การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

ทักษะดิจิทัลมีความสำคัญอย่างไร

ในปี 2021 นี้ แต่ละองค์กรนั้นมองหาบุคคลที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยองค์กรยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ถ้าคุณอยากเป็นที่ต้องการขององค์กรยุคใหม่แล้ว คุณจำเป็นจะต้องปรับตัวให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรนั้นๆ

จะเห็นได้ว่าทิศทางความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและองค์กรทางด้านเทคโนโลยีในปีหน้าเป็นต้นไป โดยเน้นการก้าวไปสู่ Cloud computing, Big data analytics, AI, Encryption ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์, IOTs การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ , กระบวนการผลิตเนื้อหา รูปภาพ และเสียง, อีคอมเมิร์สและการค้าในรูปแบบดิจิทัล, AR และ VR, Blockchain การที่เราจะก้าวทันความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้นั้น เราจำเป็นจะต้องพึ่งทักษะด้านดิจิทัล

การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

ทักษะดิจิทัล คืออะไร

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คือ ทักษะที่ใช้ในการทำงานในยุคปัจจุบันที่มนุษย์นั้นจำเป็นจะต้องพึ่งเทคโนโลยีในการทำงานในหลากหลายระดับ ซึ่งในยุคนี้มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเติบโต และเข้ามามีบทบาทในการทำงานและวิถีชีวิตของทุกคน โดยทักษะด้านดิจิทัลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้

1. เครื่องมือและเทคโนโลยี (Tools & Technologies) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเครื่องมือที่เป็น Hardware หรือ Software ควรจะเข้าใจพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ว่าทำงานอย่างไร

2. การค้นหาและการใช้งาน (Find & Use) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วไป เช่น การอ้างอิง ให้ที่มา และลิขสิทธิ์ของข้อมูลที่นำมาใช้

3. การให้ความรู้และการเรียนรู้ (Teach & Learn) คือ การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

4. การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication & Collaborate) คือ การเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันนั้นสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้ Google Doc , Zoom ในการประชุมทางไกลเป็นต้น

5. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Create & Innovate) คือ ทักษะในการสร้างเนื้อหาดิจิทัลและควรมีทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เป็นต้น

6. การยืนยันตัวตนและสวัสดิการ (Identity & Wellbeing) คือ ทักษะในการปกป้องข้อมูลของตัวเองก็สำคัญ เช่น รหัสผ่าน ,การดูแลปกป้องข้อมูลของผู้อื่นที่เราเป็นคนดูแล ,จรรยาบรรณในการใช้งาน เป็นต้น


ทักษะที่ดิจิทัลนำไปทำอะไรได้บ้าง ?

หากเรามีทักษะด้านดิจิทัลที่ครบถ้วนแล้วนั้น ย่อมส่งผลดีต่อการหางานและเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำทางเทคโนโลยี จาก The Future of Jobs Report 2020 มีการจัดอันดับอาชีพที่จะมีความต้องการสูง ซึ่งจะเห็นได้ว่าความต้องการในการจ้างงานในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมากซึ่งผันตรงกับยุคดิจิทัลในตอนนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ “ข้อมูล” นั้นมีความสำคัญอย่างมาก องค์กรต่าง ๆ จึงต้องการคนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มาช่วยในการทำให้ข้อมูลที่มีอยู่มากมายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง โดยอาชีพที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ได้แก่

  1. นักวิเคราะห์ข้อมูล/ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ( Data Analyst/ Data Scientist)

  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และการตลาดดิจิทัล ( Digital Marketing and Strategy Specialist)

  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านข้มูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialist)

  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร ( AI and Machine Learning Specialist)

  5. นักพัฒนาซอฟแวร์และแอปพลิเคชั่น (Software and Application Developers)

          ในวันที่โลกเปลี่ยนผ่านจากยุค Analog เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว โลก Metaverse ที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ และการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนต้องพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี Digital skill ยิ่งในที่ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และการทำงานที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต ยิ่งทำให้เทคโนโลยีจำเป็นต่อชีวิตอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดคำว่า Digital Literacy คำศัพท์ใหม่แห่งยุคซึ่งเป็นทักษะจำเป็นของคนยุคใหม่ แล้ว Digital Literacy จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไรในที่ทำงาน เราลองมาค้นหาคำตอบกัน

การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

          Digital Literacy หมายถึง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จัดเป็นทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถงานดิจิทัลในด้านอื่น ๆ เป็นทักษะสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติงาน สื่อสาร และทำงานร่วมกับคนอื่น ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more” ผ่านการใช้งานเครื่องมือทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Cloud computing ในการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่ง ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ได้ออกเป็น 4 มิติ คือ

  1. ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
  2. เข้าใจ (Understand) คือ ชุดของทักษะที่จะช่วยให้เข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ เพราะเทคโนโลยีและโลกอินเทอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และส่งผลต้องพฤติกรรมและมุมมองของผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ความเข้าใจมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลมีวิจารณญาณในการใช้งาน
  3. สร้าง (Create) คือ ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีที่หลากหลาย
  4. เข้าถึง (Access) คือ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การค้นหาข้อมูลผ่าน Search engine รู้จักช่องทางการค้นหา ซึ่งนี่เป็นฐานรากในการพัฒนาของผู้ใช้งาน

ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในองค์กร

          องค์กรส่วนใหญ่ในตอนนี้มักมีการเปลี่ยนผ่านการทำงานแบบเดิมเข้าสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้น เราจะเห็นได้จากหลายองค์กรที่มีแผนก Digital Transformation เพื่อช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้ ซึ่งทักษะความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในแต่ละแผนกหรือแต่ละบุคคลมักมีความแตกต่าง แต่ก็มีประเด็นที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ สื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงาน และอาจต้องการการเทรนนิ่งหรือฝึกฝนเพื่อให้พนักงานมีทักษะทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากทักษะนี้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่

  • สามารถใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลได้

          พนักงานจำเป็นจะต้องรู้จักและเข้าใจการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้ Search engine การใช้อีเมล Calendar โปรแกรม video conference อย่าง Zoom หรือ MS team ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญและช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวกับโปรแกรมหรือแพลตฟอร์ม รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บริษัทจะเอามาใช้ในการทำงานในอนาคตได้

  • เข้าใจความสำคัญของดิจิทัลและเทคโนโลยีในการทำงาน

          เพราะเทคโนโลยีและดิจิทัลมีมาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ต้องมีการเรียนรู้ที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นเพิ่มเติม ทำให้องค์กรต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีว่าทำไมต้องเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้ และสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการทำงานได้อย่างไร เพื่อให้พนักงานเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และหมั่นปรับตัวอยู่เสมอ

  • ความสามารถและความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดีย (Social media literacy)

          บทบาทของโซเชียลมีเดียในตอนนี้แทบจะทำหน้าที่เป็นสื่อหลักในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว ทำให้แทบทุกบริษัทต้องมี official account เป็นของตัวเองเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้าง branding และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสินค้า บริการ และตัวบริษัทเอง จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่พนักงงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างดี ต้องรู้ถึงประโยชน์และโทษ มีวิจารณญาณในการใช้ เพื่อให้สามารถเอาโซเชียลมีเดียมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานมากที่สุด

  • Cloud-based software และ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (multi-device)

          หลายบริษัทใช้การเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานทุกคนผ่านโปรแกรมในลักษณะของ Cloud-based ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ออฟฟิศเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงโปรแกรมการทำงานได้ผ่านโน้ตบุ๊กที่สามารถทำให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเฉพาะของบริษัท รวมไปถึงทำงานประสานกับพนักงานคนอื่น ๆ ผ่านทางโปรแกรมและแพลตฟอร์มออนไลน์ นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ (multi-device) เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็มีความจำเป็นเช่นกัน

           ประเด็นที่กล่าวไปด้านบนเป็นเพียงประเด็นเบื้องต้น บริษัทควรตรวจสอบว่าพนักงานในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีพอหรือยัง หรือมีส่วนไหนขาดไป ก็ต้องพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ จัดเทรนนิ่งให้พนักงานเพื่อให้พนักงานในองค์กรมีทักษะ Digital Literacy เป็นอย่างดี เมื่อความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีและดิจิทัลพร้อมแล้ว องค์กรก็สามารถสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน เพื่อให้บริษัทก้าวหน้าก้าวไกลไปพร้อม ๆ กับโลกยุคใหม่ที่หมุนเร็วขึ้นในทุก ๆ วัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Social media age restrictions อายุของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ปัจจัยสำคัญที่คนทำงานดิจิทัลควรใส่ใจ
Cryptocurrency สกุลเงินดิจิทัล สินทรัพย์นักลงทุนควรรู้
เปิดโลก MarTech พลิกกลยุทธ์การตลาดในยุคดิจิทัล
FinTech สายงานสุดฟินมาแรง แห่งยุคดิจิทัล
Negotiation skill: soft skill ที่ควรมีในงานยุคดิจิทัล
NFT Arts สินทรัพย์ดิจิทัล เทรนด์ใหม่ของคนวงการศิลปะ

ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 ด้าน มีดังนี้.
การใช้คอมพิวเตอร์.
การใช้อินเทอร์เน็ต.
การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย.
การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ.
การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ.
การใช้โปรแกรมการนำเสนองาน.
การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล.
การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์.

Digital Literacy มีกี่ข้อ

Subpages (6): การรู้การสื่อสาร หรือ Communication Literacy การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น หรือ Visual Literacy การรู้เทคโนโลยี หรือ Technology Literacy การรู้เท่าทันสื่อ หรือ Media Literacy การรู้สังคม หรือ Social Literacy การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy.

ทำไมต้องพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

Digital literacy หรือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นทักษะด้านดิจิทัลพื้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญ สำหรับข้าราชการในการปฏิบัติงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในลักษณะ “ทำน้อย ได้มาก” หรือ “Work less but get more impact” และช่วยส่วนราชการสร้างคุณค่า (Value Co-creation) และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน ( ...