เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท

เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท

การออม การลงทุน

สูตรคำนวนการออมเงิน พร้อมวางแผนการเงิน ในแต่ละช่วงวัย


การออมเป็นวินัยทางการเงินพื้นฐานที่ควรเริ่มฝึกตั้งแต่เด็ก การมีนิสัยการออมจะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างดี และมีความมั่นคงในอนาคต ส่วนคำถามที่หลายคนสงสัยคือ “อายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไร” นั้นตอบได้หลากหลาย เพราะความจำเป็นในชีวิตของแต่ละคนมีวิถีที่แตกต่างกัน ความจำเป็นของแต่ละคนแตกต่างกัน อายุจึงไม่ใช่ตัววัดเพียงอย่างเดียวที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรมีเงินเก็บเท่าไร

แต่สำหรับบางคนที่อยากรู้ค่าเฉลี่ยโดยมาตรฐานของเงินออม เพื่อจะตั้งเป้าหมายการออม หรือเพื่อให้รู้ว่าเงินที่เก็บออมที่มีอยู่เพียงพอแล้วหรือยัง สามารถนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินได้ทันทีหรือไม่ และหากจะซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือทำธุรกิจ จะเหมาะสมแล้วหรือยัง

ลองมาเช็กกันว่าเงินออมที่มีตอนนี้ สอดคล้องกับอายุของคุณหรือไม่?

เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท

สูตรคำนวนการออมเงิน สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย

จำนวนเงินที่ควรออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนที่เริ่มงาน)


ตัวอย่าง

นายต้นน้ำเริ่มทำงานเมื่ออายุ 20 ปี ได้รับเงินเดือนในเดือนแรก 20,000 บาท/เดือน ปัจจุบันนายต้นน้ำอายุ 30 ปี และทำงานแล้ว 10 ปี มีรายได้ในปัจจุบัน 50,000 บาท/เดือน

จากสูตรคำนวณในเบื้องต้น นายต้นน้ำควรมีเงินออม 1,400,000 บาท
2 x (30 – 20) x (50,000 + 20,000) =1,400,000 บาท


สูตรการคำนวนจะช่วยในส่วนของการตั้งเป้าหมาย สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าจะตั้งเป้าหมายอย่างไรในเบื้องต้น ทั้งนี้เงินออมทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเก็บในรูปแบบเงินสด สามารถแบ่งเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ตามเป้าหมายในการออมและความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละคน

ตัวอย่างของอายุ VS เงินออมที่เหมาะสม

หากเริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 ปี ได้รับเงินเดือนในเดือนแรก 20,000 บาท

อายุปัจจุบัน
(ปี)
เงินเดือนปัจจุบัน
(บาท)
เงินออมที่ควรมี
(บาท)
25 25,000 270,000
30 30,000 800,000
35 37,000 1,482,000
40 48,000 2,448,000
45 62,000 3,772,000


สูตรการคำนวณข้างต้นเป็นตัวเลขที่สมมติมาเพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงของทุกคน แต่อย่างไรก็อยากให้ลองหัดวางแผนทางงานเงินได้แบบง่ายด้วยสูตรนี้ไปด้วยกัน

เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท

มาถึงตรงนี้ ใครที่ออมเงินไว้ได้มากกว่าวิธีการคำนวณที่เรานำมาฝาก ขอปรบมือให้เลยเพราะคุณสามารถจัดการกับการเงินของตัวเองได้ดีมาก หากใครมีจำนวนเงินเก็บไม่ถึงตามจำนวนที่คำนวณได้ ก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้เราเก็บเงินได้มากขึ้น

นอกจากเงินออมในจำนวนที่เหมาะสมแล้ว ควรมีการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้เงินออมงอกเงย เช่น ออมในรูปแบบออมทรัพย์ รับดอกเบี้ยพิเศษ ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ออมแบบประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สภาพคล่องปานกลาง มีความคุ้มครองชีวิต วางแผนอนาคตได้แน่นอน รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี มีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นต้น

ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไร ทำงานมาแล้วกี่ปี การมีเงินออมเป็นเรื่องที่ควรทำร่วมกับมีการวางแผนทางการเงินที่ดี เพราะจะส่งผลให้อนาคตมั่นคง มีเงินทุนสำรองสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มีเงินใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และมีเงินลงทุนเพื่อการสร้างเป้าหมายชีวิตให้เป็นจริงได้แน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออมเงินไม่อยู่ เก็บเงินยังไงก็เก็บไม่ได้ เหมือนกับกระเป๋ามันมีรูรั่วอยู่ข้างใน อาการแบบนี้ไม่ว่าใครก็เคยเป็นกันทั้งนั้น จะให้ทำอย่างไร คนมันต้องกินต้องใช้ ได้เงินมาจะใช้ให้หมดไม่เห็นจะแปลกอะไรเลย

