะเกียบ นอกจากลดขยะ ลดพลาสติก ไปจนถึงโฟมได้แล้ว เรายังช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ด้วย!

2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย)

ทุกคนคงเคยเห็นถังขยะหลากหลายสีมาตั้งแต่เด็ก แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากการแยกขยะให้เป็นนิสัยจะช่วยให้กำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอีกด้วย! เพราะแต่ละวัน เจ้าหน้าที่ต้องเก็บขยะวันละมากกว่า 9,000 ตัน ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นค่าจ้างฝังกลบขยะตันละมากกว่า 100 บาท ซึ่งการแยกขยะ และทิ้งขยะลงถังตามสี คือ ทิ้งเศษอาหาร กากของผัก ผลไม้ ในถังสีเขียว ทิ้งแก้ว อลูมิเนียม หรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ในถังสีเหลือง และทิ้งขยะทั่วไปที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง ตลอดจนใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กล่องนม เศษผ้า ยาง ไม้ ในถังสีน้ำเงิน เพียงเท่านี้ ทุกคนก็สามารถช่วยโลกได้ และยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย!

3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า)

วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

วิธีที่ช่วยลดขยะอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการพยายามใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างคุ้มค่า อาจจะเริ่มจากการใช้ปากกาจนหมดด้าม เขียนดินสอจนหมดแท่ง หรือเริ่มจากการใช้กระดาษให้เต็มทั้งสองหน้าจนเป็นนิสัย แต่หากเท่านั้นยังไม่พอ และอยากก้าวล้ำไปอีกขั้น อยากชวนให้ทุกคนลองเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นของใช้ หรือดัดแปลงเป็นของ D.I.Y กันดู อาจเริ่มจากอะไรง่ายๆ เช่นการทำกระถางต้นไม้จากขวดน้ำพลาสติก หรือการนำเสื้อยืดที่ไม่ใด้ใส่แล้วมาตัดเป็นถุงผ้าชอปปิ้งสุดเก๋ ซึ่งนอกจากวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว ยังเป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย มากไปกว่านั้น ลองประดิษฐ์ของชิ้นเล็กๆ น่ารักๆ แล้วนำไปมอบให้คนรู้ใจของคุณดูสิ แล้วจะรู้ว่างาน D.I.Y ให้อะไรมากกว่าที่คิด!

4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์)

งานนี้คงต้องสวมจิตวิญญาณแม่บ้านกันดูหน่อย เพราะเพียงแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของอุปโภคต่างๆ เช่น น้ำยาซักผ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ มาเป็นแบบ Refill หรือลดการซื้อของในบรรจุภัณฑ์ใหม่ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายในบ้านลงได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว นอกจากนี้ การทำแบบนี้ยังช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต Packaging ในโรงงานได้ด้วย เรียกว่าทำแค่อย่างเดียว แต่ช่วยโลกได้ถึงสองต่อเลยนะ!

5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้)

เคยลองสังเกตสิ่งของรอบตัวดูบ้างไหม ว่ากำลังมีอะไรที่เราใช้มันผิดวิธี หรือกำลังทำให้มันพังก่อนถึงเวลารึเปล่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น การเปิดแอร์ร้อนกว่าอุณหภูมิห้อง หรือการใช้ไมโครเวฟกำลังแรงอุ่นอาหารเป็นเวลานานๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าวันละแปดชั่วโมง สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้เราต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ต่างๆ พังเร็วขึ้นด้วย แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ลองฝึกซ่อมอุปกรณ์ด้วยตัวเองดูบ้าง อย่างการเปลี่ยนอะไหล่ หรือต่อ เติม ปะ สิ่งต่างๆ แทนการซื้อใหม่ เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดปริมาณขยะได้เยอะแล้วล่ะ!

6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ)

ข้อนี้ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว เพราะการบริโภค หรือใช้สิ่งต่างๆ เท่าที่จำเป็น ไม่เพียงช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับปริมาณขยะเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวคิด หรือวิถีการใช้ชีวิตที่นำไปสู่ความสมดุลอีกด้วย ลองเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขนาดใหญ่ ใช้ได้นาน แทนการซื้อสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือมีปริมาณน้อยหลายๆ ชิ้นดูสิ ส่วนถ้าอะไรที่มีอยู่แล้ว ก็ลองห้ามใจตัวเอง ไม่ซื้อของประเภทเดียวกัน หรือแบบเดียวกันไว้ที่มาไว้ที่บ้าน นอกจากจะลดปริมาณขยะได้มากแล้ว ยังเป็นวิธีตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นที่ดีอีกด้วย!

วิธี การ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม 7r มี 7 ข้อ อะไร บ้าง

7. Return (หมุนเวียนมาใช้ใหม่)

หลายคนอาจไม่รู้ว่า การคืนขวดน้ำอัดลม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลับไปสู่ผู้ผลิตนั้น นอกจากจะผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แล้ว กระบวนการดังกล่าว ยังมีส่วนช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางทะเลด้วย เนื่องจากขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นแก้ว ต้องใช้ทรายแก้วเป็นวัตถุดิบหลัก โดยทั้งหมดจะถูกขุดขึ้นมาจากบริเวณรอบๆ ชายฝั่งทะเล การใช้ทรายแก้วจำนวนมาก จึงทำให้แนวดินดอนชายฝั่งทะเลถูกทำลาย และสูญเสียรูปทรงดั้งเดิม อีกทั้งถูกกัดเซาะสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภูมิทัศน์ทางทะเลตามมา เราจึงควรแยกขวดแก้วออกจากขยะอื่นๆ และส่งคืน เพื่อกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ และรักษาชายหาดที่สวยงามไปพร้อมกัน!

