องค์ประกอบที่สำคัญทำให้การแสดงนาฏศิลป์มีความงดงามคืออะไรบ้าง

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

๑.การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการแสดงที่มีการร่ายรำสวยงาม โดยการประดิษฐ์คิดค้นท่ารำต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบแบบแผน ให้เหมาะสมกับการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว และสื่อความหมายในการแสดง เช่น ระบำพรหมาสตร์ เป็นการร่ายรำของเทวดา นางฟ้า ที่มีความหมายสวยงาม ดูมีความสุข

๒.จังหวะที่ใช้ในการแสดง

จังหวะถือว่าเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ ผู้แสดงนาฏศิลป์ไทยจะต้องทำความเข้าใจกับจังหวะ

ดนตรี เพื่อให้สามารถร่ายรำ แสดงท่าทางได้ถูกต้องตามจังหวะ หากแสดงไม่ถูกต้องตามจังหวะ หรือที่เรียกว่า บอดจังหวะ จะทำให้การแสดงไม่สวยงามและไม่พร้อมเพรียง

๓.ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง บทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาของตัว

ละครแบ่งออกเป็น หน้าพาทย์ธรรมดาและหน้าพาทย์ชั้นสูง ส่วนมากบรรเลงโดยไม่มีเนื้อร้อง การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์จะบรรเลงตามความหมายและอารมณ์ของตัวละครที่แตกต่างกันไป

๔.คำร้องหรือเนื้อร้อง

การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีทั้งชุดการแสดงที่มีบทร้องและไม่มีบทร้องประกอบการแสดงซึ่งในการแสดงที่มีเนื้อร้อง

ประกอบการแสดงจะทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น และผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น และผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้แสดงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ถูกต้องและมีความสวยงาม เช่น ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงที่มีบทร้องประกอบ มีท่าร่ายรำที่สื่อความหมายตามบทร้อง ที่มีความยินดีปรีดา

๕.การแต่งกาย การแต่งหน้า

การแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะมีความสวยงามวิจิตรและบ่งบอกถึงความเป็นไทยทำให้การแสดงมี

เอกลักษณ์ เช่น การแสดงโขนที่มีการแต่งกายที่งดงาม มีศีรษะโขนที่ตกแต่งลวดลายประดิษฐ์ขึ้นอย่างวิจิตร ซึ่งศีรษะโขนก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของตัวละครทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงได้มากขึ้น การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัยบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่แต่งหน้าให้ผู้แสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น

๖.อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง

อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นองค์ประกอบนาฏศิลป์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงมีความ

สวยงามและมีเอกลักษณ์ซึ่ง การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุดอาจไม่มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง แต่บางชุดก็มีอุปกรณ์ประกอบการแสดง ทำให้การแสดงน่าสนใจมากขึ้น เช่น ฟ้อนเทียนมีอุปกรณ์ คือ เทียน ซึ่งจะนิยมแสดงในเวลากลางคืน ทำให้การแสดงมีความงดงามมาก

แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/reiynnatsilpkhruxariya/xngkh-prakxb-natsilp-thiy

องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย

ดังได้กล่าวมาแล้วว่านาฏศิลป์จะหมายรวมไปถึงการร้องรำทำเพลงดังนั้นองค์ประกอบของนาฏศิลป์ก็จะประกอบไปด้วยการร้อง  การบรรเลงดนตรี  และการฟ้อนรำ  ทั้งนี้เพราะการแสดงออกทางนาฏศิลป์ไทยจะต้องอาศัยบทร้องทำนองเพลงประกอบการแสดง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆดังต่อไปนี้

1. การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ

การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำเป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง    และการสื่อความหมายที่ชัดเจน

2. จังหวะ

จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด   เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน  หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้วก็สามารถรำได้สวยงาม  แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า "บอดจังหวะ"  ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง

3. เนื้อร้องและทำนองเพลง

เนื้อร้องและทำนองเพลงการแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลง  ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ  ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้  เช่น การแสดงอารมณ์รัก  ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก  ใบหน้ายิ้มละไม  สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน  เป็นต้น

4. การแต่งกาย

การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์สามารถบ่งบอกถึงยศ  ฐานะ  และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงละครนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน  การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร  เช่น  เมื่อแสดงเป็น หนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว  มีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร  สวมหัวขนลิงสีขาวปากอ้า  เป็นต้น

5. การแต่งหน้า

การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม  และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้  นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัย  บอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น  แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่แต่งหน้าให้ผู้แสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น

6. เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง

การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง  ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลงในขณะเดียวกัน  ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์  และสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น  อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย

7. อุปกรณ์การแสดงละคร

การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุดต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย  เช่น ระบำพัด ระบำนกเขา  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนเล็บ  ฟ้อนร่ม  เป็นต้น  อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องสมบูรณ์ สวยงามและสวมใส่ได้พอดี  หากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบการแสดง  เช่น  ร่ม  ผู้แสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ววางอยู่ในระดับที่ถูกต้องสวยงาม

นาฏศิลป์ไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ

 1. ลีลาท่ารำ เป็นท่าทางเยื้องกรายฟ้อนรำที่อ่อนช้อยสวยงาม แสดงออกของอารมณ์ สื่อความหมายชัดเจน

 2.ดนตรีประกอบ ดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์และสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงอีกด้วย

       3.บทร้อง ส่วนใหญ่จะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด มีความไพเราะสละสลวย คารม คมคายและมีคติสอนใจ

       4.เครื่องแต่งกาย มีแบบอย่างเฉพาะตัว งดงามประณีต และถูกต้องตามลักษณะการแสดง

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

การแสดงนาฏศิลป์ไทยแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ

1.โขน (Khon)

2.ละคร (Drama)

3.รำ และ ระบำ (Thai Dance)

4.การแสดงพื้นเมือง (Folk Dance)

1. โขน (Khon) หมายถึง ศิลปะการแสดงที่มุ่งการเต้นให้เข้าจังหวะเพลงดนตรีหน้าพาทย์ ผู้แสดงส่วนใหญ่จะสวมหัวโขน นิยมใช้ผู้ชายแสดง ตัวแสดงแบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์ และลิง โขนแต่งกายแบบยืนเครื่อง มีผู้พากย์และเจรจาแทน ผู้แสดงไม่ต้องร้องและเจรจาเองเพียงแต่ทำท่าทางตามบทพากย์และคำร้อง เรื่องที่นำมาแสดงคือ รามเกียรติ์” (Ramakian)

2.ละคร (Drama) หมายถึง  ศิลปะที่แสดงเป็นเรื่องราว มีเหตุการณ์เกี่ยวโยงเป็นตอน ๆ มุ่งการร่ายรำประกอบเพลงขับร้องและดนตรี นิยมใช้ผู้หญิงแสดง มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดความรื่นเริง บันเทิงใจ ความสนุกสนานเพลิดเพลินและสอดแทรกแนวความคิด คติธรรมและปรัชญาแก่ผู้ดูผู้ชม

3.รำ และ ระบำ (Thai Dance)

รำ หมายถึง การแสดงท่าทางเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะเพลงร้องและดนตรีที่เน้นท่วงท่าลีลาการร่ายรำที่งดงาม จะเป็นศิลปะการรำเดี่ยว รำคู่ รำหมู่ รำอาวุธ รำทำบทหรือรำใช้บท จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสดงฝีมือในการรำ เช่น รำแม่บท รำสีนวล รำฉุยฉาย รำพลายชุมพล รำกริช รำมโนห์ราบูชายัญ

ระบำ หมายถึง ศิลปะการแสดงที่รำเป็นชุดหรือเป็นหมู่ มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่คำนึงถึงการใช้บทไม่แสดงเป็นเรื่องราวใช้เพลงบรรเลงมีเนื้อร้องประกอบหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ ความสวยงามอยู่ที่การแปรรูปแบบแถวในการแสดง ความพร้อมเพรียงของผู้แสดง และเครื่องแต่งกายสวยงาม

ระบำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.ระบำมาตรฐาน หมายถึง ระบำที่ปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ท่ารำไว้ มีความงดงาม วางท่าได้เหมาะสมเป็นแบบฉบับ สอดคล้องกับบทร้องและการบรรเลง ท่ารำตายตัว ไม่ควรเปลี่ยนแปลงท่ารำตามใจชอบ ระบำมาตรฐานนี้นิยมแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง” เช่น ระบำเทพบันเทิง ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำสี่บท ระบำย่องหงิด ระบำพรหมาศาสตร์ รำแม่บทเล็ก ฯลฯ

2.ระบำเบ็ดเตล็ด หรือ ระบำที่ปรับปรุงขึ้น หมายถึง ระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ลักษณะท่ารำไม่ตายตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือและความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ความสำคัญอยู่ที่ความพร้อมเพรียงของผู้แสดง ความงามของเครื่องแต่งกาย

