ก่อนทำธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

          โลกปัจจุบันเทรนด์ต่าง ๆ มาไวไปไวมาก ยิ่งเรื่องการทำธุรกิจด้วยแล้ว ทิศทางตลาดเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ และเราต้องปรับตัวตามให้ทันด้วย โดยการพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างจากคนอื่น และหมั่นหาความรู้ต่อยอดธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นก็เตรียมโดนคู่แข่งอื่น ๆ แซงหน้าได้เลย 

Once Again Hostel เกิดจากคน 2 คนที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม และมีความคิดที่คล้ายกันคือ ต้องการร่วมสร้างสังคมให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยคนหนึ่งเป็นสถาปนิกที่อยากนำสถาปัตยกรรมเข้ามาสร้างประโยชน์กับชุมชน ส่วนอีกคนก็เป็นวิศวกรแต่มีอยากทำธุรกิจเพื่อสังคม

ความตั้งใจดังกล่าวต่อมาได้ถูกต่อยอดเป็นโมเดลธุรกิจแบบ Social Enterprise ที่เรียกว่า “ธุรกิจเกื้อกูล” (Inclusive Business) โดยทุก Value Chain ของธุรกิจจะต้องเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่ใหม่มากสำหรับประเทศไทย

ทีมงานเลือกที่จะสัมภาษณ์ศานนท์ หวังสร้างบุญ Co-founder ของ Once Again Hostel เพื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของแนวคิดนี้

ไปที่ จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

ไปที่ ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

ไปที่ Key Success ของธุรกิจ

ไปที่ ความท้าทายในอนาคตของธุรกิจด้านนี้

จุดเริ่มต้น แนวคิด และไอเดียของธุรกิจ

SME ONE : Once Again Hostel เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

คุณศานนท์ : ที่นี่เคยเป็นโรงพิมพ์มาก่อน คือตรงนี้เป็นย่านสังฆทาน สังคภัณฑ์ ย่านนี้ก็เลยเป็นเส้นโรงพิมพ์เก่า ไปจนถึงถนนจักรวรรดิ แล้วพอดีครอบครัวของเพื่อนผม ซึ่งเป็น Generation ที่ 3 คือเราเรียนมาด้วยกันตั้งแต่เซนต์คาเบรียล แล้วก็จบเข้าจุฬา เพื่อนเรียนสถาปัตย์ ผมเรียนวิศวะ ทีนี้อาคารหลังนี้ถูกปล่อยร้างมา 10 กว่าปี ก่อนที่จะมา Renovate เป็น Once Again Hostel

แม้ว่าอาคารจะถูกทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานมากว่าสิบปี แต่ว่าโครงสร้างอาคารแข็งแรงเพราะว่าเป็นโรงพิมพ์เก่า วางเครื่องพิมพ์เก่า ทีนี้ด้วยความที่เพื่อนเป็นสถาปนิกเห็นแบบตึกเก่าก็อยาก Renovate แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร ส่วนผมเองก็มี Passion เรื่องธุรกิจเพื่อสังคมอะไร คือผมทำพวกกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยเยอะ เราก็ชอบงานค่าย ชอบงานอะไรอย่างนี้ คราวนี้นี้พอยุคที่น้ำท่วมใหญ่ ยุคที่มันมีปัญหาสังคมเยอะ ๆ ผมก็มี Initiative แบบทางสังคมเยอะ ตอนนั้ยังทำงานประจำอยู่เป็นวิศวกรโรงงาน ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกันกับที่เพื่อนจัดตั้งบริษัทของตัวเองพอดีก็เลยมาชวนมาทำธุรกิจด้วยกัน ผมก็เก็บตังค์มาประมาณนึงในช่วงที่ทำงานประจำอยู่ 5 ปี ก็ตัดสินใจเอาเงินมาลงขันกันทำโรงแรม

ผมก็เลยมาขุดคุ้ยดู จนพบว่ามันมีปัญหาเยอะมาก ตั้งแต่เรื่องของการปรับตัวของอุตสาหกรรม ปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เขามีรายได้ลดลง มีเรื่องของประเด็นที่อยู่อาศัย ประเด็นสลัม ประเด็นคนจน ประเด็นการศึกษา ประเด็นอื่นๆมากมาย ก็เลยมองว่าถ้าเราช่วยเป็นกระบอกเสียงหรือเป็นส่วนหนึ่งที่จะ Spotlight ไปที่ชุมชนน่าจะดี จึงเริ่มต้นด้วยการพยายามศึกษาพื้นที่ใช้เวลาประมาณครึ่งปี ในการสำรวจว่าแถวนี้มีอะไร มีใครบ้าง 