อาจจะไม่ต้องทำตามให้ครบทุกวิธีก็ได้ แต่แค่ได้เลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง แล้วนำมาปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกลายเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญ ที่ช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกเป็นกอง!

ภารกิจประจำเดือนมิถุนายน
Greenery Challenge 06: #รีแล้วกรีน (ให้ถึงขีดสุด)

สำหรับภารกิจ #รีแล้วกรีน ที่ผ่านมา สมาชิกร่วมอุดมกรีนต่างแบ่งปันไอเดียกันอย่างคึกคัก ด้วยสารพัดวิธีสร้างสรรค์ เดือนนี้เราจึงย้ำกันอีกสักที ชวนมาอัพเกรดความกรีนกับภารกิจ #รีแล้วกรีน (ให้ถึงขีดสุด) ร่วมกันซ้ำปฏิบัติการลดขยะในชีวิตประจำวันตามแนวคิด 7R ด้วยวิธีง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

#Refuse ปฏิเสธบรรจุภัณฑ์เพิ่มมลพิษ เซย์โนให้โฟมและพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
#Recycle แยกขยะให้ง่าย ก่อนส่งขยะไม่ย่อยสลายไปแปรรูป ได้ฟื้นชีฟอีกครั้ง
#Reuse ใช้แล้วใช้อีก จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน
#Refill เลือกใช้สินค้าแบบเติม ไม่เพิ่มขยะเกินความจำเป็น
#Repair ของเสียก็หัดซ่อม ต้องใช้ให้คุ้ม ก่อนกลายเป็นขยะ
#Return อุดหนุนสินค้าคืนขวด หมุนเวียนบรรจุภัณฑ์ ทำให้ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
#Reduce ลดการกินทิ้งกินขว้าง เลี่ยงการสร้างมลพิษแก่โลก

รับคำท้าให้ครบ 21 วัน เริ่มตั้งแต่วันนี้ – 21 มิถุนายน 2561
อย่ารอช้า มาเพิ่มระดับความกรีนด้วยกันได้แล้ววันนี้!

กติการ่วมสนุก
1) เข้าร่วมกรุ๊ป Greenery Challenge ที่ https://facebook.com/groups/GreeneryChallenge
2) โพสต์ภาพพร้อมคำบรรยาย แบ่งปันเรื่องราว ไอเดีย ความสำเร็จ (หรือความเฟล) เล็กๆ ในแต่ละวันที่กรุ๊ป Greenery Challenge และติดแฮชแท็ก #GreeneryChallenge #รีแล้วกรีน และ #Re… ที่เกี่ยวข้องกับโพสต์ของคุณ (อย่าลืมติดแฮชแท็กให้ครบ 3 ตัวพร้อมเพรียงกัน)
3. แชร์โพสต์ไปที่หน้าเฟซบุ๊กของคุณ (อย่าลืมตั้งโพสต์เป็นสาธารณะ)
4. เราจะคัดเลือกผู้รับคำท้าที่แบ่งปันไอเดียอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 5 คน ประกาศผลวันที่ 25 มิถุนายน 2561

*** รางวัล *** ผู้โชคดีจะได้รับ Gift Voucher มูลค่า 500 บาท เพื่อช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก Sook Shop (สสส.) และ ของรางวัลพิเศษประจำเดือนจาก Greenery ชุดจานและช้อนส้อมแฮนด์เมด จากไม้ธรรมชาติ ปลอดภัย ไม่ย้อมสี มอบให้คุณไว้พกติดตัวเท่ๆ กันไปเลย


การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 7R มีอะไรบ้าง

ลดขยะด้วยหลัก 7 R.
REFUSE ปฏิเสธบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง.
RECYCLE แยกขยะให้ง่ายต่อการนำไปแปรรูป.
REUSE ใช้ซ้ำจนกว่าบรรจุภัณฑ์จะเสื่อมสภาพการใช้งาน.
REFILL เลือกใช้สินค้าแบบเดิมไม่เพิ่มขยะเกินความจำเป้น.
REPAIR พังแล้วต้องหัดซ่อมใช้ให้คุ้มก่อนกลายเป็นขยะ.

7 R มีอะไรบ้าง

1.Reduce การลดใช้ ... .
2.Reuse การใช้ซ้ำ ... .
3.Refill นำภาชนะไปเติม ... .
4.Return การส่งคืน ... .
5.Repair การซ่อมแซม ... .
6.Replace การแทนที่ ... .
7.Recycle..

7 R คืออะไร

ใช้ 7R ช่วย ก่อนที่จะทิ้งขยะ ซึ่งจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์มาใช้ใหม่ 7 R คือ 1. Refuse การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องโฟม หรือ ขยะมีพิษอื่น ๆ 2. Refill การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย

วิธีการลดโลกร้อนด้วยตัวเอง 7 วิธี (7R) มีอะไรบ้าง อธิบายรายละเอียด

Greenery Challenge จัดหนักหลัก 7R: วิธีลดขยะที่ทำให้โลกน่าอยู่....
1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม) ... .
2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย) ... .
3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า) ... .
4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์) ... .
5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้) ... .
6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ).