แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

Show

       พลังงานไฟฟ้าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เหนือชั้นที่สุดประเภทหนึ่งในชีวิตของเรา  พลังงานไฟฟ้าสามารถผลิตได้จากหลายแหล่งพลังงาน  ซึ่งในปัจจุบันการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น นำไปสู่ความพยายามในการสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน หรือ Waste power plant เพื่อนำเอาขยะอุตสาหกรรม และขยะชุมชนมาผลิตพลังงานไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นั้นสร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า จากหลายแหล่งพลังงาน  เราสามารถแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าได้หลายแบบ หากแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าตามแหล่งที่มา จะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ ‍โรงไฟฟ้าดีเซล‍     ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มักใช้กับหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าประเภทนี้ใช้พื้นที่น้อย ในการติดตั้งมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  โรงไฟฟ้าดีเซลมักใช้เป็นโรงไฟฟ้าหรือหน่วยผลิตไฟฟ้าสำรองในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเกิดความขัดข้อง  แต่ไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีค่าบำรุงรักษาสูงและน้ำมันดีเซลมีราคาสูง ‍โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติ‍     ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการเผาก๊าซธรรมชาติ  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทหนึ่ง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเผาไหม้ถ่านหิน หรือน้ำมัน  สำหรับในประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในปริมาณ ประมาณร้อยละ 60 – 65 ของการผลิตไฟฟ้าใช้ในประเทศ ‍โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน‍     ใช้ถ่านหิน (Steam coal or Therman coal) ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า  เนื่องจากเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซอันตรายในปริมาณมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ (หากโรงไฟฟ้าไม่มีระบบกรองและดักจับฝุ่นที่ดี) ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศจึงยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  ด้วยคำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์‍      สามารถสร้างผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณสูง โดยใช้ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส โดยใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณต่ำ แต่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณมหาศาลและมีคาร์บอนในระดับต่ำด้วย  ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ‍       ไฟฟ้าพลังน้ำ ผลิดโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของน้ำไหล  ตามสถานีผลิตพลังงานขนาดใหญ่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะติดอยู่กับอุปกรณ์กังหันน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลผ่าน  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ ในปริมาณต่ำ แต่การสร้างเขื่อนนั้นต้องอาศัยพื้นที่ในการก่อสร้างและการลงทุนสูงเช่นกัน ‍โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์‍       ใช้เทคโนโลยีโฟโตวอลเทอิก (PV) พลังงานแสงอาทิตย์นั้นสร้างขึ้นจากการแปลงพลังงานจากแสงแดด  ถึงแม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดที่สุดและมีอยู่อย่างไม่จำกัด การลงทุนขั้นต้นเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง เนื่องมาจากต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการติดตั้งเพื่อให้ได้กำลังการผลิตที่มากพอด้วย ‍โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน‍       ใช้ชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพ และขยะในการผลิตพลังงาน  ชีวมวลถือเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีบทบาทมากประเทศไทยและปัจจุบันทางรัฐบาลมีการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาขยะ โดยเฉพาะขยะชุมชน ซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  เสถียรภาพของไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของเชื้อเพลิงขยะที่เข้ามา หากมีการนำขยะมาคัดแยกเอาเฉพาะส่วนที่เผาไหม้ได้มาใช้ จะทำให้ประสิทธิภาพของดีขึ้น ‍โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ‍      โรงไฟฟ้านี้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก คือ โรงไฟฟ้าพลังงานใต้พิภพแบบแห้ง โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแบบซิงเกิลแฟลชสตีมและโรงงานใต้พิภพแบบสองวงจร ทั้งสามประเภทใช้กังหันไอน้ำในการผลิตไฟฟ้า (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

โรงไฟฟ้าพลังงานลม      อาศัยความเร็วลมธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า  มักสร้างขึ้นบริเวณพื้นที่โล่งการเกษตร ชายฝั่งและนอกชายฝั่ง โรงไฟฟ้าพลังงานลมมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าต่ำ อย่างไรก็ตามการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งเป็นสำคัญ ‍โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง‍      เป็นการใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ของน้ำขึ้น-น้ำลง มาผลิตไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลาซึ่งสามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าประเภทนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก และยังต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้