จนผมไปเจอ Business Model ที่เรียกว่าธุรกิจเกื้อกูล หรือ Inclusive Business คือการเอา Value Chain ของธุรกิจออกมาดูว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เช่น งานดีไซน์ งานก่อสร้าง งานตกแต่ง ดูว่า Service มีอะไรบ้าง เช่นซักผ้า ซ่อมบำรุง มี Taxi ฯลฯ คือตี Value Chain ออกมาทั้งหมด แล้วก็เอาสิ่งที่ศึกษามาประมาณ 6 เดือน มาดูว่าธุรกิจเราจะสามารถรวม Value Chain กับ Social Value อย่างไร เช่น ก่อสร้างเราก็เอาช่างแถวนี้ เฟอร์นิเจอร์เราใช้ชุมชนแถวภูเขาทองได้หรือไม่ ฝาบาตรจากชุมชนเราเอามาทำงานตกแต่งสถานที่ หรือว่า Recruiting ใช้คนแถวนี้หมด บริการ Taxi เราก็ทำ Taxi ชุมชน มอเตอร์ไซค์ ตุ๊กตุ๊ก 

วันนั้นเราก็เลยเริ่มจากวิธีการนี้ แล้วก็พยายามที่จะคิด Creative ไปเรื่อย ๆ ว่าทำอะไรได้อีกบ้าง สร้างโรงแรมเสร็จแล้ว เราพาแขกไปเที่ยวก็ได้ พาไปกินข้าวก็ได้ หรือว่าไปทำโปรเจกต์ร่วมกับชุมชนก็ได้ 

SME ONE : วันที่ตัดสินใจ มองเห็นเทรนด์ของอุตสาหกรรม Hostel เป็นอย่างไร

คุณศานนท์ : ตอนที่ผมเข้ามา Hostel ยังไม่เยอะมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่รู้จักนะครับ คือมันมีคนที่ทำมาก่อนอยู่ในตลาด แต่ว่าก็ไม่ได้เป็นทางเลือกหลัก ตอนนั้นเขาจะฮิตคำว่า Boutique Hotel มากกว่า Hostel นี่ยังไม่ค่อยรู้จัก 

SME ONE : คนเข้าใจไหมว่า Hostel ไม่ใช่ Guesthouse 

คุณศานนท์ : ผมไม่ค่อยซีเรียสกับนิยามมากเท่ากับ Facility หรืออะไรที่คาดหวัง อย่างเช่น Hostel ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Dormitory ก็คือจะนอนรวม ห้องน้ำแยก อันนี้ผมคิดว่าคนยังไม่ค่อยเข้าใจมากกว่า ในวิธีการนอนแบบนี้ คนยังไม่ค่อยเข้าใจว่าสามารถนอนรวมกันได้ แล้วพอคนไทยมาใช้บริการนี่อาจจะงง ๆ แต่ถ้าในลูกค้าเราที่เป็นคนยุโรป เขาจะเข้าใจอยู่แล้ว ซึ่งเราก็มุ่งไปทางนั้น

SME ONE : สิ่งที่ทำนี้เรียกว่าเป็นธุรกิจเพื่อชุมชน หรือ Social Enterprise (SE) หรือไม่

คุณศานนท์ : ใช่ แต่ในมุมผม ผมไม่ได้ติดเรื่องนิยาม แต่เป็นเรื่องของความตั้งใจที่จะเอาธุรกิจมาบรรลุปัญหาในสังคมมากกว่า อันนี้ผมว่าเป็นเรื่องสำคัญกว่า คือมันก็มีวิธีการในการแก้ปัญหาในสังคมหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแก้ปัญหาด้วยธุรกิจ หรืออาจจะแก้ปัญหาด้วย NGO อาจจะไปทำงานการเมือง มันทำได้หมดเลย แต่ธุรกิจเพื่อสังคมมันเป็น Engine หนึ่งเท่านั้นที่เอากลไกทางการตลาด เช่น เอาความต้องการของคนมาแก้ปัญหาสังคม 