อย่าปลอบใจตัวเองอีกต่อไป มันมีวิธีเก็บเงิน!!! แค่เราทำไม่ได้แค่นั่นเอง หรือคุณอาจจะเก็บเงินไม่ถูกวิธี ใครๆก็อยากมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น แต่เผลอแปปเดียวรู้ตัวอีกทีก็เผลอใช้เงินไปจนเกือบหมด

มาดูกันดีกว่าว่าเราสามารถ เก็บเงินง่ายๆ แต่ได้ผลได้อย่างไร

เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท

  1. ไม่ใช้แบงค์ 50

    มาถึงวิธีแรก วิธีสุดฮิตที่หลายๆ คนเลือกจะทำกัน ไม่เว้นแม้แต่ในเว็บไซต์ดัง Pantip.com ก็มีคนแชร์วิธีนี้มาแล้ว

    นั่นคือการเก็บแบงค์ฟ้า หรือ แบงค์ 50 ที่เราไม่ค่อยพบเจอ ในเมื่อหาเจอยาก ก็จัดการเก็บเข้ากระปุกแบบไม่ดึงมาใช้เลยดีกว่า เป็นอีกหนึ่งหนทางการออมที่มีการการันตีแล้วว่าได้ผลมานักต่อนัก บางรายเก็บไปปีๆ หนึ่งได้เป็นหลักหมื่นเลยด้วยซ้ำ

    ทำไมวิธีการนี้ถึงเวิร์ก? ลองดูตามหลักเหตุและผลครับ

    โดยปกติแล้วการจับจ่ายปกติจะมีการใช้แบงค์ 100 กับแบงค์ 20 เป็นหลัก ร่วมกับเหรียญ นานๆ ที่แบงค์ 50 จะมีบทบาท

    ดังนั้นการเก็บแบงค์ 50 มันทำให้เรารู้สึกว่าการออมมันไม่ได้ลำบากอะไรมากขนาดนั้น สามารถทำได้เรื่อยๆ แค่แบงค์ 50 เอง หยอดๆ กระปุกไปเถอะ แต่ลองดูตัวเลขดีๆ นะครับ สมมติเราซื้อของทุกวันแล้วได้แบงค์มาวันละ 1 ใบ

    1 เดือน เราจะได้ 50 x 30 = 1,500 บาท

    1 ปี เราจะได้ 50 x 365 = 18,250 บาท นี่ขนาดแค่ตัวเลขสมมติ มันอาจจะได้มาก หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ เพราะคงไม่มีใครซื้อของทุกวันแล้วได้แบงค์ 50 ตลอดยกเว้นพ่อค้าแม่ค้า แต่คงเห็นแล้วว่าพลังของแบงค์ 50 นั้นจริงๆ มันมากมายขนาดไหน

    อยากรวยง่ายๆ เริ่มต้นได้ตอนนี้เลย หากได้แบงค์ 50 มาแล้วเก็บใส่กระเป๋าโลด

    เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท
  2. จำกัดการถอนเงินของตัวเอง

    วิธีง่ายๆ วิธีที่สอง คือจำกัดการถอนเงินของตัวเองนั่นเอง ใช้วิธีถอนเงินมาก้อนเดียวหรือสองก้อนเก็บไว้ที่บ้าน แล้วดึงมาใช้รายวันจะสามารถเก็บเงินได้ง่ายกว่า

    แต่ไม่ใช่ว่าถอนมาทีเดียวหมดบัญชีนะ แค่คิดก่อนว่าเราใช้เงินปกติวันละไม่เกินเท่าไหร่ แล้วจัดแจงคูณตามวันที่มาทำงานเลย ส่วนการถอนครั้งต่อไปก็เก็บไว้ให้เหตุฉุกเฉินที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

    เช่น สมมติคุณใช้เงินเดือนละไม่เกิน 200 รวมค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ปกติ คุณทำงานเดือนละ 20 วัน

    จำนวนเงินที่ถอนได้จะเท่ากับ 200 x 20 = 4,000บาท

    เห็นไหมว่าแค่นี้ก็สามารถประหยัดเงินได้มากมายแล้ว อีกทั้งเรายังเห็นภาพรวมของเงินได้มากขึ้นกว่าการถอนรายวันด้วย เพราะสมมติว่าวันๆ นึงเราถอนเงินซักสามครั้ง ถ้าไม่ได้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เราลืมแน่นอนว่าเราจ่ายเงินค่าอะไรไปบ้าง

    แต่ถ้าเราเน้นแค่ถอนเงินเป็นก้อน ใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ หากมีการถอนเงินพิเศษขึ้นมาคุณจะรู้ได้ทันทีเลยว่า นี่มันการใช้จ่ายแปลกปลอมที่ปกติไม่น่าเกิดขึ้นในระบบ ทำให้เรามีวินัยในการเงินมากขึ้น

    เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท
  3. ตั้งเป้าแล้วแปะบนกระปุก

    อยากไปเที่ยว!
    อยากได้กระเป๋าใหม่ !!
    อยากได้มือถือเครื่องใหม่!!

