เพราะเหตุใด วิถีชีวิตของคนลาวจึงเปลี่ยนแปลงช้ากว่าประเทศอื่นๆ

วิดีโอ YouTube

หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 198 8 การสร้างสรรค์ อารยธรรมใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1. อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส 4.2 ม.1/1) 2. ระบุความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส 4.2 ม.1/2) ตัวชี้วัดชั้นปี พัฒนาการของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยโบราณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ 17-20 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยการขยายอำนาจของ ชาติตะวันตก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยลัทธิชาตินิยมและการ ต่อสู้เพื่อเอกราช พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยทางสังคม พัฒนาการการ ตั้งถิ่นฐานของประชากร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 199 พัฒนาการของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตั้งถิ่นฐานและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดของโลก ย่อมต้องอาศัย ปัจจัยพื้นฐานสำคัญ คือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางสังคม กล่าวคือ ปัจจัยทาง ภูมิศาสตร์ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งหมด ตั้งแต่ลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งรวมไปถึง ขนาด รูปร่าง และที่ตั้งของประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะมีผล สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชากร เช่น การตั้งถิ่นฐานของประชากรในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ มีความอุดมสมบูรณ์จะมีอยู่หนาแน่นกว่าในเขตที่สูงหรือในเขตที่ราบแบบทุ่งหญ้าที่ขาดความ สมบูรณ์ เป็นต้น ส่วนปัจจัยทางสังคม หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมีทั้งส่วนที่ไม่ได้ มีลักษณะเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะลักษณะการจัดระเบียบทางสังคมและแบบแผนทางวัฒนธรรม เช่น กฎหมาย รูปแบบการปกครอง จารีตประเพณี ตลอดจนค่านิยมและแนวทางในการดำรงชีวิต เป็นต้น ส่วนที่เป็นรูปธรรม เช่น สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความ สะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการผลิตและการดำรงชีวิต ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางด้าน สังคมที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากรไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีราย ละเอียดดังนี้ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ 1. ลักษณะภูมิประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย ครอบคลุม อาณาบริเวณที่อยู่ทางใต้ของจีน ตะวันออกของอินเดีย และทางเหนือของออสเตรเลีย ในทาง ภูมิศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมดอยู่ในเขตมรสุม แต่สามารถจะแบ่งออกเป็น 2 อาณาบริเวณ คือ ภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ในส่วนภาคพื้นทวีปจะประกอบด้วยประเทศต่างๆ 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ส่วนประเทศในภาคพื้นสมุทร ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และติมอร์เลสเต ซึ่งประเทศที่อยู่ในส่วนภาคพื้น สมุทรทั้งหมดยกเว้นมาเลเซีย เป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะหรืออยู่ในดินแดนที่เป็นเกาะ (คือ บรูไนที่ อยู่บนเกาะบอร์เนียว) ทั้งนี้มาเลเซียมีดินแดนที่อยู่ส่วนของแผ่นดินใหญ่ คือ คาบสมุทรมลายูและ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 200 ดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว (เรียกว่ามาเลเซียตะวันออก) นอกจากนั้นดินแดนหมู่เกาะ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่เกาะที่ไม่มีประชากรอาศัยอยู่ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตที่ราบ ชายฝั่ง เขตเทือกเขา เขตที่ราบเชิงเขา และเขตที่ราบสูง โดยเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบชายฝั่งจะ เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศ เช่นนี้ปรากฏโดยทั่วไปในภูมิภาคนี้ อันเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกและตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่น ในขณะที่บริเวณที่เป็นเขตที่สูงหรือเขตภูเขา ย่อมมีข้อจำกัดต่อการตั้งถิ่นฐานและการเกษตรกรรม แต่บริเวณเหล่านี้ก็มักจะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ เช่น ป่าไม้ อัญมณี แร่ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้การตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้พัฒนามาเป็นแหล่งอารยธรรมหรือ อาณาจักรสำคัญ ก็มักจะตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ รวมทั้งที่ราบชายฝั่งทะเลที่สะดวกแก่การ ติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกด้วย นอกจากนี้จากการที่มีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการเดินเรือระหว่างจีนและอินเดียมาแต่โบราณ ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับว่ามีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบกว่าภูมิภาคอื่นๆ หลายแห่งทั้งในเอเชีย และโลก การเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอารยธรรมสำคัญของโลกทั้ง 2 แหล่งนี้ ทำให้เอเชียตะวันออก- เฉียงใต้ไม่เพียงแต่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและได้ประโยชน์ทางการค้ากับดินแดนทั้งสองนี้ เท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของชาติตะวันตกด้วย ปัจจุบันเส้นทางผ่านภูมิภาค เช่น ช่องแคบมะละกา ก็ยังเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญ ที่ทำให้ประเทศเช่นสิงคโปร์กลายเป็นเมืองท่าที่มั่งคั่งร่ำรวยมากที่สุด แห่งหนึ่งของโลก 2. ภูมิอากาศ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดอยู่ในเขตมรสุม ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ฝนตกชุก และฤดูหนาวไม่หนาวจัด โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะนำฝนมาจากมหาสมุทร และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะนำความหนาวเย็นมาจากทางตอนเหนือของจีน ลักษณะเช่นนี้แม้ บางครั้งจะก่อให้เกิดความเสียหายจากพายุและอุทกภัย (ประเทศที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นนี้บ่อย ครั้ง ได้แก่ ฟิลิปปินส์และเวียดนาม) แต่ก็เป็นปัจจัยหลักสำหรับการดำรงชีวิตด้วยการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมของประชากรในดินแดนนี้ นอกจากนี้ลมมรสุมยังมีอิทธิพลต่อการเดินเรือในสมัย โบราณ กล่าวคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้นำพ่อค้าอินเดียเข้ามาค้าขายในภูมิภาคนี้และนำ พ่อค้าจีนที่เข้ามาค้าขายเดินทางกลับไป ในขณะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้นำพ่อค้าจีนเข้า มาค้าขาย และนำพ่อค้าอินเดียกลับไปเช่นกัน ดังนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงติดต่อกับ โลกภายนอกได้สะดวกมาตั้งแต่สมัยโบราณ 3. ทรัพยากรธรรมชาติ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความอุดมสมบูรณ์ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทั้งลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีแหล่ง น้ำอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไปเหมาะแก่ การเพาะปลูก พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย ยางพารา กาแฟ และเครื่องเทศ นอกจากนี้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 201 ยังมีป่าไม้และสินแร่ต่างๆ เช่น ดีบุก น้ำมัน อัญมณี ทำให้ภูมิภาคนี้เป็นดินแดนที่เหมาะแก่การ ตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากดินแดนอื่นๆ มาแต่ครั้งโบราณ การมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ย่อมเป็นข้อได้เปรียบสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้อย่างแน่นอน กล่าวคือ ประชากรสามารถตั้งรกรากและดำเนินชีวิตโดยแทบไม่ต้อง พึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก แต่พร้อมกันนั้นความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรก็มักจะกลายเป็นแรง จูงใจให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง ควบคุม หรือยึดครองดินแดนเพื่อหาประโยชน์จาก ทรัพยากรเหล่านี้ เช่น ชาวฮอลันดาที่เข้ามายึดครองอินโดนีเซียเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า เครื่องเทศ หรือการที่ฝรั่งเศสสนใจอินโดจีนส่วนหนึ่งเพราะเข้าใจว่าจะสามารถใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้น ทางติดต่อค้าขายกับจีนตอนใต้ได้โดยตรง เป็นต้น ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางสังคมที่สำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของประชากรในเอเชียตะวันออก- เฉียงใต้ ได้แก่ 1. การรับวัฒนธรรมจากภายนอก จากทำเลที่ตั้งที่เปรียบเสมือนจุดนัดพบหรือจุดเชื่อมต่อ แหล่งอารยธรรมใหญ่ 2 แหล่ง คือ จีนและอินเดีย และอยู่ในเส้นทางการค้าขายมาแต่โบราณ ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลสำคัญในด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากภายนอก โดยเฉพาะอารยธรรมอินเดียซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากและได้รับการยอมรับให้เข้ามาผสมผสานกับ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของประชากรในดินแดนนี้ ก่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมที่สำคัญ เช่น ด้านความ เชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอิสลาม การปกครองและ กฎหมาย ตลอดจนการจัดระเบียบทางสังคมและแบบแผนทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมไปถึงพัฒนาการ ด้านภาษา วรรณคดี และศิลปะแขนงต่างๆ บุโรพุทโธ ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ของอินโดนีเซีย ที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 202 2. การสืบทอดภูมิปัญญา การสืบทอดด้านภูมิปัญญาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดำเนิน มาหลายช่วงสมัย ตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ เช่น วัฒนธรรมปลูกข้าว มีการสืบทอดมา นานโดยไม่มีหลักฐานที่ทำให้สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเริ่มขึ้นเมื่อใดและได้รับอิทธิพลจากที่ใด แต่ อาจกล่าวได้โดยรวมว่า ลักษณะสำคัญของการสืบทอดภูมิปัญญาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ การรับแบบแผนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจากภายนอกเข้ามาผสมผสานกับแบบแผนทาง วัฒนธรรมท้องถิ่นและพัฒนาสืบทอดต่อมา การสืบทอดด้านภูมิปัญญาในลักษณะเช่นนี้รวมไปถึง คติความเชื่อทางศาสนา (ที่เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม เช่น การนับถือผี) การจัดระเบียบ ทางสังคมและการปกครอง การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการ ประดิษฐ์และสร้างสรรค์ด้านต่างๆ พิธีทำขวัญข้าวของชาวไทยในภาคอีสานถือเป็นภูมิปัญญาเรื่องข้าวในสังคมไทย 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของ ประชากรไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปเป็นรายงาน จากนั้นส่งตัวแทนนำเสนอ หน้าชั้นเรียน 2. ให้นักเรียนในห้องร่วมกันวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อจำกัดของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มี อิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นสรุป ข้อมูลที่ได้ร่วมกัน กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 1 หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 203 กลลูกปัดเครื่องประดับสำริดและเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี วัฒนธรรมบ้านเชียง ยุคสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีผู้คนอาศัยมานานแล้ว จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่สามารถย้อนไปได้ถึงช่วงสมัย 3,000-2,000 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มี แหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลกเกิดขึ้นมา เช่น อารยธรรมในเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย หรืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหในจีน สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในดินแดน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนที่จะได้รับอารยธรรมอินเดียและจีนนั้นได้มีวัฒนธรรมเป็นของ ตนเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว หลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชุมชนในภูมิภาคนี้ ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีที่ แสดงให้เห็นรูปแบบทางวัฒนธรรมของผู้คนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความคล้ายคลึง กัน เช่น วัฒนธรรมในยุคหินกลาง ที่ปรากฏพบเครื่องมือหินกะเทาะปลายคมแบบที่พบในบริเวณ ตังเกี๋ยของเวียดนาม ซึ่งชิ้นส่วนลักษณะนี้ยังพบในประเทศไทย มลายู และเกาะสุมาตรา ต่อมาได้มี การปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องมือหินขัดเรียบรูปขวานในยุคหินใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่คนเผ่า ออสโตรนีเซีย (Austronesian people) อพยพลงใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือลักษณะหม้อไหของยุคหินใหม่ ได้ปรากฏอยู่ทั่วไปและมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วมกันของผู้คนเหล่า นี้ และสืบเนื่องมาจนถึงยุคโลหะ ที่พบหลักฐานที่เรียกว่าวัฒนธรรมดองซอน (Dong Son) ใน หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 204 กลองมโหระทึกเป็นหลักฐานวัฒนธรรม ชิ้นหนึ่งของวัฒนธรรมดองซอน ที่พบกระจาย อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเหนือ ซึ่งมีหลักฐานอันเป็นเครื่องบ่งชี้ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมนี้คือ กลองมโหระทึก ที่ทำด้วยสำริดสลักเป็นลวดลายที่สวยงาม เชื่อว่าเป็นกลองที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และบางครั้งอาจใช้เป็นกลองศึกด้วย กลองมโหระทึกแบบนี้พบทั่วไปในเขตเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนและมองโกเลียตอนใน จึงสันนิษฐานได้ว่า วัฒนธรรมดองซอนคงขยายตัวออกไปยัง บริเวณต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ่งบอกให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างกันที่เกิดขึ้นอย่าง กว้างขวางในดินแดนแห่งนี้ แหล่งอารยธรรมที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คืออาณาบริเวณ ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยเกือบทั้งหมด ตามหลักฐานการขุดค้นที่ สำคัญในเขตตำบลโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น และตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จัดเป็นแหล่งอารยธรรมที่ใช้โลหะ สำริด มีวิถีชีวิตแบบชุมชนเกษตรกรรม ที่มีการรวม ตัวกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีศิลปะในการ ประดิษฐ์โลหะ โดยเฉพาะโลหะผสมประเภทสำริด อยู่ในชั้นสูง และมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่ ประณีตงดงาม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ จากหลักฐานที่พบจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ ที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็น ได้ว่าก่อนที่ดินแดนในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียและจีนนั้น ดินแดนแห่งนี้ได้ รับความเจริญเป็นของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการ ติดต่อกับต่างชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย จีน กรีก โรมัน เปอร์เซีย เป็นต้น ทำให้อิทธิพลของ อารยธรรมต่างชาติได้หลั่งไหลเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเดิม โดยผ่านเมืองท่าและ เมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้า ทำให้ชุมชนเมืองท่าและเมืองสำคัญดังกล่าวมีความเจริญก้าวหน้า เกิดการขยายตัวของชุมชนกลายเป็นเมืองและแว่นแคว้นขนาดใหญ่ ที่มีพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 205 มีเอกลักษณ์เฉพาะตนเป็นแว่นแคว้นโบราณ ทั้งภาคพื้นทวีป คาบสมุทรและหมู่เกาะ ที่สำคัญ ได้แก่ ภาคพื้นทวีป แว่นแคว้นโบราณในภาคพื้นทวีป ได้แก่ 1. นามเวียด หลักฐานชุมชนที่เก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชุมชนชาวเหยอะ (Yueh) หรือเวียด (Viet) และชาวโล (Lo) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวเวียดนามในปัจจุบัน จากบันทึก ของจีนประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 กล่าวว่า ชนชาติเวียดและชาวโลอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน จนถึงตอนเหนือของเว้ในปัจจุบัน บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจนถึงปากแม่น้ำแดง โดยตั้งบ้าน เรือนรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ละกลุ่มมีหัวหน้าของตนเองและมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองร่วมกัน กล่าว กันว่าชาวพื้นเมืองนี้รู้จักการควบคุมน้ำเพื่อการทำนาแล้ว เมื่อประมาณ พ.ศ. 335 นายพลจีนชื่อ เตรียว ดา ได้เข้ามาปกครองดินแดนชาวเวียดและ สถาปนาเป็นอาณาจักรนามเวียดขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 432 จีนจึงเข้ามายึดครองดินแดนบริเวณนี้ และปกครอง ชาวเวียดนามไม่ต้องการอยู่ใต้การปกครองจีน จึงพยายามดิ้นร้นเป็นอิสระอยู่ตลอด เวลา สมัยใดที่จีนอ่อนแอ เวียดนามก็จะประกาศตนเป็นอิสระ เมื่อจีนสามารถฟื้นอำนาจขึ้นมาใหม่ ก็จะยกทัพไปยึดครองเวียดนามเหมือนเช่นเดิม จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1511 เวียดนามได้ประกาศตน เป็นเอกราช แม้จะมีเอกราชแต่ก็ยังแยกกันเป็นหลายกลุ่ม จนกระทั่ง พ.ศ. 1552 ผู้นำชาวเวียดชื่อ ลี ไธ ไท ก็สามารถรวบรวมกลุ่มต่างๆ เข้าอยู่ในอำนาจและสถาปนาเป็นอาณาจักรไดเวียด มีเมืองหลวงชื่อ ถังหลวง (ฮานอยในปัจจุบัน) จากการที่เวียดนามตกอยู่ใต้การปกครองของจีนมานานนับพันปี ทำให้ชาวเวียดนามผูกพัน อย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรมจีน โดยรับวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน 2. ฟูนัน สันนิษฐานว่าดินแดนของอาณาจักรฟูนัน ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงและ แม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันออกติดต่อกับจามปา หลักฐานโบราณคดีสมัยฟูนันที่พบจำนวนมากที่ จังหวัดนครปฐมและอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้คิดว่าเขตอิทธิพลของฟูนันน่าจะ ครอบคลุมมาถึงบริเวณนี้ด้วย จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นทำให้สันนิษฐานว่า อาณาจักร ฟูนันก่อตั้งขึ้นโดยผู้อพยพจากอินเดีย เพราะหลักฐานโบราณวัตถุต่างๆ สมัยฟูนันที่พบ เช่น เทวรูป พระพุทธรูป ตราประทับ เครื่องประดับ ล้วนสะท้อนให้เห็นอารยธรรมอินเดียอย่างชัดเจน อาณาจักร ฟูนันถูกยึดครองโดยพวกเจนละจากทางตอนเหนือในราว พ.ศ. 1100 หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 206 3. จามปา ดินแดนของจามปาในอดีต ได้แก่ ส่วนที่เป็นดินแดนตอนกลางของประเทศ เวียดนาม ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จดหมายเหตุจีนบอกรายละเอียด เกี่ยวกับประเพณีแต่งงานว่ามักทำในเดือน 8 โดยฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายสู่ขอชาย บ้านเรือนราษฎรสร้าง ด้วยอิฐก่อเป็นอาคาร เมื่อตายใช้ผ้าห่อศพเรียบร้อยแล้วแห่ไปยังแม่น้ำหรือทะเลแล้วเผาศพที่นั่น นำเถ้าถ่านทิ้งน้ำ เมืองหลวงของจามปา คือ เมืองอินทรปุระ จามปาต้องเผชิญกับการรุกรานของรัฐ ข้างเคียงที่เข้มแข็งกว่า เช่น เวียดนาม จีน และกัมพูชา และสูญเสียเอกราชแก่เวียดนาม เมื่อ พ.ศ. 2014 ชาวจามปาต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ต่างแดนกระจัดกระจาย จามปาก็ล่มสลายไปตั้งแต่ ครั้งนั้น 4. เจนละ มีศูนย์กลางอยู่ในดินแดนลาวตอนล่าง จากหลักฐานที่พบที่เมืองศรีเทพ และที่ จังหวัดสระบุรี ทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนแถบนี้ก็อยู่ในเขตอิทธิพลของเจนละด้วย กษัตริย์ที่ เข้มแข็งที่สุดของเจนละ คือ พระเจ้าอิสานวรมัน ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง เจนละ รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างเคร่งครัด มีการสร้างเทวาลัย เทวรูป ปราสาทหิน มีพิธี บูชาเทพเจ้าในเทวาลัยบนยอดเขาและใช้ภาษาสันสกฤต เจนละเสียอำนาจแก่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ฟูนัน ล้มล้างอำนาจของเจนละและสถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้น 5. มอญ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างที่ราบลุ่มปากแม่น้ำสะโตงและแม่น้ำสาละวิน จากหลักฐาน ชาวอาหรับเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า รามัญประเทศ และพงศาวดารมอญกล่าวว่าชาวมอญได้สร้าง เมืองตะโทงหรือเรียกกันว่า ท่าตอน เป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 241 และเจริญรุ่งเรืองมาจนถึง พ.ศ. 1600 ชาวพม่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศพม่าปัจจุบัน ได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น อาณาจักรพุกามที่มีความเข้มแข็งตามลำดับ ได้ยกทัพมาโจมตีมอญและครอบครองได้สำเร็จ ทั้งนี้ ทำให้พม่าได้ยอมรับวัฒนธรรมของมอญที่ชาวมอญเป็นผู้ถ่ายทอดให้ไปปฏิบัติ เช่น การนับถือ พระพุทธศาสนานิกายหีนยาน เป็นต้น 6. ศรีเกษตร เป็นการรวมตัวของพวกพยูกลุ่มหนึ่งที่ได้อพยพจากดินแดนทางเหนือของพม่า ลงมาทางใต้ จนท้ายสุดได้ตั้งถิ่นฐานบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ที่เมืองแปร คำว่าแปร ใน ภาษาพม่าแปลว่า “เมืองหลวง” พวกพยูเรียกเมืองนี้ว่า “ศรีเกษตร” ซึ่งหมายถึง ดินแดนแห่งความ อุดมสมบูรณ์ จากบันทึกจีนกล่าวว่าชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนา ใส่เครื่องประดับทำด้วยทองคำ สตรีใส่เครื่องประดับที่ทำด้วยหินมีค่า สร้างบ้านด้วยไม้สัก หลังคามุงด้วยกระเบื้องหรือแผ่นดีบุก มี เครื่องใช้และงานศิลปะที่ทำด้วยแก้วและหยก รู้จักใช้เหรียญเงินและเหรียญทองเป็นเงินตราแลก เปลี่ยน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าชาวพยูมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญที่อยู่ทางใต้ได้ยึดครองศรีเกษตร ทำให้ชาวพยูต้อง อพยพไปอาศัยอยู่ทางเหนือ หลังจากนั้นก็ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงชาวพยูใน ลักษณะชุมชนขนาดใหญ่อีกเลย หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 207 เหรียญเงิน ด้านหน้าเป็นรูปวัวมีโหนก ด้าน หลังมีคำจารึกซึ่งเป็นอักษรปัลลาวะว่า “ศรี ทวาราวดี ศวรปุนยะ” ที่พบตำบลพระประ โทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 7. พุกาม ดินแดนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีของพม่าเดิมมีชาวมอญได้มาสร้างบ้านเรือน เป็นอาณาจักรมอญ และเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่14 ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศ พม่าในปัจจุบันได้ขยายอำนาจมายังที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีแทนที่อาณาจักรของมอญ ต่อมา พ.ศ. 1587 ผู้นำชาวพม่า คือ พระเจ้าอโนรทา สามารถก่อตั้งอาณาจักรพุกามเป็นปึกแผ่นขึ้นได้สำเร็จ และมีความเจริญรุ่งเรือง สามารถขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองดัง กล่าวเห็นได้จากการสร้างวัดขนาดใหญ่จำนวนมาก จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 จึงสลายตัว เนื่องจากถูกกองทัพของมองโกลยึดครองได้เมื่อ พ.ศ. 1830 8. ทวารวดี ทวารวดีเป็นอาณาจักรโบราณสมัยประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานแห่งแรกบนผืน แผ่นดินไทย เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เช่น บันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ทำให้ทราบว่า อาณาจักรทวารวดีอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกของภาคกลาง สันนิษฐานว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และจากการขุดค้นทาง โบราณคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) พบโบราณ- สถานและโบราณวัตถุที่แสดงถึงการเป็นเมืองสำคัญของ นครปฐมในสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูปศิลาขนาด ใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมจักรและ โบราณสถานขนาดใหญ่ เช่น เจดีย์จุลประโทนและฐาน อาคารที่วัดพระเมรุ นอกจากนี้ยังได้พบเหรียญเงินที่มี จารึกชื่อทวารวดีในเมืองใกล้เคียง ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ช่วงระยะที่อาณาจักรแห่งนี้ดำรง อยู่คงจะประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 - 12 พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งห้อยพระบาท ในวิหารน้อย วัดพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญในสมัยทวารวดี หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 208 พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ศิลปกรรมใน พระพุทธศาสนาของอาณาจักรหริภุญชัย สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรเป็นเจ้าของอารยธรรมทวารวดี และเนื่องจากอาณาจักรแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และอยู่ใกล้ ทะเล ทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดียเข้ามาติดต่อค้าขาย จึงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา นิกาย เถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนในการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจน เป็นอารยธรรมทวารวดีที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของไทย ดังพบโบราณสถาน โบราณวัตถุ สมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่น เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองคูบัว (ราชบุรี) เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองยะรัง (ปัตตานี) การรับอารยธรรมอินเดีย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่น ด้าน การเมืองการปกครอง ที่การปกครองแบ่งออกเป็นแคว้นและมีเจ้านายปกครองเมืองของตนเอง โดย มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติ ด้านสังคม แบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้น ปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง ด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธ- ศาสนานิกายเถรวาท จนทวารวดีเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้คนในทวารวดีให้ความ สำคัญต่อการทำบุญมาก ดังได้พบจารึกแสดงการถวายสิ่งของแก่วัดและพระสงฆ์ รวมถึงมีการ สร้างงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมจักรศิลา ใบเสมาที่จารึกแสดงพระ ธรรม เป็นต้น 9. หริภุญชัย ตั้งอยู่ที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เป็นอาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆ ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนและที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง ตำนานเมืองหริภุญชัยหรือตำนานจาม- เทวีวงศ์ กล่าวถึงการตั้งเมือง หริภุญชัยว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมือง หริภุญชัยและขอให้กษัตริย์ ละโว้ (ลวรัฐ) ส่งเชื้อพระวงศ์มาปกครอง กษัตริย์ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวี ผู้เป็นพระราชธิดาเลี้ยง และสะใภ้หลวงมาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย พระนางจามเทวีได้ขอช่างฝีมือจากละโว้ไปช่วยสร้าง เมือง หริภุญชัยและเชิญพระสงฆ์ 500 รูป มาเผยแผ่ พระพุทธศาสนาที่หริภุญชัย ทำให้หริภุญชัยมีความ เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนานิกาย เถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ และศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ ศาสนา ดังที่มีหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน คือ พระธาตุ หริภุญชัย ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองลำพูน ตามตำนานกล่าว ว่า พระเจ้าอาทิตยราชเป็นผู้สร้างเจดีย์หริภุญชัย ซึ่ง เป็นเจดีย์ทรงลังกาและเป็นที่เคารพสักการะของชาว ลำพูนอย่างสูง หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 209 ในตำนานจามเทวีวงศ์เรียกชาวหริภุญชัยว่า ชาวรามัญ และเรียกกษัตริย์หริภุญชัยว่า พระเจ้ารามัญ ทำให้สันนิษฐานว่าชาวหริภุญชัยเป็นชาวมอญจากเมืองละโว้ที่อพยพไปอยู่ที่ หริภุญชัย ในปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าอาทิตยราชได้ปกครองหริภุญชัยและได้สร้างความ เจริญรุ่งเรืองแก่หริภุญชัย โดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ.1835 พญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนายกทัพมาโจมตีและรวมหริภุญชัยเข้า เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา 10. ละโว้ เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่ง ตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน การที่ละโว้ตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น้ำสาย สำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นอาณาจักรที่มี ความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับ ทะเลสาบเขมร ทำให้ละโว้เป็นแหล่งทรัพยากรและศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่ง ผลให้ละโว้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดีและการติดต่อกับชุมชนภายนอก ทำให้ ละโว้ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ ที่สำคัญคือจากอินเดีย เมื่อขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้จึงกลายเป็นเมืองประเทศราชของเขมรและรับอารยธรรมเขมรด้วย พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี สถาปัตยกรรมที่ได้รับ อิทธิพลจากขอมหรือเขมร ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นช่วงที่อาณาจักรละโว้ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียค่อน ข้างมาก โดยรับแนวคิดเรื่องการมีกษัตริย์ปกครอง มีการแบ่งชนชั้นออกเป็นชนชั้นสูง สามัญชน และทาส การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่ผู้คนให้การเคารพนับถือมากใน ละโว้ ทั้งนี้เพราะพบจารึกภาษาบาลีที่กล่าวถึงการอุทิศถวายสิ่งของ ข้าทาสให้แก่วัด และพบ ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักร เป็นต้น นอกจากนี้พระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 210 เผยแผ่อยู่ในละโว้ ดังพบพระพิมพ์ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับข้างพระพุทธเจ้า รวมทั้งการมีความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เข้ามาโดยพวกพราหมณ์และชนชั้นปกครอง และความเชื่อพื้นเมือง ได้แก่ การบูชาบรรพบุรุษและการบูชารูปพระราชมารดาอีกด้วย การเกษตรเป็นพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของละโว้ เนื่องจากละโว้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น เช่น จีน อินเดีย โดยมีการพบเครื่องถ้วยจีน เหรียญ กษาปณ์ที่มีรูปพระอาทิตย์ครึ่งดวง ตราบัลลังก์ ตราสังข์ นอกจากนี้ละโว้ยังได้ส่งทูตไปเมืองจีน โดย จดหมายเหตุจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-19 เรียกละโว้ว่า เมืองหลอหู ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นช่วงที่ละโว้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมร เขมรได้ส่งผู้ แทนมาปกครองละโว้ในฐานะเมืองประเทศราชและนำพิธีกรรมมาใช้ในการปกครอง เช่น พิธีถือน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา เพื่อแสดงอำนาจของกษัตริย์เขมรและแสดงความซื่อสัตย์ของขุนนาง การออก กฎหมายบังคับใช้ และมีระบบตุลาการ คือ ศาลสภา เป็นผู้ตัดสินคดีความ ดังเห็นได้จากศิลาจารึก ภาษาเขมรที่ศาลสูง จังหวัดลพบุรี การรับพระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์- ฮินดู เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1758) มีการสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมตามความเชื่อใน ศาสนาเหล่านี้เป็นจำนวนมาก เช่น พระปรางค์สามยอด เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เทวรูป พระนารายณ์ หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลง ทำให้อิทธิพลเขมรใน ดินแดนไทยลดลงไปด้วย และเมื่ออาณาจักรอยุธยาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขยาย อำนาจไปปกครองละโว้ ทำให้ละโว้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา วัฒนธรรมทวารวดีและ วัฒนธรรมเขมรที่สืบทอดในละโว้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่อาณาจักรอยุธยารับมาปฏิบัติด้วย คาบสมุทรและหมู่เกาะ เนื่องจากบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเล จึงมีเมืองที่เจริญ รุ่งเรืองอยู่หลายแห่ง ทั้งนี้จะยกตัวอย่างชุมชนหรือเมืองที่ปรากฏในเอกสารจีนและอินเดีย ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ทุน ซุน จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า ทุน ซุนตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของฟูนัน ซึ่ง นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณคอคอดกระ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของไทย ทุน ซุนถือ เป็นเมืองที่ควบคุมเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรที่สามารถติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ยทางทิศตะวันออก และอินเดียทางทิศตะวันตกได้ 2. ตามพรลิงค์ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดทางภาคใต้ของไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่ นครศรีธรรมราช โดยมีหลักฐานที่กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 ต่อมาใน หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 211 พุทธศตวรรษที่ 18 ตามพรลิงค์เปลี่ยนชื่อเป็น นครศรีธรรมราช และราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มี อิทธิพลครอบคลุมบรรดาหัวเมืองและแว่นแคว้นอื่นๆ ทั่วแหลมมลายู มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าของพ่อค้าชาวอินเดีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 10 ในระยะแรกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย แต่ในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักร ศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง ทำให้ตามพรลิงค์ขยายตัวกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการเมืองในบริเวณ คาบสมุทรภาคใต้แทน และจากหลักฐานจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง กล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ว่าเป็น เมืองท่าการค้าที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากับจีนมากชนิดกว่าที่อื่น และได้ส่งคณะทูตไปถวายเครื่อง ราชบรรณาการกับจีนใน พ.ศ.1613 ซึ่งแสดงว่าตามพรลิงค์เป็นรัฐอิสระ อาณาจักรตามพรลิงค์นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้ พบศิวลึงค์ที่มีอายุเก่าแก่ราวพุทธศตวรรษที่ 8 พระนารายณ์ศิลาทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรง ยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้ง เพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกา ทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ดัง ปรากฏศาสนสถานที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้นครศรีธรรมราชกลาย เป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทย ซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราช ได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัย เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 1800 เป็นผลให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้ฝังรากลึกลงในสังคมไทยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 3. พัน พัน จากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า พัน พัน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูแถบริมฝั่งทะเล ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่บริเวณอำเภอพุนพินหรือบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัด สุราษฎร์ธานีของไทยในปัจจุบัน 4. ลังกาสุกะ ก่อตั้งขึ้นราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 7 มีหลักฐานปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุ ของจีนสมัยราชวงศ์เหลียง ที่กล่าวถึงอาณาจักรลังกาสุกะ โดยเรียกชื่อว่า “หลวงหยาซิ่ว” มี อาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดปัตตานีและยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัด ปัตตานี ลังกาสุกะเป็นอาณาจักรที่เติบโตมาจากการเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลที่มีการติดต่อค้าขาย กับต่างชาติ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย แต่มีความใกล้ชิดกับจีนมากกว่า โดยมีหลักฐานจีนบันทึกไว้ ว่า ลังกาสุกะส่งทูตไปเมืองจีนหลายครั้ง ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 พลเมืองของลังกาสุกะส่วนใหญ่ เป็นชาวพื้นเมืองและมีพ่อค้าต่างชาติปะปนอยู่ด้วย อาณาจักรลังกาสุกะมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง และมีกษัตริย์ที่ปกครองสืบต่อกันมายาวนาน แต่ต่อมาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรลังกาสุกะนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ดังได้พบประติมากรรมสำริด รูป พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สถูปจำลองรูปทรงต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 212 ลัทธิไศวนิกาย เพราะพบศิวลึงค์ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ที่ซากเมืองโบราณในอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีด้วย 5. ฉีตูจากบันทึกชาวจีนกล่าวว่า ฉีตูตั้งอยู่ทางใต้ของตามพรลิงค์ ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐาน ว่ามีเมืองหลวงอยู่บริเวณกลันตัน พัทลุง หรือนครศรีธรรมราช 6. ตักโกลา ตั้งอยู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกของคาบสมุทร สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณอ่าว พังงาและตะกั่วป่า ในอดีตเมืองตักโกลาเป็นเมืองท่าสำคัญที่พ่อค้าและนักเดินเรือทั้งชาวจีนและ อินเดียรู้จักเป็นอย่างดี 7. ศรีวิชัย ได้ปรากฏนามเป็นครั้งแรกจากเอกสารจีน และต่อมาเมื่อมีการค้นพบศิลาจารึก และบันทึกของชาวอินเดียที่มีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงการมีอยู่ของ อาณาจักรแห่งนี้ อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง บนเกาะสุมาตรา ประเทศ อินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซียขึ้นมาถึงเมืองไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเพราะอยู่ในเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างจีน อินเดีย และอาหรับ เป็นเมืองที่เกิดจากการรวมตัวกันของเมืองท่าบริเวณช่องแคบมะละกา เอกสารร่วมสมัย ของชาวต่างชาติที่เคยเดินทางมายังอาณาจักรแห่งนี้ระบุว่า ศรีวิชัยเป็นดินแดนที่มั่งคั่งร่ำรวย พลเมืองที่อยู่ในอาณาจักรศรีวิชัยเป็นชาวพื้นเมืองปะปนกับพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายและ เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเวลาต่อมา โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ชวา อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 เพราะถูกอาณาจักรโจฬะ ซึ่ง ปกครองอินเดียตอนใต้ส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีอาณาจักรศรีวิชัยและเมืองอื่นๆ ในอำนาจของ อาณาจักรศรีวิชัย ทำให้อำนาจทางการเมืองของศรีวิชัยสิ้นสุดลง ส่วนอำนาจทางการค้าเริ่มตกต่ำลง เมื่อจีนเริ่มแต่งเรือสำเภาออกไปค้าขายยังเมืองต่างๆ เอง อาณาจักรศรีวิชัยในฐานะพ่อค้าคนกลาง จึงลดบทบาทลงไป จะเห็นได้ว่าอาณาจักรศรีวิชัยเป็นอาณาจักรที่มีอิทธิพลสำคัญต่อไทยโดยเฉพาะในด้าน ศาสนาและศิลปะ ในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมารับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากทวารวดี และจาก นครศรีธรรมราช อิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัยที่แพร่ไปยังดินแดนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ ศิลปะแบบศรีวิชัยมากกว่าอำนาจการเมือง ดังปรากฏศาสนสถานและศาสนวัตถุ เช่น พระบรมธาตุ ไชยา เทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร วัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 213 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-20 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-20 เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ มีดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงในภาคพื้นทวีป ที่สำคัญ ได้แก่ 1.1การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19 อิทธิพลของพระพุทธ- ศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในอาณาจักรกัมพูชา โดยเข้ามาแทนที่ศาสนา พราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17- 18 อาณาจักรกัมพูชามีการสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่ตามแนวคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือ พระพุทธศาสนานิกายมหายานหลายแห่ง เช่น ปราสาทนครวัด ปราสาทนครธม เป็นต้น ซึ่งใช้เวลา ในการก่อสร้างยาวนานและใช้แรงงานของประชาชนจำนวนมาก ส่งผลให้ประชาชนได้รับความ เดือดร้อน จึงหันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ในส่วนของอาณาจักรพุกามนั้นก็ได้รับ อิทธิพลจากพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์จากมอญในพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นกัน ดัง นั้น ดินแดนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง และแม่น้ำสาละวิน จึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ พระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับอาณาจักรของชนชาติไทยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและที่ราบ ลุ่มแม่น้ำโขง 1.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มองโกลที่ปกครอง จีนได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ ซึ่งอาณาจักรกัมพูชา จามปา และไดเวียดได้ใช้วิธีการเจรจา ทางการทูตเพื่อหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับจีน ยกเว้นพม่าที่ไม่ยอมเจรจาทางการทูต มองโกลจึงยึด เมืองพุกามเมืองหลวงของพม่าได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 1820-1830 ระยะเวลาที่มองโกลเข้ายึดพม่านั้น ระยะเวลาดังกล่าวอาณาจักรไดเวียดก็ได้ยึดครอง อาณาจักรจามปาที่อยู่ทางใต้ของเวียดนามในปัจจุบันได้ และเมื่ออาณาจักรกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง จึงเปิดโอกาสให้อาณาจักรของชนชาติไทยที่อยู่บริเวณทางเหนือและลาวในปัจจุบันตั้งตนเป็นอิสระ เช่น อาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1792) อาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1839) เป็นต้น ซึ่งต่อมาอาณาจักร สุโขทัยก็มีอำนาจเข้ามาบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แทนที่อาณาจักรกัมพูชาเดิม และในพุทธพุทธศตวรรษที่ 19 ชนชาติไทยก็สถาปนาอาณาจักรล้าน ช้างขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ต่อมาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรอยุธยาของชนชาติไทยที่อยู่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างก็มีความเข้มแข็งขึ้นมาแทนที่อาณาจักรสุโขทัย จนในที่สุดก็ สามารถเข้าไปในดินแดนอาณาจักรกัมพูชาบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้สำเร็จ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 214 2. การเปลี่ยนแปลงในคาบสมุทรและหมู่เกาะ ที่สำคัญ ได้แก่ 2.1 การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ศาสนาอิสลามเริ่มแพร่ เข้ามาแทนที่พระพุทธศาสนานิกายมหายานบริเวณคาบสมุทรและหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ทำให้ประชาชนในดินแดนบริเวณนี้นับถือศาสนาอิสลาม ยกเว้นบาหลีที่ประชาชนส่วน ใหญ่ยังนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจนถึงปัจจุบัน 2.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เมื่อ พ.ศ. 1667-1821 จีนได้ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้ากับต่างประเทศด้วยการส่งกองเรือพาณิชย์มาค้าขายในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง ส่งผลให้ศูนย์กลางการค้าทางทะเลเดิม คือ อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง และทำให้เกิดเมืองท่าใหม่ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซียและบนคาบสมุทรมลายู เช่น - อาณาจักรสิงหัสส่าหรี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา เริ่มเจริญรุ่งเรืองและ ควบคุมเส้นทางการค้าทางตะวันออกของเกาะชวาเมื่อ พ.ศ. 1799 ต่อมาสามารถขยายอำนาจ ปกครองเมืองปาเล็มบังของอาณาจักรศรีวิชัยได้ - อาณาจักรมัชปาหิต ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของชวาตอนใต้ โดยเจริญรุ่งเรืองขึ้น มาแทนที่อาณาจักรสิงหัสส่าหรี และขยายอำนาจครอบครองบริเวณส่วนใหญ่ของหมู่เกาะ อินโดนีเซีย และเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ที่จีนเปลี่ยนมาค้าขายกับมะละกาแทนอาณาจักรมัช- ปาหิต ทำให้อาณาจักรมัชปาหิตเสื่อมลง - มะละกา ตั้งอยู่ปลายคาบสมุทร โดยช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 มะละกาได้ กลายเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือที่ ผ่านช่องแคบมะละกา เนื่องจากเส้นทางเดินเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกามีระยะทางใกล้กว่าการเดิน เรืออ้อมเข้าไปในทะเลชวา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยการขยายอำนาจ ของชาติตะวันตก ก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 พ่อค้าต่างชาติส่วนใหญ่ที่เข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จีน อินเดีย และอาหรับ โดยเฉพาะพ่อค้าอาหรับได้ผูกขาดสินค้าเครื่องเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่ ชาวตะวันตกนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารและถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียเร็ว การผูกขาดเครื่องเทศ ของพ่อค้าอาหรับนี้ทำให้สินค้าเครื่องเทศในยุโรปมีราคาสูงมาก แต่เดิมชาติตะวันตกไม่รู้จักดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้จักแต่อินเดียและจีน จึงมีพวก พ่อค้าตะวันตกนิยมเดินทางมาติดต่อค้าขายกับอินเดียและจีน แต่การเดินทางมายังประเทศทั้งสอง ลำบากและใช้เวลาเดินทางนานมาก กล่าวคือ ต้องขนสินค้าบรรทุกใส่เรือเดินทางจากยุโรปข้าม หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 215 ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาขึ้นฝั่งแถบตะวันออกกลาง จากนั้นจึงบรรทุกสินค้าใส่เกวียนเดินทางโดย ทางบกผ่านภาคเหนือของอินเดีย แล้วจึงเดินทางไปยังประเทศจีนต่อไป จะเห็นว่าเส้นทางการเดิน ทางนั้นทุรกันดารมาก สินค้ามักจะเสียหายหรือไม่ก็ถูกโจรปล้นระหว่างทาง ทำให้การค้าขายไม่สู้มี กำไรเท่าใด อย่างไรก็ตาม ชาวยุโรปรู้จักดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบของสินค้า เครื่องเทศที่เป็นที่ต้องการของชาวยุโรป โดยชาวยุโรปต้องซื้อจากพ่อค้าอาหรับเท่านั้น ทั้งนี้มูลเหตุ สำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องการเดินทางมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พอสรุปได้ ดังนี้ 1. พุทธศตวรรษที่ 21 ชาติต่างๆ ในยุโรปเริ่มพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการเดิน เรือและความก้าวหน้าในวิชาการต่อเรือดีขึ้น จึงสนใจในการค้นหาดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากยุโรป และเริ่มมีความเชื่อในเรื่องโลกกลมกับความปลอดภัยในการเดินเรือ จึงพร้อมที่จะเสี่ยงภัยเพื่อ แสวงหาโชค รวมไปถึงความอยากรู้อยากเห็นในประสบการณ์ใหม่ๆ 2. พ่อค้าชาวยุโรปใต้ เช่น โปรตุเกส สเปน ต้องการซื้อสินค้าเครื่องเทศจากแหล่งผลิต โดยตรงเพราะซื้อผ่านมือพ่อค้าอาหรับมีราคาสูงมาก 3. สันตะปาปาที่กรุงโรมทรงมีนโยบายสนับสนุนให้กษัตริย์ของประเทศต่างๆ ในยุโรปซึ่ง นับถือคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ส่งมิชชันนารีไปสอนศาสนายังดินแดนที่ห่างไกล 4. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งดึงดูดชาว ตะวันตกให้สนใจต่อการแสวงหาผลประโยชน์ ประกอบกับการขนส่งทางเรือสะดวก ปลอดภัย และ เสียค่าใช้จ่ายถูก นับว่าเหมาะสมสำหรับการติดต่อค้าขายในสมัยนั้น การเข้ามาของชาติตะวันตกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 นี้มีจุด ประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งชาติตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ ได้แก่ 1. โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การค้าเครื่องเทศและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา แม้ว่าในช่วงนั้นโปรตุเกสจะ ยังไม่ต้องการแสวงหาดินแดน แต่ก็ต้องการตั้งสถานีการค้าบริเวณเมืองท่าชายฝั่งทะเลเพื่อ ประโยชน์ทางการค้าจากอินเดียไปยังจีน โปรตุเกสจึงเข้ายึดเมืองมะละกาใน พ.ศ. 2054 เมื่อมีชาติ ตะวันตกอื่นๆ ตามเข้ามา โปรตุเกสก็ไม่สามารถแข่งขันได้และสูญเสียอิทธิพล โดยเฉพาะต่อ ฮอลันดาใน พ.ศ. 2184 2. สเปน ชาวตะวันตกชาติต่อมาที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สเปน โดยนักเดิน เรือชาวโปรตุเกส (แต่ทำงานรับใช้ราชสำนักสเปน) คือ เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน ผู้ค้นพบเส้นทาง เดินเรือจากซีกโลกตะวันตกผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก ต้องการเดินทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ แต่ กลับมาพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2064 ต่อมาใน พ.ศ. 2108 สเปนก็ประกาศให้ดินแดนนี้เป็น ของตน ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 216 3. ฮอลันดา ชาวฮอลันดาเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจุดประสงค์ของการค้า เครื่องเทศเป็นสำคัญ โดยได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (VOC) เพื่อติดต่อค้าขาย อย่างเป็นระบบ ฮอลันดาสามารถครอบครองดินแดนที่เป็นสถานีการค้าของโปรตุเกสในเกาะชวา และขยายอิทธิพลไปยังดินแดนใกล้เคียงอื่นๆ จนในที่สุดสามารถครอบครองดินแดนที่เป็นประเทศ อินโดนีเซียปัจจุบันไว้ได้ทั้งหมด 4. อังกฤษ ได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนขึ้นเพื่อแข่งขันทางการค้ากับฮอลันดา โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่อินเดียและจีน อย่างไรก็ดี อังกฤษค่อยๆ ขยายอำนาจทั้งทางการค้าและ การเมือง เริ่มตั้งแต่การขอเช่าเกาะปีนัง สิงคโปร์ และมะละกา จนในที่สุดสามารถครอบครอง ดินแดนในแหลมมลายูได้ทั้งหมด รวมทั้งรัฐที่อยู่ในอำนาจของไทย คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส นอกจากนั้นอังกฤษยังได้บรูไน บอร์เนียวเหนือ และพม่า เป็นเมืองขึ้นด้วย 5. ฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงแรกด้วยเป้าหมายหลัก คือ การค้าและการเผยแผ่ศาสนา (ต่างกับอังกฤษและฮอลันดาที่มุ่งเรื่องการค้าเป็นสำคัญ) อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสไม่สามารถแข่งขันกับอังกฤษ โดยสูญเสียอิทธิพลในเอเชียเกือบทั้งหมดให้แก่อังกฤษ จึงได้ หันมา สนใจอินโดจีน ฝรั่งเศสเริ่มขยายอำนาจในดินแดนนี้ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ตรงกับช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) จนสามารถเข้าครอบครองเวียดนาม กัมพูชา และลาวไว้ได้ และได้รวมการปกครองดินแดนทั้งหมดเข้าด้วยกัน เรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส โดย ตั้งข้าหลวงใหญ่ทำหน้าที่ปกครองและขึ้นตรงต่อรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส การเข้ามาของชาติตะวันตกทำให้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมดยกเว้นไทย ต้องตกไปอยู่ในอำนาจของชาติเหล่านี้ แต่แม้กระทั่งไทยเองก็ต้องเผชิญกับการกดดันของตะวันตก อย่างรุนแรง รวมทั้งต้องเสียดินแดนบางส่วนเพื่อแลกกับการรักษาเอกราชไว้ได้ นอกจากนี้ไทยยัง ต้องยอมทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398 ซึ่งทำให้ไทยต้อง เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นั่นคือสูญเสียอธิปไตยทางการศาลไปด้วย อย่างไรก็ดี อิทธิพล ตะวันตกมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยต้องปรับตัวให้ก้าวหน้าทันสมัยในด้านต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการรับ วิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตก เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลา ต่อมา กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 2 แบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลจากการเข้ามาของชาติ ตะวันตกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอเป็นรายงานส่งครูผู้สอน จากนั้นส่ง ตัวแทนกลุ่มมารายงานหน้าชั้นเรียน หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 217 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยลัทธิชาตินิยมและ การต่อสู้เพื่อเอกราช การที่ชาติตะวันตกขยายอำนาจมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงระยะแรกชาติตะวันตก มุ่งติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นสำคัญ ต่อมาเศรษฐกิจของชาติตะวันตกได้เปลี่ยนไป เป็นแบบเศรษฐกิจทุนนิยมและการผลิตแบบอุตสาหกรรม จึงทำให้นักลงทุนตะวันตกสนใจที่จะ แสวงหาวัตถุดิบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อส่งไปเข้าโรงงานในยุโรปผลิตออกมาเป็นสินค้า สำเร็จรูปส่งกลับมาขายยังทวีปเอเชียรวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้กลายมาเป็นตลาดการค้า ของชาติตะวันตก ต่อมาชาติตะวันตกเห็นว่าการแสวงผลประโยชน์ดังกล่าวจะได้ผลอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อชาติ ตะวันตกได้เข้าปกครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อจัดระบบและระเบียบเสียใหม่ให้เกิด ความสงบเรียบร้อยและเพื่อความมั่นคงปลอดภัยแก่ชาวตะวันตก ดังนั้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 400 ปี นับตั้งแต่โปรตุเกสเป็นชาติแรกซึ่งเดินทางมาถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งชาติอื่นๆ ที่เดินทางมาติดต่อระยะหลังๆ ต่างก็ใช้วิธีการและรูปแบบ ต่างๆ ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการค้าและการแสวงหาอิทธิพลทางการเมือง ท้ายที่สุด ชาติตะวันตกเห็นว่าการใช้กำลังทหารและเรือรบเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นด้วยเหตุผล ดังกล่าวมาแล้ว ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดอ่อนในเรื่องความล้าหลังทุกด้านเมื่อเทียบกับชาติตะวันตก นอกจากนั้นยังมีความแตกสามัคคีรบพุ่งกันเองเพราะแย่งชิงอำนาจหรือไม่ก็รบพุ่งกันระหว่างแว่น แคว้น จึงไม่อาจรวมพลังความสามารถต่อต้านชาติตะวันตกที่เข้ามารุกรานได้ ในที่สุดเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ จึงตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกหมดสิ้นยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียว เท่านั้น การที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตกมาเป็นเวลา นานหลายปีโดยไม่ได้คิดร่วมมือกันต่อต้านหรือดิ้นรนเป็นอิสระ น่าจะมีสาเหตุประการหนึ่ง คือ การ ขาดความคิดในเรื่องชาตินิยมนั่นเอง จนกระทั่งประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้จึงเริ่มตื่นตัวทางด้านความคิดชาตินิยม สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดความคิดชาตินิยม ดังนี้ 1. ชาติตะวันตกปกครองอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน้นในเรื่องความสงบ ความมั่นคง ทำให้ชาวพื้นเมืองเลิกรบกันเอง และเริ่มมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน 2. ชาติตะวันตกใช้ภาษาของตนเป็นภาษาราชการ ทำให้ชาวพื้นเมืองซึ่งมีความแตกต่าง กันในเรื่องภาษามากมายได้ใช้ภาษาของชาติตะวันตกเป็นภาษากลาง ทำให้ชาวพื้นเมืองสามารถ ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดหรือห่างไกลแค่ไหน ดังเช่นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 218 3. ชาติตะวันตกได้จัดให้มีการศึกษาแบบใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ รูปแบบการศึกษาและใช้ตำราของประเทศตะวันตก การที่ชาวพื้นเมืองเรียนรู้ภาษาของชาติตะวันตก ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตก ได้มีโอกาสศึกษาปรัชญา ความคิด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ทำให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิด ความคิดอยากเลียนแบบ และต้องการให้ประเทศของตนเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าเหมือนชาติตะวันตก 4. ชาติตะวันตกได้สร้างความเจริญทางด้านการสื่อสาร การคมนาคมขนส่งแบบสมัย ใหม่ในอาณานิคม ทำให้ชาวพื้นเมืองสามารถไปมาหาสู่ ติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างสะดวกและ กว้างขวางมากกว่าแต่ก่อน ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจและเกิดความรู้สึกนึกคิดของความเป็น เชื้อชาติเดียวกัน 5. การที่ชาติตะวันตกกดขี่ข่มเหงและกอบโกยทรัพยากรของชาวเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ชาติตน โดยปล่อยให้ชาวพื้นเมืองอดอยากยากจน สิ่งเหล่า นี้ได้สร้างความขมขื่นให้แก่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยิ่งนัก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ความคิดร่วมกันในการที่จะขับไล่ชาติตะวันตกให้ออกไปพ้นประเทศของตน 6. การโฆษณาของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเอกราชก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) ประกาศนโยบายต่อต้านชาติตะวันตกที่แผ่อำนาจเข้ามาปกครองเอเชีย ญี่ปุ่นโฆษณา เรียกร้องให้ชาวเอเชียลุกขึ้นต่อสู้ โดยร่วมมือกับญี่ปุ่นในการขับไล่อิทธิพลของชาติตะวันตกให้ออก ไปจากเอเชีย นับว่าการโฆษณาชักจูงของญี่ปุ่นได้ผลอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้ชาวเอเชียเกิดความ ตื่นตัวในแนวความคิดชาตินิยม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ชาติตะวันตกได้เข้าคุกคามดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวัน- ออกเฉียงใต้ ดังนี้ อินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียได้พยายามต่อสู้เพื่อเอกราชให้พ้นจากการเป็นอาณานิคมของฮอลันดา ตั้งแต่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในระยะนี้คือขบวนการนักศึกษา ชาวอินโดนีเซีย ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาจากฮอลันดา ใน พ.ศ. 2469 รัฐบาลฮอลันดาได้กวาดล้าง ขบวนการกู้ชาติเป็นการใหญ่ มีผู้ถูกจับกุมนับหมื่นคน อย่างไรก็ตาม ชาวอินโดนีเซียก็ยังไม่ละความ พยายาม ผู้นำขบวนการชาตินิยมรุ่นใหม่ ได้แก่ ซูการ์โนและฮัตตะ ได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่ง อินโดนีเซีย รวบรวมกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดคล้ายกัน รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เจ้าหน้าที่ รัฐบาลฮอลันดาที่ปกครองอินโดนีเซียทราบเรื่องจึงพยายามกวาดล้างพวกชาตินิยมและจับกุม ซูการ์โนกับฮัตตะไปคุมขัง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพ สหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกเข้า หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 219 ยึดครองอินโดนีเซีย ทหารฮอลันดาในอินโดนีเซียยอมแพ้ ญี่ปุ่นจึงเข้าปกครองอินโดนีเซียแทน ญี่ปุ่นเอาใจชาวอินโดนีเซียเพื่อหวังจะให้ชาวอินโดนีเซียสนับสนุนญี่ปุ่นในการขับไล่ชาติตะวันตก ออกจากเอเชียระหว่างสงครามโลก ชาวอินโดนีเซียจึงถือโอกาสร่วมมือกับญี่ปุ่น เพราะมีความหวัง ว่าญี่ปุ่นจะมอบเอกราชให้แก่อินโดนีเซีย แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ จนกระทั่งญี่ปุ่นประกาศ ยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ซูการ์โนจึงฉวยโอกาสประกาศเอกราชแก่ อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามญี่ปุ่นจึงมอบอาวุธจำนวนมากให้แก่ชาวพื้นเมือง ประกอบกับใน ระหว่างสงคราม ชาวพื้นเมืองได้รับการฝึกอาวุธแบบใหม่และมีการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติขึ้น เมื่อ ญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้ว ฮอลันดาได้กลับเข้ามายึดครองอินโดนีเซียอีก และประกาศไม่ยอมรับรู้การ ประกาศเอกราชของชาวพื้นเมือง ในที่สุดได้เกิดสงครามกู้ชาติขึ้นระหว่างกองทัพชาวพื้นเมืองกับทหารฮอลันดา สงครามครั้งนี้ เป็นสงครามเพื่อกู้เอกราชอย่างแท้จริง ชาวอินโดนีเซียได้รวมกำลังกันอย่างมั่นคงและต่อสู้กับทหาร ฮอลันดาอย่างกล้าหาญ ทำให้ฮอลันดาไม่สามารถเอาชนะชาวพื้นเมืองได้ ประกอบกับนานาชาติ และองค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ฮอลันดาถอนตัวออกจากอินโดนีเซีย ในที่สุดทั้ง 2 ฝ่ายได้ เริ่มเปิดการเจรจากัน ผลปรากฏว่าฮอลันดายินยอมให้เอกราชแก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2491 พม่า ชาวพม่าได้เริ่มรวมกลุ่มผู้มีแนวคิดชาตินิยม โดยการฟื้นฟูวัฒนธรรมของพม่าซึ่งตกต่ำลงมาก ในช่วงที่อังกฤษปกครองพม่า ใน พ.ศ. 2447 กลุ่มปัญญาชนและกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาจาก ตะวันตกชาวพม่าเป็นผู้นำในการจัดตั้งสมาคมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่วิทยาลัยย่างกุ้ง ต่อมาจึงขยาย บทบาทในการโฆษณาความคิดชาตินิยม โฆษณาความรุ่งเรืองพม่าในอดีตตลอดจนโฆษณาต่อต้าน ชาติตะวันตก หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (เดิมเป็นวิทยาลัย) เป็นผู้มีบทบาท สำคัญในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ผู้นำที่สำคัญ เช่น อองซานและอูนุ เป็นผู้นำนักศึกษาใน การเคลื่อนไหวต่อต้านอังกฤษ เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาเกิดขึ้น (ญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สงครามใน พ.ศ. 2484) ญี่ปุ่นได้ยกทัพ ผ่านประเทศไทยเข้ายึดครองพม่า ขบวนการชาตินิยมชาวพม่า ซึ่งมีอองซานเป็นผู้นำไม่ไว้ใจญี่ปุ่น เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นจักรวรรดินิยม จึงน่าจะร่วมมือกับอังกฤษต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น อังกฤษให้ คำมั่นสัญญาต่อกลุ่มของอองซานว่าขอให้ร่วมมือกับอังกฤษ หากสงครามสงบแล้วอังกฤษจะให้ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 220 เอกราชแก่ชาวพม่า จึงทำให้ขบวนการชาตินิยมพม่าได้ร่วมมือกับอังกฤษต่อต้านการรุกรานของ ญี่ปุ่น จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้ว อังกฤษได้กลับมาครอบครองพม่าอีกครั้งหนึ่ง ชาวพม่าได้ เรียกร้องอังกฤษให้มอบเอกราชแก่ชาวพม่า อังกฤษจึงได้ตอบสนองโดยเปิดการเจรจากับผู้นำ ชาตินิยมพม่า รัฐบาลอังกฤษตกลงที่จะมอบเอกราชแก่พม่าใน พ.ศ. 2490 และจัดให้มีการเลือกตั้ง ในปีเดียวกัน ผลของการเลือกตั้งทำให้อองซานได้ขึ้นเป็นผู้นำของพม่า พ.ศ. 2491 ซึ่งถือเป็นวันชาติ ของพม่า แต่ปัญหาทางการเมืองของพม่ายังยุ่งเหยิงต่อไป เนื่องจากชนกลุ่มน้อยในพม่า เชน มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ คะฉิ่น ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญพม่าโดยต้องการที่จะแยกตนเองออกเป็นรัฐอิสระ ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าซึ่งได้กลายเป็นปัญหาความแตกแยกจนเกิดรบพุ่งกันเอง เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มาเลเซีย ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวมลายูไม่ค่อยมีความคิดชาตินิยมมากนัก จะมีอยู่บ้างคือกลุ่ม ปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาจากอังกฤษ ส่วนกลุ่มที่มีความคิดชาตินิยมรุนแรงเป็นกลุ่มชาวจีน ซึ่งมี ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับชาวมลายูมานานแล้ว ชาวจีนบางกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์และเกลียดชัง ญี่ปุ่นอย่างรุนแรง เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองมลายูในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวจีนซึ่งยังมีความผูกพัน ประเทศจีนเมืองแม่ที่ถูกญี่ปุ่นยกทัพเข้ารุกรานยึดครองดินแดนจีนไว้ได้มากมาย อันเป็นเหตุทำให้ ชาวจีนในมลายูโกรธแค้นญี่ปุ่นจึงปฏิบัติการใต้ดินทำสงครามกองโจรรบกับทหารญี่ปุ่นต่อไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกและถอนตัวออกไป อังกฤษจึงกลับมาครอบครองมลายูอีกครั้งหนึ่ง แต่การกลับมาครั้งนี้อังกฤษต้องเผชิญกับการต่อต้านจากกลุ่มชาวจีนที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ และ การยกพวกเข้าปะทะกันระหว่างชาวจีนกับชาวมลายู ทำให้เกิดปัญหาจลาจลวุ่นวาย อังกฤษ พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยพยายามไกล่เกลี่ยทุกฝ่ายให้เกิดการปรองดอง กันและร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้กับชนหลายเชื้อชาติ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญของมลายูได้ให้สิทธิ ทางการเมืองและการปกครองแก่ชาวมลายูมากกว่าชนชาติอื่น ซึ่งทำให้ชาวจีนและชาวอินเดียไม่ พอใจ ชาวจีนที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์บางกลุ่มซึ่งไม่พอใจอังกฤษได้ประกาศทำสงครามกองโจรกับ อังกฤษ โดยอาศัยภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาบริเวณพรมแดนติดกับประเทศไทยเป็นแหล่งซ่องสุมกำลัง และเปิดฉากโจมตีเจ้าหน้าที่อังกฤษและมลายูให้ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ระยะแรกทหารและ ตำรวจฝ่ายรัฐบาลเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากไม่ชำนาญภูมิประเทศ อังกฤษจึงได้ปรับขบวนการ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 221 ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เสียใหม่ โดยเน้นการพัฒนาชนบทและคุ้มครองประชาชนควบคู่กันไปกับการ ปราบปรามขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งทุ่มกำลังทหารเข้าไปปราบปรามจำนวนมาก ต่อมาฝ่ายคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายเสียเปรียบและเริ่มเข้ามอบตัวต่อรัฐบาลมากขึ้นตามลำดับ จนถึง พ.