ผมว่าวิธีการนี้ค่อนข้างใหม่และค่อนข้าง Against กับวัฒนธรรมคนไทย ที่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการแก้ปัญหาสังคมมันต้องเสียสละ อุทิศ ต้องไม่มี Conflict แต่ว่าธุรกิจเพื่อสังคมมันจะบอกว่า การช่วยสนับสนุนสินค้าหรือบริการก็ช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ ซึ่งในมุมมองของวัฒนธรรมเรานี่ ซื้อของ ก็แสดงว่ามันขายของนี่นา ผมคิดว่าตรงนี้ยังไม่ได้เติบโตเท่าหลาย ๆ ประเทศที่เขาไปไกลแล้ว

SME ONE : แนวคิดตอนเริ่มต้นธุรกิจกับปัจจุบันระหว่างทางมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร

คุณศานนท์ : เปลี่ยนเยอะครับ ยุคแรกๆเหมือนเรามีวิธีการที่เราเชื่อมั่น แล้วเราก็พยายามลงไปเพื่อให้คนทำตามวิธีการนี้ แต่ทุกวันนี้ผมว่ามันคือการแลกเปลี่ยนกันจริง ๆ หมายความว่า แต่ละคนต้องเคารพความชำนาญที่แตกต่างกัน เราลงไปในชุมชน เรารู้เลยว่าเราไม่ได้เก่งเลยในบางเรื่อง หรือเราอาจจะไม่เข้าใจบริบทที่เขาเป็นด้วยซ้ำ แต่ว่าสิ่งที่เราแลกเปลี่ยนได้จะเป็นเรื่องของความเข้าใจลูกค้า เพราะเราทำ Hostel เราอยู่กับแขกทุกวัน เรารู้ว่าแขกบางคนเขาไม่กินเนื้อสัตว์ ถ้าพี่ทำ Veggie เขาชอบกินเลยอะไรแบบนี้ เราสามารถพูดแทนฝั่งลูกค้าได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมว่า วิธีการทำงานมันจะไม่ได้เป็นการแบบคิดทุกอย่างครบแล้วลงไปเพื่อทุกคนทำตามนั้น ไม่ใช่ แต่มันคือการลงไปเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างเรากับลูกค้า

สิ่งที่เปลี่ยนไปอาจจะเป็นเรื่องของ Spiritual หน่อย ในมุมผมการพัฒนาไม่สิ้นสุด คือผมค่อนข้างปลงกับความไม่สมบูรณ์ พอเราทำงานอย่างนี้ แล้วยิ่งทำงานเรื่องเมือง ทำงานเรื่องชุมชนอย่างนี้ ผมคิดว่ามันทำไปเถอะ เพราะถึงวันนึงมันก็เจอทางแยกไม่ซ้ายก็ขวาอีก วันนี้เราเลี้ยวซ้าย เดี๋ยวอีกวันก็เลี้ยวขวา หรือว่าความสมบูรณ์แบบนี้ก็มีปัญหาอีกแบบหนึ่ง

เราก็เจอเพื่อนออสเตรเลีย เขาก็ชอบงานของ Mayday มาก เขาอยากทำแบบนี้ในบ้านเขามาก เราก็ถามว่า บ้านคุณสภาพแวดล้อมดีกว่าไทยจะทำไปทำไม เขาบอกว่า ประชาชนบ้านเรามีส่วนร่วมมาก ปัญหาของเขาก็คือ สังคมของเขามัน Individual เกิน 


ปัญหาที่เจอ หรืออุปสรรค ที่พบระหว่างทางของการทำธุรกิจ

ก่อนทำธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

SME ONE : ตั้งแต่ทำธุรกิจมาเราเคยเจอปัญหาอะไรหนัก ๆ แล้วเราแก้อย่างไร

คุณศานนท์ : ตลาดเริ่ม Over Supply ทำให้เกิดการตัดราคา ก็เกิดสงครามราคา ถามว่าแล้วเราแก้ปัญหาอย่างไร เราใช้การเล่าเรื่อง Story Telling เราสร้างจุดขายของเรา ผมคิดว่า Value ที่แท้จริงมันมีอยู่ แล้วการที่เราตั้งใจทำ Value ให้ถึงลูกค้าจริง ๆ จะเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุดที่ทำให้เราอยู่ได้ บางคนอาจจะทำธุรกิจแบบฉาบฉวย แต่เราก็มองว่าการเข้าใจ Brand Value เป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด และทำให้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราก็ยังอยู่ได้ 