    ทุกอย่างต้องใช้เงิน แต่เราเก็บเงินแทบไม่อยู่จะทำอย่างไร…ง่ายๆ เลยแค่เขียนใส่กระดาษแล้วแปะข้างกระปุก ตั้งเป้าหมายในการเก็บเงิน

    อยากไปเที่ยวต่างจังหวัดใช้เงินเท่าไหร่ กลับบ้านวันหยุดยาวเอาเงินไปฝากพ่อฝากแม่ เลี้ยงดูลูกหลานใช้เงินเท่าไหร่ เขียนแปะไว้เลย นอกจากมันจะเป็นแรงจูงใจแล้ว บางครั้งเรื่องเหล่านี้จะเป็นกำลังใจให้เราเก็บเงินด้วย

    ซึ่งวิธีแปะกระปุกนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้กระปุกเดียวในการเก็บออม ใช้หลายกระปุกก็ได้ แล้วหยอดตามความสำคัญที่เราเห็นควร

    เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท
  4. ใช้กระติกน้ำ

    คุณอ่านไม่ผิดแน่นอน พกกระติกน้ำไปทำงานเป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดเงินที่ได้ผลสุดๆ เมื่อเราหิวน้ำ ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำขวดใหม่ คว้ากระติกตัวเองมาได้เลย นอกจากจะประหยัดเงินแล้วยังดีต่อทรัพยากรโลกอีกต่างหาก

    ทำไมเราจึงต้องเน้นเรื่องนี้? ผลสำรวจการใช้เงินของคนไทยในปัจจุบันระบุไว้ว่าพวกเราใช้เงินไปกับอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุดเลยนั่นเอง และบางครั้งค่าเครื่องดื่มสูงกว่าค่าอาหารเสียด้วยซ้ำ

    ยังไม่นับว่าเมื่อเราอยากกินน้ำหวานหรือของฟุ่มเฟือย เราสามารถดื่มน้ำจากกระติกนี้แก้ขัดได้ แน่นอนว่าเราไม่ได้ห้ามเรื่องการกินกาแฟ ชานมไข่มุก หรือเครื่องดื่มอื่นๆ แต่การมีกระติกน้ำจะลดโอกาสที่เราได้กินเครื่องดื่มเหล่านี้ และเพิ่มเงินในกระเป๋าตัวเองให้มากขึ้น ทำให้เอาเงินไปใช้อย่างอื่นได้

    ลองดูตัวอย่างง่ายๆ นะครับว่า ว่าเราจะประหยัดได้เท่าไหร่หากมีกระติกน้ำ

    สมมติเราดื่มน้ำดื่มขวดละ 7 บาท ทุกๆ วันที่ไปทำงาน เราทำงานเดือนละ 20 วัน

    คิดเป็นเงิน 7 x 20 = 140 บาทต่อเดือน
    หรือ 7 x 20 x 12 = 1680 บาทต่อปี

    นี่แค่น้ำดื่มธรรมดาราคา 7 บาท หากเป็นเครื่องดื่มที่มีราคาสูงกว่านี้ เราก็สามารถประหยัดได้มากกว่านี้อีกมากเลยทีเดียว

    เก็บเงินวันละ 20 2 ปี ได้ กี่ บาท
  5. ใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น

    วิธีเก็บเงินง่ายๆ วิธีสุดท้าย...ใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น

    ทำอย่างไร ? สมมติว่าเรามีค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากการกินอยู่ และการตั้งเป้าหมายไว้ เช่น อยู่ๆ วันนี้เราอยากซื้อหนังสือใหม่ซักเล่ม เลยซื้อหนังสือราคา 120 บาทไป

    หยอดกระปุกเพิ่มไปเลย 120 บาท

    เราเห็นของลดราคา เสื้อยืดตัวละ 199 ขายเหมาสามตัว 500 บาท เลยหยิบมา

    หยอดกระปุกไปอีกครั้ง 500 บาท

    วิธีเขี้ยวๆ อย่างนี้เป็นไปได้เหรอ? มันโหดเกินไปไหม? ขอตอบชัดๆว่าไม่โหดเลย นี่เป็นหนึ่งในวิธีบังคับตัวเอง ลดรายจ่าย เพิ่มเงินออมที่เห็นผลชัดเจนอีกเหตุผลหนึ่ง

    มันทำให้เราหลีกเลี่ยงการใช้เงินอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการใช้จ่ายตามเป้าหมาย รวมไปถึงเพิ่มเงินออมโดยรวมได้เร็วขึ้น หากเราซื้ออะไรตามความอยากของตัวเองบ่อยๆ แน่นอนว่ายิ่งเพิ่มวินัยทางการเงินอย่างดีเข้าไปอีก ซื้อเท่าไร ทบเงินเก็บไปเท่านั้น

เป็นอย่างไรบ้างกับ 5 วิธีเก็บเงินง่ายๆ แต่ได้ผลจริง ถึงคุณจะเก็บเงินไม่เก่ง แต่เชื่อเถอะว่ามันง่ายและทำได้จริง เพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บเงินหรือการลงทุน สามารถเลือกอ่านได้ใน ความรู้จากเงินติดล้อ เลยครับผม