ศ. 2500 กองกำลังโจรจีนนิยมคอมมิวนิสต์เหลือเพียง 2,000 คน หลบซ่อนอยู่บริเวณ พรมแดนไทย-มาเลเซีย อังกฤษเห็นว่าภัยจากโจรจีนคอมมิวนิสต์เบาบางลงมากแล้ว จึงประกาศให้ เอกราชแก่มลายูเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 เวียดนาม ชาวเวียดนามเริ่มตื่นตัวตามความคิดชาตินิยมตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยกลุ่ม ปัญญาชนได้รวมตัวกันอย่างลับๆ และแอบสอนหนังสือให้แก่ชาวบ้านในตอนกลางคืนเพื่อหวังใช้ การศึกษากระตุ้นชาวบ้านให้ตื่นตัวตามความคิดชาตินิยม เมื่อฝรั่งเศสทราบเข้าจึงประกาศห้ามการ สอนหนังสือดังกล่าวโดยเด็ดขาด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความคิดชาตินิยมแพร่หลายในหมู่ชาวเวียดนามมากยิ่งขึ้น แต่ชาว เวียดนามยังรวมกันไม่ติด มีการแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ แต่ละกลุ่มต่างแสดงบทบาทไปตามที่ตนถนัด เช่น การเดินขบวนเรียกร้องเอกราช การโฆษณาความคิดในหน้าหนังสือพิมพ์ การก่อการจลาจล เป็นต้น กลุ่มต่างๆ ยังขาดความร่วมมือกัน ฝรั่งเศสใช้วิธีปราบปรามพวกชาตินิยมอย่างรุนแรง โดย ใช้วิธีการประหารชีวิตหรือไม่ก็จับกุมคุมขังเป็นจำนวนมาก ต่อมามีนักชาตินิยมคนสำคัญ คือ โฮจิมินห์ ได้รวบรวมผู้คนก่อตั้ง ขบวนการเวียดมินห์ ซึ่ง ยึดถือหลักการคอมมิวนิสต์แบบรัสเซีย เตรียมการที่จะประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดจีน ขบวนการเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์เห็นว่าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายรุกราน จึงร่วมมือกับจีนและสหรัฐอเมริกาต่อต้าน ญี่ปุ่นตอนปลายสงครามโลก ญี่ปุ่นใกล้จะแพ้สงครามจึงหันไปเอาใจเวียดนามโดยสนับสนุนให้ เบาได๋สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ พร้อมทั้งประกาศเอกราชของเวียดนามโดยมีญี่ปุ่นเป็น ผู้บงการอยู่เบื้องหลัง ขณะเดียวกันขบวนการเวียดมินห์ได้เข้ายึดชนบท พยายามโฆษณาให้ชาว ชนบทตื่นตัวในความคิดชาตินิยมและร่วมมือกับขบวนการเวียดมินห์เพื่อกอบกู้เอกราชของเวียดนาม ทำให้ชาวชนบทในตังเกี๋ยเข้าร่วมกับขบวนการเวียดมินห์จำนวนมาก เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้และสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสได้กลับมาเพื่อพยายาม ปกครองเวียดนามอีกครั้ง โฮจิมินห์พยายามเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ เวียดนามอย่างสมบูรณ์ แต่ฝรั่งเศสไม่ยอม ยังต้องการที่จะควบคุมเวียดนามต่อไปอีก ใน พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสได้เปิดฉากทำสงครามกับขบวนการเวียดมินห์ ขบวนการเวียดมินห์ ขณะนั้นไม่ใช่กองกำลังที่อ่อนแออย่างที่ฝรั่งเศสคาดคิด แต่เป็นกองกำลังที่มีทหารได้รับการฝึกอาวุธ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 222 อย่างดี มีระเบียบวินัย ชำนาญภูมิประเทศ มีอาวุธที่ทันสมัยซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากญี่ปุ่น และที่ สำคัญคือประชาชนให้การร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผลของการสู้รบทหารฝรั่งเศสเข้ายึดตัว เมืองต่างๆ แต่ทหารเวียดมินห์ยึดชนบทและเปิดฉากทำสงครามกองโจรกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเริ่มรู้ตัวว่าจะสู้ไม่ไหว จึงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาโดยอ้างว่าพวก เวียดมินห์เป็นคอมมิวนิสต์ ถ้าหากเวียดมินห์ชนะสงครามเวียดนามก็จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะ นั้นสหรัฐอเมริกาซึ่งกลัวการแพร่หลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียอยู่แล้ว จึงตัดสินใจช่วยเหลือ ฝรั่งเศสทางด้านทหารอย่างเต็มที่ แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าช่วยเหลือฝรั่งเศสทางด้านทหารอย่าง เต็มที่ แต่ฝรั่งเศสก็ไม่อาจเอาชนะเวียดนามได้เนื่องจากชาวเวียดนามมีความปรารถนาอย่าแรงกล้า ที่จะขับไล่ฝรั่งเศสออกจากเวียดนาม ให้จงได้ ในที่สุดฝรั่งเศสเริ่มท้อถอยเมื่อเห็นว่าไม่อาจเอาชนะ เวียดนามได้จึงตกลงใจเปิดเจรจาใน พ.ศ. 2497 ผลของการเจรจาฝรั่งเศสตกลงที่จะมอบเอกราชให้ แก่เวียดนาม ลาว และกัมพูชา สำหรับเวียดนามนั้นได้ตกลงที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเทศคือ เวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ โดยฝรั่งเศสจะถอนทหารออกจากอินโดจีนทั้งหมด หลังจากนั้นเวียดนามได้แบ่งออกเป็น 2 ประเทศ คือ เวียดนามเหนือปกครองด้วยระบอบ คอมมิวนิสต์โดยมีโฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี ส่วนเวียดนามใต้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีเบาได๋ เป็นจักรพรรดิ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ มีโงดินห์เดียมเป็น ประธานาธิบดี กล่าวโดยสรุปแล้วทั้ง 2 ประเทศต่างก็ใช้รูปแบบการปกครองในลักษณะเผด็จการ เหมือนกัน ลาว ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองลาว ฝรั่งเศสไม่ได้เห็นความสำคัญของลาวมากนัก ดังนั้นฝรั่งเศสจึง ไม่ได้พัฒนาลาวให้ก้าวไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ โดยเฉพาะการศึกษาของประชาชนส่วนใหญ่ยัง ล้าหลังอยู่มาก สภาพเศรษฐกิจและสังคมของลาวจึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวลาวจึงไม่ค่อยกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหวทางด้านชาตินิยม ชาวลาวได้เริ่มมีความคิดชาตินิยมเนื่องมาจากก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้โฆษณา เผยแพร่ความคิดชาตินิยมและเรียกร้องให้ชาวเอเชียร่วมมือกับญี่ปุ่นในการขับไล่ชาติตะวันตกออก ไปจากเอเชีย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้าปกครองลาว ทำให้นักชาตินิยมลาวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งต้องการร่วมมือกับฝรั่งเศสเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากลาว แต่อีกกลุ่มต้องการร่วมมือ กับญี่ปุ่นขับไล่ฝรั่งเศสออกจากลาว ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้สงคราม 4 เดือน ญี่ปุ่นได้เอาใจชาวลาวโดยสนับสนุนให้ลาวประกาศ เอกราช สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์กษัตริย์ของลาวทรงประกาศเอกราชเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 223 2487 ภายหลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 แล้ว พระเจ้าศรี สว่างวงศ์ทรงเกรงว่า เมื่อฝรั่งเศสกลับคืนมามีอำนาจในลาวเหมือนเดิมอาจจะลงโทษเจ้านายลาวที่ ไปร่วมมือกับญี่ปุ่น พระองค์จึงทรงประกาศยอมรับอำนาจของฝรั่งเศสเหมือนเช่นเดิม การที่พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ทรงประกาศยอมรับอำนาจของฝรั่งเศสเหมือนเดิมในครั้งนี้ ทำให้ เจ้านายลาวรวมทั้งนักชาตินิยมเกิดแตกแยกกันอย่างรุนแรง เพราะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเจ้า ศรีสว่างวงศ์ เจ้านายลาวกลุ่มที่แสดงปฏิกิริยาต่อต้านฝรั่งเศสเช่นเจ้าเพชรราช ประกาศไม่ยอมรับ การกลับมาของฝรั่งเศส ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ได้นำพลพรรคหลบหนีไปร่วมกับขบวนการเวียดมินห์ต่อสู้ เพื่อเอกราชของลาวต่อไป กลุ่มนี้เรียกตนเองว่า “ขบวนการประเทศลาว” เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในเวียดนามและยินยอมให้มีการเจรจาสงบศึกที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ ฝรั่งเศสจึงยินยอมให้เอกราชอย่างสมบูรณ์แก่ลาว รวมทั้งเวียดนามและกัมพูชาใน พ.ศ. 2497 กัมพูชา กัมพูชาหรือเขมรในอดีตเป็นประเทศราชของไทย ซึ่งต่อมาได้ถูกฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงโดยใน สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยต้องยอมยกเขมรส่วนนอกให้แก่ฝรั่งเศส และช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ต้อง เสียพระตระบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราดของไทยที่ถูกฝรั่งเศส ยึดไว้ ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ส่งทหารเข้ายึดครองกัมพูชาและขับไล่ฝรั่งเศสออกไป ญี่ปุ่นได้เอาใจชาวกัมพูชาโดยยินยอมให้กัมพูชาประกาศตนเป็นเอกราชปกครองตนเอง ซึ่งมีญี่ปุ่น บงการอยู่เบื้องหลัง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองกัมพูชาอีกครั้งหนึ่ง ทำให้พวก ชาตินิยมที่เคยร่วมมือกับญี่ปุ่นหวาดเกรงฝรั่งเศสจะลงโทษ จึงหนีไปร่วมกับขบวนการเวียดมินห์ต่อ ต้านฝรั่งเศสด้วยการทำสงครามกองโจรและเรียกร้องเอกราชให้แก่กัมพูชา ขณะนั้นกัมพูชามีกษัตริย์หนุ่มทรงพระนามว่า “เจ้าสีหนุ” พระองค์ได้รับความไว้วางใจจาก ฝรั่งเศส เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงนิยมใช้ความรุนแรงในการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส เจ้าสีหนุ เพียรพยายามเจรจากับฝรั่งเศสหลายครั้งหลายหนเพื่อขอร้องฝรั่งเศสให้เอกราชแก่กัมพูชา แต่ไม่ ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในเวียดนามและยอมเจรจาสงบศึกกับเวียดนามใน พ.ศ. 2497 เมื่อฝรั่งเศสให้เอกราชแก่เวียดนามจึงยินยอมให้เอกราชอย่างสมบูรณ์แก่กัมพูชาด้วย หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 224 ฟิลิปปินส์ นักชาตินิยมรุ่นแรกๆ ของฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกที่ได้รับการศึกษาจากยุโรป และพยายาม เรียกร้องเอกราชจากสเปน แต่สเปนกลับกล่าวหาว่าพวกชาตินิยมกระทำการผิดกฎหมายจึงลงมือ ปราบปรามตั้งแต่ พ.ศ. 2439 พวกชาตินิยมถูกประหารชีวิตและถูกจำคุกไปเป็นจำนวนมาก ใน พ.ศ. 2441 สเปนทำสงครามแพ้สหรัฐอเมริกา จึงยกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา นักชาตินิยมจึงฉวยโอกาสประกาศเอกราชแก่ฟิลิปปินส์ แต่ยังไม่ทันปกครองตนเอง สหรัฐอเมริกาได้ เข้ามาควบคุมฟิลิปปินส์แทนสเปน ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างทหารสหรัฐอเมริกากับ ขบวนการกู้ชาติฟิลิปปินส์ พวกชาตินิยมซึ่งมีกำลังไม่มากนักและยังรวมกันไม่ติด จึงสู้ไม่ได้และต้อง หนีไปตั้งมั่นตามป่าเขาเพื่อทำสงครามกองโจรต่อต้านสหรัฐอเมริกาต่อไป ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาที่ปกครองฟิลิปปินส์ไม่ได้ใช้นโยบายกดขี่หรือมุ่งเอารัดเอาเปรียบชาว ฟิลิปปินส์มากนัก ตรงกันข้ามสหรัฐอเมริกาได้สร้างความเจริญแก่ชาวฟิลิปปินส์ไว้มากพอสมควร โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา นับว่าฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีการศึกษาก้าวหน้ามากกว่าประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังได้จัดระบบการปกครองเพื่อส่งเสริม ให้ชาวฟิลิปปินส์ได้เรียนรู้แบบการบริหารและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย ในช่วงก่อนเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เตรียมการที่จะมอบเอกราชให้แก่ชาว ฟิลิปปินส์ แต่มีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ให้ชาวฟิลิปปินส์ปกครองกันเองโดยสหรัฐอเมริกา จะควบคุมนโยบายสำคัญๆ ของประเทศ การดำเนินการดังกล่าวนี้ยังไม่เกิดผล เพียงแต่เป็นการเริ่ม ต้นเท่านั้น ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียก่อน กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองฟิลิปปินส์และขับไล่ ทหารอเมริกันจนต้องถอยหนีออกจากฟิลิปปินส์ นักชาตินิยมชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นนักจักรวรรดินิยมและเป็นอันตราย ยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกา พวกเขาจึงพร้อมใจกันร่วมมือกับทหารอเมริกัน บางส่วนถอยไปตั้งมั่นตามป่า เขาเพื่อทำสงครามกองโจรต่อต้านญี่ปุ่นต่อไป ก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศยอมแพ้สงคราม ญี่ปุ่นได้เอาใจชาวฟิลิปปินส์โดยยินยอมให้ชาว ฟิลิปปินส์ประกาศเอกราชและญี่ปุ่นควบคุมนโยบายอยู่เบื้องหลัง แต่เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ใน พ.ศ. 2488 สหรัฐอเมริกาได้กลับมาปกครองฟิลิปปินส์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เจรจากับผู้นำขบวนการชาตินิยมชาวฟิลิปปินส์ และตกลงแก้ไข ปัญหาต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ฟิลิปปินส์จึงได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 โดย ฟิลิปปินส์ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาได้คงฐานทัพของตนไว้ในฟิลิปปินส์ต่อไป หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 225 สิงคโปร์และการจัดตั้งสหพันธ์มาเลเซีย ในขณะที่มลายูได้รับเอกราชไปแล้วนั้น สิงคโปร์ ซาราวัค บรูไน และซาบาห์ ยังไม่ได้รับ เอกราชใน พ.