ก่อนทำธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

SME ONE : Brand Value ของ Once Again Hostel คืออะไร

คุณศานนท์ : Brand Value ของ Once Again Hostel คือ Authentic Local, Authentic Experience จริง ๆ ได้เจอคนที่เป็นชุมชนจริง ๆ มีแบบตารางกิจกรรมทุกวันที่เขาได้ลงไปเดินชุมชน มี Family Dinner ทุกวัน มีอาหารจากชาวบ้านมาเสิร์ฟทุกวัน Reception ก็เป็นคนแถวนี้ Service ทุกอย่างเป็นคนแถวนี้หมดเลย ฉะนั้นการมาอยู่กับเรานี่รับประกันว่าคุณจะได้ Authentic Experience แบบในทุก ๆ มิติของการอยู่อาศัยจริงๆ

SME ONE : ถ้ามองเป็นการแข่งขัน Once Again Hostel แข่งกับ Cluster อื่น ๆ หรือว่าเราแข่งกับคู่แข่งภายในเอง

คุณศานนท์ : ผมว่าด้วย Facility กับ Segment ค่อนข้างจะแตกต่างกัน อธิบายแบบนี้ ผมคิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นการนอนแบบ Authentic Experience ที่หายากมาก ค่อนข้างไม่มีใครทำ คือมองว่าคนที่ไปโรงแรม Chain ก็จะได้บริการแบบ Luxury Experience หรือว่าได้ Comfort แบบ Full Service อยากได้อะไร Click ปุ๊บของมาส่ง แต่ของเราออกไปเชิง Authentic มาก ๆ มีลูกค้าผมหลายคนที่นอนโรงแรมชั้นนำของต่างประเทศ แล้วก็มาเลือกนอนของเรา 1 คืน เพื่อที่จะสัมผัสตรงนี้ คือเขามีเงินเขาอาจจะสบายสัก 5 วัน สัก 1-2 วัน เขาอยากจะมาลุยอย่างนี้ เรามีลูกค้าแบบนี้เยอะมาก ผมเลยมองว่าสิ่งที่เราขายไม่ใช่เรื่อง Affordable อย่างเดียว แต่เป็น Experience ที่หาไม่ได้จากที่อื่น 

แล้วเราอาจจะต่างจาก Hostel อื่นคือขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ คือปกติ Hostel จะมีปัญหาตรงที่ว่า สมมติเขารับได้ 40-50 คน คนที่มา Join กับเขาจริง ๆ จะประมาณ 10% ก็คือ 40 คนก็ได้ 4 คน ของเรา 100 คน อย่างน้อย ๆ เนี่ยมี 10 คน อาจจะมีมาร่วมกิจกรรมส่วนกลางถึง 20%  ก็คืออย่างน้อย 20 คน ฉะนั้นแปลว่า ถ้าคุณมาพักแบบคนเดียวโดดเดี่ยว คุณได้เพื่อนอีก 19 คนแน่ ๆ นี่ก็เป็นสิ่งที่คิดว่าเราแตกต่างจากคนอื่น ด้วยความที่แบรนด์เรามันชัดเรื่อง Authentic Experience คนที่มาจะเป็น Right Minded มาก ๆ จะไม่ได้มาแบบเพื่อปาร์ตี้ เพื่อเมาเละ ไม่ใช่มาหาคู่นอน ไม่ใช่มาเพราะราคาถูกอย่างเดียวแบบไม่มีเงินแล้ว

SME ONE : ตรงนี้เป็นเพราะว่าแนวคิดของโรงแรมคัดกรองลูกค้ามาส่วนหนึ่งแล้ว

คุณศานนท์ : ใช่ Screen คนได้ส่วนหนึ่ง ราคาเราก็ค่อนข้าง Competitive ตอนปีใหม่เราก็แพงที่สุด เราเป็น Hostel ที่ราคาแบบค่อนข้างโดด แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้คนที่มันแบบ Screen จริง ๆ แสดงว่า Brand Value มันได้ คนก็ยอมจ่าย แล้วพอคนยอมจ่าย เราก็สามารถนำเสนอสิ่งที่มัน Authentic จริง ๆ ได้ เรามี Staff ที่เยอะมาก ถ้าเทียบกับ Hostel ปกติ คือ Staff เราประมาณ 8-10 คน ซึ่งคือ 1 ต่อ 10 ในมุมผม คือค่อนข้างเยอะมาก