แหล่งพลังงาน คือ พื้นฐานสำหรับการเติบโตของประเทศ ทั้งการสร้าง พัฒนา และรักษา ล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงกระจายความเจริญอย่างต่อเนื่อง

แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าแหล่งพลังงานเหล่านี้อยู่ที่ไหนบ้าง ใกล้หรือไกลตัวเราขนาดไหน แล้วแหล่งพลังงานที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่สำหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

ประเภทของพลังงาน

ก่อนจะกล่าวถึงแหล่งพลังงาน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพลังงานถูกแบ่งออกเป็นสองประเภท ตามแหล่งที่มา ได้แก่

1. พลังงานขั้นต้น (Primary Energy) หรืออีกชื่อคือพลังงานต้นกำเนิด คือพลังงานที่อยู่ในธรรมชาติ สามารถนำมาใช้งานได้โดยตรง เช่น แสง น้ำ ลม ความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น

2. พลังงานขั้นสุดท้าย (Final Energy) คือพลังงานที่เกิดจากการนำพลังงานขั้นต้นมาแปรรูป ปรับปรุงคุณภาพให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พลังงานปิโตรเลียม พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยนั้น มีแหล่งสำหรับผลิตพลังงานทั้งสองประเภทกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยจะเน้นหนักไปทางพลังงานขั้นต้นเสียส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีการผลักดันให้มีการผลิตพลังงานขั้นสุดท้าย อย่างพลังงานน้ำมันและพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน

แหล่งพลังงานในไทยอยู่ที่ไหนบ้าง

ดังที่บอกไปข้างต้นว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านพลังงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการผลิตก๊าซธรรมชาติออกมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย น้ำมันดิบ และถ่านหิน ซึ่งมีฐานการผลิตตามนี้

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

ก๊าซธรรมชาติ

สำหรับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยมีแหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวไทย และล่าสุดมีแหล่งบงกชใต้เพิ่มเข้ามา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

น้ำมันดิบ

แหล่งพลังงานน้ำมันของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือแหล่งพลังงานบนบกและแหล่งพลังงานในทะเล สำหรับแหล่งพลังงานบนบกจะมีอยู่ที่ภาคเหนือและภาคกลาง เช่น แอ่งฝาง แอ่งพิษณุโลก เป็นต้น ส่วนแหล่งพลังงานในทะเล เช่น แอ่งจัสมิน แอ่งบานเย็น เป็นต้น

ถ่านหิน

ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออก และโดยส่วนมากเป็นถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ โดยแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของไทยที่หลายคนรู้จักกันดีคือเหมืองถ่านหินในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก

นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหิน ประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานน้ำจากเขื่อน หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทางภาครัฐกำลังผลักดันให้มีสัดส่วนพลังงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

สัดส่วนพลังงานในประเทศไทย

เราทุกคนรู้ว่าประเทศไทยต้องการพลังงานอย่างมหาศาล แต่เรารู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้ประเทศไทยผลิตพลังงานอะไรมากที่สุด และใช้พลังงานอะไรมากที่สุด (ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน)

สัดส่วนการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

ตามข้อมูลของแหล่งผลิตพลังงานข้างต้น สิ่งที่ประเทศไทยผลิตในประเทศได้มากที่สุดยังคงเป็นก๊าซธรรมชาติ ตามด้วยน้ำมันดิบ คอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และ ลิกไนต์ (ถ่านหิน) ซึ่งสัดส่วนการ
ผลิตนี้ดูจะสวนทางกับการใช้งานที่เน้นน้ำมันเป็นหลัก ทั้งการใช้งานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นและการใช้งานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย

สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

สำหรับการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น ไทยยังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตเองภายในประเทศควบคู่ไปกับน้ำมัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอัตราการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงจากปี 2560 และยังลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นปี 2562 (อนึ่งกราฟของการใช้พลังงานจะไม่รวมการใช้พลังงานทดแทน) สวนทางกับน้ำมันที่มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้น

สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

ในด้านสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย ประเทศไทยยังคงมีการใช้พลังงานน้ำมันเป็นหลัก และยังมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการเติบโตของการขนส่งและภาคคมนาคม รวมถึงประชากรที่ใช้รถใช้ถนน (อนึ่งกราฟของการใช้พลังงานจะไม่รวมการใช้พลังงานทดแทน)

