ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยกี่เสาหลักอะไรบ้าง

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยกี่เสาหลักอะไรบ้าง

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1. สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ ด้วยการไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
2. เสริมเสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุมคามที่มีผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด และอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
3. สร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นแฟนกับประเทศต่างๆ ในโลกให้อาเซียนมีบทบาทในภูมิภาค
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community – AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวโดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1.อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นสวน คอมพิวเตอร์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
2. ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบร่วมกันในอาเซียน
3. การพัฒนาเป็นศูนย์การการผลิตของอาเซียนในสาขาที่ประเทศไทยมีความถนัด
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่
* ไทย : ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
ฟิลิปปินส ์: อิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

เมื่ออ่านหัวข้อตอนเริ่มแรกหลายคนคงมีข้อสงสัยว่าอะไรคือ 3 เสาหลักอาเซียน หลายคนแทบจะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ 3 เสาหลักอาเซียน เป็นความร่วมมือหลักๆ ระหว่างกลุ่มอาเซียน ที่จะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ทุกๆ ประเทศในประชาคมอาเซียนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความแข็งแกร่ง มั่นคง สามารถที่จะต่อสู้กับเหล่าบรรดาชาติอื่นๆ ได้

ความหมายของ 3 เสาหลักอาเซียน

จากการตกลงกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นข้อตกลงบาหลี 2 ปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นการตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ได้มีการแบ่งแยกออกเป็น 3 ประชาคมย่อย ซึ่ง 3 ประชาคมย่อยที่ว่านี้เองถูกเรียกว่า 3 เสาหลักประชาคมอาเซียน โดยให้มีการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2558 และได้มีการเข้าร่วมอย่างเต็มตัวที่เห็นกันนี้

           หากขาดเสาหลักเสาใดเสาหนึ่งไป การร่วมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาจดำเนินไปได้อย่างไม่สมบรูณ์ เพราะทั้ง 3 เสาหลักนี้ ได้ครอบคลุมทุกองค์ประกอบที่จะทำให้ประชาคมอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติสุข ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากประชากรในประเทศสมาชิกทั้งหมด ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกันสู่ความยิ่งใหญ่ของประชาคมฯในอนาคตต่อไป