SME ONE : มีวิธีการทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาพักอีกอย่างไร เพราะมาครั้งแรกอาจจะ Surprise แต่ครั้งที่ 2,3 ความ Surprise อาจจะลดลง

ศานนท์ : คนที่มาครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปที่เดิม ประกอบกับเราก็เสาะแสวงหากิจกรรมใหม่ๆ ไปเรื่อย ๆ กิจกรรมตอนนี้มีเยอะมาก สามารถจัด Activity 30 วัน บางเดือนไม่ซ้ำกันเลยก็ยังมี จริงๆ กิจกรรมเหล่านี้เรียกว่าเป็น Passion ของทีมและเป็น Passion ของคนที่มาสมัครงานที่นี่ ว่าเขาได้ลงไปเพื่อค้นหาอะไรใหม่ ๆ อันนี้ซ้ำแล้ว ทุกคนก็จะต้องหาใหม่ เขาก็จะ Seek for something new เอง 


Key Success ของธุรกิจ

ก่อนทำธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

SME ONE : อะไรคือ Key Success ของ Once Again Hostel

คุณศานนท์ : ผมคิดว่าความเข้าใจตนเอง เข้าใจ Value ของธุรกิจแล้วนำเสนอสิ่งที่เราภูมิใจให้เขา คือผมรู้สึกว่าเราเริ่มจาก Inside Out ประมาณหนึ่ง เราไม่ได้เริ่มจากว่าลูกค้าต้องการอะไรขนาดนั้น ไม่งั้นเราอาจจะไปจับ Segment ที่มันมี Demand เยอะ Market Size เยอะ ซึ่งคือ กลุ่ม Party แน่นอน ถ้าเรามองจากลูกค้าก่อน เราอาจจะออกแบบที่นี่อีกแบบหนึ่ง อันนี้เราเริ่มจากความเข้าใจตัวเอง ผมอยากทำเรื่องสังคม เรื่องชุมชน อยากดีไซน์สิ่งที่มันไม่เคยเกิดขึ้น หรือว่าดีไซน์อะไรใหม่ ๆ 

แล้วก็มีทีมงานที่รู้จักตัวเอง เราก็เลือกเฉพาะคนที่มีทัศนคติเหมือนกัน มี Attitude อยากทำอย่างนี้ อยากลงพื้นที่ อยากไปหาอะไรใหม่ ๆ ทำให้ความเข้าใจตนเองนี่มันแผ่ขยายไปสู่แขกที่เข้ามา แล้วแขกก็ Word of Mouth ต่ออะไร ส่วนแขกที่มาพักก็ค่อนข้างมี Attitude เดียวกับเรา คือถ้าเขาต้องการ Party มากๆ ก็จะไม่เลือกเราอยู่แล้ว

นอกจากนี้ก็มีเรื่องดีไซน์เห็นชัด แล้วก็เรื่องของ Authentic Experience ที่อยู่ในรีวิว มี Activity ทุกวัน ผมว่า Once Again เป็นสถานที่ที่ทำให้หลาย ๆ คนจะต้องทำ Activity คือแบบว่ามัน Set Standard ใหม่ให้กับ Industry ประมาณนึงว่า ถ้าคุณจะทำ Hostel คุณต้อง Get Together คนได้ มันไม่ใช่แค่การ Provide Affordable Bed อย่างเดียว แต่ว่ามันคือ Experience ใหม่ ๆ ซึ่งของเราก็จะโฟกัสที่ Authentic Experience มาก ๆ

SME ONE : สมมติว่ามีพนักงานออฟฟิศมีบ้านอยู่เชียงคาน อยากจะกลับไปทำ Hostel  มีคำแนะนำอะไรไหม