เช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำนพรัตน์ ระบำดอกบัว ระบำฉิ่ง ระบำนกเขา ระบำไก่ ระบำครุฑ ฯลฯ

4.การแสดงพื้นเมือง (Folk Dance) หมายถึง  การแสดงศิลปะของชาวบ้านที่มีรูปแบบการแสดงง่ายๆ นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนแต่ละท้องถิ่น  เพื่อความรื่นเริงในฤดูเทศกาลต่างๆไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหรือเล่นเพื่อหารายได้  การแสดงพื้นเมืองจะมีลักษณะการแต่งกาย  การร้อง  การรำ  การเต้น  และเครื่องดนตรี   เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นนั้นๆสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่  การประกอบอาชีพ  วัฒนธรรม    และขนบธรรมเนียมประเพณี  การแสดงพื้นเมืองแบ่งตามภาคต่างๆ 4 ภาค ดังนี้คือ

1.การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ฟ้อน” มีลักษณะการแสดงลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย นุ่มนวล และสวยงาม แต่การแสดงบางชุดได้รับอิทธิพลจากศิลปะของพม่า เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนมาลัย ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนไต ฟ้อนกิงกะหร่า ฟ้อนโต ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนบายศรี ตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนโยคีถวายไฟ การแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคเหนือ ดนตรีที่ใช้คือ วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว

2. การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ๆ คือ  กลุ่มอีสานเหนือได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว  ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งกระติบข้าว                      เซิ้งโปงลาง  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง  ฟ้อนภูไท  เซิ้งสวิง  เซิ้งบ้องไฟ  เซิ้งกะหยัง  เซิ้งตังหวาย ฯลฯ  ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

3.การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการรำ และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนมากเป็นการละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องด้นกลอนสด เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงเหย่อย   รำเถิดเทิง ฯลฯ  ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และ โหม่ง

4.การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่ม คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลบอก เพลงนา วัฒนธรรมไทยมุสลิม ลักษณะการแสดงส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของมาเลเซีย เช่น รองเง็ง ซำเป็ง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู และ ซิละ นอกจากนี้ยังมีระบำที่ปรับปรุงมาจากกิจกรรมในวิถีชีวิตศิลปาชีพต่าง ๆ เช่น ระบำร่อนแร่ ระบำตารีกีปัส ระบำปาเต๊ะ ระบำกรีดยาง เป็นต้น มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญคือ กลองโนรา กลองโพน กลองโทน ทับ โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน แอคคอเดียน ฯลฯ

นาฏศิลป์มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง

Enrolment options.
องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย.
1. การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำ.
2. จังหวะที่ใช้ในการแสดง.
3. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง.
4. คำร้องหรือเนื้อร้อง.
5. การแต่งกาย การแต่งหน้า.
6. อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง.
หลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์.

องค์ประกอบที่สำคัญทำให้การแสดงนาฏศิลป์มีความงดงามคืออะไร

นอกจากการแสดงนาฏศิลป์ที่สวยงามจะต้องใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์แล้ว ยังต้องมีหลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดง โดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์ ดังนี้.
การฟ้อนรำหรือลีลาการใช้ท่ารำ ... .
จังหวะที่ใช้ในการแสดง ... .
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ... .
คำร้องหรือเนื้อร้อง ... .
การแต่งกาย การแต่งหน้า ... .
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง.

องค์ประกอบนาฏศิลป์ทำให้การแสดงเป็นอย่างไร

นาฏศิลป์ไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ 1. ลีลาท่ารำ เป็นท่าทางเยื้องกรายฟ้อนรำที่อ่อนช้อยสวยงาม แสดงออกของอารมณ์ สื่อความหมายชัดเจน 2.ดนตรีประกอบ ดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์และสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงอีกด้วย

องค์ประกอบสำคัญของการแสดงละครที่ดีคือสิ่งใด

องค์ประกอบของละครประกอบด้วย 6 ส่วน โดยเรียงลําดับตามความสําคัญดังนี้ คือ โครงเรื่อง (Plot) ตัวละคร (Character) ความคิด (Thought) ภาษา (Diction) เสียง (Sound) และภาพ (Spectacle) องค์ประกอบ ทั้งหกนี้ครอบคลุมทุกอย่างที่มีอยู่ในละคร ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้อีกแล้ว ไม่ว่าเราจะพูดถึงละครในด้านใด เราก็ สามารถจัดไว้ในองค์ประกอบ ...