สัดส่วนการใช้พลังงานในแต่ละหมวดหมู่

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการขนส่งเป็นประเด็นหลักสำหรับการใช้พลังงานในประเทศ และจากกราฟนี้ท่านจะเห็นว่าภาคอุตสาหกรรมเองก็มีการใช้พลังงานใกล้เคียงกัน เนื่องจากประเทศไทยกำลังพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้การนำเข้าพลังงานน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นจากปี 2560 ถึง 15.4% และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลงแต่อย่างใด

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าที่จริงแม้ประเทศไทยจะผลิตพลังงานได้ แต่ถ้าเทียบสัดส่วนแล้วก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของภาคประชาชน เพราะอัตราส่วนความต้องการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเทียบกับระดับสากล แล้วจะทราบได้เลยว่าประเทศไทยยังคงมีการใช้พลังงานโดยรวมเพิ่มขึ้น

นอกจากการผลิตและการใช้งานในประเทศแล้ว ไทยยังมีการส่งออกพลังงานบางส่วนออกไปนอกประเทศด้วย แต่เพราะสาเหตุใดเราจึงต้องส่งออก มาดูในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

ทำไมไทยต้องส่งออกพลังงาน

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

จากหัวข้อที่ผ่านมาเราคงทราบแล้วว่าไทยมีการนำเข้าพลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อความเสถียรทางพลังงานในประเทศ ทว่าก็มีพลังงานบางส่วนที่เราส่งออกไปเช่นกัน แล้วเราส่งออกพลังงานอะไรไปบ้าง ทำไมถึงส่งออก  

น้ำมัน

แม้จะมีการนำเข้าน้ำมันมาเพื่อใช้งานในประเทศ แต่ประเทศไทยก็มีการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน เหตุผล 2 กรณีหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางการซื้อขายน้ำมัน กล่าวคือรับน้ำมันดิบเข้ามาในประเทศ ทำการกลั่นเป็นน้ำมันที่สามารถใช้งานได้ และส่งออกในราคาที่สูงขึ้น เพื่อนำกำไรเข้าสู่ประเทศ รวมถึงทำให้โรงกลั่นน้ำมันต่างๆทำงานได้เต็มที่

2. น้ำมันดิบในไทยมีสารปรอทปนเปื้อนสูง ซึ่งส่งผลเสียต่อโรงกลั่นน้ำมัน ทำให้เราต้องมีการส่งออกน้ำมันออกไปเพื่อกลั่นนอกประเทศ

ถ้าแบบนั้น ทำไมจึงไม่สร้างโรงกลั่นเพื่อกลั่นน้ำมันดิบในประเทศ ? สาเหตุเพราะการส่งออกน้ำมันไปกลั่นนอกประเทศมีความคุ้มค่ากว่าการสร้างโรงกลั่นเอง อีกทั้งต้นทุนจากการสร้างโรงกลั่นจะส่งผลกระทบต่อราคาขายน้ำมันหน้าปั้มให้ถีบตัวสูงขึ้น ก็เพราะว่าถ้ามีการสร้างโรงกลั่น จะส่งผลให้ราคาขายน้ำมันหน้าปั๊มสูงขึ้น การส่งออกไปกลั่นจะช่วยประหยัดเงินในส่วนนี้ได้มากกว่า

ก๊าซธรรมชาติ

ประเทศไทยมีการส่งออกก๊าซธรรมชาติเช่นกัน เพราะมีปริมาณการผลิตที่สูงและสามารถใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะในภาคครัวเรือน โดยเน้นส่งออกไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย และสปป.ลาว ตามลำดับ

ทิศทางอนาคตพลังงานไทย

ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญในพลังงานหลักๆ สองด้าน คือ ด้านพลังงานทดแทนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการเพิ่มเสถียรภาพทางพลังงานภายในประเทศ เพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืนมากที่สุด โดยส่งผลต่อภาคประชาชนน้อยที่สุด

พลังงานทดแทน  

สำหรับทิศทางของพลังงานทดแทน ประเทศไทยจะเน้นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทน รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนและการลดต้นทุนทางการผลิต เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานทดแทนได้มากขึ้น และลดสัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการพัฒนาและผลักดันการแก้กฎหมายด้านพลังงานทดแทนให้สามารถใช้ได้จริงและทั่วถึง

และยังมีการสนับสนุนการเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถพลังงานไฟฟ้า พัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านพลังงานในนิคมอุตสาหกรรม EEC ให้เป็นต้นแบบในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เสถียรภาพทางพลังงาน

ทางรัฐบาลมีการส่งเสริมด้านเสถียรภาพทางพลังงานอย่างครอบคลุมตั้งแต่การผลิตพลังงาน จนถึงภาคการใช้งานพลังงาน

การผลิตพลังงาน

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

จะมีการเร่งรัดให้จัดหาปิโตรเลียมทั้งบนบกและทะเลให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงให้ความรู้กับภาคประชาชนเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้น และผลักดันโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางพลังงาน พัฒนาระบบรองรับสภาวะฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขวิกฤตพลังงานที่อาจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

โดยในปี 2021 ไทยได้มีการปรับแผนเข้าสู่พลังงานทดแทนใหม่ๆ มากมาย ตั้งแต่การสร้างฟาร์มโซลาร์เซลล์บนน้ำที่ใหญที่สุดในไทยที่เขื่อนสิรินธร การวางแผนทำโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อการจ่ายไฟฟ้าที่ดีขึ้น และการตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะเพื่อไม่ให้การผลิตไฟฟ้าเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

การใช้งานพลังงาน

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

มีการออกมาตรการการใช้งานในโรงงานและอาคาร พัฒนากฎหมายและระเบียบให้เอื้อต่อพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน ส่งเสริมการใช้ LED เน้นให้ภาครัฐเป็นต้นแบบให้ภาคประชาชนด้านการประหยัดพลังงาน

มีการอบรมบุคลากร ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานในโครงสร้างหน่วยงานเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว และรัดกุมมากยิ่งขึ้น

ตอนนี้เราคงทราบแล้วว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานอยู่ที่ไหน และมีเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ รวมไปถึงอนาคตจะมีทิศทางแบบใด ถึงแม้ว่าภาครัฐจะออกนโยบายมาดีแค่ไหน แต่เราก็ยังคงต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชน ให้ทุกคนเห็นค่าของพลังงาน ช่วยกันใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า เพื่อที่ประเทศไทยจะสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืนตราบนานเท่านาน

นอกเหนือจากนั้น ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ยังมีแนวคิดการรื้อโครงสร้างค่าไฟฟ้าครั้งใหญ่ เพื่อทำให้การคิดค่าไฟฟ้าง่าย สะดวก รองรับการผลิตไฟ้าจากหลายพื้นที่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการผลิตพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

สรุป

ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานมากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งพลังงานฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ แน่นอนว่าการบริหารจัดการที่ดีย่อมเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ทิศทางพลังงานไทยเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดแล้วภาคประชาชนยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ใช้พลังงาน

การให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน รู้คุณค่าของพลังงาน และใช้พลังงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นหนทางสำคัญที่ทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปได้อย่างคุ้มค่า และทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางพลังงานไปตราบนานเท่านาน

แหล่งพลังงานใดที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย

แหล่งพลังงานในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหิน ประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานน้ำจากเขื่อน หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทางภาครัฐกำลังผลักดันให้มีสัดส่วนพลังงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น.
ก๊าซธรรมชาติ ... .
น้ำมันดิบ ... .
ถ่านหิน.

พลังงานใดที่นำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุด

ในปี 2561 ทั่วโลกมีการผลิตไฟฟ้า โดยใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินผลิตไฟฟ้ามากที่สุดถึง 38% โดยผลิตไฟฟ้าได้ที่ 10,157 เทราวัตต์ชั่วโมง ไม่นานมานี้ มีการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อปี 2543 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ผลิตไฟฟ้าเท่ากับพลังงานจากนิวเคลียร์ และมีสัดส่วน 18% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ในช่วง ...

ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานใดเป็นหลัก

ร้อยละ 90 ของพลังงานที่ใช้ในเมืองไทยผลิตในรูปแบบดั้งเดิม จากรูปแบบของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน โดยส่วนที่เหลือเป็นพลังงานจากพลังงานทางเลือก อาทิ มวลชีวภาพ แก๊สชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

พลังงานชนิดใดที่ประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

1.5.1.3 การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้พลังงานของ ประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์ (Commercial Energy) ซึ่งได้แก่ น้ามัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า เป็นรูปแบบของพลังงานที่มีบทบาทสาคัญและมีการใช้มากที่สุด