ศ. 2501 อังกฤษได้ให้สิทธิการปกครองตนเองแก่สิงคโปร์ โดยอังกฤษยังใช้สิทธิในการ ควบคุมนโยบายทางด้านการทหารและการต่างประเทศ อังกฤษมีนโยบายที่จะให้เอกราชอย่าง สมบูรณ์แก่สิงคโปร์ ซาราวัก บรูไน และวาบาห์ ในอนาคต แต่อังกฤษเกรงว่าหากให้ดินแดนเหล่านี้ ซึ่งมีขนาดเล็กประชากรน้อย แต่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันมากมายมหาศาล ชาติเพื่อนบ้าน ที่ใหญ่กว่า เช่น อินโดนีเซียอาจถือโอกาสส่งทหารเข้ายึดครองได้ โดยดินแดนเหล่านี้ไม่สามารถ ป้องกันตนเองได้ อังกฤษจึงได้เจรจากับผู้นำมลายู สิงคโปร์ ซาราวัค บรูไน และซาบาห์ เพื่อจะรวมเป็น ประเทศเดียวกัน ในรูปแบบสหพันธ์ คือ ดินแดนต่างๆ จะปกครองตนเอง แต่จะร่วมมือกันทางด้าน นโยบายหลัก เช่น การทหาร การต่างประเทศ การคลัง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความเข้มแข็งในการ ต่อต้านการรุกรานจากประเทศคอมมิวนิสต์และประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 จึงได้มีการสถาปนาสหพันธ์รัฐมาเลเซีย ประกอบด้วย สหพันธ์รัฐมลายู สิงคโปร์ ซาราวัก และซาบาห์ ส่วนบรูไนไม่ได้เข้าร่วมด้วย โดยมีกัวลาลัมเปอร์เป็น เมืองหลวง ต่อมาสิงคโปร์เกิดมีปัญหา เนื่องจากชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ซึ่งมีการขัดแย้งกับชาว มลายูมานานแล้ว อีกทั้งวัฒนธรรมของสองชนชาติก็ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้สิงคโปร์ถือว่าตนมี ความเจริญก้าวหน้ากว่ามลายู มีผลประโยชน์และรายได้จากการค้าต่างประเทศสูง สิงคโปร์จึงขอ แยกตนออกไปเป็นประเทศเอกราชใหม่ สำหรับบรูไนนั้น อังกฤษได้ยินยอมให้เอกราชแก่บรูไนเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังได้รับเอกราช ภายหลังการได้รับเอกราช ประเทศเหล่านี้ก็ได้เร่งพัฒนาทุกด้านเพื่อสร้างความเจริญให้ ทัดเทียมกับชาติอื่นๆ และสร้างความมั่นคงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อความอยู่รอด ของประเทศในระยะยาว ประเทศล่าสุดที่ได้รับเอกราช คือ ติมอร์-เลสเต ทั้งนี้เนื่องจากผลการออก เสียงประชามติเมื่อ พ.ศ. 2542 ประชากรร้อยละ 78.60 ต้องการเอกราชหลุดพ้นจากการปกครอง ของอินโดนีเซีย หลังจากนั้นองค์การสหประชาติได้จัดตั้งหน่วยยูนาเมต (UNAMET) ขึ้นเพื่อดูแล การถ่ายโอนอำนาจจากอินโดนีเซียมาเป็นของชาวติมอร์ และจัดตั้งกองกำลังนานาชาติของ สหประชาชาติ เพื่อฟื้นฟูประเทศติมอร์-เลสเตและปรับโครงสร้างทางการเมือง หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 226 การเร่งรัดพัฒนาเพื่อสร้างความเจริญทุกด้าน ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนำไปสู่การร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือกันในผล ประโยชน์ด้านต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน การรวม กลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกกันทั่วไปว่า กลุ่มอาเซียน (ASEAN : Association of South East Asian Nations) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย โดยมีประเทศอื่นที่เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ ประเทศ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนลาว สหภาพพม่า และประเทศกัมพูชา ได้เข้า ร่วมเป็นสมาชิก ทั้งนี้กลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ร่วมมือกันเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจ พัฒนาการค้าเสรี และร่วมกันลงทุนด้านอุตสาหกรรมระหว่าง กันเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปัจจุบันมีการตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนเพื่อลดอัตราภาษี ศุลกากรภายในกลุ่ม และช่วยให้ตลาดการค้าและการลงทุนของกลุ่มอาเซียนขยายวงกว้างมากขึ้น รวมทั้งมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมากขึ้น การขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันทำให้มีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC : Asai-Pacific Economic cooperation) เรียกย่อว่าเอเปค เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 12 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม ฟิลิปปินส์ ไทย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้กลุ่มเอเปคมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าลด อุปสรรคและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนแก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งสนับสนุนการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก สำนักงานเลขาธิการเอเปคตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสมาชิกหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมกับรัฐมนตรีทุกปี ทั้งนี้ ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมในปี พ.ศ. 2546 อารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานและมีพัฒนาการทางวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องถึงปัจจุบัน ช่วงเวลาดังกล่าว มนุษย์ในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ได้สร้างสรรค์และสะสมภูมิปัญญาตกทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาให้แก่คนรุ่นหลัง ที่ถือเป็นหลักฐานทางอารยธรรมที่สำคัญของโลก ได้แก่ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 227 1. เครื่องปั้นดินเผา ของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย ถือเป็นหลักฐานทางศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นหลักฐานทางอารยธรรม ของมนุษย์สมัยสำริด ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการ ยกย่องให้เป็นมรดกโลกใน พ.ศ. 2535 เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง การทำเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงแต่เดิมมักทำแบบเรียบง่ายเพื่อเป็นภาชนะหุงต้มหรือเก็บ สะสมอาหาร ต่อมามีการพัฒนาเป็นภาชนะดินเผาที่มีขนาดใหญ่ มีลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล หรือลายเขียนสีแดงบนพื้นผิวสีแดง หรือทาผิวภาชนะด้วยสีแดงแล้วขัดมัน โดยการตกแต่งด้วย ลวดลายต่างๆ ส่วนใหญ่มักเป็นภาชนะดินเผาที่คนโบราณที่บ้านเชียงทำขึ้นอย่างพิถีพิถันเพื่ออุทิศ ให้แก่ผู้ตายในประเพณีความเชื่อในการฝังศพ โดยการวางภาชนะดินเผาทับบนศพที่นอนหงาย เหยียดยาว ซึ่งหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้จัดเป็นอารยธรรมหรือพัฒนาการทางวัฒนธรรมชั้นสูง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. ปราสาทนครวัด ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่สร้างขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 กษัตริย์ของกัมพูชา เพื่อเป็นราชสุสาน และเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพ ที่นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็น เทพสูงสุด ปราสาทนครวัดถือเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สร้างด้วยหินบนพื้นที่กว่า 2 ตาราง กิโลเมตร ประกอบด้วยปราสาทใหญ่ 5 องค์ ตั้งอยู่ที่บนฐานสี่เหลี่ยมที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ สูง 12 เมตร บนฐานชั้นบนปราสาทองค์ใหญ่สูงประมาณ 40 เมตร ตั้งอยู่ตรงกลาง และมีปราสาทขนาด เล็กกว่าล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ มีระเบียงหินเชื่อมปราสาททั้ง 4 ด้าน และยังมีระเบียงหินขนาดใหญ่เป็น กำแพงล้อมรอบถัดออกไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งระเบียงและผนังบนปราสาทจะปรากฏงานศิลปกรรมภาพ สลักนูนสูงและนูนต่ำ แสดงเหตุการณ์ต่างๆ และตำนานทางศาสนาที่มีความสวยงามโดดเด่น ซึ่ง หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 228 เป็นความสามารถทางด้านศิลปะของช่างผู้สร้าง แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้าน ศิลปกรรมของชาวกัมพูชาเป็นอย่างดี ปราสาทนครวัดได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเพื่ออนุรักษ์ ให้เป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง ของโลก นครวัดประเทศกัมพูชา 3. บุโรพุทโธ ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศาสนสถานใน พระพุทธศาสนานิกายมหายาน สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ไศเลนทร์ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งสมัยนั้นหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ อินเดีย ทั้งทางการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของศาสนาพราหมณ์- ฮินดูและพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แต่กษัตริย์ของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเป็นชาวฮินดูเกิดความ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและประชาชนศรีวิชัยส่วนใหญ่ก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ทำให้เกาะชวาเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรีวิชัย โดยมีการสร้าง มหาสถูปบุโรพุทโธขึ้น ด้วยความรักความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นต่อพระพุทธศาสนาของประชาชนชาว ศรีวิชัย บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุต บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบพีระมิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น โดย 5 ชั้นล่างเป็นลาน สี่เหลี่ยม ส่วน 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานวงกลมชั้นสูงสุดจะมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไป 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไป หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 229 จากการที่บุโรพุทโธเป็นโบราณสถานอันแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะทางด้านศิลปะอย่าง สูงสุดของชวา จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อ พ.ศ. 2534 ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวัดบรม พุทโธ” บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย 4. กรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยมในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 18-20 เคยดำรงฐานะเป็นราชธานีของประเทศกว่า 700 ปีล่วงมาแล้ว ปัจจุบัน ราชธานีแห่งนี้เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่ยังปรากฏร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญ สะท้อนให้เห็น ภูมิปัญญาของพระมหากษัตริย์ ในการใช้พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ปรากฏ เป็นวัดวาอารามที่กระจายทั่วไปในกรุงสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร นอกจากนี้ ความงดงามทางศิลปกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ พระพุทธรูปที่มีความงามอ่อนช้อย หรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม ที่เป็นแบบที่นิยมสร้าง ในกรุงสุโขทัย เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของราชธานีในอดีตที่ ปรากฏให้เห็นถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้รับการ ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก เมื่อ พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 230 5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างในภาคกลางของประเทศไทย ได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ของไทยเมื่อ พ.ศ. 1893 และมีความเจริญรุ่งเรืองยาวนาน ถึง 417 ปี ผลงานการสร้างสรรค์อารยธรรมในอาณาจักรอยุธยาส่วนใหญ่จะถ่ายทอดออกมาในรูป ของศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา แต่ ด้วย สมัยอยุธยามีแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ว่า เป็นสมมติเทพแบบเขมร การสร้างสถาปัตยกรรม จึงมี การเปลี่ยนแปลง โดยสร้างให้มีความยิ่งใหญ่ ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นแรงบันดาลใจความศรัทธา จากหลักฐานทางอารยธรรมที่กล่าวมานั้น เป็น สิ่งที่ช่วยยืนยันให้เห็นถึงความเป็นแหล่งอารยธรรมของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความเจริญรุ่งเรืองไม่ แพ้แหล่งอารยธรรมใดๆ ในโลก วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ 3 1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มให้ศึกษาลักษณะการดำเนินชีวิตของประชากรไทยและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และวิเคราะห์สรุปเป็นรายงานส่งครูผู้สอน จากนั้นส่งตัวแทนมาสรุป รายงานหน้าชั้นเรียน 2. จากกลุ่มที่แบ่งเดิมให้นักเรียนเลือกศึกษาผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของคนใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สนใจมา 1 เรื่อง สรุปเป็นใบงาน แล้วส่งตัวแทนออกมา รายงานหน้าชั้นเรียน หนังสือเรียนสังคมศึกษา ม.1 231 คำถามท้ายหน่วย 1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไร เพราะเหตุใด จงอภิปรายมาพอเข้าใจ 2. จงบอกข้อดีและข้อจำกัดของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3. จงยกตัวอย่างอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับ 4. การแผ่ขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมี จุดประสงค์อย่างไร 5. จงยกตัวอย่างผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์อารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ นักเรียนสนใจมา 1 ตัวอย่าง


