ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุด

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว รายงานว่า ในปี 2564 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 570 ราย เงินลงทุนรวม 82,501 ล้านบาท เกิดการจ้างงานคนไทย 5,450 คน

โดยต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับที่ 1 ญี่ปุ่น 163 ราย 28.6% เงินลงทุน 23,260 ล้านบาท อันดับที่ 2 สหรัฐอเมริกา 88 ราย 15.4% เงินลงทุน 5,948 ล้านบาท อันดับที่ 3 สิงคโปร์ 86 ราย 15.1% เงินลงทุน 10,530 ล้านบาท อันดับที่ 4 ฮ่องกง 41 ราย 7.2% เงินลงทุน 19,555 ล้านบาท อันดับที่ 5 จีน 29 ราย 5.1% เงินลงทุน 3,748 ล้านบาท

อันดับที่ 6 เนเธอร์แลนด์ 18 ราย 3.2% เงินลงทุน 3,063 ล้านบาท อันดับที่ 7 เยอรมนี 16 ราย 2.8% เงินลงทุน 695 ล้านบาท อันดับที่ 8 ฝรั่งเศส 15 ราย 2.6% เงินลงทุน 1,127 ล้านบาท อันดับที่ 9 เกาหลี 14 ราย 2.5% เงินลงทุน 847 ล้านบาท อันดับที่ 10 สหราชอาณาจักร 9 ราย 1.55) เงินลงทุน 636 ล้านบาท และ ประเทศอื่น 91 ราย 16.0% เงินลงทุน 13,093 ล้านบาท

สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาตส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ และสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) รวมถึงสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต ได้แก่

  • ธุรกกิจบริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหา ติดตั้ง ทดสอบระบบ รวมถึง การบริหารจัดการโครงการ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
  • ธุรกิจบริการออกแบบทางวิศวกรรม วางระบบ และทดสอบเครื่องจักร/อุปกรณ์สำหรับโครงการศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าอัจฉริยะระหว่างประเทศ
  • ธุรกิจบริการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • ธุรกิจบริการเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC) ให้แก่บริษัทในเครือในต่างประเทศ
  • ธุรกิจบริการควบคุมการผลิต การบรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ การตรวจสอบและการรับรองคุณภาพของเคมีภัณฑ์ และการบำบัดน้ำเสีย
  • ธุรกิจบริการให้ใช้สิทธิและให้ใช้ช่วงสิทธิในซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับกระบวนการทางการแพทย์
  • ธุรกิจบริการติดตั้ง ซ่อมแซม และบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  • ธุรกิจบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) สำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและบริการให้ใช้ระบบบริหารจัดการในสถานีดังกล่าว

ส่วนในปี 2565 คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผ่อนคลายให้มีการเปิดประเทศ และเพิ่มการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ผนวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ผ่อนคลายขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป ที่เศรษฐกิจน่าจะเริ่มฟื้นตัวหลังการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

นอกจากนี้ การลงทุนจากต่างประเทศน่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นสัญญาณจากการลงทุนของบริษัทไทยและต่างชาติที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มการลงทุนในลักษณะที่เป็นการเข้ามาร่วมทุนกับบริษัทไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น และถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดพอร์ตนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยปี 2565 โดยพบว่า ‘อังกฤษ’ เป็นชาติที่ถือครองหุ้นไทยมากที่สุด ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1.7 ล้านล้านบาท

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดพอร์ตการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยปี 2565 โดยพบว่า

ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2565 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.11 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี เพิ่มขึ้น 0.29% จากปีก่อน

หลักๆ มาจากการซื้อสุทธิกว่า 153,151 ล้านบาท ในช่วงเดือนก.ย. 2564 – ก.ค. 2565 และการถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ (New Listing Companies)

ส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศคิดเป็น 26.84% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. กลุ่มเทคโนโลยี 2. กลุ่มธุรกิจการเงิน และ 3. กลุ่มทรัพยากร

ด้วยมูลค่าถือครองหุ้นรวมกันกว่า 3.12 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

ส่วนหมวดธุรกิจที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 953,319 ล้านบาท 2. หมวดธนาคาร (BANK) 783,470 ล้านบาท และ 3. หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) 617,210 ล้านบาท

โดย 3 หมวดธุรกิจนี้ มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2.35 ล้านล้านบาท หรือ 46.1% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม 72.3% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ ยังเป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในดัชนี MSCI Thailand Index เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68%

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 สัญชาติแรก พบว่า 8 ใน 10 สัญชาติ เป็นสัญชาติเดียวกันกับปีก่อน แต่มีสลับอันดับ

โดยนักลงทุนจากสหราชอาณาจักรมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด ตามมาด้วยนักลงทุนจากสิงคโปร์ และสวิสเซอร์แลนด์ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3

ขณะที่ฮ่องกงลดลงไปอยู่อันดับ 4 และสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มอริเชียส เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ ตามลำดับ

ประเทศใด เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด

แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 106 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 178 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 69,949 ล้านบาท จ้างงานคนไทยกว่า 3,164 คน ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 71 ราย ( 25% ) เงินลงทุน 26,237 ล้านบาท สิงคโปร์ 51 ราย (18%) เงินลงทุน 10,478 ล้านบาท และ ...

ต่างชาติลงทุนในไทยได้ไหม

ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่จดจัดตั้งในไทย 100% ได้อย่างถูกกฎหมายโดย ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้

ประเทศใดเป็นประเทศผู้เข้าไปลงทุนโดยตรงในประเทศอื่นมากที่สุด

ส่วนประเทศที่เป็นผู้ลงทุนหลักในต่างประเทศ ได้แก่สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น และ เยอรมนี (แผนภูมิที่ 2 – ขวา) โดยที่ฮ่องกงได้ไต่อันดับขึ้นจากอันดับ 5 เป็นอันดับ 2 และเยอรมนีจากอันดับ 10 เป็นอันดับ 5.

การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศรูปแบบใดที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด

1) การส่งออก (Exporting) เป็นวิธีการพื้นฐานที่สุดในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศและเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเพียงแค่จัดส่งสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบการทำการตลาดกับผู้บริโภคปลายทาง โดยการส่งออกแบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่