คุณศานนท์ : อาจจะต้องดู 2 เรื่อง 1. ต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่ามีอะไรที่เราจะทำมันต่อไปไม่ว่าจะเจออะไร มีสิ่งที่เราไม่ยอมแพ้กับมันไหม มีสิ่งที่เราอยากทำหรือไม่ อย่างเช่น บางคนอาจจะชอบแบบคุยกับคนมาก ชอบเอาคนไปนู่นไปนี่อะไรอย่างนี้ก็ทำเลย เราต้องลองหาตัวตนตรงนี้ก่อน 2. Verify Market ว่ามันมีตลาดไหม ถ้ามันไม่มี Existing Market มันมี Trend ไหม มี Potential Customer เราไหม มี Unmet Need ของลูกค้าไหม Verify แค่ 2 ด้านเนี่ย เราชอบมากแต่ว่า Demand ไม่มี ก็ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง เพราะกลายเป็นว่าตลาดมีสินค้าทดแทนหมดเลย แล้วถ้าเราไม่สามารถดึง Share มาได้ก็ลำบาก แต่ถ้าทำแบบเป็นงานอดิเรก มองว่ามันไปได้ทั้งคู่

อย่างที่นี่เราก็ต้อง Verify แล้วก็ Ensure ว่ามีลูกค้าจริง ๆ อาจจะมี Testing Period หรือว่าอาจจะทำ Research เล็กๆ ก่อน ส่วนจะเลือกลงทุนทำที่พักแบบไหน ถ้าเรา Verify Market ได้ชัดเจน เราจะได้ Target เอง มันจะได้คำตอบที่ชัดเจน โอเค

SME ONE : ถ้ามีงบประมาณที่จำกัด เราควรให้ความสำคัญด้านไหนมากที่สุดก่อน

คุณศานนท์ : ถ้าเราได้ Target เราได้เป้าหมาย ได้ Concept ทุกอย่างแล้ว เรามี Budget อยู่ก้อนนึง ถามว่าควรจะแบ่งอย่างไร อันดับแรก เอาวิธีการสร้างก่อน ถ้าตอนเริ่มสร้าง เราต้องเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Key Success Factor ก่อน เช่น Hostel จะมี 3 Key Success Factor คือ Pricing, Location และ Design & Facility 3 สิ่งนี้ต้อง Win คือหมายความว่าลูกค้าจะเลือกก็ต่อเมื่อ Pricing โอเค Location โอเค Design โอเค ส่วนรีวิวนี่อีกเรื่องหนึ่ง

ผมคิดว่า 3 สิ่งนี้ต้องลงทุนกับมัน Pricing สัมพันธ์กับ Location ก็คือต้องหาที่ที่มันโอเค ถ้าได้ที่ที่ดีก็น่าลงทุน อันที่ 2 ก็ต้องเข้าใจตลาด อย่างเช่น Market มัน Red Ocean มากไหม อย่างตอนผมเริ่มอะ คือไม่เลย ผมมาถึง ผมแทบจะไม่ต้องใส่ Marketing อะไรเลย เราก็ได้ลูกค้าแล้ว แต่ถ้าเราดันมาอยู่ใน Stage ที่มัน Red มาก แข่งขันสูงมากๆ ก็ต้องกัน Budget ไว้ลงก้อนนี้ด้วย อันที่ 3 คือ Design & Facility อันนี้ก็ต้องจัดเต็ม นั่นคือเหตุผลที่ทำไมผมถึงให้ความสำคัญกับดีไซน์มาก แล้วก็ลงไปเยอะ อันนี้คือการเข้าใจ Key Success Factor ของตัวธุรกิจตัวเองก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผม Define มาจากการ

SME ONE : ในธุรกิจบริการ คะแนนรีวิวจากคนพักจริงมีผลในการทำธุรกิจ เราบริหารอย่างไรในกรณีที่เกิดความคิดเห็นเชิงลบ

คุณศานนท์ : ยอมรับว่ามีผล ตรงที่เป็นส่วน Negative ส่วนใหญ่เกิดจากเขาตั้งความหวังไว้สูง ส่วนใหญ่ที่เจอคือ จุดที่เราทำได้ไม่ดี เช่น เรื่องความสะอาด เพราะบางทีคนมันเยอะ มันก็จัดการยาก ถ้าแบบรุนแรงยังไม่เคย สำหรับความคิดเห็นของคนไทยก็มีแบบนอนรวม ห้องน้ำแยก ก็มีบ้างที่ผิดหวัง เขารู้สึกแบบว่าน่าจะดีกว่านี้ คือเขาช่วย List มาเป็น 10 ข้อเลย อันนี้เหม็น อันนี้ดูเก่าแล้ว อะไรอย่างนี้ ซึ่งถ้าถามผมจริง ๆ เราเห็นแหละแต่ว่า Priority ของพวกนี้ สำหรับฝรั่งจะต่ำกว่า หมายความว่าพอเรารู้จักลูกค้า เราก็จะใส่ใจกับสิ่งที่เขาต้องการมากกว่า คือมันก็อาจจะไม่ได้เป็น Standard ของคนเอเชียขนาดนั้น ที่แบบว่าทุกอย่างมันต้องเนี้ยบ ฝรั่งเขาก็ค่อนข้างสบายกับเรื่องนี้ แต่ว่าเขาจะไปซีเรียสกับเรื่องที่มันเป็น Software หรือว่า Programming ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากกว่า

SME ONE : ถ้าพูดถึงคำว่า Authentic กับ Design เราสามารถใช้ของตกแต่งราคาถูก ได้หรือไม่

คุณศานนท์ : ได้สบายมาก จุดสำคัญคือเราต้องเข้าใจว่าลูกค้าเป็นใคร อย่างของผมคือลูกค้าที่ Backpack เพราะฉะนั้นเขาต้องการอะไรที่มัน Trendy เพราะมันเป็น Generation ใหม่ เขาต้องการรู้สึกแบบ Lifestyle มัน Trendy แต่ว่าในขณะเดียวกันเขาไม่ต้องการแบบ Luxury Service เขาต้องการอะไรที่มันง่าย ๆ สบาย ๆ Authentic อย่างอาหารในโรงแรมผมนี่คือใส่จานง่าย ๆ ได้เลย ทุกอย่างมันสบาย ๆ ได้ ในมุมผมก็คือการตอบสนอง Need ออกมา เช่นคำว่า Trendy อย่างนี้ ผมก็ต้องทำให้ที่นี่มันดู Vibe ดูโมเดิร์น ให้ความรู้สึก Trendy สมมติว่าถ้าออกแบบไม่ดี รู้สึกเหมือนนอนเในวัด หรือนอนที่มันไม่รู้สึก Trendy เขาก็อาจจะไม่เลือกเราตั้งแต่แรก ก็อาจจะ Authentic ไปสักนิดนึง

เราก็อาจจะต้องเข้าใจว่าตรงไหนที่มันพอดีกับกลุ่มเป้าหมายเรา ขณะเดียวกันคำว่า Authentic ผมคิดว่า ความสำคัญของมันคือการไม่ปรุงแต่ง ที่พักนี่พูดยากว่าจะไม่ปรุงแต่งยังไง เพราะยังไงก็ต้องมีการออกแบบ แต่ว่าสิ่งที่เรานำเสนอที่เป็น Software เช่นงานบริการเราไม่ต้องปรุงแต่งได้ เราสามารถเชื้อเชิญให้เค้าไปเจอความ Authentic ได้

SME ONE : ปีนี้ขึ้นปีที่ 5 ของ Once Again Hostel เราเคยสำรวจไหมว่าชุมชนรอบตัวเราดีขึ้นอย่างไร

คุณศานนท์ : ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าแถวนี้ดีขึ้นมาทั้งหมด แต่เราไม่เคลมว่าขึ้นเพราะเราคนเดียว ผมไม่คิดว่าเป็นอย่างงั้น แต่ว่าโดยรวมๆ สภาพแวดล้อมดีขึ้น สังคมดีขึ้นจริง ๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน อย่างที่นี่ตั้งแต่ผมเข้ามาถ้ารวม Research ด้วยก็ปีที่ 6 เราเริ่มเห็นว่าลูกหลานบางคนเขาเพิ่งกลับมาทำ มาช่วยที่บ้าน อย่างร้านโชว์ห่วย 2 ร้านข้างๆ ก็ปรับใหม่เป็นแบบ Trendy มาก แบบ Modern แต่ว่ายัง Antique อยู่ หรืออย่างร้านข้าวต้มเป็ด 2 ร้านก็กลับมาเป็น Gen ใหม่แล้ว Gen นี้เขาก็ทำร้านใหม่ ร้านข้าวต้มเป็นเจี่ยอ้วนเขากลับมาจากออสเตรเลียพอดี เราก็นั่งคุยกับเขา เขาก็แบบทำแบบจริงจังขึ้นมา อย่างของอ้วนข้าวต้มเป็ดเจ้าเก่า รุ่นลูกก็มาทำ เราก็ไปช่วยทำเมนูให้ แล้วก็ร้านคุณป้าข้างหน้า เราก็มีไปทำเมนู ไปช่วยทำภาษาอังกฤษ ภาษาจีนอะไรให้ แล้วก็มีร้านโชว์ห่วยที่ไปเปิดบาร์ก็มี เพราะว่าเราไม่ได้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผมว่ามันก็ดีขึ้นทั้งละแวก


ความท้าทายในอนาคตของธุรกิจด้านนี้

SME ONE : จากนี้ต่อไปอะไรคือความท้าทายของ Once Again Hostel

คุณศานนท์ : อยากกลับมาเปิดอีก แต่โรงแรมเรามันถูกทำมาเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตอนนี้มันถูกล็อก ก็เลยตอบไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ แต่ถ้ากลับมาเปิดเราจะไม่ทำเหมือนเดิม เราน่าจะหาอะไรใหม่ ๆ ไปเลย เช่นอาจจะปรับส่วนหนึ่งเป็นที่พัก หรืออาจจะหาอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนไทยมากขึ้น ที่เป็น Domestic Need จริง ๆ คือแต่ก่อนเรามองลูกค้าอินเตอร์ซะเยอะ น่าจะเกิน 95% โรงแรมผม คือถ้าไม่ใช่งานวิ่งคนไทยแทบไม่มีเลย ส่วนจะปรับอย่างไรตอนนี้ก็กำลังคิดกันอยู่ เพราะมันเป็นอุบัติการณ์ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน แล้วมันก็ค่อนข้างช็อกเราพอสมควร ก็อาจจะเน้นไปใน Segment ของเด็กเลย อาจจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น หอพัก เป็น Student Dorm แต่เป็น Student Dorm ที่ดีไซน์หน่อย แล้วก็อาจจะทำให้เค้าได้ Self Development มากขึ้น เราจะดึงคนมาทำงานด้านสังคมมากขึ้น หรือชอบงานในลักษณะที่เราเป็นอยู่แล้ว ก็อาจจะคัดเลือกคนที่ชอบแนวนี้มาอยู่ด้วยกัน 

ส่วนตอนนี้ที่เราทำก็คือ พัฒนา Service ใหม่ ๆ อย่างเช่นที่เราทำ Food Delivery ขึ้นมา เป็นการ Diversify เลย ก็คิดว่าจะเป็นอนาคตของทีมใหม่ด้วย คือแยกตัวออกจากฝั่งที่เป็น Hospitality ไปเลย ส่วนฝั่ง Food ก็ทำเพิ่ม ตอนนี้เราแบ่งทีมประมาณ 20 คนไปอยู่ Food เลย ทำอาหารจริงจัง ก็ตอนโควิดเราทำปิ่นโต ช่วงนี้เราก็เริ่มทำอาหารอื่น ๆ ที่ Alternative มากขึ้น ทีมที่เป็น Hospitality จะเหลือน้อยมาก 

ถ้าถามผม เราแทบจะไม่คิดถึงนักท่องเที่ยวเท่าไหร่ ในช่วง 2 ปีนี้ เราจะปรับเป็นที่พักระยะยาวไปเลย ให้กับคนไทย อย่างที่บอกไป ผมคิดว่าธุรกิจ Hostel มันอ่อนไหวมากๆ หมายความว่า ถ้าเชนโรงแรม 5 ดาว ลดราคาลงมาเหลือ 1,000 บาท Hostel ก็ไม่เหลือพื้นที่ที่จะทำแล้ว แล้วผมคิดว่าถ้า Chain ใหญ่ขนาดนั้นเขายังไม่ไหว Dump ราคาลงมา แล้ว Hostel จะเอาอะไรไปสู้ เพราะฉะนั้นผมมองว่าสถานการณ์ Hostel น่าจะฟื้นตัวช้าสุดในตลาด


บทสรุป

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจ Hostel ควรจะให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจอย่างมาก ก็คือ Pricing, Location และ Design & Facility เมื่อได้ครบทั้ง 3 ส่วนแล้ว ยังต้องสำรวจพื้นที่ว่าทำเลที่เราจะไปเปิดบริการนั้น มีการแข่งขันสูงที่รุนแรงมากน้อยเพียงใด รุนแรงถึงขั้นตัดราคากันหรือไม่ ถ้ามีการแข่งขันที่รุนแรงมากๆ ก็จำเป็นต้องกัน Budget ไว้สำหรับทำการตลาดในช่วงเปิดกิจการด้วย