ลาออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

เป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง อยู่ในช่วงโปร ทำงานมาประมาณ 2 เดือนเกือบ 3 เดือน
มีการแจ้งเรื่องการลาออกปากเปล่าวันที่ 16 และยื่นใบลาออกวันที่ 22

ตอนแรกคิดว่าคงอยู่ทำตามกฏบริษัท 30 วันแต่พอดีว่าที่ทำงานใหม่เขาขาดคนต้องการคนไปทำงานประมาณวันที่ 12 วันที่ 12 ไม่ไปทำงานที่เก่า ถือว่าเป็นความผิดอะไรหรือไม่คะ

รบกวนสอบถามเพื่อเป็นทางออกหน่อยค่ะ ขอบคุณนะคะ

แจ้งลาออกต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน?

ทั่วไป

ลาออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

ลูกจ้างลาออกมีผลได้ทันที ไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วัน

กฎหมายแรงงานไม่บังคับลูกจ้างให้ต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ซึ่งโดยปกติสัญญาจ้างแรงงานทั่วไปมักจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาหรือวันสิ้นสุดสัญญาจ้างที่แน่นอน ดังนั้น พนักงานจึงสามารถลาออกได้ทันที แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดแน่นอน เช่น สัญญาปีต่อปี จะไม่สามารถลาออกได้ทันทีหากยังทำงานไม่ครบตามสัญญา พนักงานต้องเจรจาให้นายจ้างอนุมัติจึงจะมีผลให้ลาออกได้

การกำหนดเรื่องบอกกล่าวล่วงหน้า โดยปกติจะเป็นกรณีท่ีนายจ้างเป็นฝ่ายจะเลิกจ้างพนักงาน ที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างอย่างน้อย 1 รอบค่าจ้าง เช่น นายจ้างต้องแจ้งพนักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนว่าจะเลิกจ้างถ้าจ่ายค่าจ้างกันเป็นรายเดือน

แต่ที่นายจ้างกำหนดให้พนักงานต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ก็เพื่อให้นายจ้างมีเวลาเตรียมจัดหาคนมาดูแลงานแทนส่วนที่ลูกจ้างเคยรับผิดชอบ และเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างกันเองด้วย

การลาออกไม่ต้องรอนายจ้างอนุมัติ เพราะเป็นสิทธิของลูกจ้าง

การลาออกของพนักงานจะมีผลสมบูรณ์โดยตัวเองอยู่แล้ว นายจ้างไม่มีสิทธิพิจารณาว่าจะยินยอมให้ลาออกหรือไม่

การลาออกสามารถพูดปากเปล่าได้และมีผลทางกฎหมาย แต่เพื่อเป็นหลักฐานที่ชัดเจนพนักงานควรเขียนจดหมายลาออกเป็นหนังสือส่งถึงนายจ้างเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดแน่นอน เช่น สัญญาปีต่อปี พนักงานต้องเจรจาให้นายจ้างอนุมัติจึงจะมีผลให้ลาออกได้ เพราะยังทำงานไม่ครบตามสัญญาจึงไม่สามารถลาออกได้ทันที

การลาออกมีสิทธิขอเงินทดแทนจากประกันสังคมได้

เมื่อลาออกแล้ว พนักงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมและส่งเงินประกันสังคมมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้านได้ ตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ พนักงานที่ลาออกจะมีสิทธิได้เงินทดแทนกรณีว่างงานในอัตรา 30% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกินเดือนละ 4,500 บาท ตลอดช่วงเวลาที่ว่างงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน

การลาออกไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง

พนักงานจะได้รับค่าชดเชยก็ต่อเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างเท่านั้น หากเป็นกรณีท่ีพนักงานลาออกเองจะได้มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างเลย แม้ว่าจะมีอายุงานหลายปีแล้วก็ตาม

ประกันสังคม ลาออก แจ้งล่วงหน้า

Last modified: 5 June, 2020

ลาออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน
Website 27

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน สามารถออกจากงานได้ทันที ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลที่ระบุว่า ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ตามกฎหมายแล้ว เมื่อลูกจ้างยื่นจดหมายลาออกให้กับบริษัท เท่ากับว่าการลาออกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องรอการอนุมัติจากนายจ้าง สามารถออกได้ทันที และต้องได้ค่าตอบแทนถึงวันที่ทำงานวันสุดท้ายนั้น

ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย หรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น

โดยตามฎีกาที่ 10614/2558 เรื่อง ลูกจ้างลาออกจากงานไม่ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว ไม่ตรงกับข้อกฎหมายส่งเสริมให้ลูกจ้างทำการลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ สัญญา และตามข้อกฎหมาย แม้ไม่มีโทษทางอาญาแต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาแรงงาน ปัญหาการฟ้องร้องกันไปมาได้

แต่อย่างไรก็ตามหากสัญญาจ้างของหน่วยงาน มีการระบุเกี่ยวกับการแจ้งลาออกล่วงหน้าก่อน 30 วัน ลูกจ้างควรต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ

ลาออกต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.labour.go.th/ หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มาตรา 17 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่กรณีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน