สารประกอบ ฟี น อ. ลิ ก งานวิจัย

สภาวะที่เหมาะสมของการสกัดด้วยอัลตร้าซาวด์เสริมและศักยภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารประกอบฟีนอลิกจากผักพื้นบ้านภาคใต้ของไทย

Optimization of ultrasound-assisted extraction and antioxidative potential of phenolic compound from indigeneous vegetables in the southern of Thailand

รายละเอียดโครงการ

ปีงบประมาณ 2559
หน่วยงานเจ้าของโครงการ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ประเภทโครงการ โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย โครงการประยุกต์
วันที่เริ่มโครงการวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2558
วันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย (พ.ศ.) 30 กันยายน 2559
วันที่ได้รับทุนวิจัย (พ.ศ.) 1 ตุลาคม 2558
ประเภททุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน
สถานะโครงการ สิ้นสุดโครงการ(ส่งผลผลิตเรียบร้อยแล้ว)
เลขที่สัญญา
เป็นโครงการวิจัยที่ใช้ในการจบการศึกษา ไม่ใช่
เป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม ไม่ใช่
บทคัดย่อโครงการ งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้าน ภาคใต้โดยด าเนินการสกัดฟีนอลิกทั้งหมดด้วยอัลตร้าซาวด์เสริม พบว่า ใบมะม่วงหิมพานต์มี ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 281.98 mg GAE/g DW และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 723.91 mg vitamin C/g DW สูงสุดเปรียบเทียบกับผักพื้นบ้านชนิดอื่นๆ อีก 8 ชนิด (ใบมันปู ขมิ้น ข่า สะตอ ลูกนาง ดอกแค ดอกขี้เหล็กและลูกฉิ่ง) สภาวะที่ใช้ในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกจาก ใบมะม่วงหิมพานต์ด้วยอัลตร้าซาวด์เสริม คือ ความเข้มข้นเอทานอลร้อยละ 40 โดยปริมาตร เวลา สกัด 25 นาที และสัดส่วนของแข็งต่อตัวท าละลาย 1:50 สารสกัดใบมะม่วงหิมพานต์มี ความสามารถในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชัน (PV และ TBARS) ในน ้ามันปาล์มบริสุทธิ์ได้ดีกว่า ชุดควบคุม BHA แต่ด้อยกว่า BHT ที่ระดบัความเขม้ขน้ร้อยละ 0.02 และ 0.1 ในการเก็บรักษาที่ สภาวะเร่งอุณหภูมิ 60ºC นาน 15 วนั การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมการผลิตฟิล์มแป้งมันส าปะหลังด้วยระเบียบวิธีพื้นผิว ตอบสนอง (RSM) พบว่า สารละลายฟิล์ม 15 กรัม เวลาการอบ 36 ชั่วโมง และอุณหภูมิการอบ 50 องศาเซลเซียส เป็นสภาวะที่เหมาะสมซึ่งมีค่าความต้านทานแรงดึงและค่าการยืดเมื่อขาดเท่ากับ 0.62 เมกะปาสคาล และร้อยละ 105.37 ตามล าดับ การเติมสารสกัดใบมะม่วงหิมพานต์ในฟิล์มแป้ง มันส าปะหลัง พบว่า ปริมาณฟีนอลิกและค่า b* เพิ่มขึ้นส่วนค่า L* และ a* ลดลง การเติมสารสกัด ในรูปของแข็งจะให้ค่าความแข็งแรงของฟิล์มเท่ากับ 1.52 และ 2.29 MPa ที่ความเข้มข้นสารสกัด ร้อยละ 0.1 และ 1 น ้าหนักต่อปริมาตรของสารสกัด ตามล าดับ และการเติมสารสกัดในรูปของเหลว จะให้ค่าความแข็งแรงของฟิล์มเท่ากับ 1.39 และ 0.72 MPa ที่ความเข้มข้นของสารสกัดร้อยละ 1 และ 5 ปริมาตรต่อปริมาตรของสารสกัด ส่วนค่าการยืดเมื่อขาดของการเติมสารสกัดในรูปของแข็ง เท่ากับร้อยละ 86.67 และร้อยละ 41.67 ที่ความเข้มข้นสารสกัดร้อยละ 0.1 และร้อยละ 1 น ้าหนักต่อ ปริมาตรของสารสกัด ตามลา ดับ ส่วนค่าการยืดเมื่อขาดของการเติมสารสกัดในรูปของเหลวเท่ากับ ร้อยละ 103.33 และร้อยละ 104.17 ที่ความเข้มข้นสารสกัดร้อยละ 1 และร้อยละ 5 ปริมาตรต่อ ปริมาตรของสารสกัด ตามล าดับ ค าส าคัญ: ผักพื้นบ้านภาคใต้ อัลตร้าซาวด์เสริม สารประกอบฟีนอลิก การตา้นอนุมูลอิสระ
รายละเอียดการนำไปใช้งาน
เอกสาร Final Paper(s)
  • 2.บทนำ.pdf (212.22 KB)
  • 1.หน้าปก.pdf (217.06 KB)
  • 4.วิธีการทดลองและผล.pdf (492.28 KB)
  • 3.ตรวจเอกสาร.pdf (825.86 KB)
  • 5.สรุปผลและเอกสารอ้างอิง.pdf (268.63 KB)
  • 6.ภาคผนวก.pdf (309.81 KB)

ทีมวิจัย