                                                              แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่   5

คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

  1. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมีชุมชนใหญ่ๆ อยู่ในบริเวณใด

       ก.   บริเวณภูเขาสูง                 

       ข.   ที่ราบชายฝั่งทะเล

       ค.  ที่ราบระหว่างภูเขา   

       ง.  บริเวณที่อยู่ในเขตอากาศอบอุ่น

   2.  สภาพภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้          มีลักษณะตามข้อใด

       ก.   อากาศร้อนตลอดปี มีฝนตกชุก

       ข.   มีสภาพภูมิอากาศไม่แน่นอน

       ค.   ฝนตกน้อย มีฤดูหนาวยาวนาน
ง.
   ฤดูร้อนร้อนจัด ฤดูหนาวหนาวจัด

   3.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       ก.   เป็นสังคมที่มีการแข่งขันกันอย่างสูงในด้านต่างๆ

       ข.   มีความหลากหลายทางด้านภาษา เชื้อชาติ ศาสนา

       ค.   เน้นวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก

       ง.   วิถีชีวิตของคนในสังคมส่วนใหญ่รับอิทธิพลจาก

            อินเดียและจีน

   4.  เหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ในข้อใด ที่ทำให้เวียดนาม         รับอิทธิพลทางด้านต่างๆ จากจีนเป็นหลัก

       ก.   เคยถูกจีนเข้าปกครองนับพันปี

       ข.   มีที่ตั้งติดกับจีนทั้งทางบกและทางทะเล

       ค.   อยู่ในละติจูดและลองจิจูดที่ใกล้เคียงกับจีน

       ง.   อยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเช่นเดียวกับจีน ทำให้มี

            วัฒนธรรมต่างๆ คล้ายกัน

   5.  อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่ส่งผลต่อพัฒนาการ       ของอาณาจักรโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดคือข้อใด

       ก.   การปกครองและเศรษฐกิจ

       ข.   การปกครองและการเมือง

       ค.   การปกครองและศาสนา

       ง.   ภาษาและวัฒนธรรม

   6.  ลักษณะเด่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือข้อใด

       ก.   เป็นภูมิภาคที่ไม่รับวัฒนธรรมภายนอก
  ข.   เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของโลก

       ค.   เป็นภูมิภาคของความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง

            ประเทศ                   

       ง.   เป็นภูมิภาคที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมหลักกับ

            ภายนอก

   7.  พื้นฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นอยู่กับด้านใด

       ก.   เกษตรกรรม               ข.  อุตสาหกรรม

       ค.   พาณิชยกรรม             ง.   การท่องเที่ยว

   8.  เพราะเหตุใด วิถีชีวิตของคนลาวจึงเปลี่ยนแปลงช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       ก.   ลาวปิดประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติใดๆ

       ข.   คนลาวมีความเชื่อในผู้นำและมีความเป็นชาตินิยมสูง

       ค.   ประชาชนยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอย่าง

            เคร่งครัด

       ง.   ลาวไม่มีทางออกทะเล ทำให้ติดต่อค้าขายกับประเทศ     อื่นๆ ได้ลำบาก          

   9.  สาเหตุสำคัญในข้อใด ที่ทำให้สิงคโปร์มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       ก.   เคยถูกอังกฤษเข้ามาปกครอง

       ข.   มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

       ค.   มีระบบการจัดการศึกษาที่ดีและประชากรมีคุณภาพสูง

       ง.   มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้

            มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างรวดเร็ว

10.      วัตถุประสงค์สำคัญของอาเซียนสอดคล้องกับข้อใด

       ก.   รวมดินแดนทุกประเทศในภูมิภาคเป็นรัฐเดียว

       ข.   มีรัฐบาลกลางเดียวบริหารประเทศที่เป็นสมาชิก

       ค.   ผนึกกำลังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้เป็นปึกแผ่น        ง.  ใช้ระบอบการปกครองแบบเดียวกันทุกประเทศ

ปัญหาสําคัญของลาวทางด้านภูมิศาสตร์คืออะไร

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงและขาดการพัฒนา การขนส่งในลาวจึงมีข้อจำกัดมาก ในอดีตการติดต่อระหว่างเมืองหลวงกับพื้นที่อื่น ระหว่างหมู่บ้านหรือระหว่างชนเผ่าจึงมีจำกัด แม่น้ำโขงและแม่น้ำอูเป็นเส้นทางธรรมชาติที่เหมาะสมทางเรือ หมู่บ้านของชาวลาวที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำสายเล็กจะใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใดบ้าง

ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดกับจีนและพม่า ทิศใต้ติดกับกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกติดกับไทย มีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของประเทศสมาชิกอาเซียน

สภาพภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะอย่างไร

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอ ...

ข้อใดเป็นรายได้สำคัญของลาว

สปป.ลาวมีรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะป่าไม้และแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง และบ็อกไซต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอลูมิเนียม มีเขื่อนหลายแห่งที่ผลิตไฟฟ้า พลังน้ำส่งไปขายประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งไทย ภาคใต้ของสปป.ลาวเป็นที่ราบสูงที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟคุณภาพดี